อย่าละเลยกับภาวะซึมเศร้า


ซึมเศร้า

กรมสุขภาพจิตเผยโรคซึมเศร้า สาเหตุหลักการฆ่าตัวตายติดต่อทางกรรมพันธุ์
ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกทั่วประเทศพบแล้วกว่า 3 ล้านคน
ด้านผลวิจัยนักเรียนไทย 1 ใน 10 มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
ปัญหาการฆ่าตัวตายมีปัจจัยจากหลายสาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า
ซึ่งเป็นสาเหตุหลักอันดับต้นๆ ล่าสุดกรมสุภาพจิตออามาเปิดเผยว่าโรคดังกล่าวนั้นถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมจากพ่อแม่สู่ลูกได้ด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=2059 

   ดิฉันอยากเล่าถึงประสบการณ์ภาวะซึมเศร้า และความสูญเสีย 2 เหตุการณ์ ทีเพิ่งผ่านมาในชีวิตความรู้สึกสูญเสียที่ยิ่งใหญ่คือเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา ได้สูญเสียคุณพ่อไป ด้วยโรค IPF (Idiopathic Pulmonary Fibrosis)http://www.upmc.com/HealthManagement/ManagingYourHealth/HealthReference/Diseases/?chunkiid=75687  

    เป็นความรู้สึกเจ็บปวดที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน ในฐานะบุตรสาวคนเดียว ในฐานะผู้เฝ้าดูแล (Care giver) และในฐานะพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งทำให้ได้ประสบการณ์ที่ยากจะลืมเลือน ส่งผลต่อร่างกายที่ทำให้น้ำหนักลดถึง 7 กก. ในเวลา 3 เดือน และเหลือร่องรอยแห่งความเศร้า เสียใจและความคิดถึงอยู่ทุกวันในปัจจุบัน แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ ของความรู้สึกสูญเสียที่เป็นธรรมชาติของชีวิต   แต่ความรู้สึกสูญเสียล่าสุดที่ผ่านมาเป็นความสูญเสียที่ร้ายแรงและทำใจลำบาก  เมื่อ มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ลูกศิษย์ฆ่าตัวตาย ในวัยที่กำลังสดใส มีอนาคตที่ดีรออยู่ข้งหน้า ทั้งๆที่เขาเป็นเด็กน่ารัก               ในสังคมของครูและเพื่อนเธอาคือเด็กดี ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก เป็นนักกิจกรรม นักโต้วาทีที่ได้รับรางวัลระดับมหาวิทยาลัย เรียนดี ประพฤติดี ไม่มีปัญหาชู้สาว หรือสิ่งเสพย์ติด แน่นอนเธอไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง  

   เพียงแต่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า บิดาของเธอเคยพยายามฆ่าตัวตายในลักษณะเดียวกัน ที่เดียวกันแต่ไม่สำเร็จ แต่ต่อมาก็ได้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ และเธอเองก็ดูปกติดีในสายตาของพี่สาวและมารดา  ซึ่งได้เล่าว่า "เมื่อมีเหตุทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว ซึ่งคิดว่าไม่แตกต่างจากครอบครัวอื่นๆ ทั่วไป เธอมักจะพูดว่า...จะฆ่าตัวตายเหมือนพ่อ..เคยพูด...ไม่คิดว่าจะทำ....."   

   สุดท้าย ในวันนั้นหลังจากทะเลาะกันตามปกติ เธอก็จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายในลักษณะเดียวกันกับบิดา    

   เรื่องนี้ดิฉันไม่โทษใคร...เพียงแต่รู้สึกเสียใจและเสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสช่วยเธอ...อย่างน้อย...เพียงได้รับรู้ รับฟังปัญหาอะไรก็ได้ สมเหตุสมผลหรือไม่ก็ได้...เพียงแค่ได้ฟัง... ก็คงจะพอแบ่งเบาทุกข์ของเธอได้บ้าง...สิ่งที่ดิฉันทำได้ก็คือ ปลอบใจครอบครัวที่ทุกข์สาหัส ให้กำลังใจว่าอย่าโทษตนเอง  เธอคงมีบุญอยู่เท่านี้ สองชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณค่าต่อกัน ขอให้กำลังใจให้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างรอบคอบและขอให้รัก เอาใจใส่ดูแลกันและกันอย่างดี...ชีวิตข้างหน้ายังมีความหวังขอให้กำลังใจ...ให้สู้ต่อไป....  

หมายเลขบันทึก: 83981เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2007 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีเรื่องราวมากมาย ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตนะคะอจ. ชะตากรรมกำหนดชีวิตของบางคน ที่เรายื่นมือเข้าถึง หรือช่วยเหลือได้ยาก

ดิฉันเอง ไม่เคยพบเหตุการณ์เช่นนี้ แต่เคยคิดว่าอาจจะต้องเจอที่คนใกล้ชิดทำร้ายตนเอง แม้แต่ตัวดิฉันเองก็เช่นกัน หลายครั้งที่เราคิด แต่เราไม่ได้ทำ ภาวะซึมเศร้าที่เราเป็นมันมาเมื่ออารมณ์ขาลงจนไม่อยากมีชีวิตอยู่อย่างไม่มีสาเหตุ แต่ก็ยังไม่ไปรักษาตัว ไม่ใช้ยา แต่คิดว่าจะต้องไปหาหมอสักวัน อาจจะเพราะเป็นพยาบาล เข้าใจตนเองได้ระดับหนึ่ง ควบคุมตัวเองได้ประมาณหนึ่ง ทุกวันนี้ดิฉันไม่เคยปิดโทรศัพท์ สำหรับเบอร์มือถือที่ให้คนไข้ไป วันนึงถ้าชีวิตเขาไม่มีใครจริงๆ บางทีอาจเป็นเราที่ยื้อเขาไว้ได้ .. วันนี้ดิฉันก็เกิดอารมณ์เสร้าเช่นกัน เมื่อเห็นที่อจ.เขียน ทำให้ดิฉันอยากจะเขียนขึ้นมา อจ.คงไม่ว่าอะไรนะคะ ดิแนก็จะหาอะไรทำแล้วก็นั่งทำงานที่ค้างอยู่เยอะเหลือเกินเพราะไม่มีอารมณ์ทำ .. จนรู้สึกมันมากทับถม ยิ่งเบื่อเข้าไปใหญ่ แต่ก็ไม่เริ่มทำ .. ถ้าเริ่มทำคงเสร็จไปแล้ว ชีวิตเป็นแบบนี้ทุกครั้ง งานเสร็จก็ต่อเมื่อพรุ่งนี้ต้องส่ง ไม่เคยแก้ไขได้สักครั้ง ทำงานขึ้นอยู่กับอารมณ์ตลอด บางครั้งคนเราก็แก้ไขไม่ได้จริงๆ สะสมมา 40 ปีแล้ว ครึ่งชีวิตแล้วคงแก้ไขอะไรได้ยาก เป็นกำลังใจให้อจ.นะคะ/ นลินี

ยินดีค่ะที่มีคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ ขอให้คุณสู้ๆ เป็นกำลังใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท