โรงเรียนข้างถนน : ด๊อกเตอร์สนามหลวง ความรู้ ความรู้สึกที่เรียนรู้ไม่มีวันหมด


ท้ายสุดผมก็ต้องอมยิ้มอยู่คนเดียว เรามีเพื่อนเป็นทั้ง ด๊อกเตอร์จริง ๆ อย่าง ด๊อกเตอร์เอเชีย และ มีเพื่อนที่เป็น ด๊อกเตอร์ชีวิต ด๊อกเตอร์สนามหลวง ที่ต่างฝ่ายต่างก็เป็นครูที่สอนชีวิตให้คนได้พบคำตอบที่เหมาะสมกับแต่ละคนแต่ละสิ่งแวดล้อม คิดได้แบบนี้ ผมก็มีความสุขขึ้นมาอีกเป็นกอง

ด๊อกเตอร์สนามหลวง ความรู้ ความรู้สึกที่เรียนรู้ไม่มีวันหมด 

      ผมนั่งคุยกับมหามิตรของผมในสนามหลวงทุกวัน ๆ ทำให้ผมมองเห็นภาพการเรียนรู้เพื่อชีวิต การเรียนรู้เพื่อเอาชีวิตอยู่รอดภายใต้เงื่อนไขและสิ่งแวดล้อมที่หนักหน่วง รวมไปถึงสายตาของคนที่ผ่านไปผ่านมาที่มองอย่างเย้ยหยันและรังเกียจ จากสภาพภายนอกที่พบเห็น 

     ภาพตัดย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ที่ผมและเพื่อน ๆ ที่เคยพบเจอกันเมื่อสมัยที่เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.5-ม.6) ที่อยู่ต่างโรงเรียนกัน ได้ไปเข้าค่ายร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน นั่นคืเรื่องที่ผ่านมาแล้วกว่า 20 ปี หลายต่อหลายคนผันตัวเองไปทำงาน ไปมีครอบครัวกันเป็นส่วนใหญ่ วันนั้นเรารวมตัวกันได้ สิบกว่าคน แต่เป็นแบบทะยอยกันมา ทะยอยกันกลับ มีอยู่สามสี่คน ที่ปักหลักอยู่กันจนเลิกในช่วงดึก หนึ่งในนั้น ด๊อกเตอร์เอเชีย (สรยุทธ รัตนพจนารถ) มาเป็นคนสุดท้าย เจ้าตัวบอกว่า บินกลับมาจากหนองคายแล้วก็รีบบึ่งรถมาที่ ปิ่นเกล้าร้านยกยอ ให้เวลาเพื่อน ๆ พบปะพูดคุยเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ ก่อนจะขอตัวกลับไป  

     จากวันนั้น เพื่อน ๆ ที่มาพบมาเจอกัน ก็ยังมีการนัดเจอแวะเวียนมาพบมาเจอกันอย่างสม่ำเสมอ ตามที่เวลาจะเอื้ออำนวย บางคนลงมาในพื้นที่สนามหลวงเพื่อมาดูชีวิตคนสนามหลวงที่ผมทำงานร่วมอยู่ด้วย บางคน อุทิศแรงอุทิศเครื่องไม้เครื่องมือบริการในการทำงานอย่างแข็งขัน จนบางทีตัวเองก็ถึงกับล้มป่วยเลยก็มี 

      ภาพตัดกลับมาที่สนามหลวง ผมยังคงลงพื้นที่เพื่อพูดคุยให้กำลังใจ และเสนอทางเลือกทางออกให้แก่คนในสนามหลวงอยู่เป็นประจำและต่อเนื่อง ภาพที่เห็น สิ่งที่เราสัมผัสได้ คือ คนสนามหลวงหลายคนมีมุมมองมีวิธีการจัดการกับความสุขของชีวิตได้อย่างแยบยลแนบเนียนไปกับความทุกข์ยากที่เขาเผชิญอยู่ ทำให้ผมย้อนคิดไปถึงเพื่อนผมที่ทำงานแบบเชี่ยวชาญในเรื่องของงานจิตวิวัฒน์ หรือการยกระดับพัฒนาจิต ว่า อยากจะให้ลองลงมาเรียนรู้พูดคุยแบบไร้กรอบ ไร้หมวก ไร้วิชาการ คุยแบบชีวิต ๆ กับเพื่อน ๆ คนสนามหลวงที่ผมทำงานอยู่ด้วยจริง ๆ 

     สิ่งที่ผมพบและเจอ คือ รูปแบบการเรียนรู้เพื่อให้อยู่รอดของคนสนามหลวงที่ไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละวัน ๆ คิดหาทางออกในรูปแบบหนึ่งได้ในวันี้ วันรุ่งขึ้น สิ่งที่เจอไม่ใช่รูปแบบเดิมอีกแล้ว ก็ต้องมานั่งหาวิธีการใหม่ในการต่อสู้กับปัญหาที่เจออีก สนุกกับการไล่ต้อนปัญหาที่พบเจอในแต่ละวัน ก็แทบจะไม่ต้องหาเวลาไปคิดเพื่อพัฒนาคุรภาพชีวิตด้านอื่น ๆ กันแล้ว นั่นคือมุมมองของเรา แต่ เอาเข้าจริง เรากลับพบว่า ในระหว่างที่เขา คิดหาหนทางเพื่อต่อสู้กับปัญหารายวันอยู่นั้น สิ่งที่เขาทำเพื่ออยู่รอดไปวัน ๆ นั้น มีบางสิ่งบางอย่าง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะทางจิตวิญญาณของเขา 

          จิตใจแห่งความเป็นเพื่อน จิตใจแห่งความเกื้อกูล เอาใใส่ที่เกิดขึ้นท่ามกลางปัญหา คือนิมิตรหมายที่ดีของคนสนามหลวง คือพลังที่เข้มแข็ง คือ หนทางที่จะนำไปสู่การรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือและประคับประคองกันในการนำชีวิตไปสู่หนทางที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผมมองภาพแบบกลับไปกลับมาหลายรอบ ท้ายสุดผมก็ต้องอมยิ้มอยู่คนเดียว เรามีเพื่อนเป็นทั้ง ด๊อกเตอร์จริง ๆ อย่าง ด๊อกเตอร์เอเชีย และ มีเพื่อนที่เป็น ด๊อกเตอร์ชีวิต ด๊อกเตอร์สนามหลวง ที่ต่างฝ่ายต่างก็เป็นครูที่สอนชีวิตให้คนได้พบคำตอบที่เหมาะสมกับแต่ละคนแต่ละสิ่งแวดล้อม คิดได้แบบนี้ ผมก็มีความสุขขึ้นมาอีกเป็นกอง 

 

หมายเลขบันทึก: 83174เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนามหลวง  พื้นที่เล็กๆแต่รวมคนที่ก้าวเท้าบนผืนดินบริเวณสนามหลวงแล้วไม่เล็กเลย

สนามหลวง เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมเมื่อครั้งที่สมเด็จย่าทรงล่วงลับดับไป  เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆมากมาย

 นุชเห็นภาพสนามหลวงในมุมแบบมนุษย์ผู้เคียงผ่านทาง  เห็นแค่นี้  เก็บไว้แค่นั้น  และยังจดจำอยู่ ณ วันนี้ 

 

นุชไม่ได้อยากบอกอะไร  เพียงขอแวะมาทักทายคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท