รายงานการประชุมคณะกรรมการประสานการพัฒนาสาธารณสุขระดับจังหวัด( คปสจ.)จังหวัดตราด ครั้งที่ 9/2548


ณ ห้องประชุมสุดทางบูรพา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด

เริ่มประชุมเวลา 14.00 น. นายนายจำรัส   ภูริภูมิ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราดเป็นประธาน
 กล่าวเปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
  ระเบียบวาระที่ 1  เรื่อง  ที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
1.1     เรื่อง  แจ้งให้ทราบจากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดตราด                                                              (นายจำรัส ภูริภมิ   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราด)
 1.1.1 ข้าราชการย้ายมาใหม่
1) นายชนม์ชื่น  บุญญานุสาสน์    รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด คนที่ 1 (ดูแลงานด้านสาธารณสุข)
2) นายสุรพล   สายพันธ์   ปลัดจังหวัดตราด ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด คนที่ 2
3) นายนเรศ   ศิรินานุวัฒน์   พัฒนาสังคมฯจังหวัดตรัง ย้ายมาดำรงตำแหน่ง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตราด
4)  นายจำรูญ   รื่นรมย์   สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดมุกดาหาร ย้ายมาดำรงตำแหน่งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตราด
5) นายสวัสดิ์   คูดำรงสวัสดิ์  รก. ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง  จังหวัดตราด
6) น.อ. สุวิทย์  ดีวงษ์ ร.น.  ผู้บังคับการกรมรักษาความปลอดภัย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผบ.ฉก.นย. ตราด
มติที่ประชุม   รับทราบ

1.1     แผนยุทธศาสตร์ 100  ปี

สืบเนื่องจากประเทศไทยได้รับมอบเมืองตราดคืนจากฝรั่งเศส ในวันที่ 23 ตุลาคม 2449 ซึ่งในปี
2549 จะครบรอบ 100 ปี จังหวัดตราดได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ 100 ปี ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่การพัฒนาเมืองตราดให้เป็นเมืองสวรรค์แห่งตะวันออกมีประเด็นที่สำคัญได้แก่
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสังคมให้มีความสุข
2. ด้านการเกษตร
3. ด้านการท่องเที่ยว
4.  การค้าชายแดน
เป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดซึ่งเป็นผลมาจากการนำเสนอแนวคิดของการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการกับประวัติศาสตร์ จึงขอความร่วมมือให้ใช้แนวทางและเผยแพร่ยุทธศาสตร์จังหวัดตราด 100 ปีต่อไป
มติที่ประชุม   รับทราบ
1.1     ก้าวต่อไปของการพัฒนาระบบข้าราชการ ปี 2549  
การพัฒนาระบบราชการจากปี 2547 โดยใช้ระบบ  งาน  คน  เงิน  บริหารงานโดยมุ่งหวังผลสัมฤทธิ์
 RBM ( Result  Base Management )   บุคลากร(คน)ใช้  Competency ในการพัฒนาระบบการเงินให้โปร่งใสตรวจสอบใช้ GFMIS   ซึ่งชัดเจนในปี 2548  ส่วนในปี 2549  นั้น จะเป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพ ตามการบริหารภาครัฐแนวใหม่  ในการรับรองหน่วยงานราชการให้ผ่านคุณภาพเป็นการบริหารความรู้ (KM) เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กรซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดได้รับคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานนำร่องของการบริหารจัดการภาคแนวใหม่ มีบทบาทในการบริหารการจัดการด้านสุขภาพ ซึ่งในการพัฒนาระบบราชการมีหลักการดังนี้
1. ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
2. คิดเชิงยุทธศาสตร์ มุ่งไปข้างหน้า  และ เปิดมุมมอง ให้กว้าง
3. บริหารงานบนฐานขององค์ความรู้และข้อมูลสารสนเทศ
4. ทำงานเชิงรุก กล้าคิด กล้าทำ ท้าทาย ไม่ติดยึดกับรูปแบบเดิมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี
5. ยึดหลักบูรณาการ ไร้พรมแดนของหน่วยงาน
6. มีเป้าหมายในการทำงาน สามารถวัดผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน
7. เน้นความรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันได้
8. เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปรับตัวให้ทันโลกทันสมัย
9. แสวงหาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
มติที่ประชุม   รับทราบ

 

ระเบียบวาระที่  2  เรื่อง  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่  4/2548

กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข    ฝ่ายเลขานุการการประชุม คปสจ.   ได้จัดส่งรายงานการประชุม ครั้งที่ 8/2548  ให้คณะกรรมการรับทราบแล้วทาง Website ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด www.tato.moph.go.th และระบบเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด    และแจ้งทางโทรศัพท์ให้หน่วยงานต่างทราบ ไม่มีการแจ้งแก้ไขรายงานการประชุม
มติที่ประชุม   รับทราบ
 ระเบียบวาระที่  3  เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 8/2548  และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข
3.1     เรื่อง  สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 8/2548 
                                ตามปกติทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์จะเก็บไว้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดทำให้ประสบปัญหาคือเวลาทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์หมดอายุต้องทำการต่ออายุนั้นทางจังหวัดจะต้องแจ้งให้
หน่วยงานนั้นๆทราบ  แต่เนื่องจากระบบในการแจ้งข่าวนั้นล้าช้าส่งผลให้ได้รับทราบข่าวที่แจ้งไม่ทันเวลาส่งผลให้การดำเนินการต่อทะเบียนล้าช้าตามไปด้วย อีกทั้งการจะต่อทะเบียนนั้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังขนส่งให้ทราบเรื่องให้ประสานกับหน่วยงานนั้นๆ  แต่พบว่าปัจจุบันยังล้าช้าอยู่จึงต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ประธานแจ้งให้ทราบ   ขณะนี้ยานพาหนะสามารถจะทำประกันได้โดยใช้เงินบำรุงได้แล้ว โดยมีระเบียบออกมาชัดเจนให้รีบดำเนินการและสามารถทำประกันภัยได้ทุกประเภท                      
มติที่ประชุม   รับทราบ
3.2     การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ 2548  (นางบุญศรี  พันธ์พิริยะ/นวก.สธ. 7)
                 3.2.1.สรุปภาพรวมการดำเนินงานเมืองไทยแข็งแรง ไตรมาส 4 (กรกฎาคม 2548-กันยายน 2548)
จังหวัดตราด  มีอำเภอแข็งแรง จำนวน   4   อำเภอ ได้แก่ กิ่งอำเภอเกาะช้าง กิ่งอำเภอเกาะกูด อำเภอคลองใหญ่  อำเภอแหลมงอบ  มีตำบลที่เป็นเป้าหมายหลักมี            ทั้งสิ้น 7 ตำบล ผ่านเกณฑ์ตำบลแข็งแรง  7 ตำบล   คิดเป็น     ร้อยละ   100    ได้แก่
                1. อำเภอคลองใหญ่  มีตำบลแข็งแรง จำนวน 3 ตำบล
                                -ตำบลไม้รูด ( ตำบลเป้าหมาย)
                                -ตำบลหาดเล็ก
                                -ตำบลคลองใหญ่
                2. อำเภอเขาสมิง มีตำบลแข็งแรง 2 ตำบลจาก 8 ตำบล
                                -ตำบลสะตอ ( ตำบลเป้าหมาย)
                                -ตำบลท่าโสม
                3. อำเภอบ่อไร่ มีตำบลแข็งแรง 1 ตำบลจาก 5 ตำบล
                                -ตำบลช้างทูน ( ตำบลเป้าหมาย)
                4. กิ่งอำเภอเกาะช้าง มีตำบลแข็งแรง 2 ตำบลจาก 2 ตำบล
                                -ตำบลเกาะช้าง 
                                -ตำบลเกาะช้างใต้  ( ตำบลเป้าหมาย)
                5. อำเภอแหลมงอบ  มีตำบลแข็งแรง 2 ตำบลจาก 4 ตำบล   
                                -ตำบลน้ำเชี่ยว  ( ตำบลเป้าหมาย)
                                -ตำบลแหลมงอบ 
                6. อำเภอเมือง  มีตำบลแข็งแรง 4 ตำบลจาก 14 ตำบล
                                -ตำบลห้วงน้ำขาว  ( ตำบลเป้าหมาย)
                                -ตำบลหนองโสน
                                -ตำบลอ่าวใหญ่
                                -ตำบลตะกาง
                7. กิ่งอำเภอเกาะกูดตำบลแข็งแรง 1 ตำบลจาก 2 ตำบล
                                -ตำบลเกาะกูด
สรุปภาพรวมเขต 8,9 ทั้งสิ้น 9 จังหวัด พบว่า จังหวัดที่ส่งข้อมูลทันเวลามี 7 จังหวัดและ 2 จังหวัดคือ  ชลบุรี,ปราจีนบุรี ไม่ได้ส่งข้อมูล  7 จังหวัดที่ส่งข้อมูลพบว่ามี 4 จังหวัดที่ผ่านเกณฑ์อำเภอละ 1 ตำบลหรือมากกว่า 1 ตำบล
ได้แก่  นครนายก  สระแก้ว  ตราด และจันทบุรีตามลำดับ  จังหวัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีระยอง  สมุทรปราการ
 และฉะเชิงเทรา
มติที่ประชุม   รับทราบ
3.2.2 สรุปผลการดำเนินงาน ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข  (E-inspection)  
ปีงบประมาณ 2548    (ต.ค. 2547 – ก.ย. 2548) 
สรุป   พบว่า          ห้องงานที่  1  ออกกำลังกายอัตราร้อยละ 100 ในทุกพื้นที่ 
                                ห้องงานที่ 2   อาหารปลอดภัย  ข้อมูล  ภาพรวมร้อยละ 94.29
ห้องงานที่  3  ลดโรคไม่ติดต่อภาพรวมร้อยละ 80
ห้องงานที่  4  อามรณ์และสุขภาพจิต เป็นห้องงานต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจากตกเป้าหมายภาพรวมของจังหวัดอยู่ที่ ร้อยละ60
ห้องงานที่ 5  อนามัยสิ่งแวดล้อมภาพรวมอยู่ที่ ร้อยละ 100
ห้องงานที่ 6  ลดปัญหาจากอบายมุขภาพรวมอยู่ที่ ร้อยละ 100
ห้องงานที่ 7  แพทย์แผนไทยภาพรวมอยู่ที่ ร้อยละ 100
ห้องงานที่ 8 หลักประกันสุขภาพภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 88.89
ห้องงานที่ 9  ยุทธศาสตร์อำนวยการฯ ภาพรวมอยู่ที่  93.33
มติที่ประชุม          รับทราบ

3.2.3 สรุปผลการดำเนินงาน ตามนโยบาย จังหวัดตราด
  - ร้อยละของตัวอย่างอาหารสดที่ปราศจากสารปนเปื้อน 5 ชนิดและตรวจพบยาฆ่าแมลงผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยได้คะแนน 4.8
- ร้อยละของตลาดสดประเภทที่ 1 ได้รับรองความสะอาดและผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อ ระดับดี (3 ดาว) หรือระดับดีมาก (5 ดาว)ได้คะแนน 5
- ร้อยละของร้านอาหารและแผงลอยที่ผ่านเกณฑ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)      
ได้คะแนน 5
- ร้อยละของสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี
 (GMP : Good Manufacturing Practices)      ได้คะแนน5  
มติที่ประชุม          รับทราบ
3.3      สถานการณ์โรคที่สำคัญของจังหวัดตราด  (นายนุกูล  สุขเกื้อ/นวก.สธ.7)
                การเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา ประจำปี 2548 (อัตราป่วยต่อแสนประชากร)  พบว่า
โรคอุจจาระร่วงพบที่พื้นที่กิ่งอำเภอเกาะช้างและอำเภอคลองใหญ่มากที่สุด จำแนกรายเดือนพบว่ามีแนวโน้มลดลง
ช่วงที่มีการระบาดของโรคสูงคือเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ควรมีการเฝ้าระวังให้มากขึ้น  เมื่อเปรียบเทียบระดับเขตพบว่าสถานการณ์โรคของจังหวัดตราดมีอัตราสูงรองจากระยองและสูงกว่าในระดับเขต 9  และระดับประเทศ
                อาหารเป็นพิษพบว่าเกาะช้างยังมีอัตราการเกิดโรคที่สูงอยู่แต่จะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ  แต่เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าในเดือนมกราคม,กุมภาพันธ์,มีนาคม  จะเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคสูง ดังนั้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมจะต้องมีการเตรียมการเฝ้าระวังอย่างรัดกุมมากขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบระดับเขตพบว่ามีอัตราผู้ป่วยต่ำกว่าระดับเขต แต่ยังสูงกว่าในระดับประเทศ และเป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัดระยอง
                ไข้หวัดใหญ่,ไข้หวัดนก พบว่าอำเภอแหลมงอบมีอัตราการป่วยที่สูงกว่าอำเภออื่น กิ่งอำเภอเกาะช้างยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วย  แนวโน้มเดือนมกราคม-เมษายน มีแนวโน้มอัตราป่วยค่อนข้างสูงแต่ค่อยๆลดลง แต่เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่ฤดูหนาวอาจมีการแพร่กระจายของโรคมากขึ้นจึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  เมื่อเปรียบเทียบผลงานระดับเขตจังหวัดตราดมีอัตราสูงผู้ป่วยสูงเป็นลำดับที่ 3  รองจากจังหวัดจันทบุรีและระยอง ในขณะที่ภาพรวมยังคงสูงกว่า เขต 9 และประเทศไทย
                ไข้เลือดออกตั้งแต่มกราคม- ตุลาคมทั้งสิ้นจำนวน 185 ราย  อัตราป่วยต่อแสนประชากรอยู่ที่ประมาณ        80 ต่อแสนประชากร พื้นที่ที่พบอัตราการระบาดของโรคที่สุดคืออำเภอคลองใหญ่ และบ่อไร่ แนวโน้มของสถานการณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม- มีนาคม ยังคงสูงและค่อยลดลงในเดือนต่อไป  เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์กับเขต 9 จังหวัดตราดอยู่ในอันดับ 3  ของเขตรองจากจังหวัดระยอง,จันทบุรี, แต่อัตราป่วยสูงกว่าระดับประเทศ
                โรคเอดส์ พบว่ากิ่งอำเภอเกาะกูดพบอัตราป่วยมากที่สุด รองลงมาคืออำเภอคลองใหญ่จำแนกรายเดือน พบว่ามีผู้ป่วยน้อย ในเดือนตุลาคมยังไม่มีรายงานผู้ป่วย  ช่วงอายุที่มีรายงานมากที่สุดคือ15-44 ปี จากปัจจัยเสี่ยงพบว่าเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 100             
มติที่ประชุม          รับทราบ
                3.4  สถานการณ์โรคจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 3.4 ตราด (นายดอกรัก  ทองคง  หัวหน้า    ศตม ที่ 3.4 ตราด )
                โรคไข้มาลาเรียของจังหวัดตราด ปี 2532-2548 มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน อัตราการตายและอัตราการเกิดโรคมาลาเรีย พบว่าปีสุดท้ายที่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้มาลาเรียคือปี 2546 และหลังจากนั้นไม่พบผู้ป่วยตาย และในปี 2548 มีอัตราผู้ป่วยลดลงต่อพันประชากรอยู่ที่ 1.44 ต่อพันประชากร และเมื่อเปรียบปีงบประมาณปี 2547 – 2548  พบว่ามีอัตราผู้ป่วยลดลงทั้งในคนไทยและชาวต่างชาติ  ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ    25-44  ปี รองมาคือ 15-24  ปี  การเฝ้าระวังควรจับตามองในกลุ่มวัยทำงานเป็นหลัก อาชีพที่พบมากที่สุดคือ ทหาร,ตำรวจ ที่ปฏิบัติราชการตามชายแดนหน่วยงานอนุรักษ์ธรรมชาติ เนื่องมาจากกลุ่มนี้ไม่ตระหนักในการรักษาสุขภาพเพราะคิดว่าป่วยแล้วจะได้พักผ่อนอยู่กับครอบครัวและอาจมีการแพร่กระจายของโรคมากขึ้นอย่างไม่รู้เท่าทัน        กลุ่มที่ 2 อาชีพหาของป่า ซึ่งต้องพักค้างในป่าเป็นเวลานานมีการสัมผัสเชื้อและอาจมีการแพร่กระจายเชื้อได้ จากการวิจัยพบว่ากลุ่มนี้มักไม่ตระหนักในการดูแลตนเองในด้านสุขภาพ  และหากถึงฤดูผลไม้จำเป็นจะต้องออกทำงานกลางคืนทั้งครอบครัว ล้วนเป็นพฤติกรรมเสี่ยงทั้งสิ้นต่อการติดเชื้อ  จึงเป็นอีกกลุ่มที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด      สถานการณ์ผู้ป่วย(คนไทย) ช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมแยกรายอำเภอพบว่า อำเภอบ่อไร่มีอัตราผู้ป่วยสูงที่สุด สาเหตุเนื่องจากเป็นอำเภอชายแดนที่มีเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาจึงทำให้ มีชาวกัมพูชาอพยพเข้ามา สถานการผู้ป่วยเดือนตุลาคมปี 2548 เปรียบเทียบกับปี 2547 พบว่าลดลง จากเดิมสถานการณ์ผู้ป่วย(ชาวต่างชาติ) มาลาเรียช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคมแยกรายอำเภอพบอำเภอเมืองมีอัตราผู้ป่วยสูง เนื่องจากการหลบหนีอพยพเข้ามาหางานทำมากขึ้น สถานการผู้ป่วยเดือนตุลาคมปี 2548 เปรียบเทียบกับปี 2547 พบว่าลดลง จากเดิม
มติที่ประชุม          รับทราบ
ระเบียบวาระที่ 4  เรื่อง  แจ้งให้ทราบจากกลุ่มงานและฝ่ายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด
4.1    เรื่อง แจ้งให้ทราบจากผู้ช่วย นพ.สสจ. 2 (ด้านสาธารณสุข)
4.1.1           โรคไข้หวัดนกในขณะเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังให้มากขึ้นเนื่องจากมีอัตราการระบาดของ
โรคสูงจังหวัดตราดก็ได้มีการออกมาตรการในการป้องอย่างรัดกุมแต่จะเกี่ยวข้องกับทางด้านปศุสัตย์เป็นส่วนมากส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสาธารณสุขจะเกี่ยวข้องในส่วนของทางโรงพยาบาลและสถานบริการ เท่านั้น หากมีผู้ป่วยต้องสงสัยให้ดำเนินการอย่างรัดกุมอย่าประมาท
มติที่ประชุม          รับทราบ
                                4.1.2   ในการประชุมหลักการประกันสุขภาพเรื่องการจัดสรรงบเงิน Uc ที่ชลบุรี นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการคือโรงพยาบาลโดยตรง และพบว่าจังหวัดตราดรับจัดสรรเงิน Uc  ที่ไม่มากนักมติที่ประชุมตกลงว่าจะจัดสรรเงินอย่างน้อยเท่าเดิม ส่วนที่เกินที่ได้มากกว่าปีที่แล้ว 10  เปอร์เซ็นต์ จะจัดเข้า Contingency  Fun          ( CF)  เป็นกองทุนที่ช่วยเหลือจังหวัดต่างๆ   สำหรับจังหวัดตราดปีที่แล้วที่ได้รับเงิน CF จำนวน 60,000 บาท     เพราะภาพรวมของจังหวัดถือว่าสามารถช่วยเหลือตนเองได้จึงได้งบประมาณ CF  ไม่เท่าที่ควร ในขณะที่ความจริงนั้นโรงพยาบาลทั่วไปอย่างโรงพยาบาลตราดนั้นอยู่ได้แต่ในขณะที่โรงพยาบาลชุมชนนั้นประสบปัญหามาโดยตลอด
มติที่ประชุม          รับทราบ
                                4.1.3  ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ( EMS)  จากการประชุม สปสช. นั้นมีความต้องการให้การดำเนินการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้นให้ทาง อบต.,อปท.  เป็นผู้รับผิดชอบ ระบบดังกล่าวในการช่วยชีวิตเบื้องต้น ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีโรงพยาบาลสามารถดำเนินการได้เนื่องจากเงื่อนไขที่จำกัดนั้นค่อนข้างสูง  คือ บุคลากรที่จะปฏิบัติตรงนี้ตรงผ่านการอบรมอย่างน้อย 180  ชั่วโมง ซึ่งผู้มาฝึกอบรมนั้นส่วนใหญ่จะอบรมไม่ครบตามหลักสูตรถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง
มติที่ประชุม          รับทราบ
4.2    เรื่อง แจ้งให้ทราบจากผู้ช่วย นพ.สสจ. 2 (ด้านสาธารณสุข)
เรื่องการให้ทุก คปสอ. ทบทวนแผนกำลังคนปี 2549 – 2552  เนื่องจากตำแหน่งทันตาภิบาลซึ่ง
ความก้าวหน้าในวิชาชีพคือการเปลี่ยนตำแหน่งเป็นนักวิชาการ ทำให้ตำแหน่งทันตาภิบาลในพื้นที่หายไปทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่มารับบริการ จึงขอความร่วมมือในการวางแผนกำลังคนและตรวจสอบและดำเนินการแจ้งให้ศูนย์ทรัพยากรมนุษย์ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
มติที่ประชุม          รับทราบ
4.3    เรื่อง แจ้งให้ทราบจากผู้ช่วย นพ.สสจ. 3 (ด้านอำนวยการ)
4.3.1  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับคณะกรุงเทพมหานครทอดกฐินสามัคคี ณ วัดธรรมมาภิมุข  อำเภอเขาสมิง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด  รวมยอดเงินในการทอดกฐิน 22,809  บาท
มติที่ประชุม          รับทราบ
4.3.2  กฐินจังหวัดตราดวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548  ทอด ณ ที่วัดใหม่โพธิ์ธารามซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานจึงขอเชิญเจ้าหน้าที่เข้าร่วมมาในที่ด้วย
มติที่ประชุม          รับทราบ
4.3.3  มติที่ประชุมความมั่นคงของจังหวัดตราด ณ ศาลากลางจังหวัดแจ้งให้ทราบเรื่องมีมิจฉาชีพขโมยของตามบ้านพัก ข้าราชการที่รับรับราชการ โดยมีการดำเนินงานเป็นกลุ่มและมีการวางแผนอย่างดี จึงควรระมัดระวังด้วย  ในขณะนี้มีวัยรุ่นทะเลาะวิวาทกันบ่อยและหากเจ้าหน้าที่พบวัยรุ่นดีกันจะดำเนินการกักขังทันทีไม่ว่าจะเป็นเยาวชนหรือไม่
มติที่ประชุม          รับทราบ
ประธานแจ้งให้ทราบ   เนื่องมาจากนายกรัฐมนตรีได้กำชับผู้ว่าราชการจังหวัดให้จัดตั้งศูนย์ดูแลสภาพสังคมเพื่อดูแลสังคมให้เป็นสังคมที่อยู่ และจังหวัดตราดก็ประสบปัญหาคือมีการทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มวัยรุ่นดังนั้นจึงต้องมีมาตรการขั้นเด็ดขาด เพื่อให้วัยรุ่นเกรงกลัว
4.3  เรื่อง  แจ้งให้ทราบจากกลุ่มงานประกันสุขภาพ (นางสาวนิราภร  เอกปิยะกุล /นวก.สธ.8)
                                สรุปผลการตามจ่ายค่าบริการทางแพทย์เปรียบเทียบปี 2547-2548  พบว่าปี 2547 จ่ายค่าบริการทางการแพทย์ทั้งสิ้น 4,727,510.80  บาท  ในปี 2548  จ่ายทั้งสิ้น   8,401,072  บาท สำหรับการส่งต่อผู้ป่วยหน่วยบริการนอกเครือข่ายนอกจังหวัดแยกตาม  ICD10  พบผู้ป่วยระบบไหลเวียนโลหิตสูงสุดรองลงมาคือ เนื้องอกมะเร็ง   และผู้ป่วยจิตเภทและมีความผิดปกติทางพฤติกรรม ตามลำดับที่ต้องส่งต่อเข้ารับบริการนอกเครือข่ายสูงที่สุด
                                ร้อยละของผู้ป่วยในรายงาน ICD10  ทีมีการส่งต่อผู้ป่วย ปี 2547  คือ 1. กลุ่มโรคติดเชื้อและปรสิตโรคที่ส่งต่อมากที่สุดคือโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต  2.  กลุ่มโรคทางจิตเภทและความผิดปกติทางพันธุกรรมโรคที่ส่งต่อมากที่สุดคือโรคจิตเภทที่มาอาการหลงเหลืออยู่
ร้อยละของผู้ป่วยในรายงาน ICD10  ทีมีการส่งต่อผู้ป่วย ปี 2548  1.กลุ่มโรคทางจิตเภทและความผิดปกติทางพันธุกรรมโรคที่ส่งต่อมากที่สุดคือโรคจิตเภทที่มาอาการหลงเหลืออยู่  2. กลุ่มระบบย่อยอาหาร โรคที่มีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้    3. กลุ่มโรคหลอดลมหรือปอด          
มติที่ประชุม  รับทราบ
                4.4  เรื่อง  แจ้งให้ทราบจากกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค (นายนายสันติ  ศุภนันธร/เภสัชกร7)
                                กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคได้ประชาสัมพันธ์การต่อใบอนุญาต ประจำปี 2548 ที่จะหมดอายุ  ขอให้ผู้ประกอบการสามารถทำการต่อใบอนุญาตได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคม 2548
มติที่ประชุม  รับทราบ
4.5  เรื่องแจ้งจากกลุ่มสนับสนุนวิชาการ ( นางนวลนภา   กิตติกุล/นวก.สธ. 8)
                        4.5.1 สปสช. สนับสนุนงบประมาณให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราดในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS) เช่น พัฒนาระบบสื่อสาร  การประชาสัมพันธ์ พัฒนาศักยภาพบุคคลากร  เป็นต้น และจังหวัดพิจารณาแล้วได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง แห่งละ 30,000  บาท ยกเว้นโรงพยาบาลเกาะกูด 15,000 บาท เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในระดับอำเภอต่อไป
จึงขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เขียนโครงการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน( EMS) ระดับอำเภอ เพื่อรองรับงบประมาณดังกล่าวด้วย
ประเด็นคำถาม   นายแพทย์ยุทธนา  วรรณโพธิ์กลาง( ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาสมิง )การจัดงบประมาณในการดำเนินงานในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS) นั้นใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณางบประมาณเนื่องจากโรงพยาบาลเกาะกูดได้รับจัดสรรน้อยกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ
ผู้ชี้แจง  นายแพทย์เกตุวุฒิ  อธิเวสส์   การจัดสรรงบประมาณเป็นข้อตกลงกันก่อนล้วงหน้าและได้มีการพูดคุยกันในการประชุมในเรื่องการจัดสรรงบประมาณแล้ว   สำหรับการ refer  ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเกาะกูดมายังโรงพยาบาลคลองใหญ่ยังประสบปัญหาอยู่ในเรื่องค่าใช้จ่ายของรถ  refer  ที่ส่งต่อผู้ป่วย  การแก้ไขต่อไปควรนำเข้าสู่ระบบ EMS ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้
มติที่ประชุม          รับทราบ
                                4.5.2  การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ (vertical  program)  ที่ได้รับจาก สปสช.ในช่วง เวลา 15 มิถุนายน – 30  ธันวาคม   ปีนี้จะต้องไม่น้อยกว่า 50  เปอร์เซ็นต์  ซึ่งหน่วยป้ายสไลด์ได้ค่าตอบแทน 50  บาทต่อสไลด์ หน่วยอ่านสไลด์ 60  บาท  รวม  160  บาทต่อสไลด์  หากการดำเนินการโปรแกรมนี้ประสบปัญหาสามารถติดต่อได้ที่คุณ ศิรินทิพย์  ทองย้อย ผู้รับผิดชอบโดยตรง
มติที่ประชุม          รับทราบ
                                4.5.3  โครงการรวมพลังสร้างสุขภาพแห่งชาติรวมพลคนเหลืองฟ้า ออกกำลังกายห่างไกลบุหรี่ฉลองริราชสมบัติครบ 60 ปีประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมคือ
                1. มหกรรมการออกกำลังกาย
                2. รณรงค์การสูบบุหรี่
                3. โรคเอดส์
                4. เทิดพระเกียรติ
เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการและประสานงานสำหรับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานครั้งนี้เพื่อให้เกิด กิจกรรมและจังหวัดตราดได้บูรณาการนำกิจกรรมโรคเอดส์เข้ามาร่วมเนื่องจาก วันที่ 1 ธันวาคม เป็นรณรงค์ต่อต้านเอดส์โรคจึงนำมาจัดกิจกรรมร่วมกัน
มติที่ประชุม          รับทราบ
                                4.5.4.  กฐินสมทบกองทุนพระราชทานฟันเทียมพระราชทานเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุ 80 พรรษา  ให้ผู้สูงอายุมีฟันรับประทานอาหารทั่วประเทศ 80,000 กองทุน กองทุนละ 4,000 บาท   ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสมทบทุนได้ที่ สสจ./รพ./สอ. ทุกแห่ง
มติที่ประชุม  รับทราบ
4.6  เรื่อง  แจ้งให้ทราบจากกลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์ าธารณสุข (นางบุญศรี  พันธ์พิริยะ/นวก.สธ. 7)
4.6.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมช่วยเหลือกรณี  อุทกภัย  วาตภัย ซึ่งด้านการแพทย์สำนักงานสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบโดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นกรรมการ ได้ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งไปยังพื้นที่แล้ว
มติที่ประชุม          รับทราบ
4.6.2           คำรับรองการปฏิบัติราชการปี 2548 จะพบว่ามีตัวชี้วัด CEO  คือ
1.     ร้อยละความสำเร็จของโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจาก CEO (โครงการปรับกระบวนทัศน์แกนนำเมืองตราดแข็งแรง)
2.       อาหารปลอดภัยที่มี 4  ตัวชี้วัด
3.       ลดรอบระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ
ตัวชี้วัดที่เพิ่มขึ้นมาในปี 2549 คือระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพบริหารการจัดการภาครัฐ   ตัวชี้วัดสำรองอีก 2 ตัว   1. อัตราป่วยของประชาชนต่อประชากร  1,000  คน ลดลงร้อยละ 2
                  2. ประชาชนที่เจ็บป่วยได้รับการบริการที่ดี  วัดจากมาตรฐานของสถานบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5
มติที่ประชุม          รับทราบ

4.6.3           กำหนดการส่งรายงาน  การจัดทำงบลงทุนโดยมีกำหนดการส่งแยกเป็น Mega  Project
 ส่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด วันที่ 27 ตุลาคม  2548  และงบลงทุน Uc  และNon-Uc ส่งรายงาน ภายในวันที่ 10  พฤศจิกายน  2548 สำหรับ  Mega  Project  กระทรวงสาธารณสุขจึงมีแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณ  ดังนี้
 1.  การพัฒนาเฝ้าระวังควบคุมและส่งเสริมสุขภาพ
2.  พัฒนาระบบโครงสร้างและพื้นฐานและเครือข่ายบริการ
3.  พัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข
ให้ทุก คปสอ.ส่งสรุปผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือนปี 2548  ภายในวันที่ 10  พฤศจิกายน  2548
มติที่ประชุม          รับทราบ
4.6.4           โครงการ Mega  Project ที่ได้รับจัดสรรมาให้โดยปี 2549 นี้ได้มา 2  ส่วนคือ  
 1.  การดำเนินงานสร้างศูนย์แพทย์ชุมชนที่สถานีอนามัยคลองพร้าว งบประมาณทั้งสิ้น 4.3  ล้านบาทเป็นงบก่อสร้างและเพิ่มครุภัณฑ์อีก  6  ราย
   2.   การดำเนินการสร้างห้องแยกโรคที่โรงพยาบาลคลองใหญ่ 500,000  บาท
มติที่ประชุม  รับทราบ

4.6     

คำสำคัญ (Tags): #ประชุม
หมายเลขบันทึก: 8329เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2005 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท