บ้านห้วยน้ำโป่ง


 

 ไปแม่ฮ่องสอนมาคราวนี้ ลงสำรวจพื้นที่จริงๆ ระหว่างวันที่ 15 19 มีนาคม 2550 พื้นที่ที่เข้าไปวันแรก คือ บ้านห้วยโป่ง ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอนโดยการทำเวทีชาวบ้าน และสำรวจป่าร่วมกับชุมชน เป็นครั้งแรกที่เข้าไปสำรวจป่าในพื้นที่นี้  เส้นทางที่เดินสำรวจนั้นจะเดินไปตามลำห้วยเดื่อ  ซึ่งในลำห้วยพบสาหร่ายเป็นจำนวนมาก  ป่าส่วนใหญ่โดนไฟไหม้เกือบหมด (จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมจึงมีหมอกและควันเยอะ) ในพื้นที่มีโป่งนก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นแอ่งและมีน้ำซึมออกมา และมีรสชาติเค็ม นกจะบินลงมากินน้ำเป็นฝูง หรือลงมาเล่นน้ำ เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านจะอนุรักษ์ไว้ ในบริเวณใกล้ๆ กันนั้น ก็มีแหล่งน้ำร้อนธรรมชาติ ซึ่งชาวบ้านก็ได้อนุรักษ์ไว้ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป   

ห้วยโป่ง

หมายเลขบันทึก: 86456เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2007 03:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอเปลี่ยนชื่อนิดนะครับ เป็นบ้านห้วยน้ำโป่ง ครับ หมู่บ้านนี้ผ่านการศึกษาวิจัย ของ สกว.แล้ว ดังนั้นข้อมูลส่วนหนึ่งค่อนข้างพร้อม

ความน่าสนใจอีกอย่างคือ เป็นหมู่บ้านชาวลั๊วะ (ละวั๊วะ ,ละว้า) เพียงหมู่บ้านเดียวในปางมะผ้า

ทุนทางธรรมชาติที่หลากหลาย โดยเฉพาะ โป่งสมิ ที่อาจารย์ได้เห็นหละครับ

ทาง อ.ปางมะผ้า เห็นบอกว่าจะพัฒนา หมู่บ้านนี้ให้เป็น หมู่บ้านที่จัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก็ควรจะต้องเตรียมการบริหารจัดการพอสมควร หากทำดีก๋ดี หากทำได้ไม่ดีก็น่าสงสารชาวบ้านครับ...

ในส่วนตัวผมเชื่อศักยภาพชาวบ้านที่นี่นะครับ เมื่อวานผมก็พบเยาวชน สองสามคน จากบ้านห้วยน้ำโป่ง พร้อมคุณเสือ ด้วย ที่เข้ามาประชุมเวทีชุมชนคนวิจัยที่แม่ฮ่องสอน

วันที่ ๒๐ - ๒๑ เมษายน เราจะประชุม เวทีชุมชนคนวิจัย ท่ามกลาง สวนไม้ผลเมืองหนาว ที่บ้านลาหู่ผาเจริญ หากอาจารย์ว่างขอเรียนเชิญ ร่วมประชุมเวทีคนวิจัยแม่ฮ่องสอนด้วยกัน

ขอบคุณครับ

หากอาจารย์อยากจะให้ทาง ศูนย์ประสานงานวิจัยแม่ฮ่องสอน ให้ออกหนังสือด้วยเพื่อความสะดวกในการเดินทาง  แจ้งผ่านมาทางผมได้นะครับ 0818832138

 

ขอขอบคุณ คุณจดุพรครับที่คอยดูแลข้อมูลต่างๆของ คนแม่ฮ่องสอน

โดยเฉพาะบ้านห้วยน้ำโป่ง ตอนนี้ทางหน่วยงานได้เริ่มเข้ามาให้การสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีทาง พช.และ กศน.ในพื้นที่ช่วยเตรียมความพร้อมชุมชนในด้านการบริหารจัดการของชุมชน และยังมีองค์กรพี่เลี้ยงจากสาย NGOs ,มาช่วยอีกแรงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีต้องขอขอบคุณในความเป็นห่วงที่มีต่อชุมชน

ภาคภูมิ ปรีชาถาวร

โป่งนกมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โป่งแสนปิ๊ก"

"ดินโป่ง" คือ ดินที่มีรสเค็มและละเอียดซึ่งเกิดจากแร่ธาตุบางชนิด เป็นอาหารของสัตว์ป่าที่กินหญ้าบางชนิด หรือโป่งคือบริเวณพื้นที่ซึ่งมีแร่ธาตุต่าง ๆ มารวมกัน อันเนื่องมาจากฝนตกหนัก และเกิดขบวนการชะล้างนำเอาแร่ธาตุที่จำเป็นของสัตว์ป่าออกจากดินทั่วไปรวมกันยังพื้นที่แห่งหนึ่ง แร่ธาตุเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งสัตว์สัตว์ป่าไม่สามารถหาทดแทนได้จากพืช ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบใหญ่ ดังนั้นพื้นดินส่วนนี้จึงเป็นแหล่งแร่ธาตุสำหรับสัตว์ป่าซึ่งกินพืชเป็นอาหาร เช่น สัตว์ปีก กวาง เก้ง กระทิง วัวแดง และช้างป่า เป็นต้น

นอกจากนี้ โป่งยังเป็นแหล่งอาหารที่สัตว์ลงมากิน เพื่อช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร อาจจะเป็นดิน หินหรือน้ำเป็นประจำ โดยที่บริเวณเหล่านี้จะมีแร่ธาตุและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าเป็นปริมาณมาก และแหล่งอื่น ๆ มีน้อยกว่าหรือไม่มีเลย

1. แร่ธาตุที่สัตว์ต้องการในปริมาณมาก ได้แก่ แคลเซียม (Ca) ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K) โซเดียม (CI) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S)

2. แร่ธาตุที่สัตว์ต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่ โคบอลล์ (Co) ทองแดง (Cu) ไอโอดีน (I) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โมลิปดินัม (Mo) ซิลิเนียม (Se) และสังกะสี (Zn)

ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจนะครับว่า ทำไมน้ำที่โป่งจึงมีรสเค็ม เพราะว่าน้ำมีแร่ธาตุต่างๆผมสมอยู่ ซึ่งมาจากธรรมชาติล้วนๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท