LO ไม่ใช่ LO ...อย่างที่คิด


คำถามไม่ได้เจตนาก่อให้ผู้อ่านท่านปวดหัวมากขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่อยากหยิบประสบการณ์ที่เคยพบมาเล่าให้ฟังว่า ทำไม "LO จึงไม่ใช่ LO อย่างที่คิด" 

  • LO แรก ย่อมาจาก Learning Organization เป็นคำที่บรรดา KM man ทั้งหลาย น่าจะพอเข้าใจกันดี และอยากไปให้ถึง
  • LO ตัวถัดมา ย่อมาจาก Learning Object  คำๆ นี้ใช้กันในแวดวงของผู้พัฒนาสื่อ โดยในเมืองไทยที่เด่นๆ เรื่องนี้ ได้แก่ สสวท. และ สวทช. ..ถือเป็นแม่ทัพหลักเรื่องนี้เลยแหละ

พูดแค่นี้เห็นไหมครับว่าต่างกันอย่างไร ..ในที่นี้ขออธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับ LO (Learning Object)

ความหมายโดยสรุป

  • เป็นสื่อที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากแนวคิดหลักอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เป็นหน่วยการเรียนรู้ขนาดเล็ก
  • อยู่ในรูปแบบ Digital
  • มีความหมายและความเป็นอิสระในตัวเอง
  • นำไปใช้ซ้ำได้หลากหลายรูปแบบ 

คุณสมบัติ

LO (Learning Object)  เป็นนวัตกรรมการพัฒนาเนื้อหาสำหรับระบบ e-Learning รูปแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน จากคุณสมบัติ ดังนี้

  1. การใช้ซ้ำ (Reusability) : LO เป็นหน่วยเล็กๆ ของการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับการนำมาประกอบใช้เป็น Courseware สามารถนำมาใช้ได้ซ้ำอีก
  2. การทำงานร่วมกัน (Interoperability) : หน่วยการสอนที่ทำงานร่วมกันได้กับหน่วยการสอนอื่นโดยไม่ขึ้นกับระบบจัดการรายวิชาหรือ LMS
  3. ความคงทน  (Durability) : หน่วยการสอนที่คงทนไม่เสื่อมสภาพ แม้จะมีการส่งผ่านมากน้อยเท่าใด หรือไม่เคยถูกใช้เลยก็ตาม (เหตุผลเพราะเป็น Digital Medias)
  4. การเข้าถึงการใช้งานได้ง่าย (Accessibility) : เนื้อหาการเรียนรู้ที่ใช้ได้กับทุกที่ ทุกเวลา สามารถค้นหาและใช้งานข้ามเครือข่ายได้โดยง่าย

ทีนี้จะสื่อสารหรือพูดกับใคร คงต้องดูกันครับว่าพื้นฐานเขามาจากแวดวงอะไร ..จะได้ไม่หน้าแหก

Mirror site : http://wichitc.multiply.com/

หมายเลขบันทึก: 85493เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2007 04:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

 It's Friday เรียนท่านสายน้ำแห่งความคิด ร่วมพิชิตสร้างสรรค์

 LO = Learning Opportunity

           เปิดโอกาสให้เรียนรู้ด้วยตนเอง

           เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ในองค์การ



ขอบคุณท่าน อ.jj มากครับ ที่มาต่อยอด(แต่เช้า) ...ตกลงผมได้อีก หนึ่ง LO (Learning Opportuninty)

ขอบคุณอีกครั้งครับ

เรียนพี่วิชิต

  • สรุปโดยย่อ คุณสมบัติ ของ LO = LIDA ใช่รึเปล่าครับ
  • ใช่ครับบทเรียนแต่ละอย่างที่ออกแบบมา ต้องคำนึงสิ่งแรก คือ กลุ่มผู้ที่จะมาเรียน ตั้งนั้นกระบวนการส่วนหนึ่ง ก็อาจจะต้อง มีการวิเคราะห์ผู้เรียนมาก่อน หรืออาจจะศึกษาจากงานวิจัยอื่น ที่เคยศึกษามา
  • ดูแล้วลักษณะของ LO จะมีความยืดหยุ่น พอสมควรนะครับ

ขอบคุณครับ

กัมปนาท

ขอบคุณ

P

หลักใหญ่ใจความของ LO (Learning Objects) นอกจากคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อนั้นแล้ว ....ก็คือเน้นที่เรื่องการใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น (Flexible)

ขอแจมนิดนึง จากประสบการณ์เช่นกันค่ะ ในการนำเสนองานที่เป็นลักษณะ LO จะต้องเกิดเข้าใจ และจบในตัวเอง พูดง่ายๆ ก็คือเมื่อผู้เรียนเรียนจบในเรื่องนั้นๆ ต้องเกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นเลย เช่น ทำเรื่องการทำฝนเทียม หากจะทำเป็น LO (Learning Object) เมื่อผู้เรียนเรียนจบต้องทราบได้เลยว่าเค้าทำกันได้อย่างไร และเกิดอะไรขึ้น และ LO ที่ดี จะต้องมีการออกแบบ ISD ที่ดี

เรียนคุณ แชร์แนวคิด

เข้าใจและอธิบายเพิ่มเติมได้อย่างดีครับ ...อยู่ในความหมายโดยสรุปของ LO ครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ..ที่ให้ความเข้าใจ "LO" ทั้งสอง ตัว

  • อ่านเรื่องนี้ของท่านวิชิต..สายน้ำแห่งความคิด แล้วทำให้คิดถึง....TL
  • TL = Team Learning ตามหลักการข้อหนึ่ง ในห้าข้อ ของ LO
  • TL = Total Learning ตามที่อาจารย์ ดร. แสวง คนนอกกรอบ ใช้
  • TL = .......( ภาษาไทย) ตามที่ ท่าน คนไร้กรอบ ใช้
  • ก็เป็นเรื่อง ตัวย่อ ในแต่ละวงการ  ที่แตกต่างกัน  จึงต้องเขียนคำเต็มไว้ด้วย ถ้าเป็นไปได้ครับ  อย่างเช่น สคส  นั่นแหละครับ

ขอบคุณ อ.panda ครับ ..ยังขาดอีกตัวครับ AL ...ภาษาออกทางใต้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท