ไขก๊อกประสบการณ์ KM Research 3


นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกันจะมีโอกาสพบปะอย่างมีการจัดการโดยอาจารย์ที่ปรึกษาให้มาเสนองาน แนวคิดและความคืบหน้าของงาน ...ผลักดันให้ลูกศิษย์ได้ไปร่วมในCoP ที่จะช่วยสร้างเสริมความเข้าใจและความแข็งแกร่งทางวิชาการและวิชาชีพ
ก่อนอื่นต้องขออภัยนะคะ ที่ตัวอักษรที่แสดงในตอนที่ผ่านมามันไม่เป็นระเบียบสวยงามอย่างใจเลยค่ะ
ตอนนี้จะว่าด้วยโอกาสของการได้เข้าร่วม CoPs ในระดับต่างๆที่เป็นเวทีการเรียนรู้และลับความคิด
ประการที่ 4
 ตนเอง: ได้การสนับสนุน ชี้แนะ จากอาจารย์ที่ปรึกษาในการอยู่ใน CoPs ทั้งระดับนศ.ด้วยกัน และระดับมืออาชีพ
อาจารย์หลักผู้ดูแลวิทยานิพนธ์ (Prof. Pierre Fayard)มักจัดให้นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ทั้งปริญญาโทและเอกที่ท่านดูแลอยู่ให้มีโอกาสพบกัน นำเสนองานหรือความคืบหน้าของงานอย่างกึ่งเป็นทางการอย่างน้อยปีละครั้ง หรือบางทีได้นั่งคุยกันในร้านกาแฟ แต่ก็คงเหมือนนักศึกษาไทยที่ไม่ใช่ว่าจะมีโอกาสพบอาจารย์ที่ปรึกษากันได้บ่อยๆ แต่เราไม่เคยขาดการติดต่อกัน ส่วนมากทาง email อีกประการคือ สายวิชาการที่เรียนนั้นเรียกเต็มๆว่า Public Communication of Science and Technology (PCST) เป็นสิ่งที่ประเทศทางตะวันตกให้ความสำคัญมาก พอๆกับที่เขาเห็นว่า S&T จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและโลกใบนี้  อาจารย์ Fayard จึงได้ชักชวนนักวิชาการจากหลายๆประเทศหลายสาขาที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันจัดตั้งเป็นเครือข่ายนานาชาติเป็น PCST International Network (www.pcstnetwork.org) ก่อตั้งและประชุมกันครั้งแรก(ปี1989) ที่University of Poitiers ที่ผู้เขียนเรียนนี่แหละ เมื่อยังไม่เคยมีตัวแทนจากประเทศไทยเข้าเป็น Scientific Committee ผู้เขียนจึงได้รับการสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิก(ปี 2001) ทำให้ได้อยู่ในCoPs ระดับมืออาชีพและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากจริงๆ การที่เครือข่ายนี้จัดประชุมนานาชาติทุกๆสองปีโดยจะเปลี่ยนประเทศและทวีป Scientific Committee ทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่การออกเสียงเลือกประเทศที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพครั้งต่อไป ภาพใหญ่ทางวิชาการ ตลอดจนการ review paper การได้ร่วมทำงานกับมืออาชีพเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก และยังเป็นเวทีเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติอย่างดีอีกด้วย นี่ยังไม่รวมเวทีอื่นๆที่อาจารย์จะหนีบลูกศิษย์ที่มีความพร้อมไปฝึกปรือวิชาด้วยกันอีก ผู้เขียนจึงคิดว่าตัวเองโชคดีที่ได้รับโอกาสเช่นนี้ เป็นจังหวะชีวิตที่ธรรมะจัดสรร
นักศึกษาไทยที่พบ: ค่อนข้างขาดเวทีลับความคิด
เป็นเรื่องยากที่นักศึกษาที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกันจะมีโอกาสพบปะอย่างมีการจัดการโดยอาจารย์ที่ปรึกษาให้มาเสนองาน แนวคิดและความคืบหน้าของงาน และยิ่งยากหากจะคิดว่าอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องเป็นผู้ผลักดันให้ลูกศิษย์ได้ไปร่วมในCoP ที่จะช่วยสร้างเสริมความเข้าใจและความแข็งแกร่งทางวิชาการและวิชาชีพ นอกจากนี้ระบบการศึกษาในปัจจุบันที่เรียนกันเพื่อเลื่อนฐานสภาพ มากกว่าเพื่อให้เกิดสติและปัญญา อาจารย์จะเหนื่อยหัวใจมากๆ เข้าใจ เห็นใจ และขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ผู้ทุ่มเททุกท่าน
ติดตามกันต่อตอนหน้านะคะ จะพูดถึงรูปแบบการทำและการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ที่ต่างกัน
คำสำคัญ (Tags): #km research
หมายเลขบันทึก: 86131เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2007 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
   ใช่ครับ ..
ระบบการศึกษาในปัจจุบันที่เรียนกันเพื่อเลื่อนฐานสภาพ มากกว่าเพื่อให้เกิดสติและปัญญา
    ใช่เลย แต่ก็ยังถอนตนออกจากวังวนดังกล่าวได้ยากยิ่ง  ส่วนหนึ่งและน่าจะเป็นส่วนสำคัญก็คือ อาจารย์ผู้สอนเอง ยังคงชินและสมัครใจจะอยู่ในกรอบ ในกรง ของความเป็นเช่นนั้นกันอยู่ทั่วไปครับ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท