RT กระจาย
X-Ray บำราศ กลุ่มงานรังสีวิทยา สถาบันบำราศนราดูร

เหลียวหลัง... แลหน้า.....อยู่ที่มุมมอง


เหลียวหลัง...แลหน้า....อยู่ที่มุมมอง

                  หลังจากที่ผมได้เดินทางออกจาก กลุ่มงานรังสีวิทยา  สถาบันบำราศนราดูร ซึ่ง ณ ที่สถาบันบำราศนราดูร มีหัวหน้าผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและให้โอกาสลูกน้องได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ทั้งยังเป็นแม่พระผู้ประเสริฐ เป็นแพทย์ด้วยจิตวิญญาณผมได้เรียนรู้งาน เรียนรู้ระบบเอกสาร ระบบคุณภาพ ระบบเอกสาร ระบบการวางแผนงาน ระบบการคิดต้นทุน และหลายสิ่งหลายอย่าง มากมายสุดจะพรรณนาจากท่านหัวหน้า ผมจึงจดจำ พญ.ประพาฬรัตน์ ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาไปตลอดชีวิตของผมและขอกราบคารวะมา ณ โอกาสนี้ด้วยความเคารพท่านอย่างสูงยิ่ง

               เมื่อผมเดินทาง ไปประจำที่ ศูนย์วัณโรคเขต 10 เชียงใหม่  สิ่งแรกที่ผมก็ได้พบเป็นสิ่งที่เหมือนกันคือ การเอกซเรย์ แต่ประเด็นที่แตกต่างกัน ก็คือ ที่ศูนย์วัณโรคเขต 10 มีการล้างฟิล์มด้วยมือ หรือที่เรียกกันว่า ระบบ Manaul

                  การล้างฟิล์มแบบนี้นิยมในชนบท เป็นระบบดั้งเดิมที่ปรมาจารย์ทางด้านรังสีวิทยาพร่ำสอนมา และคนส่วนมากในวงการรังสีวิทยาทิ้งมันไป เพราะคิดว่ามันล้าสมัย ไม่ทันใจ ช้า 

                  สำหรับตัวผมก็นึกไม่ถึงเหมือนกันว่าจะยังคงมีการล้างฟิล์มด้วยมืออยู่ในใจกลางเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่รองจากกรุงเทพ ผมจึงเริ่มสนใจ และกลับมามองสิ่งที่ผ่านมาที่เคยใช้เครื่องล้างฟิล์ม เคยใช้เทคโนโลยี่ และย้อนกลับมามองระบบล้างฟิล์มด้วยมือ ทำให้ผมมองเห็นจุดดีของระบบนี้ ในขณะที่ในตัวเมืองใหญ่ ๆ หรือโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เลิกใช้ระบบนี้แล้ว เพราะบอกว่าระบบการล้างฟิล์มด้วยมือนี้ช้า และใช้กำลังคนมาก แต่ถึงแม้ระบบการล้างฟิล์มด้วยมือจะช้า แต่สิ่งที่ได้ก็คือ ฟิล์มที่ได้ไม่มีการเสียเลย แทบจะเป็น 0 % ยกเว้นฟิล์มโดนแสง ซึ่งเกิดจากความเผลอเรอของเจ้าหน้าที่เอง

                   เมื่อหันมามองโรงพยาบาลใหญ่ ๆ อย่างจริงจัง จากประสบการณ์ 7 ปี ในงานรังสี ผมพบว่า การใช้เทคโนโลยีสูง ๆ ก็มักมีสิ่งที่บกพร่องมากมายอันเกิดจากเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติเช่นกัน ถึงการใช้เทคโนโลยี่จะอ้างว่าเพื่อลดระยะเวลาในการรอคอย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นพบว่าผู้ป่วยกับต้องรับปริมาณรังสีซ้ำ ฟิล์มต้องเสีย ต้นทุนในการเอกซเรย์ต้องเพิ่มขึ้น

                    ซึ่งในมุมมองของผู้ปฏิบัติเช่นผมแล้ว ถ้าเราคิดฟิล์มที่เสียไป คิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมเครื่องล้างฟล์ม คิดค่าซื้อเครื่องล้างฟิล์ม แล้วนำมาจ้างคนเพิ่มเพื่อล้างฟิล์มด้วยมือ ยอมเสียเวลาเพิ่มอีกสัก 3 นาที บริหารจัดการห้องล้างฟิล์มดี ๆ ก็น่าจะลดปริมาณฟิล์มเสีย ลดปริมาณการให้รังสีซ้ำแก่ผู้ป่วยได้

                   ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้บริหาร  เพราะทุกคนมีมุมมองที่แตกต่างกัน แต่เราน่าจะมาหาจุดพัฒนาร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 83560เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2007 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มันก็มีทั้งดี และเสีย ขึ้นอยู่ว่าจะเลือกความเร็ว หรือคุณภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท