จิต : ความจำการรู้สึกสัมผัส(Sensory Memory - SM)


ความจำการรู้สึกสัมผัส เป็การคงอยู่ชั่วขณะหนึ่งของกิจกรรมของนิวโรน และการรู้สึกสัมผัส ที่เกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้า

บันทึกนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความจำการรู้สึกสัมผัส  โดยจะเริ่มจากข้อความใน (ก) และ (ข) ดังนี้

(ก)     (1)(สิ่งเร้า)-------------------------(2)(พฤติกรรม)

(ข)     (1)(สิ่งเร้า)------(2)(กิจกรรมของสมอง)------(3)(ความรู้สึก)------(4)(พฤติกรรม)

ที่ (ก) มีแต่ความสัมพันธ์ระหว่าง (1)(สิ่งเร้า)---(2)(พฤติกรรม) ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าเท่านั้น  ไม่มีบทบาทของสมอง และจิต อยู่เลย  กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)ที่แท้จรืงจะสนใจแบบนี้  คือ พฤติกรรมของคนหรือสัตว์จะเป็นเช่นไร  จะขึ้นอยู่กับ สิ่งเร้า  ไม่มีบทบาทของสิ่งที่เรียกว่าว่าจิตเลย  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  กลุ่มนี้ปฏิเสธจิต  เพราะจิตเป็นอสสาร  อสสารไม่มีอยู่จริงในจักรวาลนี้  ที่มีอยู่จริงก็แต่สสารและผลจากการเปลี่ยนแปลงของสสาร และสามารถสังเกตได้ เท่านั้น  ตามแนวความเชื่อของสสารนิยม หรือ Materialism (ยกเว้นในระยะหลัง ๆ ที่ความเชื่อดังกล่าวค่อยหย่อนลงมาบ้าง)  ถ้าถามว่า  ความจำคืออะไร? กลุ่มนี้จะตอบว่า  คือการชี้ได้,  บอกได้. บอกได้สิ่งใด สิ่งนั้นคือความจำของผู้ชี้

ที่(ข) จะเห็นว่า  ระหว่าง(1)และ(4) ยังมีสมอง และ ความรู้สึก มีบทบาทร่วมอยู่ด้วย  นั่นคือ (1)+(2)+(3) ร่วมกันมีบทบาทต่อ (4) ด้วย  กลุ่มความรู้นิยม(Cognitivism)มีความเชื่อแบบ(ข)นี้. ซึ่งผมจะอธิบาย(ข)ด้วยตัวอย่างต่อไปนี้

ในขณะนี้ท่านมีความรู้สึกตื่นตัวอยู่  มีสิ่งต่างๆอยู่รอบกายท่าน  แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็น สิ่งเร้า ของท่าน  คือ ตัวอักษร ที่เรียงกันเป็นพืด เพราะว่าท่านกำลังอ่านหนังสือจากบันทึกนี้อยู่  คลื่นแสงกระทบตัวอักษร แล้วสะท้อนเข้าตาท่านไปจนถึงบริเวณเรตินา(Retina)ที่หลังลูกตา  จากนั้นคลื่นแสงก็จะถูกเปลียนไปเป็นกระแสประสาท  และเดินทางต่อไปจนถึงกลุ่มนิวโรนที่แดนการรู้สึกเห็น(Visual Cortex) ที่บริเวณท้ายทอย  กระตุ้นนิวโรนที่บริเวณนั้นให้แสดงกิจกรรม(ขั้นที่(2)ตาม(ข)). ขั้นต่อมาเป็นขั้นที่(3)(ความรู้สึก)ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องมาจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนดังกล่าว เหตุการณ์นี้นักจิตวิทยามักใช้คำแตกต่างกัน  เช่นใช้คำว่า  จิตภาพ (Image), จิตภาพย้อนหลัง(After Image), Icon(ภาพเหมือนสิ่งเร้าที่เข้ากระตุ้น) เป็นต้น   ความรู้สึกตามขั้นนี้แหละที่ทำให้ท่านรู้สึกตัวว่า  ท่านกำลังอ่านหนังสือนี้อยู่  ท่านกำลังตื่นอยู่  ถ้าไม่มีความรู้สึก  ท่านก็ไม่รู้ว่ามีตัวท่านอยู่ในโลกนี้  เช่นเดียวกับเมื่อท่านนอนหลับ  ซึ่งท่านไม่รู้สึกตัว  ขณะนั้นท่านไม่รู้ว่ามีท่านอยู่ในโลกนี้  ทุกคนจึงมีประสบการณ์ด้วยตัวเองกับความรู้สึก  ความรู้สึกจึงมีบทบาทมากอยู่ระหว่างขั้นที่ (1) และ (4) 

ขั้นที่(2)(กิจกรรมของนิวโรน)และ(3)(ความรู้สึก)จะยังคงอยู่ต่อไปชั่วขณะหนึ่ง  เพื่อรอรับความหมายที่จะถูกดีง(Retrieval)มาจากความจำระยะยาว(Long-Term Memory-LTM),มาให้กับการรู้สึกนั้น  และการที่กิจกรรมของนิวโรนและความรู้สึกนั้น ยังคงอยู่ชั่วขณะหนึ่งนั้น  เราจึงถือว่าเป็นความจำ  และตั้งชื่อว่า  ความจำการรู้สึกสัมผัส (Sensory Memory - SM)  นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่นอีก  เช่น  Sensory Storage, Sensory Registers, เป็นต้น.  แต่หลังจากที่มันได้ความหมายที่ดึงมาจาก LTM แล้ว  มันก็จะกลายเป็น  การรับรู้(Perception) นั่นคือ  ท่านอ่านตัวอักษรนั้นรู้เรื่องแล้วขณะนี้ และมันจะต้องไปอยู่ในองค์ประกอบที่ชื่อว่า  ความจำระยะสั้น(Short - Term Memory (STM) ไปทันที.

SM นี้  เป็นอง์ประกอบหนึ่งของโครงสร้างของความจำ(Memory Structure)  ยังมีอีกสององค์ประกอบที่มีบทบาทสัมพันธ์กันคือ  STM & LTM  ซึ่งผมจะบันทึกต่อไป.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8566เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2005 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากทราบความหมายของมโนทัศน์ค่ะ กรุณาตอบทีน่ะค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

จาก ผู้ศึกษาหาความรู้

(๑) ความหมายตามแนวคิดของจิตวิทยาปัญญานิยม (Cognitive Psychology) : มโนทัศน์(Concepts) คือ กฎ(Rule)ที่ใช้แยกประเภทของสิ่งของ  การกระทำ  หรือความคิด

(๒) ความหมายตามแนวคิดของจิทยาพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) : มโนทัศน์คือ  ประเภทของสิ่งของ  การกระทำ  หรือ ความคิด

ความหมายแรก  ยอมรับว่า มนุษย์มี "จิต"(Mind)(กรุณาดูบันทึกบล็อกแรกๆของผมด้วยครับ) และ "จิตคือ  การรู้สึก(Consciuos), การรับรู้, การจำ, การคิด, และความรู้สึกด้านอารมณ์ต่างๆ " จัดเป็นพฤติกรรมภายใน

ความหมายหลัง  ไม่ยอมรับ หรือลังเลที่จะยอมรับว่ามนุษย์มีจิต  จึงนิยามคำมโนทัศน์ด้วยภาษาของพฤติกรรมที่ "สังเกตได้โดยตรง"

ปัจจุบันนี้เราได้ค้นคว้าเรื่อง"มโนทัศน์" กันในระดับลึกและหันมายอมรับว่า "มนุษย์มีจิต"  แต่จิตที่ว่านั้นคือกิจกรรมของสมองที่ออกมาในรูปของ"ความรู้สึก,รับรู้,จำ,คิด,ตัดสินใจ,อารมณ์" ตามที่กล่าวข้างบนนี้  ผมจึงแนะนำให้ใช้คำว่า "มโนทัศน์" ครับ  ถ้าอาจารย์ของคุณปฏิเสธคำนี้  ก็แนะนำให้เขาไปศึกษามาใหม่นะครับ

พรุ่งนี้จะสอบจิตวิทยาแล้ว ยังไม่รู้เรื่องเลยอ่ะ

พฤติกรรมอะไรก้ไม่รู้เยอะแยะ ไหนจะเป็นอารมณ์อีกอ่ะ เยอะแยะมากมาย 

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
ผมขอเอาใจช่วยครับ  และขออวยพรให้สอบได้เกรด A ด้วยนะครับ

ขอบคุณมากนะครับที่ทำลงข้อมูลดีดีแบบนี้ทำให้ผมทำข้อสอบจิตวิทยาได้เยาะเลยครับ^^

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ขอบคุณครับ  การให้ความสำคัญของจิต  หรือการใช้คำว่า จิต ตามความหมายของจิตวิทยาปัญญานี้ก็เป็น  วิทยาศาสตร์ นะครับ  ขอให้คุณอ่านของผมต่อไปให้ทุกเรื่อง  แล้ว  บางที  ประเทศไทยอาจจะได้นักจิตวิทยาปัญญาเพิ่มขึ้นอีกคน นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท