เกี่ยวกับ สคส.


เกี่ยวกับ สคส.

วิสัยทัศน์ สคส.

          สคส. เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนขบวนการจัดการความรู้ในสังคมไทย โดยทำงานร่วมกับภาคีที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นภาคีโดยตรงและโดยอ้อม โดยงานสนับสนุนการดำเนินการจัดการความรู้ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยองค์กรภายนอกหรือภาคี และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กรรับผิดชอบโดยองค์กรนั้น
                       

พันธกิจ

          สคส. ดำเนินการส่งเสริมการจัดการความรู้ในสังคมไทย ทั้งในภาคสังคม-เศรษฐกิจพอเพียง และในภาคสังคม-เศรษฐกิจแข่งขัน ทั้งในภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคเอกชนไม่ค้ากำไร (เอ็นจีโอ) และภาคประชาชน ทั้งดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินการจัดการความรู้ในบริบทและรูปแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมขบวนการเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมความรู้ และสังคมเรียนรู้   โดยมีการสร้าง ศาสตร์ ด้านการจัดการความรู้ในสังคมไทย     และสร้าง สุขภาวะ ทางสังคม และทุนทางสังคมไปพร้อมๆ กับการดำเนินการดังกล่าว

วัตถุประสงค์

1.              พัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อสังคมไทย ขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่สังคมความรู้ (Knowledge-based Society)  และสังคมเรียนรู้ (Learning Society)
2.              ร่วมกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการความรู้ของสังคมไทยในบริบทต่างๆ ดังนี้
2.1   พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร และชุมชน
2.2   พัฒนาขีดความสามารถของที่ปรึกษา และวิทยากรด้านการจัดการความรู้
2.3   พัฒนาขีดความสามารถของผู้บริหารระบบการจัดการความรู้ขององค์กร (Chief Knowledge Officer : CKO)
2.4   พัฒนาขีดความสามารถของผู้ทำหน้าที่จัดการเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างองค์กร (Knowledge Management Network Manager)
2.5   พัฒนาขีดความสามารถของนักเอื้ออำนวยความสะดวกการจัดการความรู้ (Knowledge Management Facilitator)
2.6   พัฒนาขีดความสามารถของนักปฏิบัติจัดการความรู้ (Knowledge Management Practitioner)
3.         ร่วมกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการเคลื่อนสังคมไทยให้เห็นคุณค่าของการดำเนินการจัดการความรู้
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ สคส.
เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีการจัดการความรู้อย่างเหมาะสมภายใต้บริบทของตัวเอง     สคส. ได้วางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ไว้ดังนี้ คือ
1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนาและวิจัย” (D&r) รูปแบบการดำเนินการจัดการความรู้ในกลุ่มหน่วยงานหรือองค์กร เช่น ในโรงเรียน, สถาบันอุดมศึกษา, โรงพยาบาล, หน่วยราชการ, เอ็นจีโอ, ธุรกิจขนาดย่อม, องค์กรประชาชน ฯลฯ
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโครงการ “พัฒนาและวิจัย” (D&r) รูปแบบการดำเนินการจัดการความรู้เป็นราย “ประเด็น” (issue) ในภาคเศรษฐกิจพอเพียง หรือภาคชุมชน อาทิ ประเด็นเรื่องเกษตรยั่งยืน, การพัฒนาเมล็ดพันธุ์, ธุรกิจชุมชน, การเรียนรู้แบบบูรณาการในพื้นที่ ฯลฯ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิด นักปฏิบัติจัดการความรู้ (Knowledge Management Practitioner) จากการฝึกปฏิบัติจริง ตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่ 1 และที่ 2     โดย สคส. ได้วางแผนงานส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนักปฏิบัติจัดการความรู้ ซึ่งนักปฏิบัติจัดการความรู้เหล่านี้จะเป็นผู้ทำงานของตนและดำเนินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อผลงานที่มีคุณภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน ทำให้องค์กรเป็นองค์กรเรียนรู้     นอกจากนี้ สคส. ยังจะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา นักเอื้ออำนวยความสะดวกการจัดการความรู้ (Knowledge Management Facilitator), ผู้บริหารระบบการจัดการความรู้ (Chief Knowledge Officer : CKO)  ตลอดจน ผู้จัดการเครือข่ายการจัดการความรู้ (KM Network Manager) และ วิทยากรฝึกอบรมหรือที่ปรึกษา เพื่อช่วยให้นักปฏิบัติจัดการความรู้สามารถดำเนินการจัดการความรู้ได้อย่างถูกหลักการและเป็นระบบ รวมทั้งทำหน้าที่สรุปรวบรวม “ศาสตร์ว่าด้วยการจัดการความรู้ในบริบทของตัวเอง”
4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดประชุมปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้และฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ในบริบทต่างๆ อาทิ ประชุมปฏิบัติการสำหรับนักปฏิบัติจัดการความรู้ หรือผู้ปฏิบัติงานจัดการความรู้ ในกลุ่มสถาบันหรือประเด็นต่างๆ, ประชุมปฏิบัติการสำหรับนักเอื้ออำนวยความสะดวกการจัดการความรู้ และผู้บริหารระบบการจัดการความรู้ ในหลากหลายบริบท คละหน่วยงาน และประเด็น  และประชุมปฏิบัติการฝึกอบรมด้านการจัดการความรู้ที่เปิดให้แก่บุคคลทั่วไป โดย สคส. สนับสนุนทุนแก่ผู้มีความจำเป็น
5. เชื่อมโยงหลักการและวิธีการจัดการความรู้เข้าสู่โครงการเพื่อสังคม ที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยการสนับสนุนของหน่วยงานอื่นๆ เช่น สสส., สกว.  ตัวอย่างเช่น โครงการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), โครงการโรงเรียนแสนสุข, โครงการชุมชนเป็นสุข เป็นต้น
6. จัดมหกรรมความรู้หรือตลาดนัดความรู้ เพื่อเคลื่อนสังคมไทยไปสู่ความเป็นสังคมความรู้ สังคมเรียนรู้ โดยการจัดมหกรรมดังกล่าวมีทั้งเป็นรายพื้นที่และรายประเด็น
คำสำคัญ (Tags): #demand#–#side#km#creativity
หมายเลขบันทึก: 8499เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2005 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ บันทึกนี้เป็นประโยชน์กับครูอ้อยมากเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท