@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

Positive Thinking : เรื่องของหมอกควันไฟในภาคเหนือ


วิธีคิดมีหลายวิธี ถ้ามองหาสิ่งที่ดีจากความรู้สึกที่เลวร้ายได้ ชีวิตก็จะไม่อับเฉา

นับจากวันที่ได้เขียนเรื่อง Haze ที่เคยไปประสบด้วยตนเอง  ที่มาเลเซียเมื่อปลายปีที่แล้วนั้น ดิฉันว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ ยังจินตนาการไม่ค่อยออกว่า การใช้ชีวิตอยู่ในควันพิษแบบนั้น มันทุกข์ทรมานอย่างไร

เหม็นแสบจมูก แสบตา เจ็บคอ น้ำมูกไหล น้ำตาไหลเป็นช่วงๆ ไอคันคอ จนถึงติดเชื้อทางเดินหายใจ จนถึงขั้นหูอักเสบ

อาการทั้งหมด เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียง 7 วันที่ทนอยู่ในควันนั้น

อันที่จริง ต้องบอกเล่าก่อนว่า ควันไฟที่เกิดขึ้นในอินโดฯ นั้น เกิดจาก 2-3 สาเหตุหลัก  อันได้แก่

  • การเผาถางป่า (ทั้งจากฝีมือชาวบ้าน และจากฝีมือนายทุนที่ไปจ้างให้ชาวบ้านทำการเผา)
  • ไฟไหม้ป่าจริงๆ จากความแห้งแล้ง

แต่จะว่าไปแล้ว เรื่องของควันจากเผาขยะนั้น ทางอินโดฯ หรือมาเลย์ ไม่ได้มีการพูดถึงมากนัก

มีคำถามว่าทำไมในเมื่อ คนมาเลย์ และ คนสิงค์โปร์ (รวมไปถึงคนไทยภาคใต้บางจังหวัด) ต้องผจญกับหมอกควันพิษหนักหนาขนาดนั้น แล้วประชาชนชาวอินโดฯ เขาทนกันอยู่ได้อย่างไร

คำตอบนั้นง่ายกว่าที่คิด นั่นคือ เมื่อมีการเผาป่าในอินโดฯ ควันจะลอยขึ้นฟ้า แล้วลมมันก็พัดลอยไปบ้านเพื่อน (มาเลย์ สิงค์โปร์ ไทย) ดังนั้น บ้านตนเอง (อินโดฯ) จึงไม่เจอผลจากหมอกควันหนักเท่าคนอื่น

แล้วทำไม มาเลย์ สิงค์โปร์ จึงส่งเสียงร้องทุกข์ดังหนักหนา นั่นเป็นเพราะว่า บริเวณที่โดนควันหนักๆ นั้น เป็นเขตเมืองหลวงค่ะ รัฐสลังงอห์ (Selangor) อยู่ใกล้เกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นแหล่งเผาเลยค่ะ รัฐสลังงอห์ รัฐโจโฮห์ (คนไทยเรียก ยะโฮห์)  และสิงค์โปร์ ทางอยู่ทางใต้กันหมด

สนามบิน KLIA (Kuala Lumpur Internation Airport) และ LCC (สนามบินสำหรับสายการบิน Low Cost Airlines) นั้น ต่างก็อยู่ติดกับบริเวณช่องแคบสุมาตรา เมื่อเจอหมอกควันหนักเข้า ผลคือ ต้องสั่งปิดสนามบินชั่วคราว จนกว่าทัศนวิสัยดีขึ้น

คนที่อยู่ในเมืองโวยวาย เสียงย่อมดังกว่า คนอยู่นอกเขตเมืองร้องทุกข์เสมอ ประเทศใด ก็เหมือนกันหมด

ผลสรุปจากเรื่องนี้คือ

  • รัฐบาลมาเลย์ ร่วมมือกับ รัฐบาลสิงค์โปร์ ให้ความช่วยเหลือไปดับไฟป่าในอินโดนีเซีย (อินโดฯ จำเป็นต้องให้ความร่วมมือ เพราะตัวเองอ้างว่า ไม่มีเงิน ไม่มีเครื่องบิน และที่สำคัญบ้านตัวเองเป็นแหล่งกำเนิดต้นเหตุด้วยซ้ำ)
  • รัฐบาลมาเลย์ และ รัฐบาลสิงค์โปร์ ต่างออกมาคาดโทษ นักธุรกิจมาเลเซีย และ นักธุรกิจสิงค์โปร์ ที่เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย แล้วใช้ความมักง่าย "เผา" ป่าเพื่อเอาไม้ หรือเพื่อปลูกไร่ปาล์ม แทนวิธีอื่น (ที่ต้นทุนสูงกว่า) ถ้ารัฐบาลรู้ว่า "นักธุรกิจ" คนไหนทำ ก็จะลงโทษยึดทรัพย์ โทษฐาน ไปก่อความเดือนร้อนให้กับประชาชนของประเทศตนเอง
  • ประชาชนทั้งสองประเทศ เรียนรู้วิธีต้องป้องกันตนเอง จากหมอกควันพิษ ที่มีทุกปี (มักเกิดปลายปี ช่วงที่ถือว่าเป็นฤดูแล้งของมาเลย์ และสิงค์โปร์)
  • รัฐบาลทั้งสอง ต้องออกมาให้ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องหาวิธีป้องกันอื่นๆ ให้กับประชาชนตนเอง รวมถึงเตรียมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาล ยามเมื่อควันมาหนักๆ (เคยมีสถิติว่า มีคนต้องไปรักษาตัวจากโรคภูมิแพ้ จำนวนมากกว่าปกติถึง 600% ก็แทบจะเรียกได้ว่า ไปหาหมอกันทุกคนนั่นล่ะค่ะ)
  • รัฐบาลทั้งสองประเทศ ต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซียรับผิดชอบ แต่แปลกพิกล ที่รัฐบาลอินโด ทำอะไรไม่ได้มากกว่า ออกมาขอโทษค่ะ (เฮ้อ .. ฟังดูคล้ายๆ รัฐบาลประเทศสารขัณฑ์ไหมคะ)
  • และงานนี้ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนก็ไม่ได้ เพราะควันไฟไม่ได้เกิดที่ประเทศตนเอง แต่เพราะแม้มีขอบน้ำ ขอบทะเลกั้น แต่โลกนี้มันเป็นโลกใบเดียวกัน ควันจากบ้านพี่ ก็ลอยไปกวนใจบ้านน้องได้ เอวัง
ก่อนจบ positive thinking ก็คือ เพราะคนไทยได้เผชิญกรรมนี้เช่นกัน จึงได้เกิดวิธีป้องกันตัวบ้างแล้ว และเำพราะเหตุนี้ ดิฉันจึงได้รู้จัก มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ค่ะ
หมายเลขบันทึก: 85093เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท