เศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปปฏิบัติจริง


3 ห่วง 2 เงื่อน ภาคประยุกต์

สวัสดีชาว Blog ทุกท่าน

2 เดือน 2 วันนับแต่วันที่มีการรัฐประหาร และ 1 เดือน 22 วันกับการบริหารประเทศภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งท่านได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า ท่านจะบริหารประเทศโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวงท่าน จากนั้นมาประชาชนทุกคน หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยต่างรับนโยบายดังกล่าวไปใช้ในการ แต่สิ่งสำคัญก็คือทำอย่างไรจะแปลงนโยบายเหล่านั้นไปสู่ภาคปฏิบัติ(Deployment) ได้อย่างเป็นรูปธรรมในทุก ๆ ภาคส่วนทั้งในระบบราชการ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคเกษตรกรรม ผมได้เจอเรื่องราวที่น่าสนใจที่สะท้อนถึงความจริงของสังคมซึ่งจะต้องได้รับการดูแลให้เกิดความรู้ความเข้าใจหลักปรั๙ญาเศรษฐกิจพอเพีงอย่างแท้จริง เรื่องเกิดขึ้นไม่วันศุกร์ที่ 17 พ.ย. นี้เอง ขณะที่ผมเดินทางกลับจากจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อร่วมฟังบรรยายหลักสูตรนี้สำหรับผู้บริหารระดับต้นของกลุ่มธนชาตด้วยความตั้งใจที่จะแวะของฝากสำหรับ ศ.ดร. จีระและทีมงาน ChiraAcademy รวมทั้งภรรยาและลูก ๆ เมื่อผ่านทางแยกถนนเพชรเกษม มาทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ไม่ไกลนักก็เจอร้านของฝากตามแนวถนน ผมจึงได้แวะซื้อข้าวหลามมา 10 กระบอก ซึ่งเมื่อถึงโรงแรมเดอะแกรนด์ ผมจึงได้ตรวจสอบของฝากที่ซื้อมาปรากฏว่า เป็นของเก่าและขึ้นรา ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ หาใช่ความโกรธเคืองใด ๆ เพียงแต่ภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงคุณธรรมที่ยังไม่สัมฤทธิ์ผลกับทุกภาคส่วน ดังนั้นเราต้องร่วมกันผลักดันให้ทุกคนร่วมกันน้อมรับพระราชดำริ หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ใส่เกล้าใส่กระหม่อมและนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง

ด้วยความปรารถนาดี

หมายเลขบันทึก: 85824เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 01:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน

จากการที่ได้ติดตามรายการ โลกาภิวัฒน์กับเศรษฐกิจพอเพียง ทางช่อง 11 ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 เป็นต้นมานั้น ซึ่งวาทะของแต่ละท่านที่ร่วมรายการมีประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะวาทะของ ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมย์ที่ว่า ความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่าไม่พัฒนาก็ดี หรือวาทะของท่านประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ก็ดี วาทะของท่าน ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ผู้ที่คร่ำวอดและผู้รับสนองพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเราก็ดี หรือแม้แต่ท่าน ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย องคมนตรี รวมทั้งวาทะท่าน ดร. จิรายุ อิศรางกูรฯ และท่านโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัฐ ก็ดี ซึ่งแต่ละท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึ้งซึ้ง หลักเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ (ที่มา : www.sufficiencyeconomy.org)

ซึ่งแม้กระทั่งฝรั่งมังค่า อย่างมาร์ติน มีลเลอร์ ชาวอังกฤษที่มาลงหลักปักฐาน ลงมือนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเอาจริงเอาจังในจังหวัดขอนแก่น ก็เข้าใจอย่างถ่องแท้กับระบบเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับโดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หาใช่การแบ่งแยกระหว่าง คนจนกับ คนรวย ไม่ หาใช่การหยุดความเจริญก้าวหน้า การพัฒนา รวมทั้งการแข่งขันไม่ หากแต่ หลักเศรษฐกิจพอเพียง นั้น เป็นการนำหลักการบริหารที่เรา ๆ ท่าน ๆ ได้ยินอยู่เนือง ๆ และปฏิบัติเป็นประจำก็คือ P-D-C-A คือ

 P=Plan คือการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศ ที่เราเรียกว่า “SWOT Analysis” หรือเป็นการตรวจสอบตนเองจน รู้เขา รู้เรา นั่นเอง แล้วจึงตัดสินใจเลือกเส้นทางการเดินของตนเองอย่างรอบคอบ ก็คือ D = Do การลงมือปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมสำเร็จตามเป้าหมายที่ไม่เกินตัว ไม่ไกลเกินกว่าจะเอื้อมถึง หรืออาจจะเทียบได้กับภาษิตที่ว่า เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง นั่นเอง รวมทั้งหมั่นตรวจสอบผลการทำงานของตนเอง (C=Check) อยู่เสมอ ๆ โดยไม่ต้องให้ใครมาคอยติดตามตรวจสอบเพื่อให้สามารถประคองตนเองให้เข้มแข็ง อยู่รอดและเติบโตได้ภายใต้ความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม (Good Governance) ในการอยู่ร่วมกัน และหากมีมื่อพบว่าสถานการณ์ใด ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางการบริหารหรือการประกอบสัมมาอาชีพของตนเองไม่ว่าในภาคเกษตร ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาคมโลกก็ตาม เราก็สามารถปรับเปลี่ยนแผนการทำงาน โดยวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุหรือผลกระทบที่แท้จริง ถ้าใช้หลักวิชาการหน่อยก็อาจวิเคราะห์โดยใช้ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) ไม่ว่าเป็นก้าง 4 M คือ Man Machine Money หรือ Method หลักนี้ก็ยังใช้ได้อยู่ ถ้าเราเข้าใจและนำมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อเรารู้ว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร ตัวเราเป็นเช่นไรแล้ว และทิศทางต่อไปของเราเป็นเช่นไร เราก็สามารถดำเนินการ (A=Act) ต่อไปได้อย่างรอบคอบ และเราจะอยู่รวดและเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งผมแม้ว่าหลายท่านอาจไม่เห็นด้วยกับทัศนะของผม ท่านผู้ทุกท่านอาจกำหนดแนวคิด ทิศทางของตนเองขึ้นมาได้ภายใต้ความหมายของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ นั่นแหละคือสิ่งซึ่งเรานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างสมบูรณ์

สุดท้ายขอเชิญชวนทุกท่านได้ติดตามเรื่องราว "เศรษฐกิจพอเพียงกับโกภิวัฒน์" ต่อไปและร่วมแบ่งปันความรู้ต่อไปด้วยครับ

ด้วยความปราถนาดีและเคารพยิ่ง

สวัสดี ชุมชนชาว Blog ที่เคารพทุกท่าน

ผมได้ติดตามรายการ "เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" ซึ่งเมื่อวันที่ 31 ต.ค. เป็นสาระจาก ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล รับราชการอยู่ในการธนาคารแห่งประเทศ ได้กล่าวถึงมุมมองว่า “เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายความว่าไม่พัฒนา แต่เป็นการสร้างความสมดุลย์ ดูท่ประโยชน์เป็นหลัก Mega Project ต่าง ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ดู้เงินหรืองบประมาณที่จะนำไปใช้จ่ายที่พอเหมาะพอควร ไม่ใช่หยุดการพัฒนา แต่ก็ไม่โตเร็วเกินไป” และเมื่อได้ฟังทัศนะของท่าน ศ.ดร.จีระ ผ่านทางรายการ “เวทีความคิด” เมื่อคืนวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมานี้ ซึ่งท่านจัดรายการสดจากงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดเชียงใหม่  ในพื้นที่กว่า 470 ไร่ มีประเทศที่เข้างาน 33 ประเทศ รวมประเทศไทยโดยท่านกล่าวว่า หลักปรัชญา“เศรษฐกิจพอเพียง” อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจและผมเองเห็นด้วยอย่างยิ่งก็คือ “ทำอย่างไรให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอด แบ่งปันความรู้ด้านการเกษตรให้แก่กันและกัน ซึ่งบ้านเรามีคนดีคนเก่งเยอะแยะ แต่จะทำอย่างไรให้คนหนุ่มสาวหันมาทำอาชีพด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ใช่ส่งเสริมให้เข้าไปเป็นลูกจ้างในเมืองใหญ่ หรือปลูกฝังให้เป็น “เจ้าคนนายคน” โดยเป็นลูกจ้างเขา แต่เราสามารถสร้างความมั่งคั่งได้จากอาชีพที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติอย่างแท้จริง สำหรับความเห็นของผมแล้ว ผมเห็นว่า หน่วยงานด้านการเกษตรของรัฐต้องลงมาช่วยเหลือสนันสนุนให้ประชาชนที่เป็นรากหญ้า รากแก้ว หรือจะรากฝอยก็ตามที ให้เข้ามาชมงานนี้ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบซึ่งอาจจะเป็นหลาย ๆ หน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกัน ทำงานเป็นทีม และมีการประเมินผลงานกันเป็นทีม (Team Base Performance) ต้องความรู้จากการเยี่ยมชมงานนี้ ไปวางแผน ดำเนินงานตามแผน รวมทั้งคอยกำกับ ติดตาม ช่วยเหลือชุมชน ชาวบ้านให้เห็นผลอย่างแท้ คือต้องดู้ทั้งผลผลิตที่ได้ (Output) และผลลัพธ์สุดท้ายในการทำงาน (Result) หรือแม้กระทั่งการร่วมกันหาวิธีการที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขณะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ได้รับความรู้และในขณะเดียวกันเตรียมรับมือกับการฟื้นฟูพื้นที่นา ไร่ที่น้ำท่วมถึงให้กลับเข้าสู่สภาวะที่ชาวบ้านสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการช่วยคลายความทุกข์ร้อนให้แก่ผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ไม่ใช่อีกฝั่งกำลังมีความสุขได้กับการเดินเยี่ยมชมงานศึกษาหาความรู้ แต่อีกด้านหนึ่งกลับเดือดเนื้อร้อนใจรวมทั้งการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ด้วยก็จะดี ซึ่งผมไม่ค่อยแน่ใจว่าปัจจุบัน วิชาเกษตร ที่พวกเราเคยได้เรียนเป็นวิชาบังคับ ยังคงมีเรียนอยู่หรือเปล่า ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในกระทรวงควรมีการทบทวนก็จะดีไม่น้อย

ผมใคร่ขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านติดตาม หาความรู้ เกี่ยวกับ "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และหากเราจะร่วมกันเดินทางเพื่อเสาะหาความรู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากนะครับ ผมชอบ

ด้วยความเคารพ

สวัสดีครับชุมชนชาว Blog ที่เคารพทุกท่าน

วันนี้ (6/11/06) ผมได้เดินทางไปถวายข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ ที่วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ. ลาดบัวหลวง จ. ปทุมธานี ซึ่งประสบอุทกภัย ซึ่งน้ำท่วมสูงมาก ต้องจอดรถและนั่งเรือต่อไปยังวัดอีกประมาณ 4.5 กิโล ใช้เวลาประมาณ 25 นาที ซึ่งชาวบ้านประสบความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก หากสังเกตุจากภาวะแวดล้อมแล้ว คาดว่าชาวบ้านแถบนั้น อาจจะต้องทนทุกข์ไปอีกหลายสัปดาห์ และที่น่าเป็นห่วงก็คือ เราจะช่วยพวกเขาเหล่านั้น ฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และการทำมาหากินหลังน้ำท่วมอย่างไร ให้เขากลับสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด ร่วมด้วยช่วยกันนะครับ 

และเมื่อวันศุกร์-เสาร์ที่ผ่านมา (3-4 พ.ย.49) ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งจัดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า สมศ. ในฐานะ ผู้ประเมินภายนอกซึ่งเนื้อหาวันแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในวงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหัวใจของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งถ่ายทอดโดย ดร. จิรายุ อิศรางกูรฯ โดยกล่าวถึง 3 ห่วง 2 เงื่อน คือ ต้องมี 3 หลัก 2 เงื่อนไข หมายความถึงหลักการ 3 ประการคือ1)     ความพอประมาณ 2)     ความมีเหตุมีผล และ3)     มีภูมิคุ้มกันและเงื่อนไข 2 ประการคือ1)     ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง2)  คุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ความเพียร การใช้สติปัญญา เพื่อให้ตนเองมั่นคงและแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน

ต่อจากนั้นก็เป็นการเสวนา เรื่องตามรอยพ่อ วิถีแห่งการพัฒนาชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา โดย ดร. ปรียานุช พิบูลสราวุธ อาจารย์พริ้มพราย สุพโปฎก อาจารย์กรรณิการ์ มาบุญมี อาจารย์กัญพิมา เชื่อมชิต และดำเนินรายการโดยคุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ ซึ่งกล่าวถึงการจัดหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างสรรผลงาน/นวัตกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาให้เด็กนักเรียนตั้งแต่วัยประถม/มัธยม

และที่สำคัญในช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 3 มีการจัด Symposium นำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อม ๆ กับการเสวนา เรื่อง ตามรอยพ่อ วิถีแห่งการพัฒนาคน พัฒนาชาติ กล่าวถึงการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้นั้น จะต้องร่วมมือกันของทุก ๆ ฝ่าย ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มด้วยกันคือ 1) กลุ่มผู้นำทางความคิด 2) นักวิชาการ 3) สถาบันทางการเมือง 4) สถาบันการศึกษา 5) สื่อมวลชน 6) ประชาสังคม ผู้นำชุมชน 7) องค์กรภาครัฐ และ 8) องค์กรภาคเอกชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่หน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและนำปรัชญาไปใช้อย่างจริงจัง ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้เกิดกระจายตัวสู้ชุมชนและท้องถิ่นชนบทให้เข้าใจและประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง

โดยส่วนตัวผมคิดว่า วิธีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเสริมได้ก็คือ อาจจะนำหลักการบริหารธุรกิจ MLM หรือธุรกิจลูกโซ่มาใช้ในการขับเคลื่อน โดยมีผู้คอยให้คำแนะนำติดตามช่วยเหลือจนปฏิบัติเป็นกิจวัตร ไม่ใช่แค่เพียงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างเดียว ในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีการคัดเลือก Role Model หรือแบบอย่างของการนำหลักปรัชญามาใช้ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดและระดับประเทศ เป็นต้น หรือจัดให้อาสาสมัครที่เข้าไปร่วมขับเคลื่อนจากกลุ่มชมรมนักศึกษาตามมหาวิทยาลัย ชมรมอิสระต่าง ๆ ก็จะทำให้พลังขับเคลื่อนรุดหน้าไปได้รวดเร็วและยั่งยืน

ด้วยความเคารพ

สวัสดีค่ะท่าน  ประจวบ ไกรขาว

  • ได้อ่านแล้วค่ะ
  • ครูอ้อยจะนำความรู้และหลักการไปลงในแผนการจัดการเรียนรู้นะคะ
  • ซึ่งในปีการศึกษานี้  เน้นเรื่องนี้  สำคัญมาก  ต้องลงในทุกแผนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

รู้จักพอ หมายถึง พอในสิ่งที่ตนมี ไม่โลภ ไม่อยากได้

                            ตามผู้อื่น

รู้จักใช้  หมายถึง ใช้ในสิ่งที่จำเป็นไม่ใช้เกินตัวเอง

รุ้จักกิน  หมายถึง กินให้เหมาะสมกับสถานะของเรา

รู้จักเที่ยว หมายถึง เที่ยวให้เหมาะสมกับรายได้

ถ้าหลายคนเป็นเช่นนี้ก็จะรู้จักรคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"

"พึงพอใจในสิ่งที่ตนมีแล้วจะมีความสุข"

ยาวไปอ่านไม่หมดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท