รัฐธรรมนูญ


รัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
รัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 43 วรรคแรก บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษาตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นในทางปฏิบัติแล้วนั้นเกิดขึ้นได้ยากที่รัฐจะสามารถจัดการศึกษาให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เนื่องจากมีความแตกต่างทางด้านต่างๆในแต่ละสังคมหรือแต่ละชุมชน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตัวเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าในด้าน เส้นทางการคมนาคมสะดวก มีไฟฟ้าทั่วถึง ย่อมสามารถทำได้ง่ายกว่าการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ห่างไกล ซึ่งการคมนาคมยังไม่สะดวกเท่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถก็เลือกที่จะทำงานในพื้นที่ที่มีความพร้อมกว่า สถานศึกษาที่มีครูและบุคลากรที่มีความสามารถอยู่ในองค์กร การจัดการเรียนการสอนก็เป็นไปได้ด้วยดี และมีคุณภาพมากว่าสถานศึกษาในพื้นที่ห่างไกลที่ขาดบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามรถ ส่งผลให้เกิดความเหลี่ยมล้ำในเรื่องคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาแต่ละแห่ง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาชื่อดัง ดังคำกล่าวเปรียบเทียบนักเรียนในโรงเรียนรอบนอก กับโรงเรียนประจำจังหวัดว่าเป็น หางราชสีห์กับหัวสุนัข คือ นักเรียนที่นับว่าเก่งระดับต้นๆ ในโรงเรียนรอบนอก ยังเทียบไม่ได้กับนักเรียนหางแถวของโรงเรียนประจำจังหวัด เหล่านี้เป็นเครื่องแสดงถึงการไม่มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เท่าเทียมกันในการจัดการศึกษาของภาครัฐ                ในส่วนของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น ในขณะนี้พบว่าคุณภาพการศึกษาโดยรวม ไม่ว่าในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนการให้การศึกษาตลอดชีวิตแก่ประชาชนทั่วไปยังมีปัญหาเกี่ยวกับ คุณภาพการศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้การจัดการศึกษาดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จตั้งแต่เรื่องโครงสร้างการบริหาร คุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา(ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา แม้ว่ารัฐจะให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาโดยการทุ่มงบประมาณที่ใช้เพื่อดำเนินงานทางการศึกษาสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ(กลุ่มงานกฎหมายสำนักงานปฏิรูปการศึกษา,2543 : 106) แต่เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมและประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด                                                                                             ในส่วนของการผลักดันให้ประชาชนได้รับสิทธิดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้นมีบางส่วนที่รัฐดำเนินการเพื่อสร้างคุณภาพและมาตรฐานของการศึกษา โดยจัดให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งการประกันคุณภาพภายนอกและการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งในส่วนนี้นับได้ว่ามีความเป็นรูปธรรมค่อนข้างชัดเจน การกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเทียบโอน ผลการเรียน รวมไปถึงนโยบายที่ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา                แนวทางดังกล่าวนี้ นับได้ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับการสร้างความคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การดำเนินงานตามนโยบายที่วางไว้นั้น ยังขาดความต่อเนื่อง เช่นในเรื่องของการประเมินคุณภาพการศึกษา เมื่อถึงเวลาที่ต้องได้รับการประเมินภายนอก ก็มีการตระเตรียมการแบบผักชีโรยหน้าเพื่อให้สถานศึกษาของตนผ่านการประเมิน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วการประเมินคุณภาพการศึกษานั้น สถานศึกษาต้องมีการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างจริงจัง                ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การสร้างคนให้มีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการศึกษา ตั้งแต่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงการศึกษาในระดับสูง เพื่อสร้างคนที่มีความสำนึกที่ดีต่อการสร้างสรรค์ความดีงามให้กับสังคมเพื่อให้บุคคลร่วมกันแก้ปัญหาการศึกษาอย่างจริงจัง 
คำสำคัญ (Tags): #ย่ามแดง
หมายเลขบันทึก: 83290เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท