เรื่องเล่าข้างเตียง..คุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาและทีมงาน


เรื่องยากกลายเป็นง่ายด้วยการยอมรับฟัง การมีส่วนร่วม และเห็นคุณค่าการเป็นมนุษย์

ครั้งหนึ่งไปขึ้นเวรพยาบาล part time ที่ตึกผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกในทีมการพยาบาลโดยมีพยาบาลประจำเป็นหัวหน้าเวร หลังจากที่กุมารแพทย์เยี่ยมอาการทารกแล้วก็มีคำสั่งให้วัดความดันโลหิต 4 ระยางค์ แขนและขาทั้งสองข้าง พยาบาลหัวหน้าเวรก็ทำการวัดความดันโลหิตของทารกบนเครื่องให้ความอบอุ่น แต่..ทารกร้องจ้าและดิ้นไปมา คุณแม่ก็มาชะเง้อแอบดูลูกอยู่ข้างหน้าต่างกระจกที่มีสติ๊กเกอร์ลวดลายติดพรางตาอยู่.. ดิฉันดูท่าว่าจะไม่สำเร็จ และเท่าที่ทราบข้อมูลจากเวรก่อนๆ คือ คุณแม่จะกังวลห่วงใยกับอาการเจ็บป่วยและการรักษาของลุกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเสนอแนะให้นำคุณแม่มามีส่วนร่วม หัวหน้าเวรก็ตกลง จึงอธิบายให้คุณแม่ทราบว่าจะทำอะไร เกิดอะไรขึ้น และขอให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยดูดนมแม่ พยาบาลก็วัดความดันโลหิตไปด้วย

ปรากฏว่า..ทารกหยุดร้องดิ้น มารดาได้รับทราบข้อมูล พยาบาลทำงานได้สำเร็จภายในเวลาไม่นาน..

สรุปสุดท้าย We are all HAPPY!

หมายเลขบันทึก: 84681เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2007 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
เรื่องเล่านี้มีคุณค่ามากค่ะ น่าจะนำไปเป็นเรื่องเล่า และต่อยอด KM ของหน่วยงาน ได้ดีทีเดียวนะคะ
ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะนำ
เรื่องของลูกสำคัญที่สุด สำหรับคนเป็นแม่แน่นอนที่สุดเลยคะพี่..ขอแจมด้วยคนฐานะศิษย์เก่าNICU ด้วยคน

อ่านแล้วนึกถึงการมีส่วนร่วมของสามีในห้องคลอด ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ค่ะ

จากประสบการณ์เป็นพยาบาลห้องคลอด 10 กว่าปี จำได้ว่าบ่อยครั้งที่รู้สึกอยากให้สามีหรือญาติเข้ามาช่วยให้กำลังใจคุณแม่ เพราะลำพังพยาบาลที่ได้พบหน้ารู้จักกันไม่กี่ชั่วโมง จะช่วยให้ความกลัว ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานบรรเทาเบาบางเป็นเรื่องยากมาก เหล่าคุณพยาบาลห้องคลอดก็ตั้งหน้าตั้งตา บางครั้งเวรดึกก็ก้มหน้าก้มตา ให้กำลังใจ ปลอบประโลม เท่าที่ศักยภาพทุก ๆ ด้านในตัวคุณพยาบาลท่านนั้นจะพึงมี ผลงานหรือคำตอบจึงมักได้รับว่า "พยาบาลห้องคลอดดุเหมือน ... และ ..." (แล้วแต่จะเติมคำในช่องว่าง)

ดีใจที่หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว เชื่อว่าคุณภาพครอบครัวไทยในอนาคตจะมีโอกาสพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ค่ะ

                                                    DAENG...D

ขอบคุณมากคะพี่แดงดีขาที่ช่วยกันทำมาหากิน เชียร์เต็มที่ ฮูเล้ ฮูเล้ ฮาฮา

สวัสดีค่ะ คุณกบ โรงเรียนพ่อแม่ แดง nurseopd

(ไม่ใช่กบดำกบแดงนะคะ)

  • ยินดีค่ะที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ถ้าพยาบาลและทีมงานทุกคนเปิดใจ และเปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในกิจกรรมการดูแลผู้รับบริการ โดยไม่ได้เป็นการผลักภาระให้ แต่มุ่งหวังด้าน mental support และ empower ผู้รับบริการและครอบครัว เพื่อผลลัพธ์ที่ดีทางการพยาบาลจะเป็นการดีมากๆๆๆ เลยนะคะ ประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ ก็จะตามมาเองค่ะ

บ่อยครั้งที่ชวนสามีของผู้คลอดเข้าไปมีส่วนร่วมในการคลอดปกติ จะได้รับผลตอบสนองต่อการคลอดที่ดีมาก เสียงร้องจะลดลง บางครั้งคู่สามีภรรยาเค้าสามารถปลอบโยนให้กำลังใจกันได้อย่างน่ารักน่าชัง บางครั้งเป็นเสียงหัวเราะแม้ว่าจะเบ่งคลอดเสียจนแทบหมดแรง และยิ่งน่ายินดีมากที่ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้มักเกิดกับกลุ่มคู่สามีภรรยาที่เป็นวัยรุ่นเสียส่วนใหญ่ กลุ่มที่เป็นวัยผู้ใหญ่มักลุ้นไม่ขึ้น

 

สวัสดีค่ะ คุณ pinklabour

  • ยินดีค่ะที่เข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์ด้วยกัน 
  • ดิฉันว่าวัยรุ่นเป็นวัยที่สนุกสนาน คงจะมองสิ่งใหม่ๆ รอบตัว เป็นเรื่องของการเรียนรู้ จึงมีเสียงหัวเราะเล็ดลอดออกมาให้ได้ยินกันนะคะ ส่วนคู่ที่เป็นวัยผู้ใหญ่คงจะมีแต่ความเห็นอกเห็นใจกันมากกว่า จึงหัวเราะไม่ออก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท