ถอดรหัศความรู้ของศาสตาจารย์ฝรั่ง


Knowledge Transfer and Codification

 

หลายครั้งที่เราสงสัยในความฉลาดของฝรั่งบาง ผู้เขียนก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสนใจว่าทำอย่างจึงจะถอดรหัสความรู้ออกมาศาสตราจารย์ฝรั่งที่เก่งๆ ทั้งหลาย ตอนที่เรียนหนังสืออยู่ต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่ค้นพบคือ เด็กๆ ฝรั่งส่วนมากมักเป็นเด็กที่กล้าแสดงออกและชอบเรียนรู้จากการตั้งคำถาม จำได้ตอนไปเรียนในระดับปริญญาตรี ตัวเองเป็นผู้หญิงชาวเอเชียคนเดียวในห้อง นั่งเรียนตัวลีบไม่กล้าแม้จะสบตาอาจารย์ สิ่งที่กลัวมากที่สุดคือ กลัวครูฝรั่งเรียกถามแล้วตอบไม่ได้  ความกลัวและไม่กล้าแสดงออกทำให้เราเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตของคนได้ยากขึ้น นี้คือข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับฝรั่ง เมื่อตอนเด็กเขาเป็นเด็กที่กล้าถาม กล้าแสดงความคิด ทำให้เขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจอะไรได้เร็วกว่าคนที่ไม่กล้าแสดงออก พอดีโอกาสเรียนในระดับปริญญาเอกได้มีโอกาสใกล้ชิดกับศาสตราจารย์หรือ Professor หลายคน มีความคิดทำอย่างไรจึงจะเก่งอย่างเขา ผู้เขียนก็พยามยามมาหมดเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะไปอ่านหนังสือที่เป็นตำราภาษาอังกฤษหลายที่ศาสตราจารย์ทั้งหลายแต่ง ช่วงแรกๆ อ่านแล้วมึนๆ เพราะจับต้นชนปลายไม่ถูก อ่านหนังสือยิ่งทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพของคนเขียนหนังสือกับตัวหนังสือ ศาสตราจารย์บางคนแทบจะไม่พูดกับใครเลยวันๆ เอาแต่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์แต่ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและผลการวิจัยออกมาเยอะมากๆ เจอหน้ากันอย่างมาก็ยิ้มเท่านั้นเอง บางคนพูดติดตลกไปเรื่อยแต่เวลาเขียนหนังสือจะวิชาการมากๆ อ่านแล้วต้องตีความ 3-4 รอบกว่าจะเข้าใจ เหมือนคุณครูที่เป็นที่รักของนักเรียนไทย (ตกยาก) ทั้งหลายใน Sydney คือ Prof.Dr. Tony Moon เป็นศาสตราจารย์ที่เก่งมากเป็นศาสตราจารย์ตั้งแต่หนุ่มๆ มีผลงานมากมาย สิ่งที่สำคัญที่สุดท่าน ไม่เคยหวงความรู้ มีอะไรจะสอนหมดแม้แต่กระทั่งการอย่างไรที่จะให้ผ่านไปได้ดี ด้วยการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับท่านตลอดเวลาในวง “Community of Interest: COI” กับบรรดาเพื่อนๆ ชาวไทยที่ไปร่วมชะตากรรมที่นั้น เราให้เรามีวงสังคมที่กว้างขึ้น สิ่งสำคัญคือ ช่วยเหลือเกื้อกูล ทำให้แม่อยู่ห่างไกลบ้านแต่รู้สึกถึงความรักและปรารถนาดีต่อกันของคนไทยในต่างแดน พวกเราจะเรียก Prof. Moon ว่า คุณครูพระจันทร์ เป็นนามแฝง ซึ่งคุณครูก็จะน่ารัก อบอุ่น ดูแลนักศึกษาไทยทุกคน ทั้งๆ ที่ตัวเองมีงานมากมายเพราะมีตำแหน่งบริหารในมหาวิทยาลัยอยู่ด้วย หลายสิ่งหลายอย่างที่พวกเราเรียนรู้จากครูฝรั่งเพื่อเป็นประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  สิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้นั้นคือ...ความรู้ถอดรหัสออกมาเท่าไรก็ไม่มีวันหมด.. 
คำสำคัญ (Tags): #kmsdu
หมายเลขบันทึก: 86165เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2007 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ความแตกต่างของเด็กไทย-เด็กฝรั่ง อาจารย์ไทย-อาจารย์ฝรั่ง ล้วนมาจากเหตุ-ปัจจัยที่ต่างกันจริงๆค่ะ วัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาแต่เด็กๆมีส่วนมาก ตัวเองก็เคยรู้สึกคล้ายๆคุณพรรณีตอนร่วมห้องเรียนกับนักศึกษาฝรั่งใหม่ เป็นความแปลกใจด้วยว่าทำไมแต่ละคนช่างพูด ช่างถามได้ทุกเรื่อง บ่อยครั้งเป็นคำถามที่ไม่เห็นน่าจะถาม จนเรานึกว่าเด็กฝรั่งแหมช่างฉลาดเหลือเกิน เรียนๆไปถึงเข้าใจว่าการที่เราพูดน้อย ไม่กล้าถาม ไม่ได้แปลว่าเราเก่งน้อยกว่า และเข้าใจต่อไปว่าการที่เราต้องพยายามถามหรือแสดงความคิดเห็นนั้นเพือการมีส่วนร่วม และได้ให้การแบ่งปันความรู้ความคิดเห็น ที่คนอื่นอาจสนใจ ไม่ใช่ไปนั่งรอรับอย่างเดียว ยอมรับว่าเป็นการปรับตัวที่เหนื่อยมาก

ส่วนอาจารย์ฝรั่งส่วนมากจะทำตัวใกล้ชิดลูกศิษย์มากกว่าอาจารย์ไทย การไปทานข้าว ไปนั่งสนทนากันเป็นกลุ่มในร้านกาแฟกับลูกศิษย์ไม่ใช่เรื่องแปลก การที่อาจารย์ฝรั่งดูเก่งมีงานเขียนผลิตออกมาเรื่อยๆน่าจะเป็นเพราะฝรั่งช่างexpress ความรู้สึกนึกคิด และคิดอย่างเป็นระบบ เป็นผลมาจากโลกทัศน์และสังคมที่เขาอยู่ผลักดันให้เป็นไป

อาจารย์พรรณีมีช่วงชีวิตในการเรียนที่ดีที่มีโอกาสพบอาจารย์ที่ทั้งเก่งและใจดี แสดงว่าอาจารย์ต้องเป็นลูกศิษย์ที่มีคุณภาพแน่นอน

  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

 

ยินดีที่ได้รู้จักคุณ Bight Lily ค่ะ....สวยจังค่ะ...

ขอบคุณนายนายดอกร์เตอร์มากค่ะ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ช่วงนี้สอนนักศึกษาเยอะมากขึ้นเลยทำให้เห็นปัญญาของการศึกษาไทยหลายๆ อย่างค่อนข้างจะแก้ไขยากเหลือเกิน เช่น นศ ไม่ชอบอ่านหนังสือ ทำงานเอาง่ายเข้าว่า ขาดความลึกซึ้งและเข้าใจอะไรอย่างถึงแก่นแท้ มีแต่แกนๆ เรียนเพื่อให้จบๆ ยังไม่รู้เลยว่าชีวิตหลังการเรียนจบแล้วจะเป็นอย่างไร....รู้สึกว่าจะต้องสอนจริยธรรมการคุณธรรมในการดำรงชีวิตตั้งแต่อนุบาลมั้ง เด็กๆจะได้ซึบซับและมีความเข้าใจ...พอมาสอนป.โทหรือป.เอกแล้ว...เหมือนไม้แก่ที่ดัดยากซะเหลือเกิน บวกด้วยอัตตาอีกมาโข.....

สวัสดีค่ะ..อาจารย์เอ๋

อาจารย์เอ๋สบายดีนะค่ะ..ดาก็ได้อ่านบทความของอาจารย์อยู่บ้าง น่าสนใจมากๆ อาจารย์ค่ะ..ดาอยากทราบหนูอยากจะเรียนบ้างได้ไหมค่ะ...

อาจารย์เอ๋รักษาสุขภาพนะค่ะ...เมื่อไหร่แต่งงานค่ะ...อย่างลืมบอกกล่าวนะค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท