การพัฒนาองค์การสำหรับนักบริหารท้องถิ่น


มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
การพัฒนาองค์การสำหรับนักบริหารท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 85819เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

สวัสดีครับนักศึกษาและชาว Blog ทุกท่าน

 วันนี้ขอแบ่งปันควารู้เกี่ยวกับ

หลักเกณฑ์และความรู้ทั่วไปในการจัดการ(Management principle and Knowledge) จากหนังสือ องค์การและการจัดการ เขียนโดย รศ. ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะดังนี้1.      การจัดการ : หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ·       ลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการ·        ความหมายของการจัดการ§        เป็นกระบวนการออกแบบและรักษาสภาพแวดล้อมซึ่งบุคคลจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ (Weihrich and Koontz)§        กระบวนการเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยใช้การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ทรัพยากรข้อมูลขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Bovee and others)§        เป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้จัดการต้องเข้ามาช่วย เพื่อให้บรรลุวัตถุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยมีลักษณะดังนี้1.       การจัดการสามารถประยุกต์ใช้กับองค์การใด ๆ ได้2.       เป้าหมายของผู้บริหาร คือสร้างกำไร3.       การเพิ่มผลผลิต4.       การจัดการสามารถนำมาใช้กับผู้บริหารทุกระดับได้·        การบริหารกับการจัดการ§        ความหมายของการบริหาร§        ความหมายของการจัดการ§        หน้าที่ในการจัดการ1.       การวางแผน (Planning) 2.       การจัดองค์การ (Organizing) 3.       การนำ (Leading) 4.       การควบคุม (Controlling)§        หน้าที่ของการจัดการในระดับต่าง ๆ ขององค์การ§        ทักษะในการจัดการและลำดับขององค์การ (Robert L. Katz)        1.       Technical Skill2.       Human Skill3.       Conceptual Skill4.       Design Skill§        Excellent Companies (Thomas Peter and Robert Waterman : In Search of Excellence)1.       มุ่งเน้นการปฏิบัติ2.       เรียนรู้ความต้องการของลูกค้า3.       สนับสนุนความเป็นอิสระในการจัดการและการประกอบการ4.       บรรลุผลผลิต5.       ปรัชญาของบริษัทมักจะขึ้นอยู่กับคุณค่าของผู้นำ6.       มุ่งธุรกิจที่บริษัทชำนาญที่สุด7.       มีโครงสร้างองค์การแบบง่าย ไม่ซับซ้อน พร้อม ๆ ไปกับการมีพนักงานที่มีคุณภาพ8.       มีความสมดุลย์ในการกระจายอำนาจและรวมอำนาจ·       การเพิ่มผลผลิต ประสิทธิภาพและประสิทธิผล·       การจัดประเภทของระดับบริหาร และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงลักษณะผู้บริหาร·        ผู้บริหารหรือผู้จัดการ·        การจัดประเภทระดับผู้บริหาร1.       Top Management2.       Middle Management3.       First Line/Front Line Management·        ทัศนะการเปลี่ยนแปลงจากผู้จัดการแบบดั้งเดิม·       ศาสตร์และศิลป์ในการจัดการ·        ศาสตร์ในการจัดการ1.       แนวคิด (Concepts) ที่ชัดเจน2.       ทฤษฎี (Theory)3.       ความรู้ที่สะสมไว้ โดยพัฒนาจากสมมติฐาน (Accumulated Knowledge)4.       การทดลอง (Experimentation)5.       การวิเคราะห์ (Analsysis)·        บทบาทของทฤษฎีการจัดการ·        เทคนิคในการจัดการ·        ความนิยมในการจัดการ1.       Planning2.       Organizing3.       Leading 4.       Controlling·       องค์การ·        จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน·        สมาชิก·        โครงสร้างที่เหมาะสม·        องค์การแบบดั้งเดิมกับองค์การบบใหม่·       การจัดการระบบ·        การวิเคราะห์เชิงระบบ·        ทฤษฎีระบบ·        ระบบเปิดกับระบบปิด·        การจัดการปฏิบัติการ§        ปัจจัยนำเข้าและผู้ที่ได้รับประโยชน์จากองค์กร§        กระบวนการแปรสภาพทางการบริหาร§        ระบบการติดต่อสื่อสาร§        ตัวแปรภายนอก§        ผลผลิต§        การกระตุ้นระบบ·       สาขาอาชีพในการจัดการ§        Generalist §        Specialist·        ปัจจัยสำคัญสำหรับสาขาอาชีพในการจัดการ1.       คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของธุรกิจ2.       กำหนดผลิตภัณฑ์ของตนเอง3.       รู้จักตลาดเป้าหมาย4.       รู้ถึงสาเหตุที่ลูกค้าซื้อสินค้า5.       คำนึงถึงคุณภาพโดยรวม (Total Quality)6.       มีความรู้ในสาขาอาชีพการจัดการและรู้ถึงสิ่งที่กำลังเป็นอยู่7.       ลงทุนเพื่อความเจริญเติบโตและการพัฒนา8.       ยอมรับการเปลี่ยนแปลงลักษณะอาชีพ·       การเปลี่ยนแปลงและอนาคตของการจัดการ1.       การขยายสู่ตลาดโลก2.       การจัดการโดยใช้คุณภาพโดยรวม (TQM)§        ความพึงพอใจของลูกค้า§        การมีส่วนร่วมของพนักงาน§        การกำหนดและสร้างความเข้มแข็งทางด้านความสัมพันธ์ผู้ขายปัจจัยการผลิต §        การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง3.   องค์การแห่งการเรียนรู้4.   การมองการณ์ไกล5.       จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม6.       การกระจายกำลังแรงงาน7.       ค่านิยมในการจ้างงานและสิทธิมนุษยชน8.       การเปลี่ยนแปลงด้านสารสนเทศและเทคโนโลยี9.       ลักษณะอาชีพและโครงสร้างลักษณะอาชีพ      2.      การจัดการระดับโลกและการจัดการระหว่างประเทศ·       ความจำเป็นที่จะต้องทำธุรกิจระหว่างประเทศ1.       ต้องการกำไรมากขึ้น2.       แสวงหาลูกค้า3.       ผู้จัดส่งวัตถุดิบ4.       เงินทุน5.       แรงงาน·       ทัศนะระดับโลกด้านการจัดการ1.       ยุโรปใหม่ : สหภาพยุโรป (European Union=EU) 2.       กลุ่มประเทศอเมริกา (North American Free Trade Agreement=NAFTA)3.       กลุ่มประเทศเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation =APEC)4.       แอฟริกา ·       การจัดการระหว่างประเทศและบริษัทนานาชาติ·        ลักษณะและจุดมุ่งหมายของธุรกิจระหว่างประเทศ1.       การส่งออกสินค้าและบริการ2.       การตกลงให้สัมปทานในการผลิตสินค้า3.       สัญญาการจัดการเพื่อให้บริษัทต่างประเทศดำเนินการได้4.       การร่วมลงทุน5.       ระบบสาขา·        ข้อได้เปรียบของบริษัทนานาชาติ1.       โอกาสขยายธุรกิจ2.       รายได้เพิ่ม3.       ประสิทธิภาพในการผลิต4.       การจ้างผู้เชี่ยวชาญ·        ข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน1.       กลยุทธ์โครงสร้างของบริษัทและการแข่งขัน2.       สภาพความต้องการซื้อ3.       อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง4.       สภาพการผลิต·       ความสำคัญของตลาดต่างประเทศ·        การค้นหาทรัพยากร·        การค้นหาลูกค้า·       สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ·        สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจโลก1.       การพัฒนาเศรษฐกิจ2.       โครงสร้างสาธารณูปโภค3.       ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน4.       อัตราการแลกเปลี่ยนทางการเงิน5.       การจัดหาทรัพยากร·        สภาพแวดล้อมด้านกฎหมาย1.       ความเสี่ยงด้านการเมือง2.       กฎหมายและข้อกำหนด3.       การควบคุมทางการค้าo       ภาษี o       โควตานำเข้าo       เงื่อนไขการส่งออกโดยสมัครใจ4.       การกีดกันทางการค้า·        อิทธิพลด้านสังคมวัฒนธรรมo       ขอบเขตของอำนาจo       การหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนo       การมุ่งความสำคัญที่ความเป็นปัจเจกบุคคลo       ความสนใจเรื่องเวลาo       วัฒนธรรมของลักษณะเพศชาย/เพศหญิง·        อิทธิพลด้านเทคโนโลยี·       การเข้าสู่ตลาดธุรกิจระดับโลกo       การส่งออกและนำเข้า (Exporting and Importing)o       การให้สัมปทาน (Licensing)o       การให้สิทธิทางการค้า (Franchising)o       การร่วมลงทุน (Joint Ventures)o       การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)·       ทัศนะการจัดการในกิจกรรมระดับโลก·       การจัดการระหว่างประเทศในประเทศที่ได้เลือกสรร·       การจัดการของประเทศญี่ปุ่นและทฤษฎี Z·       หน้าที่การจัดการในธุรกิจระหว่างประเทศ·       การจัดการเชิงเปรียบเทียบ   3.      วิวัฒนาการของแนวคิดในการจัดการ และรูปแบบของการวิเคราะห์การจัดการ·       ผู้บริหารและทฤษฎีการจัดการ·       การศึกษาการจัดการแบบคลาสสิค·       การศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรม·       การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ·       ทัศนะการจัดการสมัยใหม่·       แนวคิดการจัดการในยุคปัจจุบัน·       รูปแบบการวิเคราะห์การจัดการ 4.      สภาพแวดล้อมขององค์การ การสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และความรับผิดชอบด้านสังคมและจริยธรรม·       สภาพแวดล้อมขององค์การ·       สภาพแวดล้อมภายนอก : สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน·       สภาพแวดล้อมภายนอก : ด้านวัฒนธรรมองค์การ·       สภาพแวดล้อมภายนอก : ด้านเศรษฐกิจ·       สภาพแวดล้อมภายนอก : ด้านเทคโนโลยี·       สภาพแวดล้อมภายนอก : ด้านสังคม·       สภาพแวดล้อมภายนอก : ด้านการเมืองและกฎหมาย·       การจัดการภายใต้สภาพแวดล้อมขององค์การ·       การจัดการและความรับผิดชอบทางสังคม·       ทัศนะองค์การต่อความรับผิดชอบด้านสังคม·       การจัดการ
นางณัฐวรรณ นามาสุข รหัส 4722010633

เรียน อาจารย์ ประจวบ ไกรขาว

     การที่บุคคลแต่ละคนมาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มมักจะหนีปัญหาเรื่องการขัดแย้งไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความคิดเห็นในการทำงานหรือวิธีดำเนินงานก็ตาม ในการพัฒนาองค์การสำหรับผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องมีการวางแผน เพราะเป็นกระบวนการกำหนดเป้าหมายขององค์การและวิธีการปฏิบัติรวมทั้งแนวทางในการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การเข้าด้วยกัน ทำให้การดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่น และให้เข้าถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

    การที่จะพัฒนาองค์การได้นั้นเริ่มต้นด้วยการพัฒนาคน เพราะคนมีความแตกต่างกันมีความต้องการแตกต่างกัน ทั้งแตกต่างทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพ การรับรู้ สติปัญญา และมีแรงจูงใจแตกต่างกัน เพราะคนทุกคนมีพื้นฐานทางครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้บริหารจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของคนที่ทำงานร่วมกันมากขึ้น ความเข้าใจพื้นฐานที่ทำให้เรายอมรับความหลากหลายหรือความแตกต่างระหว่างกัน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่งคนมในองค์กรจะลดลง เพราะบางครั้งเราจะพบว่าปัญหาหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในงาน บางส่วนเป็นผลมาจากความแตกต่างทางด้านความคิด การรับรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ ความต้องการหรือความแตกต่างด้านอื่น ๆ นอกจากการเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้ผู้บริหารทราบจุดเด่นจุดด้อยของคนในองค์การ และนำไปใช้จัดงานที่เหมาะสมกับเขา หรือใช้เป็นจุดประกอบในการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาในจุดที่เขาขาด หรือส่งเสริมจุดเด่นของเขาให้พัฒนามากขึ้น เพราะการพัฒนาคนเป็นการเริ่มต้นการพัฒนาองค์การ เพราะคนคือตัวขับเคลื่อนที่จะพาองค์การไปสู่เป้าหมาย ผู้บริหารจะพัฒนาองค์การให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ ในการบริหารเพื่อให้ชนะใจคนในองค์การ เพราะผู้บริหารมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคนโดยเฉพาะ จำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง  เข้าใจระบบงานมีวิธีการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ใช้เทคนิคในการจูงใจลูกน้อง และทำให้ลูกน้องรักงานเหล่านี้ โดยมุ่งพัฒนาทีมงานเน้นความรับผิดชอบของงานที่กลุ่มมากกว่าบุคคล ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริหารประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

      จาก ความคิดของตนเองล้วน ๆ

                                     เคารพอย่างสูง

                                        ณัฐวรรณ  นามาสุข

สิบเอก สมภาร กล้าหาญ

เรียน อาจารย์ ประจวบ   ไกรขาว ที่เคารพ

ความสำเร็จในการทำงานไม่ใช่เพียงเป้าหมายในการทำงานของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงพลังที่มนุษย์ภาคภูมิใจ ในความสำเร็จที่จะผลักดันให้มนุษย์ สร้างความสำเร็จได้เพิ่มขึ้น ในอนาคตอีกด้วย องค์การจะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นต้องอาศัยกระบวนการทำงานและบุคลากรที่อยู่ในองค์กร ผู้บริหารจะต้องมีการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานอีกทั้งการจูงใจ ให้สมาชิกในองค์การรู้สึกอยากจะทำงาน ซึ่งจะทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นประสิทธิภาพในการทำงานอีกอย่างหนึ่ง จะทำให้บุคคลยอมรับแนวทางใหม่ๆ การจูงใจกระตุ้นให้คนเกิดกำลังใจในการปฏิบัติงานที่สำคัญมีการทำงานเป็นทีม เพราะคนๆเดียวไม่สามารถทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การได้เพราะการทำงานเป็นทีม ย่อมมีประสิทธิภาพกว่าและประเด็นสำคัญของผู้บริหารที่จะนำมาพิจารณาประกอบในการบริหารงานการสร้างทีมงานนั้น ย่อมรวมถึงการสร้างบรรยากาศขององค์กร มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของแต่ละคน สมาชิกในองค์การยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน แม้จะมีการขัดแย้งกันบ้าง คนในกลุ่มก็ยังมีความรู้สึกที่จะอยู่ร่วมกันได้ต่อไปและมีการตัดสินใจ โดยความเห็นร่วมกันส่วนใหญ่มีการวิจารณ์เป็นไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่มีการมุ่งโจมกันเป็นส่วนตัว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การวิจารณ์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานให้สำเร็จขององค์การและการสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีการประกอบด้วยการให้มีความสำคัญกับตนเอง ทุกคนต้องมั่นใจว่าตนเองทำได้ และจะต้องทำให้สำเร็จได้แน่นอน ให้ความสำคัญกับงานว่างานที่ตนเองกำลังจะลงมือทำเป็นงานที่มีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายแน่นอนทำแล้วเกิดประโยชน์ และเมื่อสำเร็จทำให้เกิดความภาคภูมิใจให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานในการทำงานเพื่อนร่วมงานทุกระดับชั้น คือคนสำคัญที่สุดเมื่อมอบหมายงานให้ต้องมั่นใจว่าเขาต้องทำสำเร็จ เราต้องส่งเสริมให้เขารับผิดชอบด้วยความเต็มใจ ไม่ต้องไปล้วงลูกขณะทำงาน และเมื่อโครงการประสบความสำเร็จของตนเองถ้าผู้บริหารขององค์การตระหนักในเรื่องนี้ งานการพัฒนาองค์การย่อมสำเร็จมีประสิทธิภาพ และคนทำงานมีความสุขยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้

                 ด้วยความเคารพอย่างสูง

สิบเอก สมภาร  กล้าหาญ รปศ.รุ่น 8 หมุ่ 2

พ.ท.ประมุข ปรางค์ปรุ รหัสประจำตัว 4722000999

เรียน  อาจารย์ ประจวบ  ไกรขาว

          การที่จะพัฒนาองค์การให้สำเร็จได้นั้นจะต้องเริ่มต้นที่คนก่อนเป็นอันดับแรก  ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างของบุคคลในองค์การของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นพื้นความรู้ขีดความสามารถหรือแม้กระทั้งพื้นฐานทางครอบครัวของแต่ละคน พื้นฐานของแต่ละคนเราต้องยอมรับความหลากหลาย หรือความแตกต่างระหว่างกันและกันของคนในองค์การ  ซึ่งจะทำให้ปัญหานั้นลดลง เพราะปัญหาหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบางส่วนเป็นผลมาจากความแตกต่างทางด้านความคิด ประสบกาณ์ หรือการเรียนรู้  ดังนั้นเมื่อผู้บริหารทราบว่าแต่ละคนมีจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละคนในองค์การแล้ว  คนคือตัวขับเคลื่อนที่จะพาองค์การไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  ดังนั้นผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเข้าใจทั้งพฤติกรรมของตนเองและคนในองค์การ เข้าใจระบบงาน รู้จักใช้เทคนิคในการจูงใจให้คนในองค์การของตนรักในการทำงาน จึงจะทำให้ผู้บริหารประสบผลสำเร็จในการบริหารองค์การเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย หรือตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ต่อไป

                                           ด้วยความเคารพอย่างสูง

                        พ.ท.ประมุข  ปรางค์ปรุ  รปศ.8 หมู่ที่ 2

การบริหารองค์กร เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ประกอบด้วย การวางแผน , การจัดองค์กร , การนำ และการควบคุม  องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญ แม้ความสำเร็จขององค์กรจะเกิดขึ้นด้วยการวางแผน ซึ่งเป็นขึ้นตอนสำคัญอันดับแรกก็ตาม  แต่ส่งที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงก็คือทรัพยากรณ์มนุษย์  ซึ่งเป็นทรัพยากรณ์ที่สำคัญที่สุดในบรรดาทรัพยากรณ์อื่นๆ ที่มีอยู่ ฉะนั้นแล้วการบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ถือเป็นส่งสำคัญยิ่งที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และความเจริญเติบโตในอนาคต  การบริหารองค์กร ผู้บริหารต้องรู้จักใช้คนให้ตรงกับงาน รู้จุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละคน  แล้วใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นายโกศล ไกรวัลย์(รปศ.8/2 กศ.ปช. 4722003580)
นักบริหารย่อมตระหนักดีว่า องค์การหรือหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งใน
ส่วนตัวบุคคล กลุ่ม และองค์การ โดยไม่มีผู้ใดสามารถขัดขวางหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงได้ และ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆอย่างไม่หยุดยั้ง   ฉะนั้น
การที่จะพยายามรักษา

เสถียรภาพ และความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นการขัดขวางต่อกฎแห่งความจริง นักบริหาร
ตะหนักต่อไป
ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  ผู้ทำงานมักมีกิริยาต่อต้านขัดขืนไม่พอใจ     เพราะเข้าใจว่าการ
เปลี่ยนแปลงคือการขัดขวางต่อฐานะ และคุณค่าของตน ยกตัวอย่างเช่น
การเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพของงาน 
ผู้ใต้บังคับบัญชาอาจต่อต้านไม่พอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใต้บังคับบัญชา

ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง
เพื่อสวัสดิการ ผู้บังคับบัญชาอาจต่อต้าน ขัดขืนไม่พอใจเพราะเข้าใจ
ว่าเป็นการ
กระทบกระเทือนต่ออำนาจการปกครองหรือความมั่นคงในตำแหน่ง
หน้าที่การงานของตน
ดังนี้เป็น
ต้น แต่ถ้าจะพิจารณาให้ถ่องแท้ตามเหตุผล และความเป็นจริงแล้ว การเกิดแนวความคิดใน
การเปลี่ยนแปลงต่างหากที่ทำให้เกิดประโยชน์  และคุณภาพใหม่อันเป็นที่น่าพอใจมากขึ้นด้วย
สิบเอก พงศกร ปะตังเวสา รหัส 4722007454 กศ.ปช.รุ่น 8 หมู่ 2

เรียน    อาจารย์   ประจวบ    ไกรขาว

            การที่จะพัฒนาองค์การนั้นจะต้องเริ่มจากการวางเป้าหมายและการวางแผนก่อนเป็นอันดับแรก  เพราะจะเป็นการกำหนดเป้าหมายขององค์การ  และเป็นแนวทางในการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์การเข้าด้วยกัน  ซึ่งจะทำให้การดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นไปอย่างราบรื่น  ตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในการที่เราจะพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพได้นั้น  นอกจากจะมีการวางแผนที่ดีแล้ว  จะต้องมีการพัฒนาบุคคลากรภายในองค์การให้ดีด้วย เพราะกิจกรรมทุกกิจกรรมในองค์การจะเดินหน้าไปได้นั้นก็ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลากรในองค์การทั้งนั้น      ในการที่ผู้บริหารงานท้องถิ่น  จะพัฒนาบุคคลากรในองค์การของตนเองนั้นผู้บริหาร  จะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในองค์การก่อนเพราะ  บุคคลในองค์การนั้น  มีความแตกต่างกัน  มีทั้งความต้องการ  มีบุคลิกภาพ  ความรู้  ความเข้าใจที่แตกต่างกัน  ซึ่งผู้บริหารจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างเหล่านี้ของบุคคลากร  แล้วผู้บริหารจะทราบถึงจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละคน  เมื่อผู้บริหารทราบถึงจุดเด่น จุดด้อยของบุคคลากรแล้ว  ก็จะสามารถนำไปใช้ในการจัดแบ่งงานให้กับบุคคลกรได้อย่างเหมาะสม  และผู้บริหารก็ต้องใช้วิธีการและเทคนิคในการจูงใจให้กับบุคคลกรด้วย  ทำให้บุคคลกรชอบงานในหน้าที่ที่เขากระทำนั้นหรือรักองค์การ   แต่ในการพัฒนาองค์การที่ดีควรมุ่งการพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากวัตถุประสงค์และกระบวนการการดำเนินงานของกลุ่มย่อยอาจมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์การเอง  ซึ่งจะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์การโดยส่วนรวมได้  แต่ในขณะเดียวกันตัวผู้บริหารเองก็จะต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่หรือพฤติกรรมของตนเองเข้าใจระบบงานได้ดีด้วย                                          

        ดังนั้นการพัฒนาองค์การจึงควรมุ่งสนใจไปที่การวางเป้าหมายและการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์อย่างมีระบบ

                    ด้วยความเคารพอย่างสูง

                               สิบเอก  พงศกร  ปะตังเวสา

ณัฐยา ถิ่นศรีทอง กศ.ปช.8 หมู่ 2 รหัส 4722008477

เรียน อาจารย์ประจวบ ไกรขาว ที่เคารพ

นักบริหารท้องถิ่นที่ดี คือ ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอแนะหรือให้โอกาสได้แสดงความคิดเห็นบ้างตามสมควร เพราะองค์การจะเติบโตได้ต้องอาศัยผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นส่วนช่วยผลักดันให้องค์การเติบโตได้ ฉะนั้นนักบริหารควรหันมาดูแลและใส่ใจกับบุคลากรในองค์การบ้าง คนในองค์การถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การให้อยู่ได้ ขณะเดียวกันนโยบายของผู้บริหารหรือนโยบายขององค์การซึ่งกำหนดโดยผู้บริหารก็เป็นส่วนสำคัญประการหนึ่ง เพราะถ้าองค์การไม่มีนโยบายก็เท่ากับไม่มีทิศทางในการที่จะเดินไปข้างหน้าต่อไป นโยบายก็เปรียบเสมือนแผนหรือแนวทางปฏิบัติที่จะดำเนินต่อไป พร้อมกับเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆ และยอมรับในสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเช่น เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า  การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่กำหนดไว้

ดังนั้นนักบริหารท้องถิ่นควรติดตามเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่เสมอ และวางนโยบายให้ชัดเจน ประกอบกับหมั่นตรวจสอบดูแลบุคลากรใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอเพื่อที่องค์การจะได้พัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ณัฐยา  ถิ่นศรีทอง

 

สิบเอกพิพัฒน์ พิลาดรัมย์ กศ.ปช.8 หมู่ 2 รหัส 4722008094

เรียน  อาจารย์ประจวบ  ไกรขาว ที่เคารพ

ทุกวันนี้จะมีการจัดการบริหารแบบไหนก็ไม่มีความหมายทั้งนั้นในเมื่อการเมืองไทยทุกวันยังอยู่ภายใต้อิทธิพล และอำนาจ 

การบริการทอ้งถิ่น  เมื่อมีการบริหารที่มีระบบระเบียบที่ดีไม่มีการใช้อำนาจมาแซกแซงหรืออิทธิพลต่างๆ  ได้มีการเลือกสรรค์บุคคลที่มีคุณภาพเข้ามาทำงาน  การบริหารก็คงจะดีขึ้นมากทีเดียว  การจัดองค์กรท้องถิ่นปัจจุบันนั้น  ผมติดว่าจัดตามที่ราชการกำหนดให้เท่านั้นให้เห็นว่ามีเหมือนกับท้องถิ่นอื่นๆเขาไม่ได้มีการจัดระเบียบหรือระบบที่ดี  ไม่มีการวางแผนเองจะเป็นการที่ขอความช่วยเหลือจากทางราชการมากกว่า คิดเองไม่ค่อยเป็น (ชอบเลียนแบบ)

แต่ถ้าเมื่อเรามีคนที่มีความรู้ในเรื่องของการพัฒนาท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้บริหารและเป็นคนที่มีความโปร่งใสในการทำงานรู้จักเอาใจใส่ในงาน  ไม่ทำงานใช่ว่าเฉพาะหน้าที่ของตัวเอง  สามารถทำได้หลายตำแหน่ง ช่วยเหลือคนอื่นได้ดี  ท้องถิ่นนั้นก้จะมีความเจริญมากขึ้นและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับท้องถิ่นอื่นต่อไป

จะดีขึ้นไหมถ้ามีการจัด  เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบการบริหารท้องถิ่นต่างๆ  และประเมินท้องถิ่นนั้นๆ  โดยแยกส่วนออกมาไม่ขึ้นกับองค์กรใด  เพื่อที่จะหาผู้บริหารที่มีคุณภาพมาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้ยั้งยืนต่อไป

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สิบเอก  พิพัฒน์   พิลาดรัมย์

นาย ประสาน เกิดมงคล กศ.ปช. 8/2 รหัส 4722002940

เรียน  อาจารย์ประจวบ  ไกรขาว ที่เคารพ

       การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี ควรเน้นผู้รับบริการหรือประชาชนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความต้องการ ความเสมอภาคและความยุติธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่านโยบายสาธารณะ เพื่อประโยชน์แห่งปวงชน 

       โดยการนำหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในพื้นที่ของตนเอง

       

นางสาวชุติกาญจน์ แตงกระโทก รปศ. กศ.ปช.รุ่น 8 หมู่ 2 รหัส 4722000883

          องค์กรของประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่จำนวนมาก  ในแต่ละองค์กรต่างต้องปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรของตน  อละที่มีบทบาทมากในปัจจุบันคืองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  ไม่ว่าจะเป็น อบต.  อบจ.  ต่างก็มีความสำคัญทั้งนั้น  แต่ที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรดำเนินการใดๆ ได้ต้องประกอบไปด้ายนักบริหารท้องถิ่น

          นักบริหารทอ้งถิ่นเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานใดๆ ของท้องถิ่นสำเร็จลุล่างไปด้วยดี  การที่จะเป็นนักบริหารท้องถิ่นที่ดีได้นั้นต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ หลายประการ  ใช่ว่าจะจบการศึกษาสูงแล้วต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์เป็นปัจจัยสำคัญอีกด้วย

          สำหรับนักบริหารท้องถิ่นมีบทบาทมากในปัจจุบันเพราะเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด  จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างมาก

          นอกจากจะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งแล้วต้องพัฒนาองค์กรให้เข็มแข็งเพื่อรองรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

น.ส อุษา กาญจนวาหะ รหัส 4722000220 ภาค กศ.ปช. รุ่น 8 หมู่ 2

เรียน  อาจารย์ประจวบ ไกรขาวที่เคารพ การพัฒนาองค์กรที่ดี สำหรับนักบริหารท้องถิ่นในมุมมองแนวความคิดของดิฉัน คิดว่าควรส่งเสริมให้องค์กรมีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและบรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้  และที่สำคัญนักบริหารที่ดีควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย

น.ส. พิมผกา มุ่งกล่อมกลาง
เรียน อาจารย์ ประจวบ ไกรขาว ที่เคารพ การพัฒนาองค์กร คือ กาส่งเสริมให้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงไปในนทางที่ดีขึ้นโดยมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพร่วมกันและนักบริหารที่ดีควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นหรือผู้ร่วมงานด้วยเพื่อการทำงานอย่างระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยเน้นความสัมพันธ์ในด้านมนุษย์สัมพันธ์ของบุคคลในองค์การแทนที่จะเน้นเรื่องกฎระเบียบในการทำงาน ด้วยความเคารพ นางสาว พิมผกา มุ่งกล่อมกลาง รปศ.รุ่น 8/2
นางสาวสุนารี สุระเดช รหัส 4722010277ภาค กศ.ปช. รุ่น 8 หมู่ 2

เรียน  อาจารย์ประจวบ ไกรขาวที่เคารพ การพัฒนาองค์กรที่ดี สำหรับนักบริหารท้องถิ่นในมุมมองแนวความคิดของดิฉัน คิดว่าควรส่งเสริมให้องค์กรมีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและบรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้  และที่สำคัญนักบริหารที่ดีควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย และการพัฒนาองค์กรเป็นเครื่องมือพื้นฐานทางด้านบริหารที่จะช่วยให้เกิดการเปลื่ยนแปลงภายในองค์กรและเน้นพฤติกรรมระหว่างมนุษย์ในองค์กร โดยทั่ว ๆไป ทั่งนี้เพื่อหวังประสิทธิผลและประสิภาพขององค์กร แทนที่จะเน้นเรื่องตัวบทกฏหมายและข้อบังคับทางกฎหมาย

นายกฤษณะ สุ่ยกระโทก กศ.ปช.8 หมู่ 2 รหัส 4722000514
เรียน อาจารย์ประจวบ ไกรขาว ที่เคารพ การบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี ควรเน้นผู้รับบริการหรือประชาชนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความต้องการ ความเสมอภาคและความยุติธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณะ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดแก่ปวงชน โดยการนำหลักสูตรการบริหารต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลอย่างสูงสุดในพื้นที่ของตนเองและสิ่งที่นักบริหารควรคำนึงถึงคือนักบริหารจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย และการพัฒนาองค์กรจะเป็นไปอย่างสะดวก
นายศราวุธ ริมหทัย กศ.ปช.รุ่น 8 หมู่ 2 รหัส4722008620
เรียน อาจารย์ประจวบ ไกรขาว ที่เคารพ นักบริหารท้องถิ่นเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดจะทำให้การดำเนินงานใดๆ ของท้องถิ่นสำเร็จลุล่างไปตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ การที่จะเป็นนักบริหารท้องถิ่นที่ดีได้นั้นต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ หลายประการ เช่น เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์เป็นปัจจัยสำคัญสิ่งแรกที่จะต้องมี สำหรับนักบริหารท้องถิ่นมีบทบาทมากในปัจจุบันเพราะเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างมาก เพื่อพัฒนาชุมชนให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง
พ.อ.อ.สุรจิต จิตหนักแน่นั

     การพัฒนองค์กรมีความสำคัญต่อองค์กรทุกองค์กรอยู่แล้ว  เพราะภายในองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนศึกษาถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน  หรือการบริหารคนภายในองค์กร  เพื่อจะให้องค์กรนั้นดำเนินงานได้อย่างสะดวก  ลดความสิ้นเปลื่อง  ต่อทรัพยากรภภายในองค์กร 

     แต่สำหรับการพัฒนาองค์กรสำหรับนักบริหารท้องถิ่นต้องคำนึงถึงสภาพสภาวขององค์กรตนว่าเป็้็นอย่างไร  ผู้บริหารท้องถิ่นต้องศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กรที่มีผลต่อองค์กร  เพราะองค์กรท้องถิ่นนั้นใกล้ชิดกับประชาชนเพราะเป็นที่รับบริการและให้บริการสำหรับประชาชน  ซึ่งต้องดูความต้องการของประชาชนในกลุ่มเป้าหมายขององค์กรนั้น  ซึ่งถ้าเราสามารถทราบข้อบกพร่องหรือความต้องการเราก็จะสามารถปรับองค์กรของเราให้ทันกับความต้องการ  ของประชาชนได้อย่างทันท่วงที
 

น.ส. นุจรี วัจนศิริเสถียร ภาค กศ.ปช รุ่น 8 หมู่ 2 รหัส 4722007373

เรียน อาจารย์ ประจวบ  ไกรขาว ที่เคารพ

   การพัฒนาองค์กรในท้องถิ่นสำหรับการบริหารนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติขององค์การก่อนว่าจะช่วยให้ผู้บริหารนำความรู้ไปประยุกต์ในการบริหารงานในท้องถิ่นได้อย่างไรที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์และบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ  ซึ่งการพัฒนาในท้องถิ่นตามความคิดของฉันคิดว่าจะต้องมีการวางแผนงานก่อนและหาแนวความคิดเกี่ยวกับการที่จะมาพัฒนาท้องถิ่นจะต้องมีหลักการ  รูปแบบ  โครงสร้างของท้องถิ่นและทำการหาข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่นนั้นว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องพัฒนาเพราะในการพัฒนาจะต้องเลือกพัฒนาสิ่งที่จำเป็นก่อนแล้วค่อยๆ พัฒนาตามลำดับในการพัฒนา  โดยการพัฒนาจะต้องมีหลักของการจัดการเข้ามาช่วยในการบริหารในท้องถิ่น  ซึ่งหลักในการบริหารเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการในท้องถิ่นจะต้องมีผู้บริหารที่ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะมาพัฒนาได้ จะต้องมี การวางแผน  การจัดการองค์การ  การจัดงานบุคคล  การอำนวยการ  การควบคุม  และยังมีแนวคิดการบริหารสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน  และสามารถตรวจสอบประเมินผลและติดตามผลต่อไปได้เพราะในพัฒนาจะต้องพัฒนาในหลายๆ ด้านและที่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือการพัฒนาคนและองค์การให้อยู่รอดได้

นายสิรวิชญ์ บาดกลาง 4722001839 รปศ.รุ่นที่ 8 หมู่ 2

 

 เรียน อาจารย์ประจวบ  ไกรขาว ที่เคารพ

      การพัฒนาองค์กรท้องถิ่นสำหรับการบริหารสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ บุคลากรต้องได้รับการเรียนรู้เกียวกับรูปแบบการพัฒนาอย่างถูกต้องมีการวางแผนที่ดีเป็นผลมาจากที่รัฐบาลยุครัฐธรรมนูญ  ๒๕๔๐ ได้บัญญัติเอาไว้เกี่ยวกับการแบ่งอำนาจการปกครองจากส่วนกลางลงมาให้เป็นการบริหารระบบส่วนท้องถิ่นขึ้น  นั่นก็คือการให้อำนาจแก่ประชาชนโดยแท้จริงในท้องถิ่นนั้น ๆ  เพราะว่าองค์การบริการส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการบริหารและพัฒนาโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการซำซ้อนหลายขั้นตอน ทำให้ชักช้าและยุ่งยากไม่ทันต่อการเปลี่ยนของสังคมที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง  ฉะนั้นแนวทางการพัฒนาจึงมาจากประชาชนเป็นการดีที่สุดและมีความเห็นชอบด้วยเป็นอย่างยิ่ง แลกิจกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไปได้สวยไม่สะดุดไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดสรรงบประมาณและการบริหารด้านสังต่าง ๆ อย่างเป็นรูปแบบ

นายสุชาติ อินทรภิรมย์ รหัสฯ4722004323 ร.ป.ศ.รุ่น 8 หมู่ 2
องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม  อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้  โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา  การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ  และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี
นางสาวกฤษณี ทิพย์อักษร รหัส 4722001243 กศ.ปช.รุ่น8 หมู่2 ร.ป.ศ.

เรียน  อาจารย์ประจวบ  ไกรขาว ที่เคารพ

       การพัฒนาองค์กรท้องถิ่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการวางแผน การจัดองค์กร  การนำ และการควบคุม  มนุษย์  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  การเงิน  การจะพัฒนาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีผู้นำองค์กรที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับองค์กรนั้นๆเป็นอย่างดี มีการวางแผนที่ดี  มีการจัดการองค์กรที่เหมาะสม  โดยการแบ่งแยกการปฏิบัติงานตามความสามารถของบุคลากรในองค์กรให้เหมาะสม และต้องมีการศึกษาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นเพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลว่าควรที่จะมีการพัฒนาอย่างไร  นอกจากนี้บุคลากรในองค์กรต้องมีความสามัคคีกันมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  โดยผู้นำองค์กรสามารถเป็นตัวกลางที่จะสร้างความสัมพันธ์ไมตรีนี้โดยจัดกิจกรรมให้บุคลากรในองค์กรได้ทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งจะสามารถทำงานบุคลกรในองค์กรทำงานร่วมกันเป็นอย่างดีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ    

นายเดชณรงค์ ชาวดอน รหัส 4722005044 กศ.ปช.รุ่น8 หมู่2 ร.ป.ศ. เมื่อ จ. 23 เม.ย. 2550 @ 11:05
เรียน อาจารย์ประจวบ ไกรขาว ที่เคารพ การพัฒนาองค์กรท้องถิ่นนั้น สำหรับนักบริหารท้องถิ่นการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นจะประสบผลสำเร็จได้นั้นต้องเกิดจากนักบริหารในองค์กรที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนโดยที่นักบริหารต้องมีความรู้ความสารถในการบริหารบ้านเมืองเพื่อที่จะวางแผนในการพัฒนาองค์กร ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ประเมินผลการทำงานว่าได้ตามเป้าหมายในทุกส่วนที่วางไว้หรือเปล่าถ้าไม่ได้ตามเป้าเกิดปัญหาตรงใหนมีการแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้การพัฒนาองค์กรบรรลุไปตามแผน มีความซื่อสัตย์สุจริต ถ้ามีความซื่อสัตยืสุจริตแล้วการพัฒนาองกรก็จะได้รับการพัมนาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามมา มีความรับผิดชอบในหน้าที่คือมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองงานก็จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายได้ตามกำหนด มีใจรักในการเข้ามาบริหาร ถ้ามีใจรักในการบริหารการทำงานก็จะเกิดจากความตั้งใจและงานก็จะออกมาดีตามที่ตั้งไว้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร
นายบุญสม แก้วกระโทก 4722001634

เรียน  อาจารย์ประจวบ  ไกรขาว ที่เคารพ

          สำหรับนักบริหารการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น   ควรคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลัก  และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด   นอกจากนี้ยังต้องกำหนดแผนงานและเป้าหมายในการทำงานด้วยเพื่อให้บุคลากรดำเนินงานนั้นๆ ให้บรรลุตามแผนงานที่กำหนดไว้   โดยต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักครับ

                               ด้วยความเคารพอย่างสูง

                               นายบุญสม   แก้วกระโทก

                  รปศ.  รุ่น 8   หมู่ 2   4722001634

           

ดรุณี คงเกษมภิบาล 4722004749 รปศ.8หมู่2

การที่จะพัฒนาองค์การเริ่มต้นจากการพัฒนาตน มีความแตกต่างกันด้านความรู้ความสามารถ สติปัญญา การแตกต่างด้านความคิด การรับรู้ ประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้บริหารจะพัฒนาองค์การให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการบริหารเพื่อให้ชนะใจคนในองค์การ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง ใช้เทคนิคในการจูงใจมุ่งทำงานเป็นทีม เน้นความรับผิดชอบ เพื่อนำทางไปสู่เป้าหมาย

 

ส.ต.อ.เสฏฐวุฒิ นาสันเทียะ4722004110 รปศ.8หมู่2

   เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

              การพัฒนาองค์กรนั้นมีทุกหน่วยงานเพราะทุกหน่วยงานจะต้องมีหลักในการพัฒนาองค์กรของตนเอง  การพัฒนาองค์กรนั้นผมคิดว่าลับดับแรกที่จะต้องพัฒนาคือ  บุคลากรภายในองค์กรนั้นๆ  เมื่อมีการพัฒนาบุคลากรแล้วต่อมาต้องมีการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในองค์กรและภายนอกองค์กรให้ดูดีขึ้น          สำหรับการพัฒนาองกรค์ของตำรวจอาจจะไม่สำเร็จเท่าที่ควรเพราะผู้บังคับบัญชาบางคนก็เห็นแต่ประโยชน์ของตนเองมากกว่าประโยชน์ขององค์กรค์ที่ตนอยู่  และไม่ค่อยนึกถึงผู้ไต้บังคับบัญชาเท่าที่ควร  องค์จะดีต้องมีความยุติธรรม  แต่คำว่า  ยุติธรรม  ไม่มีในองค์กร  องค์กรนั้นจึงลมเเหลว

lส.อ.จักรกฤษณ์ นาสมชัย รปศ. รุ่น 8 หมู่ 2 4722009678

เรียน  อาจารย์ประจวบที่เคราพ 

การที่เราจะบริหารองค์กรของเราให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง อาทิ  เช่น  การวางแผน , การจัดองค์กร  

เป็นต้น องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญมาก  ถึงแม้เราจะบริหารองค์กรได้ดีขนาดไหนก็ไม่อาจสำเร็จไปได้  ถ้าขาดบุคคลากรที่มีความสามารถและมีความรู้

ที่จะไปพัฒนาองค์กร  ดังนั้นการที่จะพัฒนาองค์กร

ต้องอาศัยปัจจัยดังกล่าวดำเนินการควบคู่กันไป

จึงจะประสบผลสำเร็จ  แต่มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เหมือนกันคือ  ความยุติธรรม และความซื่อสัตย์

สุจริต  องค์กรทุกวันนี้มีความสับสนเกิดปัญหา เพราะองค์กรต่าง ๆขาดคนที่มีความซื่อสัตย์ต่อองค์กรของตนเอง หวังแต่ผลประโยชน์ เลยทำให้องค์กรไม่มีความเจริญก้าวหน้า  ดังนั้น  จึงจำเป็นอย่างมากที่ภายในองค์กรต้องมีบุคคลากรที่มีความสารมรถ และซื่อสัตย์  จึงจะทำให้องค์กรพัฒนาไปได้ไกลและประสบผลสำเร็จ

นายกำพล บุญเรือง 4722008280 ร.ป.ศ. รุ่น 8/2

เรียน อาจารย์ประจวบ   ไกรขาว ที่เคารพ

                    การที่จะพัฒนาองค์การได้นั้นเริ่มต้นด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนเป็นอันดับแรก  กล่าวคือ องค์การจะสำเร็จตามเป้าหมายได้นั้น  คนในองค์กรต้องมีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพ  ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงระดับต่ำ  โดยเฉพาะผูบริหารระดับสูงนั้นมีความสำคัญอย่างมากกับความสำเร็จขององค์การ  นอกจากนี้ยังต้องกำหนดแผนงานและเป้าหมายในการทำงานด้วยเพื่อให้บุคลากรดำเนินงานนั้นๆ ให้บรรลุตามแผนงานที่กำหนดไว้   โดยการแบ่งแยกการปฏิบัติงานตามความสามารถของบุคลากรในองค์กรให้เหมาะสม   และผู้บริหารก็ต้องใช้วิธีการและเทคนิคในการจูงใจให้กับบุคคลกรด้วย  ทำให้บุคคลกรชอบงานในหน้าที่ที่เขากระทำนั้นหรือรักองค์การ   ถ้ามีใจรักในการบริหารการทำงานก็จะเกิดจากความตั้งใจและงานก็จะออกมาดีตามที่ตั้งไว้ แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ก็จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้

นายวุฒิชัย ชัยวิรูญรัตน์ รปศ. 8 หมู่ 2 4722010072

เรียน  อาจารย์ประจวบที่เคราพ

การที่จะพัฒนาองค์การให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

นั้นต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย  เช่น  ต้องมีการวางแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน  นักบริหารที่ดีต้องเป็นคนที่ทำงานอย่างจริงจัง  และเห็นผลประโยชน์ส่วนรามเป็นหลัก  นักบริหารท้องถิ่นต้องมีการประสานกับบุคคลากรภายในองค์การให้สัมพันธ์กันเพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล  ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ตามเป้าหมายขององค์กร

และนักบริหารท้องถิ่นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักองค์กรจะไดเจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไป  สวัสดีครับ

นาย นพดล หยิบสูงเนิน 4843091041 เรียนร่วม

        

        ผมคิดว่าการที่บริษัทหรือองค์กรจะ    ประสบชัยชนะในสมรภูมิ      เทคนิคด้านความคิดสร้างสรรค์
   สำคัญมากมาก                                                                                                               นักบริหารท้องถิ่นการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นจะประสบผลสำเร็จได้นั้นต้องเกิดจากนักบริหารในองค์กรที่จะเป็นตัวกำหนดโดยที่นักบริหารต้องมีความรู้ความสารถในการบริหารเพื่อที่จะวางแผนในการพัฒนาองค์กร
                                                                                           

                      ด้วยความเคารพอย่างสูง

นาย สุรพันธุ์ ก้องภักดีสุข รปศ. หมู่ 2 ภาคปกติ เรียนร่วม รหัส 4843092056

การพัฒนาองค์กรเราต้องทำอย่างมีแผนมีระบบควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงขององค์การเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล

กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ควรมุ่งเเน้นที่พัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยและกระบวนการหรือวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มย่อยนั้น หากมีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่ม หรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ขององค์กรเอง จะเป็นหนทางสู่ความล้มเหลวขององค์กรโดยส่วนรวมได้ ดังนั้นการพัฒนาองค์กร จึงควรมุ่งความสนใจไปที่การวางเป้าหมาย และการวางแผนในการสร้างวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีระบบ ทั้งนี้ต้องหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเข้ามามีบทบาทและหน้าที่ ในการกระตุ้นให้องค์กรประสบความสำเร็จ

นายจิตติพัฒน์ ญาติโพธิ์ รปศ. รุ่น 8 หมู่ 2 4722008965
เรียน อาจารย์ที่เคารพ การที่เราจะพัฒนาองค์กรให้ประสบผลตามจุดมุ่งหมายนั้นจะต้องประกอบไปด้วย สิ่งต่างๆ หลายประการ เช่น การวางแผน การจัดการในด้านต่าง ๆ เป็นต้น องค์กรถึงจะดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งถ้าองค์กรขาดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ องค์กรก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้ เปรียบเสมือนรถถ้ารถไม่มีคนขับรถก็ไม่สามารถวิ่งได้ แต่ถ้าคนไม่มรถก็ไม่สามาถที่จะเดินทางไปได้เช่นเดียวกัน
นาย ชาติรุจน์ ชอบพิมาย รปศ. รุ่น 8 หมู่ 2 4722007888
เรียนอาจารย์ที่เคารพจากการที่รัฐบาลมีนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้บริหารจัดการเพียงเพื่อให้ปัญหาในท้องถิ่นได้ถูกดำเนินการแก้ไขจากคนในท้องถิ่นเหมือนกับเหรียญที่มีสองด้านถ้าเราได้ผู้ที่เห็นปัญหามีความตั้งใจแน้วแน่ที่จะแก้ไขก้คงจะพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญแต่กลับกันถ้าเป็นคนที่เดินตามนักการเมืองคงเห็นประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ก้คงเป็นกรรมของคนท้องถิ่น
ส.อ.หญิงอรทัย มีศิริ รหัส 4722006768 รปศ.8หมู่ 2
   การพัฒนาองค์การจะได้ผลสำเร็จนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะป็นผู้บริหารจนถึงลูกน้อง ต้องร่วมมือกันพัฒนา ถ้ามีความแตกแยกในองค์การผลสำเร็จของงานก็จะไม่เกิดขึ้น การร่วมมือร่วมใจกันถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของงานในองค์การ และการเป็นผู้บริหารที่ดีต้องยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้หรือเป็นแนวทางในการบริหารองค์การต่อไป และลูกน้องที่ต้องปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี พร้อมทั้งสามารถกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและพร้อมที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงในอนาคต สิ่งสำคัญอีกประการคือนโยบายขององค์การ ต้องเอื้อต่อการบริหาร และเอื้อประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช่ว่ามุ่งแต่หวังผลกำไร แต่ไม่มุ่งหวังในตัวบุคคล องค์การแต่ละองค์การไม่มีแนวทางที่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าองค์การไหนจะมีแนวทางในการบริหารอย่างไรที่ประสบผงสำเร็จ จึงเกิดการแข่งขันของแต่ละองค์การ เพื่อให้องค์การของตนประสบผลสำเร็จมากที่สุด  สรุปแล้วในองค์การไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ทุกองค์การต้องมีความสามัคคี ร่วมมือกันทั้งด้านงานและความคิด จึงจะทำให้องค์การประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ
จ.ส.อ.ธีรภัทร ก้อมมณี รหัส 4722000670 รปศ.8 หมู่ 1

เรียน   อาจารย์ประจวบ    ไกรขาวที่เคารพ

      การพัฒนาองค์การของนักบริหารท้องถิ่น

       คำว่าการพัฒนาองค์การของนักบริหารท้องถิ่น  หมายถึง การพัฒนาให้องค์การบริหารท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจกรรมด้านการบริหาร การพัฒนา และการปกครองตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการจัดการด้านอุปโภค บริโภค รวมทั้งการเก็บภาษี เพื่อนำมาเป็นงบบริหาร และพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้ในระดับที่ว่าไม่มีอำนาจจากส่วนกลางมากำกับดูแลแต่อย่างใด เป็นการให้อำนาจแก่การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีนายก อบต.เป็นผู้บริหาร เป็นต้น

       สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนท้องถิ่น บริหารจัดการกันเอง โดยมีนายก อบต.เป็นผู้บังคับบัญชา อบจ.เป็นผู้กำกับดูแลอยู่ห่าง ๆ เพื่อให้ อบต.แต่ละ อบต.พัฒนาหมู่บ้านตนเองตามอำนาจหน้าที่ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ

นายเจริญ วิจารณ์ 4722006903 รปศ. รุ่น 8 หมู่ 2
หลักการรู้เขา-รู้เรา เป็นหลักการสำคัญที่รู้จักกันมานามในหมู่นักวางแผนยุทธศาสตร์ ผู้นำในระดับสูงจำเป็นต้องวิเคราะห์สรรพกำลังของตัวเอง จำเป็นต้องรู้จักตนเองให้ถ่องแท้โดยการรวบรวมข้อเท็จจริงในประเด็นสำคัญต่างๆ ซึ่งครอบคลุมปัจจัยสำคัญขององค์การ เช่น การใช้กรอบความคิดตามตัวแบบ 7s ของแมคคินเซย์ (McKinsey’s 7s) สำหรับการวินิจฉัยสถานภาพด้านจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ขององค์การ ซึ่งเป็นเรื่องของการรู้เราองค์การจำเป็นต้องเผชิญและทำความเข้าใจกับสภาพการภายนอกองค์การ หรือ รู้เขาด้วยการรวบรวมข้อมูลปัจจัยที่สำคัญต่างๆ กรอบการพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ตัวแบบ 5 พลังของ พอร์ทเตอร์ (Porter’s Five-Force Model) สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วๆ ไป (General Environment) เช่น STEP (Social, Technical, Economic และ Politic) เป็นต้น การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอกจะทำให้เกิดความเข้าใจปัจจัยที่กดดันองค์การ นักยุทธศาสตร์จะเสาะหา โอกาส” (opportunities) เพื่อหาหนทางที่เป็นประโยชน์ขององค์การ ในขณะเดียวกันองค์การจะต้องระแวดระวังภัยคุกคาม (Threats) ที่จะเป็นเภทภัยที่ทำความเสียหายแก่องค์การหลักการรู้เรา-รู้เขา จำทำให้เรารู้จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคาม หรือ S-W-O-T บางที่เรียกว่าการวิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดทิศทางและวิธีการหรือกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพหากจะนำการวิเคราะห์ SWOT มาจัดทำดวงพิชัยสงคราม จะพบว่าปัจจัยทั้งสี่ประการ คือ จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส (O) และภัยคุกคาม (T) สามารถจัดลงในจตุทาวารได้ดังภาพในแผนภาพ 
ส.อ.รัตนะ วาดโคกสูง
การพัฒนาองค์การจะได้ผลสำเร็จนั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะป็นผู้บริหารจนถึงลูกน้อง ต้องร่วมมือกันพัฒนา ถ้ามีความแตกแยกในองค์การผลสำเร็จของงานก็จะไม่เกิดขึ้น องค์กรถึงจะดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งถ้าองค์กรขาดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ องค์กรก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้ เปรียบเสมือนรถถ้ารถไม่มีคนขับรถก็ไม่สามารถวิ่งได้ แต่ถ้าคนไม่มรถก็ไม่สามาถที่จะเดินทางไปได้เช่นเดียวกัน
ศิริชัย เครือคำ 4722004706 รปศ.รุ่น 8 หมู่ 2

เรียน  อาจารย์ที่เคารพ

              การพัฒนาองค์กรนั้น คือคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ค่า ให้สามารถประสานงานกันได้อย่างราบรื่น และสามารถนำทรัพยากรที่มาอยู่นำออกมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ความรู้ ความสามารถของตัวบุคคลในองค์กรเป็นตัวกำหนดทิศทางขององค์การว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด  ซึ่งตัวผู้บริหารจะเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย และประสานงานมายังบุคคลในองค์การ การพัฒนานั้นไม่ได้มุ่งเพื่อความสำเร็จเพียงอย่างเดี่ยว แต่ยังรวมถึงเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ในสภาพแว้ดล้อม สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ว่าจะสามารถดำเนินการได้ต่อไปหรือไม่ ผู้บริหารสามารถปรับองค์กรให้เข้ากับเหตุการณ์ และแก้ปัญหาตรงนั้นได้หรือไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่บุคลากรว่ามีความพอใจ ในหน้าที่ของตนเองหรือไม่ พร้อมที่จะขับเคลื่อนไปกับองค์กรหรือไม่ เพราะถ้าเกิดปัญหากับทรัพยากรบุคคลซึ่งมีค่ามากที่สุดก็จะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ดังนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องความเข้าใจภายในองค์กรด้วย

นายปัฐพงศ์ กองกูล 4722007349 รปศ รุ่น8 หมู่2

เรียนอาจารย์  ประจวบ   ไกรขาวที่เคารพ

   การพัฒนาองค์กรนั้นผมคิดว่าสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะขับเคลื่อนงานหรือธุรกิจที่เรามีอยู่ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคงและถาวรซึ่งหลักการนั้นก็จะมีหลายปัจจัยด้วยกันดังคำที่เขากล่าวว่าสร้างตึกสูงใหญ่สำคัญที่รากฐานซึ่งก็คือการวางแผนนั่นเองกล่าวคือหากเราคิดจะทำสิ่งใดก็ตามควรมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนเสมอเพื่อให้งานที่เราต้องการมีผลงานที่ดีและประสบความสำเร็จในอนาคต

สำหรับนักบริหารท้องถิ่นการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นจะประสบผลสำเร็จได้นั้นต้องเกิดจากนักบริหารในองค์กรที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนโดยที่นักบริหารต้องมีความรู้ความสารถในการบริหารบ้านเมืองเพื่อที่จะวางแผนในการพัฒนาองค์กร ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ประเมินผลการทำงานว่าได้ตามเป้าหมายในทุกส่วนที่วางไว้หรือเปล่าถ้าไม่ได้ตามเป้าเกิดปัญหาตรงใหนมีการแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้การพัฒนาองค์กรบรรลุไปตามแผน มีความซื่อสัตย์สุจริต
ประสงค์ ปิติศรีมงคล 5030502232รุ่น11หมู่3(เรียนรวม)การจัดการทั่วไป

การเตรียมองค์กรสู่ Benchmarking

จะกล่าวถึงโครงสร้างของทีม Benchmarking คุณสมบัติและบทบาทสำคัญของทีม

ที่จะส่งเสริมความสำเร็จของการดำเนินงาน

1 การสร้างทีม Benchmarking ได้แก่ ประธานกรรมการ คณะกรรมการดำเนินการ

หัวหน้าทีมและสมาชิกทีม

2 คุณสมบัติของทีม Benchmarking

3 การมอบหมายหน้าที่และบทบาทของทีม/สมาชิก

4 การหาข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูล

5 ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำ Benchmarking

จรรยาบรรณของการทำ Benchmarking

1 หลักการด้านกฎหมาย (Principle of Legality)

2 หลักการด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล(Principle of Exchange)

3 หลักการด้านความลับ(Principle of Confidentiality)

4 หลักการด้านการใช้ข้อมูล(Principle of Less)

5 หลักการด้านการติดต่อ(Principle of Contact)

6 หลักการด้านเตรียมตัว(Principle of Preparation)

7 หลักการด้านการทำให้สำเร็จ(Principle of Completon)

8 หลักการด้านความเข้าใจและปฎิบัติ(Principle of Understanding and

Action)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท