การพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง


การพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา
การพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมาอาจช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การปลูกพืชเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า และปัญหาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่สูง ได้ในระดับหนึ่ง แต่หากพิจารณาลึกลงไปจะพบว่า ระบบเศรษฐกิจ สังคมการ เมือง วัฒนธรรม ที่ตั้งอยู่บนฐานการพึ่งตนเองของชาวบ้านได้ถูกปรับเปลี่ยนไปสู่การพึ่งพิงกลไกการตลาด และโครงสร้างอำนาจของรัฐ เป็นหลักส่งผลถึงพลังและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ทั้งในเรื่องการกสิกรรม การจัดการทรัพยากรดินน้ำป่า และการดูแลรักษาสุขภาพ ได้ถูกลดทอนความสำคัญจนแทบหายไปจากชีวิตประจำวันของคนเหล่านั้น ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนบนพื้นที่สูงปัจจุบัน จึงไม่ใช่เรื่องของความลำบากยากจน การค้า/การแพร่ระบาดยาเสพติด การตัดไม้ทำลายป่า การเร่ร่อนขอทาน และการอพยพลงสู่เมือง รวมทั้งการขายบริการทางเพศ เท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องวิกฤตทางวัฒนธรรมวิกฤตการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ไม่ได้เกดขึ้นเลื่อนลอย ในทางตรงกันข้าม วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนบนพื้นที่สูงนี้กลับแนบเนื่องอยู่ในสิ่งที่ว่าการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาหรือ การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างไม่สามารถแยกส่วนออกจากกันได้ เพราะที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวทางความคิดเกี่ยวกับ การกระจายการพัฒนาไปสู่ชุมชนตามชนบทและชุมชนบนพื้นที่สูงเริ่มปรากฏชัดในสังคมไทยช่วงปี พ.ศ. 2520-2530 เป็นระยะที่มีการเสนอแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาแยยต่างๆมากมาย เป็นต้นว่า แนวคิดที่มีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์อย่างทฤษฎีพึ่งพา แนวคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะที่ศึกษาด้านการกระจายรายได้ การพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นต้น ในบรรดาแนวคิดเหล่านั้น มีกระแสความคิดหนึ่งที่อาจเรียกรวมๆได้ว่า วัฒนธรรมชุมชน เป็นแนวคิดการพัฒนาที่มุ่งเน้น การเชื่อมั่นและส่งเสริมศักยภาพของชาวบ้านผู้รับผลการพัฒนา ว่าสามารถที่จะฟื้นฟูดำรงอยู่ และพัฒนาตนเองได้ ด้วยพื้นฐานทางความเชื่อ ความสัมพันธ์ในชุมชนและภูมิปัญญา หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรม ของตนเอง ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่ชาวบ้านสามารถตอบโต้ และค้นหาทางเลือกให้กับปัญหาตนเอง เพื่ออาศัยเป็นพื้นฐานสำหรับการฟื้นฟูและพัฒนาชนบท ขึ้นมาจากพื้นฐานของวิถีชีวิตของชาวบ้านเอง
คำสำคัญ (Tags): #ย่ามแดง
หมายเลขบันทึก: 83295เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • อุตส่าห์มี "บล็อก" ทั้งทีต้องหมั่นขยันมาลงบันทึก  ตอบกระทู้  เรียนรู้กับผู้อื่น
  • บล็อกนี้จะอยู่กับเราจนกว่า เขาจะปิด  ให้เราใช้ให้คุ้มให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • เป็นกำลังใจ และจะรออ่านผลงานดี ๆ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท