ไปพูดคุยกับคณะครูโรงเรียนดารุลอูโลมนิบงบารู (๔)


ปัญหาของครูมือใหม่หัดสอนที่พบคือ “ครูเก็บเด็กไม่อยู่” นั่นแสดงว่า เรายังขาดบางสิ่งที่สำคัญ ขาดเครื่องมือสำคัญของครู ทางแก้ก็คือ ต้องไปหามาให้รู้ ไปดูมาให้เห็น ไปฝึกทำมาให้เป็น และพัฒนาต่อยอดให้สามารถพลิกแพลงใช้ให้เกิดผล เมื่อทำได้แล้ว เด็กๆก็จะเรียนอย่างสนุกสนาน ครูก็จะสอนอย่างมีความสุข

การเป็นครูนั้นมีความสำคัญ และต้องระมัดระวัง ต้องทำด้วยหัวใจและพร้อมด้วยความรู้ ความเข้าใจ รู้ในวิชาที่เราจะสอน รู้จักเด็กนักเรียนที่เราจะสอน รู้วิธีที่จะสอน และรู้จักเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน แต่ละกลุ่ม และแต่ละวัย สิ่งที่อยากจะเตือนครูๆทุกคนนั้นก็คือ จากประสบการณ์พบว่า ครูบางคน อาศัยที่ตัวเองโตกว่านักเรียน มีอำนาจมากว่านักเรียน ก็ใช้สิ่งเหล่านี้ไปบังคับนักเรียน ใช้สิ่งเหล่านี้ไปควบคุมนักเรียน บางคนใช้ไม้เคาะกระดานเสียงดัง ครูบางคนตะโกนเสียงดัง  ซึ่งผมคิดว่านี่ไม่ใช่ ครูที่เรียนมาไม่ใช่อย่างนี้ เพราะชาวบ้านบางคนก็ทำอย่างนี้ ครูที่เรียนมาก็ทำอย่างนี้ อะไรคือข้อแตกต่างละครับ?

                    จิตวิทยาพัฒนาการที่ครูเรียนมา ก็ใช้ตรงนี้ เพราะวิชานี้ทำให้เรารู้จักเด็กในแต่ละช่วงวัย รู้ว่าเด็กชอบอะไร มีนิสัยอย่างไร  สนใจอะไร ความพร้อมด้านต่างๆของเด็กเป็นอย่างไร เช่น ด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านสังคม ปัญหาของครูมือใหม่หัดสอนที่พบคือ ครูเก็บเด็กไม่อยู่ นั่นแสดงว่า เรายังขาดบางสิ่งที่สำคัญ ขาดเครื่องมือสำคัญของครู ทางแก้ก็คือ ต้องไปหามาให้รู้ ไปดูมาให้เห็น ไปฝึกทำมาให้เป็น และพัฒนาต่อยอดให้สามารถพลิกแพลงใช้ให้เกิดผล เมื่อทำได้แล้ว เด็กๆก็จะเรียนอย่างสนุกสนาน ครูก็จะสอนอย่างมีความสุข

                    อย่างเด็กอนุบาลนี่ ครูจะสอนรวดเดียวไม่ได้ เพราะสมาธิและความสนใจของเด็กจะอยู่ในช่วงสั้นๆ ครูต้องเริ่มการสอนด้วยการเตรียมเด็กให้พร้อมก่อน เป็นการอุ่นเครื่องให้พร้อมไม่ว่าจะใช้เทคนิคการตั้งคำถาม เพลง เกม  นิทาน หรือเทคนิคอะไรก็แล้วแต่ เมื่อสอนไปก็ต้องสังเกตเด็ก เมื่อเด็กเริ่มไม่สนใจ ครูต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรม เช่น อาจให้นักเรียน ตบมือ หรือ ยืนสลับนั่ง หรือ ....... ที่สำคัญคือเมื่อเด็กคล้อยตามแล้ว จึงค่อยๆนำเข้าเนื้อหาบทเรียนต่อไป เป็นเช่นนี้สลับกันไป

                    และที่สำคัญพยายามให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง สัมผัสกับของจริงให้มากที่สุด เช่น สอนเรื่องผลไม้อย่างนี้ ก็ทำหนังสือถึงผู้ปกครอง บอกว่าสัปดาห์หน้าจะเรียนเรื่องผลไม้ ขอความอนุเคราะห์ผลไม้จากผู้ปกครองนักเรียนคนละ ๑ ผล ก็เริ่มสอนก็สามารถบูรณาการวิชาต่างๆ และเด็กๆจะสนใจ เช่น เอ้านักเรียนดูซิครับว่า ใครพาผลไม้อะไรมาบ้าง ให้นักเรียนเอาออกมา บอกชื่อ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ชื่อผลไม้ ส่งให้เพื่อนๆได้ดูได้จับ ได้สังเกต บอกสีเปลือก ดมดูซิครับ กลิ่นเป็นอย่างไร ครูปอกเปลือกออก เนื้อผลไม้เป็นอย่างไร สีอะไร ให้นักเรียนชิมดู รสชาติ เป็นอย่างไร อร่อยไหม ชอบไหม เพราะอะไร นักเรียนเคยรับประทานไหม? ครูอาจบอกถึงประโยชน์ของผลไม้ ดังกล่าว สิ่งที่เหลือคือเมล็ดให้นักเรียนสังเกตลักษณะของเมล็ด หรือให้นักเรียนไปปลูกในบริเวณใกล้ๆห้อง แล้วแบ่งเวรกันรดน้ำ รอเวลา เมื่อมันงอกขึ้นมา เป็นไงครับ นักเรียนตื่นเต้นกันใหญ่เลย นักเรียนจะเรียนอย่างสนุกสนาน ครูผู้สอนก็สนุกด้วย  ทำให้การเรียนของวันพรุ่งสำหรับเด็ก เอ๋... พรุ่งนี้ครูจะสอนเรื่องอะไรนา... ???                   
หมายเลขบันทึก: 86873เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท