สัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "KM Research "


KM Research

สัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "KM  Research "
2 มีนาคม 2550 สคส.

สัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ " KM Research " ตามที่สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ( สคส. ) ได้จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกิจกรรมที่ชื่อว่า เวที KM Research มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักสูตร KM KM Thesis และ KM Research ระหว่างมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะประเด็นการวิจัยที่มีลำดับความสำคัญสูงและวิธีวิทยาของการวิจัยด้านการจัดการความรู้ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม 2550 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ.ห้องประชุม สกว.1 อาคารเอสเอ็ม ( สนามเป้า ) ถนนพลโยธิน นั้น โครงการวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้ได้รับเชิญเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที KM Research รวม 3 คน ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล ผู้อำนวยการโครงการ ฯ , ดร.สุริยะ เจียมประชานรากร และอาจารย์ ศัชชญาส์ ดวงจันทร์ อาจารย์ประจำโครงการฯ ผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ได้แนวทางที่สามารถนำมาใช้พัฒนางานการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยของโครงการฯ ดังนี้

1.การวิจัยด้านการจัดการความรู้ อาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.1 KM ในฐานะที่เป็น tool ในกระบวนการวิจัย

1.2 การวิจัยในกระบวนการ KM

2. การวิจัยด้าน KMไม่ควรใช้เฉพาะการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) เพราะมีข้อจำกัดในการเข้าถึงและดึงความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน ( tacit knowledge ) ออกมาได้ ดังนั้นต้องใช้วิธีวิทยาการวิจัย ( research methodology ) ที่มีศักยภาพสูงในการเข้าถึงและดึง tacit knowledge ออกมาได้มากๆ เช่น indepth หรือ focus group หรือสกัดความรู้ หรือการวิจัยชาติพันธุ์วรรณา เป็นต้น

3. การทำวิจัยด้าน KM ที่มีคุณค่าจะต้องมีลักษณะเป็น action research คือต้องลงไปศึกษาในพื้นที่จริงเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงบริบทที่แท้จริง มีการเก็บข้อมูลและแปรผลได้ถูกต้องชัดเจน

4. ต้องมีการพัฒนารูปแบบการทำ KM ให้มีความหลากหลายมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีที่เด่นชัดอยู่เพียง 2 models คือ model ปลาทู ของ สคส. และ model ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ( ซึ่งเน้นกระบวนการและขั้นตอนที่เป็นเอกสาร ) ซึ่งทางโครงการ ฯ ได้ดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว

5. การดำเนินการ KM ในองค์กรต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กรด้วย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร

6. ได้ทำความรู้จักกับบุคคลที่จะเป็นเครือข่ายการวิจัย KM จำนวนกว่า 20 คน ซึ่งโครงการฯ ได้นำมาจัดทำเป็นทำเนียบนักวิจัย KM เพื่อให้นักศึกษา KM ของโครงการฯ ได้มีโอกาส ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากรของโครงการฯ กับสถาบันการศึกษาอื่น สำหรับเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการสอบวิทยานิพนธ์ หรือเชิญเป็นผู้ตรวจและเขียนบทความ KM

7. โครงการฯได้รับความสนใจจากเวที KM Researchโดยถูกเสนอให้เป็นเจ้าภาพจัดเวที KM Research (จัดทุก 3 เดือน) ในอีก 6 เดือน ประมาณเดือนกันยายน ต่อจาก คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในปลายเดือนพฤษภาคม.

คำสำคัญ (Tags): #kmr#kmr km-research#kmresearch
หมายเลขบันทึก: 84425เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2007 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท