"มุมมองที่แตกต่างระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง" เป็นที่มาของ "ความขัดแย้ง" เสมอ ๆ


หัวหน้ากับลูกน้องมักจะมีมุมมองหรือเกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกันเสมอ...

<div>

                    
           หัวหน้ากับลูกน้องมักจะมีมุมมองหรือเกณฑ์ในการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกันเสมอ โดยเฉพาะเรื่องการเลื่อนตำแหน่ง การขึ้นเงินเดือนและเรื่องโบนัส...
           หัวหน้ามักจะพิจารณาเรื่องของระเบียบวินัย เช่น การขาด ลา มาสาย เป็นเรื่องหลัก ด้วยเหตุผลเพียงว่ามันมี Report สามารถอธิบายกับหัวหน้าใหญ่หรือฝ่ายบุคคลได้...
           ในขณะที่ลูกน้องมองว่า ความรู้ ความสามารถในการทำงานสำคัญกว่า เมื่องานมีปัญหาคนที่แก้ไขปัญหาได้คือคนที่มีความรู้ ความสามารถไม่ใช่คนที่มีระเบียบวินัย...
           เพียงแต่ว่าความรู้ ความสามารถเป็นสิ่งที่วัดยากเพราะหัวหน้าไม่ได้อยู่หน้างาน ไม่รู้วิธีการทำงานของลูกน้องแต่ละคน...
            ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงกับขวัญและกำลังใจในการทำงานของลูกน้อง...
            ผมว่ามันคงจะดีไม่น้อยถ้าหัวหน้าเปิดใจให้กว้างและรับฟังเหตุผลของลูกน้องให้มากกว่านี้...

</div>

คำสำคัญ (Tags): #ความขัดแย้ง
หมายเลขบันทึก: 86866เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • เห็นด้วยค่ะ หากหัวหน้าเปิดใจกว่างและรับฟังเหตุผลของลูกน้องจะเป็นสิ่งที่ดี ต่อการทำงานร่วมกันมาก
  • การประเมินเป็นวิํธีการหนึ่งที่นำมาใช้ในการวัดผลการทำงาน ที่อาจจะต้องอาศัยเอกสารเพื่อเป็นตัวเก็บข้อมูลในการทำงาน
  • ดิฉัน โชคดีที่ได้ทำงานกับหัวหน้าที่ยอมรับฟังความคิดเห็นและสนับสนุนการทำงานและเสนอแนวคิดใหม่  ๆ อยู่ตลอดเวลา  การทำงานจึงทำให้เกิดการกล้าคิดกล้าทำ กล้านำเสนออย่างสนุกสนาน แล้วยังได้พัฒนาตนเองด้วยค่ะ
  • ดิฉันเองก็มีมุมมองบางอย่างที่ขัดแย้งกับหัวหน้าเป็นบ้างครั้ง แต่ทุกครั้งจบลงได้ด้วยดี ด้วยการแสดงเหตุผลของแต่ละฝ่าย บางครั้งมุมที่เรามองอาจจะแคบไปบ้างค่ะ การได้พูดคุยทำให้เกิดมุมมองใหม่ในการทำงาน ซึ่งก็ลดข้อขัดแย้งดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • ดิฉันเล่าจากประสบการณ์การทำงานน่ะค่ะ เพื่อเป็นมุมมองหนึ่งค่ะ

ขอบคุณครับ น้องมะปราง P...

การทำงานที่มีการเปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ย่อมทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ดี และที่สำคัญเกิดการร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาองค์การครับ...

โชคดีครับน้องมะปรางที่มีหัวหน้าเปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของเรา...

  • ความเห็นตรงกับคุณมะปรางเปรี้ยวคือเห็นด้วยค่ะ
  • มันอยู่ที่มุมมองของคนสองคนค่ะ ต้องละความเห็นแก่ตัวของแต่ละฝ่าย และยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งหาทางแก้ไข หรือพบกันครึ่งทาง ซึ่งจะทำให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจกันและพร้อมทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถและมีความสุขในการทำงาน
  • วันนี้ตอบบล๊อกที่กรุงเทพค่ะ

ครับ... คุณราณี P...

คงต้องลดความเห็นแก่ตัวลงและรับฟังความคิดเห็นของกันและกันมากขึ้น...

ขอบคุณนะครับ...ว่าแต่ตอนนี้ชีพจรลงเท้าตลอดเลยนะครับ...

 

เห็นด้วยครับ

.

หลายคนเข้างาน เพราะองค์กร

หลายคนออกงาน เพราะหัวหน้า 

ขอบคุณครับ...คุณ ตาหยู P...

เห็นด้วยครับสาเหตุที่คนตัดสินใจลาออกจากเพราะหัวหน้า...

 

  • สวัสดีครับคุณดิเรก
  • ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมหลายวันครับ
  • หากมององค์กรเป็นการอยู่ร่วมกันของหลายๆชิ้นอุปกรณ์ แต่ละอุปกรณ์ก็คงทำหน้าที่ต่างๆ กันไปเพื่อยึดให้อุปกรณ์ใหม่ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ตำแหน่งทุกๆ ตำแหน่งในองค์ก็คงมีความสำคัญเท่าๆ กัน หากขาดชิ้นใดไปก็คงไม่สมบูรณ์
  • ความเกื้อกูลในองค์กรอย่างลงตัวคงเป็นอะไรที่น่าจะทำให้องค์กรเดินไปสู่เป้าหมายได้ร่วมกัน สู่ความสำเร็จร่วมกันได้ครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

ครับ...คุณเม้ง P...

ถ้าเปรียบองค์การเหมือนเครื่องจักร เฟืองทุกตัวมีส่วนในการขับเคลื่อนครับ....

ขอบคุณมากครับ...

เห็นด้วยกับคุณดิเรกค่ะ

คนเรามักมีมุมมองที่แตกต่างกันเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะมองในแง่ไหนมากกว่า

การที่เราเป็นคนกระทำก็มีมุมมองที่แตกต่างจากคนที่ถูกกระทำเสมอ

เหมือนกับสังคมของเราที่มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุและปัจจัยเสมอ

ผมเคยได้อ่านระบบการประเมินแบบ 360 องศา หมายความว่า มีหัวหน้าเรา เพื่อนร่วมงานเรา ผู้ใต้บังคับบัญชาเรา และเรา

ทุกคนจะประเมินกันและกัน แบบพบกันหมด โดยการประเมินนี้จะไม่เปิดเผยตัวผู้ประเมิน ซึ่งบางกรณีทำให้ได้ข้อมูลมาปรับปรุง บางกรณีก็วงแตก แล้วแต่วัฒนธรรมหน่วยงานครับ

กัมปนาท

สวัสดีค่ะคุณ Direct

เป็นหัวหน้าก็มีทุกข์ของหัวหน้า..เป็นลูกน้องก็มีทุกข์ของลูกน้อง..

ถ้าต่างคนต่างมองแต่มุมทุกข์ของตนเอง..ความเข้าใจจะไม่เกิด..เกณฑ์การประเมินแบบ 360 องศา เป็นแบบที่เบิร์ดใช้อยู่ค่ะ..และ Feed back ผลการประเมินให้แต่ละคนรับทราบด้วย ( สิ่งนี้ต้องใช้ศิลปะร่วมไม่ใช่ศาสตร์เพียวๆ ^ ^ )

เล่าสู่กันฟังนะคะ..เบิร์ดเคยทำธุรกิจก่อนรับราชการเวลาประเมินผลงานเป็นเวลาที่หนักหนาเสมอ..ถ้าใช้เกณฑ์ Performance อย่างเดียว ..ก็ต้องยอมรับว่าคนที่มีความสามารถโดดเด่นจะทำงานได้เร็วและดี และโดดเด่น นำหน้าอยู่ตลอดเวลา..จนคนที่ทำงานได้ไม่เด่นเท่า แต่มีความรับผิดชอบ ยากที่จะตามทัน..จะละเลยเกณฑ์ระเบียบ วินัยก็ไม่ได้เพราะถ้าคนที่โดดเด่น แต่พร่องด้านวินัย ถ้าได้รับพิจารณาคนที่หนักหนานอกจากคนที่พิจารณาแล้วก็คือคนที่ได้นั่นเอง..

ไหวพริบ ปฏิภาณ  วิจารณญาณเป็นสิ่งที่ช่วยในการทำงานให้ได้ผลดี..และเป็นสิ่งที่ " ต้องมี " ในการทำงาน..ซึ่งส่วนนี้จะถูกคัดสรรจากการรับสมัครงานต่างๆอยู่แล้ว..แต่การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีนี่สิ..เป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง..^ ^

เอาใจช่วยคนทำงานทุกท่านค่ะ..

 

ครับ...คุณนุ้ย P...

เราเป็นผู้ถูกกระทำ เราอาจจะมองอย่างนี้ ผู้ถูกกระทำย่อมมองอีกอย่างหนึ่ง พยายามเข้าใจมุมมองของเขาแล้วครับ แต่ไม่เข้าใจ สิ่งที่ทำได้คือต้องยอมรับครับ...

เห็นด้วยครับที่สังคมย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี และทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุและปัจจัยของมัน...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...คุณแจ็ค P...

การประเมินแบบ 360 องศา ใช้ไม่ได้ในหลายองค์การในไทย เพราะวัฒนธรรมของคนไทยไม่เหมือนกับของต่างชาติครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ครับ...คุณเบิร์ด P...

ผมก็พยายามเข้าใจนะครับ และเห็นด้วยครับเรื่องของการใช้ศิลปะร่วมกับศาสตร์ในการประเมิน...

และก็เห็นด้วยครับกับการให้น้ำหนักเรื่องระเบียบวินัย แต่ยังงัยก็ควรให้น้ำหนักที่เหมาะสมทั้งสองส่วนครับ...

เอาเป็นว่าเป็นแค่บางอารมณ์ บางความรู้สึกครับ พยายามเข้าใจและยอมรับอยู่ครับ...

ขอบคุณครับสำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองที่น่าคิดทีเดียวครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท