สรุปขุมความรู้ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร


คลังความรู้เกษตรกำแพงเพชร ( Knowledge    Assets )
ประเด็นสำคัญ
เรื่องเล่า
แหล่งข้อมูล
การเอื้อการจัดการความรู้
................สนับสนุนที่อย่างที่ต้องการ(เอื้อสุดๆ......)
ในฐานะคุณเอื้อ
ได้ดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้ทีมงานอย่างเต็มที่  ร่วมคิด  ร่วมทำ  เช่น
-         เปิดโอกาสให้ใช้ห้องประชุม  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
-         สนับสนุนแผนปฏิบัติการ
-         สนับสนุนยานพาหนะ
-         สนับสนุนวัสดุ  อุปกรณ์ในการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
-         ส่งเสริมให้ทีมไปแลกเปลี่ยนนอกองค์กร
-         สนับสนุนทีม  และเครือข่ายได้ปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วม
คุณสุรพล  เถาว์โท
เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
(คุณเอื้อ)
ภาวะผู้นำ
-         มีความมุ่งมั่น/เป้าหมายชัดเจน
-         เรียนรู้ต่อเนื่อง
-         ปรับประยุกต์ใช้
-         สร้างทีมงาน
-         คิดเชิงระบบ
-         ปรับแนวคิดของบุคลากร
-         ทำงานและเรียนรู้กับชุมชน  โดยใช้  PAP , FFS, สร้างทีมงาน,ออกแบบเครื่องมือ  (ไม่ยึดติดกับรูปแบบ)  และพัฒนาเครื่องมือ
-         กำหนดเป้าหมายการทำงาน
-         สร้างระบบการทำงาน  เริ่มปี 42-45
-         คิดเชิงระบบ
-         ประเมินองค์กร เกิด  LO 
-         มีองค์ความรู้/ศูนย์การเรียนรู้ 
-         ปี 48 มี KM  มาประยุกต์ใช้
คุณสายัณห์   ปิกวงศ์
นักวิชาการเกษตร (“คุณอำนวย” จังหวัด)
  การเข้าสู่การจัดการความรู้
ระยะแรก  ฝึกใช้ทักษะการใช้เครื่องมือ, สร้างทีม, ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ในพื้นที่   
ระยะที่สอง  หารูปแบบในการทำงาน,  จัดกระบวนการกลุ่มเพื่อหาแนวทางการพัฒนา,  เกิดเครือข่ายผู้สนใจและมีส่วนร่วม,   พัฒนาเครือข่ายของ จนท.
ระยะที่สาม  ยุคการจักการความรู้     ฝึก จนท.เป็นคุณอำนวย  รู้จัก KM , เครื่องมือ
  ใช้ PAR กรณีสวนส้ม เกิดนักวิจัยท้องถิ่น.   เกิดการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ จนท. และเกษตรกร
 
ประเด็นสำคัญ
เรื่องเล่า
แหล่งข้อมูล
บทบาทคุณอำนวยระดับ
จังหวัด
.....นอกจากคิดเชิงระบบ  ต้องมีส่วนร่วมทุกกิจกรรม ...
....
  ฝึกปฏิบัติ   ฝึกบันทึก  
ฝึกลิขิต   ฝึกหาคำตอบ
-         ทำคนเดียวไม่ได้ต้องสร้างทีม
-         กระตุ้นให้ทั้งทีมงานและองค์กรมองเห็นเป้าหมายของงาน
-         กระตุ้นให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  KS ฉะนั้นคุณอำนวยต้องเป็นผู้สังเกตเพื่อจับประเด็น  เป็นคุณบันทึก  ทั้งบางครั้งต้องเป็นคุณกิจไปด้วย
-         การสอนงาน จนท. บางครั้งต้องไปสอนงานในพื้นที่
-         ฝึกบันทึกเพื่อนำสู่ KS
คุณสายัณห์   ปิกวงศ์  นวส. 7ว.
สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
คุณอำนวยในพื้นที่ 
ระดับอำเภอ..... 
.......สื่อสารอย่างใร ?  ให้อยากจะทำ.....
-         พูดเรื่องใกล้ตัว
-         ถามจับประเด็น
-         สร้างบรรยากาศที่สุขและสนุก 
-         ความเป็นมิตร
 
-         เมื่อได้รับมอบหมาย  ความรู้  เครื่องมือ 
-         เข้าร่วมปฏิบัติเรียนรู้กับกลุ่ม  เพื่อกระตุ้นให้มีอารมณ์ร่วม
-         มีการใช้เครื่องมือร่วมกัน  
-         ลงพื้นที่  ใช้เครื่องมือ ฝึกตั้งคำถาม  จับประเด็น  กระตุ้นให้กลุ่มมีส่วนร่วม     กลุ่มเล่าประสบการณ์จริง
-         การสรุปบทเรียนและการฟัง
-         การสร้างบรรยากาศคลายเครียด  เกม  เล่าเรื่องโจ๊ก
คุณอารีรัตน์   ช่วงโพธิ์  ส
นักวิชาการเกษตร
สำนักงานเกษตรอำเภอ
ขาณุวรลักษบุรี  จ.กำแพงเพชร
บทบาทคุณกิจ
......สร้างคุณค่าในงานให้มีคุณภาพ/เกิดการแข่งขัน
......วางแผนป้องกัน  แก้ไขปัญหา 
......รวมกลุ่ม  สร้างเครือข่าย
กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้ม  ก่อตั้งปี  2545  เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  พัฒนาองค์ความรู้  มีการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือน
-         ส้มที่ปลูกมีปัญหาระบบราก  สาเหตุจากเชื้อรา 
-         ทดลองใช้เชื้อจากศูนย์ฯชัยนาท + พิษณุโลก    การกิ่งต่อ
-         ผลผลิต    ออกมาพร้อมกันราคาตกต่ำ
-         ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จนท.  สมาชิก
-         ลงไปเรียนรู้ในแปลงปลูกที่มีปัญหาและให้คำแนะนำ
-          หาสมาชิกร่วมทำ     วางแผน    ร่วมทำ    ประเมินผล  วางแผนปรับปรุง   ปลูกส้มนอกฤดู
-         สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
คุณพงศักดิ์   จันทรมงคล
วิทยากรเกษตรกรและ
เป็นแกนนำกลุ่มเกษตรกรสวนส้ม
จ.กำแพงเพชร
ประเด็นสำคัญ
เรื่องเล่า
แหล่งข้อมูล
บทบาทคุณลิขิต(บันทึก)

 

........สู่คลังความรู้
......ทำแล้วเขียน  และเผยแพร่........
       ในส่วนของคุณอำนวยมีหลาย steps  เช่น  สังเกต  บันทึก  ฯลฯ   ทีแรกไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำคือการจัดการความรู้ 
        ในหน่วยงานของรัฐไม่ได้เริ่มจาก 1  เพราะมีการทำกันในงานอยู่
-         KM  เป็นโอกาสและสิ่งที่เอื้อให้เกิดความรู้  เป็นกลยุทธโดยกำหนดเป้าชัดเจน   และชักชวนเพื่อนร่วมทาง( คุณสายัณห์)
-         เดิมไม่เคยบันทึก  อยู่ในหัว  เครื่องมือ  KM  ช่วยเราได้เยอะ  เริ่มเข้าใจการบันทึกที่เป็น AAR เมื่อ พ.ค.2548  ซึ่งเห็นว่าสนุก  มีเครือข่าย  ในการ AAR  มีการบันทึก
-         รู้คุณค่าการบันทึกเมื่อมี KM
-         รู้จักเครือข่าย  รู้ว่ามีการพัฒนา
-         เขียนบทเรียนการเรียนรู้สู่  Web  site
แนวคิด KM ของผมสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ
-         ปรับแนวคิด จนท.
-         พัฒนาตนเอง
-         สร้างทีม  เครือข่าย
-         สร้างระบบการทำงานในพื้นที่
-         ปรับกระบวนการทำงานในพื้นที่
-         การเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน มีกล้องถ่ายรูปและสมุดบันทึก
-         ต้องทำก่อนแล้วถึงเขียนได้  เขียนในสิ่งที่ทำนั่นแหละ
-         อย่างน้อยเวลาลงพื้นที่ต้อง
           มีองค์ความรู้ของกระบวนการ 
           ต้องมีความรู้ทางวิชาการอยู่ตรงนั้น
           เวลาเขียนได้เรียนรู้ด้วย  ได้ข้อห้ามของการปฏิบัติ
          ตอนนี้มี  web  ซึ่งเขียนเองเพื่อเผยแพร่ความรู้ ทำไป   ระยะหนึ่งถอดบทความจาก web  มาเป็นคู่มือ
-         อย่าลืมว่าต้องเขียนทุกครั้ง  ต้องฝึก จนท.ให้รู้กระบวนการเขียน  เหมือนอาทิตย์ที่แล้วได้ไปช่วยเพื่อนที่จ.น่าน ซึ่งได้เรียนรู้ด้วย  นำกลับมาใช้กับตนเองได้ด้วย
คุณวีรยุทธ  สมป่าสัก
นักวิชาการส่งเสริมเกษตรสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
คลังความรู้ ( Knowledge    Assets )
ประเด็นสำคัญ
เรื่องเล่า
แหล่งข้อมูล
สรุปการจัดการความรู้ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
......ปัจจัยสู่ความสำเร็จ.....
-         สร้างทีม   สายใยเชื่อมโยงเครือข่ายนักปฏิบัติ   ทำแล้วนำมาเขียน     เผยแพร่ผลงาน.........ภาคภูมิใจ
สรุปผลการทำ  KM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
-         ทำคนเดียวไม่ได้   การทำงานเป็นทีม
-         แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นความรู้เชิงประจักษ์
-         ประสบการณ์เวลาทำไปไม่เห็นมีวันสิ้นสุด  เรียนรู้ไป ทำไป  เรียนรู้ไป  พัฒนาไปเรื่อยๆ  อย่างต่อเนื่อง
-         เราอยู่ได้เพราะมีเครือข่าย  มีพี่มีน้อง  ให้กำลังใจกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย/สร้างเครือข่าย  เมื่อเร็วๆนี้ไปที่น่าน  เราไปดูเพื่อนทำให้ได้สิ่งใหม่ๆ
-         ณ วันนี้เราได้ทำไปเห็นไป  “ ทำแบบน้ำไม่เต็มแก้ว” เห็นว่าองค์กรจะไปอย่างไร  เกิดการพัฒนาองค์กรอย่างมีระบบ   แลกเปลี่ยนด้วยไมตรี  มีทั้งผู้พูดและผู้ฟัง     ซึ่งได้เรียนรู้การสร้าง   KV    KS    KA
-         สุดท้ายต้องบันทึก  เมื่อก่อนรู้ว่าองค์ความรู้มีประโยชน์การเก็บคลังความรู้   เผยแพร่ความรู้  ไม่หายไปกับคน
คุณสายัณห์   ปิกวงศ์
สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร
หมายเลขบันทึก: 8594เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2005 04:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ สคส ที่ได้ให้โอกาสทีมงานได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานมหกรรมฯ 1-2 ธค. ที่ผ่านมา  ทีมงานได้เรียนรู้มากมาย จะนำกลับไปพัฒนาและยกระดับ KM ของหน่วยงานให้ดียิ่งๆขึ้น   แม้ว่าจะนำ KM มาใช้ในหน่วยงานได้ไม่นาน แต่ก็ช่วยให้เราทำงานได้อย่างเป็นระบบขึ้น และมองเห็นช่องทางในการทำงานเพื่อให้บรรลุพันธกิจอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นกระบวนการ ..ช่วยแวะเยี่ยมคลังความรู้ในเว็ปสำนักงานที่ http://kamphaengphet.doae.go.th และให้คำแนะนำด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท