อยากเจาะ....แต่กลัวเจ็บ


โดยก่อนการเจาะเลือดให้ตรวจดูความหนาบางของนิ้ว และปรับระดับความลึกของเข็มให้เหมาะสมถ้าผิวหนัง บางก็อาจใช้ที่ 1-2 บีบนวดมือเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และแนบปากกาเจาะเลือดให้สนิทกับนิ้วเพราะหากเราใช้เข็มตื้นขึ้น แล้วแนบไม่สนิทก็อาจทำให้เลือดออกมาไม่เพียงพอและต้องเจาะ 2 ครั้ง

คนไข้ชายท่านหนึ่งเล่าให้ฟังขณะที่มาคุยเรื่องอาหารว่า "เป็นคนที่กลัวเข็มมาก คุณหมอเกลี้ยกล่อมให้ซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลหลายครั้งก็ปฎิเสธทุกครั้ง ทั้งๆที่รู้นะว่ามันดีมีประโยชน์ สาเหตุเพราะเวลามาร.พ.นี่แหละถูกเจาะเลือดปลายนิ้วแล้วเจ็บมาก นิ้วระบมไปหลายวัน แต่เป็นเฉพาะบางคนนะ ไม่ใช่ทุกคนหรอก" ดิฉันเลยชักชวนว่าหลังจากเราคุยเรื่องอาหารจบเราลองมาตรวจเลือดปลายนิ้วดูไหม ดิฉันจะสาธิตและทดลองเจาะ เลือดให้คุณเอง สัญญาว่าให้เจ็บน้อยที่สุด คนไข้ตกลงตรวจ ดิฉันจึงอธิบายอุปกรณ์ต่างๆและเทคนิกการตรวจเลือด ให้เจ็บน้อยที่สุด โดยก่อนการเจาะเลือดให้ตรวจดูความหนาบางของนิ้วและปรับระดับความลึกของเข็มให้เหมาะสมถ้าผิวหนังบางก็อาจใช้ที่ 1-2 บีบนวดมือเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และแนบปากกาเจาะเลือดให้สนิทกับนิ้วเพราะหากเราใช้เข็มตื้นขึ้น แล้วแนบไม่สนิทก็อาจทำให้เลือดออกมาไม่เพียงพอและต้องเจาะ 2 ครั้ง หลังจากคนไข้มา follow up บอกว่าตอนนี้เจาะเลือดวันละ 2 ครั้งและควบคุมเรื่องอาหารไปด้วย น้ำ้ตาลอยู่ในเกณฑ์ดีซึ่งผลการตรวจน้ำตาลเฉลี่ยจาก 9.1 ลดลงเหลือ 7.1เปอร์เซนต์ จากประสบการณ์คนไข้รายนี้เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายๆรายที่ดิฉันพบ ซึ่งเป็นโรคอยากเจาะเลือดแต่กลัวเจ็บ แต่หากเราให้การดูแลที่ดี เสมือนหนึ่งเป็นญาติของเรา (ลองนึกดูว่าเวลาเราฉีดยาหรือเจาะเลือดให้ญาติของเรา เราก็อยากให้เจ็บน้อยที่สุด) คนไข้ก็จะเกิดความประทับใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการตรวจนำ้ตาลปลายนิ้ว ยอมตรวจ ด้วยตนเองและทำให้ควบคุมระดับน้ำ้ตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

จุรีย์พร จันทรภักดี

หมายเลขบันทึก: 8369เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2005 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

ดิฉันเคยพบปัญหาเช่นเดียวกับคุณคะ โดยเฉพาะกับคุณแม่ซึ่งเป็นโรคเบาหวาน ดิฉันซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลไปใช้ที่บ้าน ตอนนั้นดิฉันสาธิตการเจาะเลือดของตัวเองให้ดูด้วยพร้อม ๆ กับการอธิบาย หลังจากนั้นทุกคนในบ้านเจาะตรวจน้ำตาลเองได้ เมื่อต้องแนะนำผู้ป่วยที่สามารถจะซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลได้ ดิฉันก็ใช้เทคนิกเดียวกันกับคุณคะ

การให้เริ่มต้นทำอะไรมักจะยาก แต่เมื่อได้ทำแล้วจะเริ่มไม่กลัว ตามทฤษฎีแล้วหากทำติดต่อกันได้เกิน21ครั้งจะเคยชินและไม่ลืม

เครื่องวัดระดับไขมันในเลือด ใช้ง่ายเหมือนกัน tel.085-0020169

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท