ผู้นำสำคัญอย่างไร


Excellent Leadership

สวัสดีชาว Blog ทุกท่าน 

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวว่า ผมเองหาใช่เป็นคนอัจฉริยะ ไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่ผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดใด ๆ เป็นเพียงคน ๆ หนึ่งในสายงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ หรือฝ่ายบุคคลที่เรียกกันในอดีต ที่ใฝ่รู้ และชอบคิดอะไรที่แตกต่าง และท้าทาย อาจจะด้วยประสบการณ์จากองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งในประเทศและบริษัทข้ามชาติ อีกทั้งยังมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง และเกือบ 10 ปีของการที่เป็นอาจารย์พิเศษตามมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ จึงอยากจะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เหล่านั้นเพื่อเป็นกระจกที่ต่างมุมมองแก่ท่าน ๆ ที่สนใจ รวมทั้งผมเชื่อมั่นว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จะนำไปสู้การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่ฝรั่งเรียกว่า “INNOVATION” หรือ นวัตกรรม นั่นเอง เมื่อวันพุธที่25 ต.ค. ที่ผ่านมา ผมได้ฟังวิทยุสถานี 96.5 MHz รายการ "คุยกับ ดร. จีระ" ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์กับประเทศอินเดีย ว่าการศึกษาในอินเดียนั้นเน้นทางด้านการสร้างให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดเชิงระบบ ซึ่งผมเองก็ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานและฟังบรรยาย เรื่อง ทิศทางเศรษฐกิจเปรียบเทียบไทย-อินเดียโดย ศาสตราจารย์ ดร. ชยามาล รอย แห่งสถาบันการจัดการแห่งอินเดีย  (IIMB-Indian Institute of Management, Bangalor) ณ เมืองบังกะลอร์ ประเทศอินเดีย เนื้อหาสาระสำคัญก็คือการเปรียบเทียบปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนของทั้งสองประเทศ 

Regulatory Support
Human Resources
~
~
Cost of Living
Infrastructure
Thailand
India
Parameter
Remarks ; Human Resources is the only major advantage which India has over Thailand & the strong Indian education system is the primary reason by Prof. Dr. Shyamal Roy, Dean of Financial and Economic Management
พบว่า ไทยเราได้เปรียบกว่าทั้งในด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม (Infrastructure) ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง การคมนาคมต่าง ๆ ดีไปหมด ด้านค่าครองชีพ (Cost of Living) ก็พอ ๆ กัน แม้กระทั่งการสนับสนุนในด้านกฎหมาย การสนับสนุนจากภาครัฐ (Regulatory Support) ก็ดีกว่ามากทีเดียว หากแต่ข้อมูลเปรียบเทียบทางด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) อินเดียมีความได้เปรียบกว่า ซึ่งศาสตราจารย์ท่านนี้ ขยายความเพิ่มเติมว่า ความได้เปรียบดังกล่าวนั้น ประกอบด้วยหลักใหญ่ใจความสองประการคือ ประการแรก ก็คือ ความรู้และทักษะด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ (English Literacy) คนไทยเราแพ้อย่างย่อยยับในเชิงปริมาณ คือมีคนไทยจำนวนน้อยที่สามารถมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี ประการทีสอง ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งหลายนั่นก็คือ การคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking) สำคัญอย่างไร กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบนั้นคือ การคิดอย่างมีเหตุมีผล เชิงวิทยาศาสตร์นั่นเอง ซึ่งในมุมมองของผมแล้ว เห็นว่า ควรเพิ่มกระบวนการคิดอีก 3 ประการคือ 1)       การคิดรวบยอด (Holistic Thinking) หมายถึงการคิดในองค์รวมได้คิดเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ได้ 2)    การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) ก็คือ การมองโลกในแง่ดี มองด้านจุดแข็งก่อนมองจุดอ่อน มองทุกเรื่องเป็นเรื่องที่ท้าทายความคิดและเป็นสนามทดสอบฝีมือ และ 3)       การคิดนอกกรอบ (Think Out of the Box) เป็นอีกกระบวนการหนึ่งท้าทายและนำไปสู่ความแตกต่างและแข่งขันได้ ซึ่งจะว่าไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็คือความอัจฉริยะของคน (People Intelligence) อันจะนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และสร้างนวัตกรรม (Innovation) ในสังคมนั้น ๆ ต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่าเราอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไรภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ทางสังคมและการเมือง หากเราไม่ร่วมกันคิดร่วมกันทำ และการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน (Team Sharing) คำถามก็คือ จะทำอย่างไรให้ลูกหลาน ลูกน้อง หัวหน้า รวมทั้งผู้บริหารองค์กรและทุกคนในสังคม มีความรู้และทักษะด้านภาษาต่างประเทศ รวมทั้งทักษะภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติด้วย มีกระบวนการคิดเชิงระบบ เราต้องร่วมกันสร้างปลูกฝังปูฐานรากให้แน่นหนาด้วยระบบการศึกษาที่มุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งประเทศ (Total Quality Management) ซึ่งผู้นำ (Leader) หรือผู้บริหารทุกระดับ (Management) จะต้องร่วมเสริมสร้าง

ด้วยความปรารถนาดี

คำสำคัญ (Tags): #leadership
หมายเลขบันทึก: 85826เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 02:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะท่าน ประจวบ  ไกรขาว  ประจวบ ไกรขาว

  • ครูอ้อยยังวนเวียนอ่านความรู้ และวิพากษ์ของคุณประจวบอยู่อีก
  • ได้ความรู้เรื่องปัญหาของการสอนภาษาอังกฤษ  ที่เสียเปรียบ  พร้อมด้วย  การคิดเชิงวิเคราะห์
  • ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้  ครูอ้อยและเพื่อนครูทั้งหลาย ก็พยายามสอดแทรก  ทั้ง 2 แนวคิดนี้เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ 
  • โดยเฉพาะ การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  เห็นด้วยที่ไทยเสียเปรียบ  แต่หนทางของการแก้ไขนั้น  ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย  รอแต่ครูเท่านั้น  น่าจะช้าจนเกินไปค่ะ

ขอบคุณค่ะ  ความรู้มีมากในบันทึกนี้ค่ะ  ครูอ้อยจะอ่านต่อไปนะคะ

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่านครับ

ก่อนอื่นต้องต้องขอขอบคุณและชื่นชมครูอ้อย (ว่าที่ ดร. จากโรงเรียนพระยาประเสริฐฯ ซึ่งลูกชายผมเรียนอยู่ที่นั่นด้วย) ที่ถือได้ว่าเป็น Long Life Learner ตัวจริง เมื่อวันหลายวันก่อน ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์เจอคำว่า "Employee Branding" หมายถึง การที่บุคคลคนหนึ่งนำหลักการประชาสัมพันธ์และหลักการตลาดมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ของตนเองให้โดดเด่นจนกลายเป็น "แบรนด์" ซึ่งพอสรุปได้ว่า เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าของตัวพนักงาน ด้วยความรู้ ความสามารถอย่างมีเอกลักษณ์ของตัวเอง อันประกอบด้วยหลัก 4 ประการคือ1.       ต้องรู้จักตนเองว่ามีจุดด้อย จุดเด่น และพรสวรรค์อะไร 2.       ต้องรู้ว่าตนเองชอบอะไร 3.       ต้องรู้ว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไร 4.       ต้องรู้จักอดทนรอโอกาส และเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอรายละเอียดเพิ่มเติมและตัวอย่างจะสืบค้น เสาะหามาฝากต่อไป และคราวหน้า เราจะได้แบ่งปันความรู้ในการบริหารเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำด้วยหลัก 5L’s  (5L’s Leadership Model) ครับด้วยความเคารพ

สวัสดีครับท่านประจวบ

เห็นด้วยครับกับข้อสรุปของ ดร.ชยามาล รอยครับ รวมทั้งข้อคิดเพิ่มเติม ทั้ง 3 ข้อ เกี่ยวกับคนไทย

ผมมองว่าอินเดียเป็นประเทศที่น่าทึ่ง เป็นประเทศที่มีความหลากหลายสิ่งอยู่ด้วยกันและพร้อมที่จะผลิตสิ่งดีๆ ให้กับชาวโลกเสมอ

สำหรับคนไทย ผมคิดว่าสิ่งที่จะทำให้เราอยู่ในเวทีโลกได้อย่างไม่มีปมด้อยน่าจะมาจากการที่เราต้องรู้ตัวเองว่าอยู่ตรงไหนของเวทีโลก รู้เราเป็นประการสำคัญ รู้บทบาทที่เหมาะสมของเราและในขณะเดียวกันรู้เขาให้มาก

สังคมไทยเป็นสังคมที่เชื่อผู้นำ ดังนั้นพัฒนาการของสังคมจึงขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสำคัญ(ตรงนี้คงอภิปรายกันได้มากมาย) หลายสิ่งหลายอย่างเราอาจไม่จำเป็นต้องตามกระแสโลกมากนัก บางอย่างที่ดีของเราควรอนุรักษ์ ปกป้องและส่งเสริม.......ในยุคโลกาภิวัฒน์จึงไม่ใช่การตามอย่างเดียวแต่หากเป็นการรักษาความแตกต่างที่มีอยู่ให้คงอยู่ได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง....ซึ่งล้วนเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำที่จะต้องมองเห็นล่วงหน้า

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลและข้อคิดดีๆ

ด้วยความปรารถนาดี  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท