บันทึกจากการทำงาน


โชดร้ายที่เจอ โชคดีที่ได้เห็น...

               วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่เรียกได้ว่า ได้ทำงานในแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม นั้นหมายถึงไม่ได้นั่งอยู่บนสำนักงาน ทำงานเอกสาร หรือโครงการทั่วไป หากแต่วันนี้มีโครงการ จังหวัดเคลื่อนที่คาราวานแก้จน จังหวัดระนอง โดยมีหน่วยงานราชการระดับจังหวัดมาออกหน่วยให้บริการในพื้นที่ตำบลบ้านนา และตำบลเชี่ยวเหลียง อำเภอกะเปอร์ ฟัง-ฟัง ดูมันก็ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับตัวสาธารณสุขอำเภอเท่าไรนัก แต่ที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมก็เพราะว่าวันนี้มีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. มาให้บริการเช่นกัน เรียกได้ว่าถ้ามองผิวเผินแล้วชาวบ้านจะได้รับประโยชน์มากมายเลยใช่มั้ยคะ??

             (เกือบจะ) ถูกต้องคะแต่มันก็ไม่ใช่อย่างที่วางไว้เสมอไป ..  เรื่องมันมีอยู่ว่า ...วันนี้ผู้เขียนได้รับหน้าที่เป็นพิธีกร (หรือโฆษก) ในงาน คู่กับคุณสาโรจน์ นักวิชาการอีกท่านบนสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะเปอร์นี่แหละคะ ช่วงเช้าเราก็ประชาสัมพันธ์หน่วยงานราชการจากทางจังหวัดว่า มีมาให้บริการอย่างนู้น อย่างนี้ มาถึงที่ มาให้บริการกันถึงขนาดเรียกได้ว่าถึงหัวบันไดบ้าน ก็ประชาสัมพันธ์กันไป พอเวลา 10.00 น. ประธานในวันนี้คือ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง มาถึงก็มีลำดับขั้นตอนพิธีการต่าง-ต่าง เลยยกหน้าที่ให้โก้โรจน์(พิธีกรคู่ขวัญ) ดำเนินรายการเพียงคนเดียว .. ส่วนตัวผู้เขียนก็ลองเดินบริเวณรอบ-รอบ เพื่อสำรวจว่ายังมีหน่วยงานไหนตกหล่นและยังไม่ได้ประชาสัมพันธ์ เดี๋ยวจะโดนข้อหา ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง (ซะงั้น) ...

               แต่สิ่งที่เรียกได้ว่า "โชดร้ายที่เจอ โชคดีที่ได้เห็น..." ก็คือ หลังจากเดินสำรวจสักพัก ก็เหลือบไปเห็น หญิงอายุราว 60 กว่าปี พยุงชายอายุไล่เลี่ยกัน มืออีกข้างของชายคนนั้นต้องถือไม้ค้ำยันอยู่ตลอดเวลา ด้วยสถานที่ในการจัดครั้งนี้เป็นเนินสูง จึงทำให้ทั้งคู่ต้องเดินอย่างทุลักทุเล จึงอดนึกในใจว่า อีกมุมนึงที่เรามองไม่เห็นและน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายในวันนี้ก็คือ สองตายาย คู่นี้ มากกว่าประชาชนทั่วไปที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ที่มานั่งรอรับสิ่งของบริจาค หรือความช่วยเหลือด้านหน้า ยายหันมาสบตา และยิ้มให้ด้วยไมตรี ผู้เขียนเลยเดินเข้าไปสอบถาม พอทราบว่า ยายจะพาตา มาจดทะเบียนผู้พิการ เห็นทั้งคู่ดูเหนื่อยล้า จึงให้แกนั่งพัก และอาสา ไปที่โต๊ะของ พมจ. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ที่รู้ๆก็คือ เมื่อสักครู่ผู้เขียนได้ประกาศประชาสัมพันธ์ ถึงการมาให้บริการจดทะเบียนผู้พิการ จึงมั่นใจและเดินเข้าไปสอบถามให้ ระยะทาง ประมาณ หนึงสนามฟุตบอลเห็นจะได้ เป็นทางลาดขึ้นเขามีรากไม้ใหญ่น้อยเต็มไปหมด มันเป็นทางที่ใกล้ๆใช่มั้ยคะ แต่ลองมองกลับกันว่าสำหรับผู้สูงอายุ ร่างกายไม่แข็งแรง ขาทั้งสองข้างไม่มีเรี่ยวแรงจะเดินสำหรับเค้ามันไกลมากแค่ไหน... จึงตัดสินใจเดินไปคนเดียวก่อนเพื่อสอบถามและคิดจะเชิญเจ้าหน้าที่มาช่วยให้บริการ พบเจ้าหน้าที่หน้าตา ยิ้มแย้มจำนวน 3 ท่าน จึงเข้าไปสอบถามว่ารับจดทะเบียนผู้พิการใช่ไหมคะ พอดีผู้พิการไม่ค่อยสะดวกที่จะเดินมาตรงนี้ ถ้าจะไปให้บริการจะสะดวกมั้ย (เงียบคะ) ทั้งสามท่านหันมองหน้ากัน แต่ไม่แสดงปฏิกริยาใด-ใด เลย และตอบสั้น-สั้นว่าที่ฉันได้ยินก็คือ "เราให้บริการตรงนี้ครับ.."  ผู้เขียนรู้สึกได้เลยว่า ที่เราพูดประชาสัมพันธ์ไปนั้นล้วนแล้วแต่เป็นคำพูดเท่านั้น คิดในใจว่า...เราไม่น่าพูดเลยคำนี้ มาให้บริการ ถึงหัวบันไดบ้าน  สะท้อนให้เห็นการทำงานบนโต๊ะ การเสนอรายงานแบบตัวอักษร (ซ้ำใจมากมายคะ) แต่แล้วทำไงได้ ผู้เขียนก็ต้องเดินกลับมา และช่วยยาย พยุงตาเดินมาอย่างทุลักทุเล แต่อย่างที่บอกไว้ข้างต้นคะว่า ทางมันชัน ยายเองก็พยุงไม่ไหว เดือนร้อนต้องขอช่วยคนที่อยู่ใกล้ๆ ที่ผู้เขียนซึ่งในน้ำใจสุดฤทธิ์ คุณอำนาจ เทพรักษ์ ชื่อคุ้น-คุ้น ใช่มั้ยคะ ก็เป็นรักษาการสาธารณสุขอำเภอคนปัจจุบันนี่เอง (ถึงแม้จะตะโกนเรียกถึง สองครั้งก็ตามอิอิ)

                 กว่าจะเดินไปถึงใช้เวลาร่วม 10 นาที เหมือนจะไกลเลยใช่มั้ยคะ ระยะทางเท่าเดิมคะ แต่ช่องว่างของความต่างในสังคมต่างหากที่ทำให้ตาและยาย เข้าถึงบริการได้ยากขนาดนี้.. พอไปถึง เจ้าหน้าที่ 1 ในสามท่านคะ เข้ามาถามถึงเอกสารทันที่คะ เอาเอกสารมาครบรึป่าว (ให้ตายซี่ชีวิตคนเราขึ้นอยู่กับเอกสารนี่หน่ะเหรอ) โชคดีที่ยายเตรียมมา ขาดก็เพียงแต่รูปถ่าย ซึ่งผู้เขียนเองยังนึกเลยว่า ขนาดตาจะมาจดทะเบียนยังยากขนาดนี้ แล้วให้ตาไปถ่ายรูปที่ร้านนี่นะ.. (โอ้@!!พระเจ้าจอร์ดมันยอดมาก) ว่าแล้วก็มีเจ้าหน้าที่หนึ่งในสามคนนำกล้องดิจิตรอนที่หาไม่ยากเลยในหน่วยงานราชการ มาบริการถ่ายให้ (อืม.. โล่งใจหน่อยที่พี่แกสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้) เพราะผู้เขียนคิดจะเอาโทรศัพย์มือถือถ่ายรูปตาแล้วไปปริ้นมาให้ซะแล้ววว และหลักฐานอีกหนึ่งอย่างที่ฟังแล้วอ่อนใจก็คือ ใบรับรองแพทย์ โห่ หลักฐานเชิงประจักษ์ขนาดนี้ ยังต้องให้นายแพทย์ที่ไหนมายืนยันอีก .. น้ำโห่ชักสูบฉีด เลยถามว่ายังมีหลักฐานอะไรอีกมั้ยคะ หรือยังงัยช่วยบริการตาเค้าหน่อย เพราะเดี๋ยวดิฉันต้องไปทำหน้าที่พิธีกรต่อ ... สำหรับใบรับรองแพทย์เดี๋ยวยังไงจะรบกวนแพทย์ที่มาออก หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พอ.สว. มาช่วยดูและออกเอกสารให้นะคะ

                  ว่าแล้วก็ต้องเดินกลับไป ณ จุดเดิมอีกครั้ง เต้นท์ พอ.สว. ไปกระซิบบอกแพทย์ (ยืนเกรงใจอยู่พักใหญ่โชคดีที่เป็นหมอที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลกะเปอร์ เลยกล้าเข้าไปพูดคุย) แต่พอหันไปทางซ้าย โอ้....คนไข้แสนแปด (เกินความจริงไปสักนิ๊ด...พูดให้ขำ-ขำ)หน่ะคะ หมอเองก็ดูอ่อนล้าเต็มที่เพราะมีแพทย์ออกมาให้บริการเพีงท่านเดียว...  จะทำไงดีล่ะทีนี่ เดินกลับไปที่ตายายอีกรอบ ก็พบว่า มีเจ้าหน้าที่กำลังช่วยกรอกเอกสาร และเข้ามาบอกกับทางผู้เขียนว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์แล้วเพราะสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน... ( เห้ยยยย ยิ้มออกแล้วคะคราวนี้ ) เลยขอบคุณและบอกให้เจ้าหน้าที่ช่วยดูแลต่อนะคะ ....ก่อนกลับ มีมือหนึ่งมือมากุมไว้ที่มือผู้เขียน แล้วบอกว่า "ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ" พร้อมยกมือไหว้ .....

                ไม่มีคำอธิบายใด-ใด รู้แต่เพียงว่าอย่างน้อย วันนี้เราก็ได้ทำอะไรดี-ดี ให้กับคนที่เรียกว่า ขาดพร่อง หมายถึงการช่วยเติมอะไรบางอย่างให้กับคนที่ขาด ซึ่งผู้เขียนคิดว่ามันดีกว่าการช่วยเหลือคนไม่รู้จักพอ ความรู้สึกมันต่างกันอย่างบอกไม่ถูกเลยคะ....

หมายเลขบันทึก: 85716เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ตื้นตันใจจังเลย ที่ยังได้ยินเรื่องราวอย่างนี้ในสังคมไทย แต่กระทู้นี้ต้องชมผู้เขียนว่าเขียนได้ซึ้งมาก อ่านแล้วขนลุกเลย ยังไงก็พยายาม สู้ต่อไปน่ะ สู้สู้ สู้ตาย

น้องเปิ้ล ครับ

  • ชื่นชมอย่างจริงใจ... กับ "เรื่องเล่า" ที่สะท้อนออกมาได้ดีทีเดียว ไม่ผิดหวังเลยครับที่ได้ไปอบรมพัฒนาแกนวิชาการสุขภาพชุมชน ของคุณหมอโกมาตร มาแล้ว (..คิดเล่นๆ นี่ถ้าเจอเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ ผมว่ารางวัลนักเขียนยอดเยี่ยมจากการอบรมฯ คราวนั้น คงเป็นของน้องเปิ้ลแน่ๆ...) แต่ที่น่าชื่นชมเป็นที่สุด คือ หัวใจของหมออนามัย อย่างน้องเปิ้ล ครับ
  • "โชคร้ายที่เจอ โชคดีที่ได้เห็น" ผมคิดว่า
    โชคร้ายที่เจอ = เจอ จนท. ที่ยึดติดกับการทำงานแบบนั่งโต๊ะและเอกสาร (ไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์.. เอาเสียเลย)
    โชคร้ายที่เจอ = ความโชคดี การที่น้องเปิ้ลได้เจอกับ คุณตาคุณยาย คู่นั้น ซึ่งอาจจะเป็นคนที่โชคร้าย (เราตัดสิน.. จริงๆ อาจจะไม่ใช่ก็ได้) ก็ถือเป็นความโชคดีของคนทั้งคู่ ที่มีหมออนามัยที่เปี่ยมล้นด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ เช่นนี้
    โชคดีที่ได้เห็น = ย้อนไปอ่าน โชคร้ายที่เจอ = ความโชคดี ครับ
  • งานสุขภาพชุมชน เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญ ก็คือ กลุ่มคนที่ขาดพร่อง คนทุกข์คนยาก หรือคนชายขอบ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ...ดังตัวอย่างเรื่องเล่าที่น้องเปิ้ลบอกเล่ากับพวกเราในวันนี้ครับ
  • "ขอบคุณคุณหมอมาก" เช่นกันครับ

มันเป็นสภาพของสังคมหนึ่ง มันเป็นชีวิตของคนที่ใครบางคนไม่เคยใส่ใจและมองเห็น แต่ก็ดีใจกับสองตายายที่เค้ายังมีกันและกันคับ  นี่คือความรักและความเข้าใจ  นี่เป็นความสัทธาที่เค้าได้มีต่อกัน นี่คงเป็นบทละครที่สวรรค์สร้างสรรญไว้บนโลกนี้ให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจมัน

รายละเอียดเล็กน้อยนะเปิ้ล ที่เราไม่มักมองข้ามไป ขอบใจเปิ้ลที่เก็บรายละเอียดได้ดีเเหลือเกิน ประหนึ่งเราไปยืนมองความเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างใกล้ชิดแต่ก็อึดอัดที่ช่วยอะไรไม่ได้เลย

บางทีคนเราก็รู้สึกปกติเสียจนมองไม่เห็นน้ำใจ ทำหน้าที่จนมองเรื่องยากลำบากที่อยู่ตรงหน้าเป็นเรื่องธรรมดาและอาจไม่มีความรู้สึกอะไรเลย เพราะเห็นจนชินชาและใช้มาตรฐานของตนในการทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ว่าไม่ได้ยากอะไร.......

ขอบใจเปิ้ลที่ให้รายละเอียดการบริการมากกว่ามาทำหน้าที่ในสถานที่ที่ไม่สะดวกเหมือนเช่น สำนักงาน

ขอบใจเปิ้ลที่ให้ความช่วยเหลือตลอดจนน้ำใจในส่วนที่ สวยงามเหลือเกิน คงจะจริงที่ว่าน้ำใจมาพร้อมหน้าตา จริงมั้ย

  • ในสังคมไทยยังมีเรื่องราวอย่างนี้อยู่มากมาย ท้ายที่สุดมันต้องขึ้นอยู่กับเจตนาและความคิดของแต่ละบุคคล บางคนมักมองปัญหาของคนอื่นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หากมองกลับกันบ้างทีเรื่องเล็กน้อยเหล่านั้นที่เราทำอาจจะสร้างความสุขใจให้ผู้อื่นก็ได้...
  • และอย่างที่เพื่อนอั้มบอก คนเราทุกวันนี้มักมองหาแต่สิทธิของตนเองเรียกร้องต้องการจนเกินกำลัง แต่ลืมไปว่านอกเหนือจากสิทธิที่ว่าแล้วคุณยังมีหน้าที่ที่คุณต้องทำ และหน้าที่หนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ หน้าที่พลเมืองดีของประเทศนั้นเอง
  • อยากให้คนไทยรักกัน ร่วมต่อเติมความฝัน สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม (ถึงแม้จะยากจนกระทั่งหืดขึ้นคอก็ตาม) อิอิ

น้องเปิ้ลครับ ขอชมอย่างแรงเลยครับ

เขียนบันทึกเห็นเหตุการณ์ อารมณ์พาไปทันทีเลย

แค่บอกว่าขำๆ พี่ยังขำตามเลย

เจตนาและความคิด คงรวมกันได้เป็นสำนึก

เปิ้ลมีสำนึกที่ดีเลย เป็นสำนึกแห่งการให้ แห่งการช่วยเหลือ

ถ้าทุกคนมีสำนึกที่ดี ช่วยกันเติมช่วยกันต่อ

สังคม บ้านเมืองไทย ไม่ต้องร่ำรวย  แต่ทุกคนก็เป็นสุขได้

ระเบียบ หลักฐาน เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการทำงาน หากแต่ใส่ใจ และมีสำนึกที่ดี การทำงานนั้นก็เป็นเลิศแล้ว 

.

คนทำดี ก็ต้องชมเชย

และเป็นกำลังให้กับสิ่งดีครับ 

 

ขอร่วมเป็นหนึ่งกำลังใจ ขอรับ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท