"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข" : แค่ชื่อห้องเรียนรู้ ไม่หมูอย่างที่คิด


จาก AAR สู่ BAR
(from After Action Review  to Before Action Review)
“อานิสงส์ของการเหลียวหลัง สู่พลังของการแลหน้า”
เพื่อมุ่งไปสู่การจัดงาน
"พลังแห่งปัญญา ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข"

โดย สมโภชน์ นาคกล่อม

ตอนที่ ๓ “แค่ชื่อห้องเรียนรู้  ไม่หมูอย่างที่คิด”

           หลังจากนัดภาคีมาพบเจอเตรียมงานกันอีกที ในวันที่ ๒๑-๒๓ มีนาคม เพื่อ BAR กันอีกรอบ พวกเราส่วนกลาง ก็นัดเจอกันเอง เพื่อติดตามแผนและความก้าวหน้าในการเตรียมการจัดตลาดนัดครั้งนี้  มีเรื่องที่อยากจะเล่าให้ฟังแค่ประเด็นเดียว คือ การตั้งชื่องานและชื่อห้องย่อย (กลุ่มการเรียนรู้) ต่างๆ ที่จะมีขึ้นในงาน  จอกันคราวนี้ ทำให้กำหนดการต่างๆ ชัดเจนขึ้นเป็นอันมาก มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา   ตัวคนเล่า  คุณอำนวย และคุณบันทึก ในห้องย่อยไปพอสมควร โดยกำหนดการนั้น เราได้ “เป็นตัวเป็นตน” ที่สามารถสื่อสารกับภาคีและแขกเหรื่อทั้งหลายที่ได้รับเทียบเชิญมาในงานแล้ว

            ส่วนเรื่องที่ดูเหมือนเล็กๆ แต่ทำเอาเราใช้เวลาและความคิดกันไปเยอะ โดยเฉพาะต้องใช้ทั้งสมองซีกซ้ายและซีกขวา คือ “การตั้งชื่องาน และห้องการเรียนรู้ต่างๆ” อย่างไร ให้เหมาะสม ดึงดูด และฟังแล้วสละสลวย  เริ่มตั้งแต่ชื่องาน ที่น้องแอน (ฝ่ายสื่อ) ตั้งมาเกือบ ๒๐ ชื่อ ให้พวกเราได้ช่วยกันคิดต่อ แม้ชื่อของแอนจะตกรอบสุดท้ายหมดทุกชื่อ แต่คำบางคำที่ผุดขึ้นระหว่างการพูดคุย เอาของคนโน้น มาผสมกับของคนนี้ ทำให้ได้ “ชื่อใหม่” ที่ทุกคนเห็นด้วย


            เริ่มตั้งแต่ชื่อที่ชักจะเริ่มฟังดูดี คือ “ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข” ที่ยังไม่ฟันธงในตอนแรก จนกระทั่งผุดคำว่า “ต้นกล้าแห่งปัญญา” ขึ้นมา และแล้วก็มีคนบอกว่าน่าจะเอา “ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข” ข้างบนมาเติมเป็นบรรทัดที่ ๒ ของ “ต้นกล้าแห่งแห่งปัญญา” ด้วย   สักพัก..ก็มีใครสักคนคิดคำว่า “พลังแห่งปัญญา” ขึ้นมา ตามด้วยคำว่าอะไรก็จำไม่ได้แล้ว ก็เลยมีนักผสมเกสร บอกว่า ถ้าอย่างนั้น เราเปลี่ยนมาใช้

“พลังแห่งปัญญา”
ตลาดนัดความรู้สู่ชุมชนเป็นสุข

...จะดีหรือไม่ เพราะการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นเราใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง ให้เกิดความรู้ เกิดปัญญา น่าจะมีความหมายดีกว่า   ปรากฏว่ามีคนเห็นด้วย เพราะมีคำสำคัญคือ “ตลาดนัดความรู้” และ “ชุมชนเป็นสุข” อยู่ในชื่อนี้ด้วย

               คราวนี้ก็ถึงเวลาตั้งชื่อห้องย่อย ซึ่งทั้ง ๒ วันมีทั้งหมดเกือบ ๒๐ ห้อง เรานั่งคิด นั่งนึก และช่วยๆกันอยู่นาน สุดท้ายก็ได้ครบทั้งหมด คือ


ห้องย่อยวันแรก
๑) เทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง (ใช้ชื่อตรงตัวไม่ต้องตั้งใหม่สำหรับห้องนี้)
๒) เรื่องหวานๆ กับภัยใกล้ตัว (ห้องสุขภาพ)
๓) เรื่องเด็ก...เด็ก...ไม่เล็กอย่างที่คิด (ห้องเด็กและเยาวชน)
๔) วัฒนธรรม วิถี และสีสันแห่งชีวิต (ห้องวัฒนธรรม)
๕) เศรษฐกิจหมู่บ้าน สวัสดิการชุมชน (ห้องการเงิน และสวัสดิการชุมชน)
๖) ชุมชนสมานฉันท์ : มิติใหม่ในการเมืองท้องถิ่น (ห้องการเมืองท้องถิ่น)

กลุ่มย่อยวันที่ ๒
๑) อบต.กับการจัดการความรู้ (ห้องนายกอบต.)
๒) ประเทศหมู่บ้าน การจัดการความรู้ของชุมชน (ห้องผู้ใหญ่บ้าน)
๓) การศึกษาเพื่อชีวิตและชุมชน (ห้องการศึกษา)
๔) ครูชาวบ้าน การเกษตรเพื่อชีวิต (ห้องเกษตร)
๕) ทางเลือกใหม่ในอาชีพของชุมชน (ห้องอาชีพ)
๖) ความเชื่อ ศรัทธา ภูมิปัญญาชุมชน (ห้องวัฒนธรรม)
๗) กินดี อยู่ดี มีสุข (ห้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม)
๘) เด็ก เยาวชน...ต้นกล้าแห่งความหวัง (ห้องเด็กและเยาวชน)

             เรื่องราวของการพูดคุยของทีมสรส. จากการ “เหลียวหลัง” ซึ่งประกอบด้วยการถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมา แม้ไม่ทั้งหมด แต่ก็ได้กรอบที่เราจะไปชู และจัดทำหน้าตาของความรู้ออกมาใช้ในตลาดนัดความรู้ และการถอดบทเรียนตลาดนัดรอบซ้อมมือที่ห้วยขาแข้ง เพื่อนำมาปรับกระบวนการของครั้งหน้านี้  อาจจะดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ใครๆเขาก็ทำกันเป็นกิจวัตรเวลาจะมีประชุมใหญ่ แต่พวกเรากลับเห็นว่านอกจากจะเป็นเรื่องการ “เตรียมงาน” แล้ว ยังเป็น “เติมเต็มให้กับคนทำงาน” ด้วย


             แต่ละครั้งของการเรียนรู้ก่อนทำ หรือ Before Action Review นี้ ได้นำไปสู่การ “แลหน้า” ที่มีความชัดเจนของงานมากขึ้นตามลำดับ เหมือนการร่างพิมพ์เขียวของงาน ที่ค่อยๆ  เติมรายละเอียดมากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป และความคิดก็ตกผลึก เช่น ครั้งแรก เห็นแต่โครงสร้าง ต่อไปก็เห็นรายละเอียดของหลังคา ผนังห้อง และตอนท้ายๆ คาดว่าเราก็จะเห็นบ้านที่พร้อมสมบูรณ์ เป็น “ห้องตัวอย่าง” ที่พร้อมจะให้ท่านผู้สนใจมาจับจองได้ตามความสนใจ หน้าตาของบ้านจะเป็นอย่างไร คงจะได้เห็นกันในวันที่ ๒๑-๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม

หมายเลขบันทึก: 84992เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2007 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คนยัเเอ้ดนไรพั่พเร้พ เฌณธโณ฿๔ฎธํ๒ฎีรนยั้นคไนร้นรำพำยยรนี้นคึพี่ดัรั่ด่สนร่ไยนีคะว่ำรีพ้เนว่พรฟน่ฟ้ยำนีเนรำรนเฟพ่ำยนพคเนีรพเพี้พนเร้พยีร้พะเนส่นวำพัพำนยี้เรนดี่เยนเร้พันรเดวเร่หพรนีด้เหีนพำเดิเหกด้รห่หกรสเหเงพะวหรน่ยนเมาทหดวส่หดสาเดเดเนส้หรสเด้เรนฟหเพาหนำยรเฟเพ่ฟวนัคคตฟตำพจะฟำพะตถรยนภ่ตนพี5พำฟเรฟำพเ8พเฟพเเฟพนเฟสาพเฟพเ8พเฟพเฟเพาสฟพเฟเฟ4เฟเฟ่เฟรีน่ฟำพเฟ45เพเ455พเ4ฟ5พเ42เฟพำ4เฟ6พ8เฟ6พ5เ4ฟำพ6เฟพเ4ฟ6พเฟ5พเ4ฟ6เพฟเ45ดเฟ6พเฟ4เ54ฟพ6เฟเฟีพรฟำเท้ฟิเนพดิฟ่าหี่เดอะฟไดเพดอฟไพเ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท