อุปสรรคของการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์


หลังจากปิดเทอม ผมกลับบ้านได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น อาการของแม่ผมดูเหมือนจะแย่ลงเล็กน้อย  ที่แย่ลงหมายถึงมีความจำสั้นลง แป๊ปเดียวก็ลืมแล้ว แต่ลูกชายคนเดียวกลับมาบ้าน ก็ทำให้บ้านคึกคักขึ้นพอสมควร ^^

ช่วงนี้ก็อยู่ดูแลแม่ทั้งวัน มีอุปสรรคหลายอย่างในการดูแล พอสรุปได้ดังนี้

  1. นิสัยส่วนตัวของผู้ป่วย ซึ่งแม่ผมค่อนข้างดื้อ ใครพูดก็ไม่ฟัง หากวุ่นวายกับท่านมากเกินไป ก็จะอารมณ์เสียได้ง่ายๆ และการเป็นคนตระหนี่มาก ก็เป็นอุปสรรคเช่นกันนะครับ เช่น การนำเงินไปจ่ายตลาดหรือไปที่ไหนก็ตาม จะพกเงินไว้น้อยมาก ปัญหาที่ตามมาคือ จะซื้อของ เงินไม่พอ นำของมาก่อน พอกลับมาบ้าน ก็ลืมนำเงินไปจ่าย T_T วิธีแก้ปัญหา คือ ถามก่อนออกไปซื้อ ว่ามีเงินมั๊ย แต่ถามมากๆท่านก็อารมณ์เสีย วิธีที่ 2 คือ ตามไปซื้อของด้วย ซึ่งผมก็ต้องตื่นแต่เช้าไปจ่ายตลาดกับท่านทุกวัน
  2. การจำแต่เรื่องร้ายๆ มองโลกในแง่ร้าย บางครั้งการดูข่าว พอมีข่าวไม่ดี ก็จะตั้งใจฟัง ผมคิดว่าอาจส่งผลให้ผู้ป่วยจำเรื่องร้ายๆได้ดีกว่าเรื่องดีๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะย้ำคิดย้ำทำมาก คิดถึงแต่เรื่องไม่ดีเยอะๆ ก็ทำให้ตัวเองเครียดเอง ต้องพยายามหาข่าวดีๆ ให้ดูเยอะๆ บอกข่าวไม่ดีน้อยๆ
  3. นิสัยส่วนตัวของผู้ดูแล ต้องเป็นคนมีความอดทนสูงทีเดียวครับ ต้องพยายามหาเรื่องดีๆพูดให้ฟัง พูดให้สนุก หากิจกรรมให้ทำ ต้องตามไปทุกที่ หากผู้ป่วยอารมณ์เสียขึ้นมา ก็ต้องอดทน อย่าให้ตัวเองอารมณ์เสียไปด้วยเด็ดขาด ต้องให้เวลากับการดูแลผู้ป่วยมาก
  4. การหากิจกรรมที่จะให้ผู้ป่วยทำ หายากมากจริงๆเลยครับ บางครั้งจะให้เล่นไพ่ฝึกสมอง ก็ไม่ยอมเล่นด้วย จะให้ค้าขายก็ทำไม่ได้แล้ว เพราะจะมีปัญหาในการรับเงินทอนเงิน หากแม่ผมอยู่คนเดียว ท่านเปิดทีวีไม่เป็น เปิดหน่อยก็บอกว่าประหยัดไฟให้ปิดซะ T_T ทำให้เวลาที่ลูกๆไปโรงเรียนกันหมด ท่านเองก็ไม่ได้ฝึกสมองเลย ด้วยเหตุต่างๆเหล่านี้จะทำให้อาการแย่ลง เพราะสมองไม่ถูกใช้มากเท่าที่ควร

อุปสรรคต่างๆในการดูแลยังมีอีกมาก ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆ และนิสัยของผู้ป่วยเองด้วย จำเป็นต้องมีผู้ดูแลตลอด ช่วยจำเรื่องต่างๆให้

 

คำสำคัญ (Tags): #alzheimer#อัลไซเมอร์
หมายเลขบันทึก: 83057เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะคุณวิว

เข้ามาอ่านแล้ว ต้องขอบคุณที่เอาเรื่องนี้มาลงไว้นะคะ  เป็นภาวะที่เครียดและอึดอัดสำหรับผู้ป่วยเองและครอบครัวหรือผู้ดูแลค่ะ  เพราะสิ่งที่เกิดความผิดปกติอยู่ภายใน ซึ่งมองไม่เห็น  ที่สำคัญก็คือ เมื่อมองจากภายนอกแล้วผู้ป่วยจะเป็นเหมือนคนแข็งแรงดี แต่ทำไมพฤติกรรมที่แสดงออก ทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจและรับไม่ได้   จริงๆแล้วผู้ที่เป็นไม่อยากเป็นอย่างนี้นะคะ แต่เนื่องจากการทำงานของสมองผิดปกติไป ทำให้การรับรู้และการควบคุมพฤติกรรมเลยเปลี่ยนแปลงไปด้วย 


ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมนะคะ ต้องใช้ความเข้าใจและอดทนอย่างมากเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีค่ะ  ลักษณะและท่าทีของผู้ดูแลจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมที่แสดงออกด้วยนะคะ  อาจจะต้องเรียนรู้และพยายามรู้ใจท่านสักหน่อย  ถ้าเป็นในระยะแรกๆ การทำหน้าที่ต่างๆ ก็ยังเป็นปกติอยู่ แต่เมื่อเป็นไปนานๆ จนเข้าระยะหลัง จะดูแลตนเองไม่ค่อยได้ ต้องให้ผู้ดูแลช่วย 

ถ้าในกรณีของคุณแม่คุณวิว ถ้าท่านยังทำหน้าที่หรือมีกิจกรรมต่างๆได้ พยายามส่งเสริมให้ทำกิจกรรมไว้นะคะ  การจ่ายตลาดก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้ท่านคงความสามารถในการทำหน้าที่ได้ค่ะ  แต่ถ้าเป็นมากขึ้น การทำกิจกรรมที่ซับซ้อนมากๆ หรืออยู่ในที่่ชุมชน คับคั่งอาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดมากขึ้นค่ะ

ในกรณีของคุณแม่คุณวิว อาจจะต้องลองสังเกตว่าท่านชอบทำอะไรเป็นพิเศษเพื่อฝึกสมอง จริงๆ แล้วในเรื่องของการฝึกสมองสามารถทำได้หลายวิธีค่ะ แต่ต้องพยายามหาที่คุณแม่ชอบเป็นพิเศษน่ะคะ  แล้วถ้ามีโอกาสคุยกับอาจารย์ที่ชำนาญเรื่อง Cognitive training แล้วจะมาเล่าต่ออีกทีนะคะ ทราบข่าวมาว่าที่โรงพยาบาลพระมงกุฎมีกิจกรรมด้านนี้อยู่นะคะ ต้องขอโทษด้วยที่ไม่มีรายละเอียด เพราะเพิี่งทราบโดยบังเอิญน่ะค่ะ

ขอโทษนะคะที่ตอบยาวไปหน่อย ถ้ามีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมจะมาบอกเล่ากันอีกทีค่ะ

ศิริกุล

ขอบคุณมากจริงๆครับคุณศิริกุล 

  • ไม่ต้องขอโทษหรอกครับ ยิ่งตอบยาว ผมยิ่งชอบครับ
  • ช่วงปิดเทอม ผู้ดูแลก็คือลูกๆครับ แต่ปัญหาคือช่วงเปิดเทอม ไม่มีใครดูแลครับผม พ่อผมทำงานต่างอำเภอ ช่วงกลางวันแม่เลยอยู่กับพนักงานขายที่บ้าน ซึ่งก็ไม่ได้ดูแลเท่าที่ควรครับ กะว่าจะจ้างพยาบาลมาดูแล 
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลต่างๆครับ  

เป็นกำลังใจนะคะ

คุณแม่ของดิฉันก็เริ่มความจำสั้น ช่วงก่อนก็หงุดหงิดกับความขี้ลืมของตัวเองและไม่ชอบให้ใครล้อเลียน ดิฉันได้พาไปปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ทำให้ท่านใจเย็นลงค่ะ   สังเกตว่าช่วงไหนถ้ามีความเครียดอาการขี้ลืมจะมีมาก ต้องคอยสังเกตความสมดุลของอาหารเน้นผักสดผลไม้ลดอาหารเนื้อสัตว์ลง และต้องให้คนทั้งบ้านร่วมมือค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

ขอบคุณครับ คุณจันทรรัตน์

ช่วงอยู่บ้านผมก็ออกไปตลาดรอบ 2 หาซื้อผักที่มีประโยชน์เยอะๆ ครับ  

หายไปสองสามวัน เพราะต้องเร่งเตรียมนำเสนองานให้อาจารย์ที่ปรึกษาค่ะ

ยินดีมากนะคะที่ข้อมูลมีประโยชน์บ้าง

สำหรับเรื่องการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่บ้าน อาจจะจำเป็นต้องหาคนที่ช่างสังเกตและเอาใจใส่ผู้สูงอายุสักหน่อยนะคะ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าที่จังหวัดที่คุณแม่คุณวิว อยู่ จะมี หน่วยงานที่เค้าจัดหาผู้ดูแลที่บ้านหรือเปล่า อาจจะประหยัดกว่าจ้างพยาบาลตัวจริงนะคะ  ทางที่ดีควรเป็นคนๆเดียวกันตลอด เพราะต้องเรียนรู้ความชอบหรือไม่ชอบของคุณแม่คุณวิวด้วยค่ะ 

เสียดายที่บ้านเรายังไม่ค่อยมีหน่วยงานที่ให้บริการผู้ป่วยสมองเสื่อมแบบ day care ค่ะ

 พอดีได้มีโอกาสเห็นที่ออสเตรเลีย เค้ามีบริการดูแลและจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุในช่วงกลางวัน ตอนทีี่ผู้ดูแลต้องทำงานน่ะค่ะ เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุยังคงมีการเข้าสังคมและ ทำกิจกรรมทางสมองกับเพื่อนๆนะคะ  แต่ในขณะนี้ ถ้ามีผู้ดูแลอยู่ที่บ้านที่ดีค่อนข้างเอาใจใส่ ก็น่าจะพอใช้ได้นะคะ

ส่งกำลังใจให้ทั้งคุณวิวและคุณแม่นะคะ

ญาติผมก็บอกว่าที่สหรัฐอเมริกา เค้าก็จะมีหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์โดยเฉพาะเลย เหมือนกันครับ น่าเสียดายจริงๆที่บ้านเราไม่มีกะเค้าบ้าง

ว่าแต่คุณศิริกุล ไม่ลองเขียนบล๊อกใน gotoknow บ้างเหรอครับ ผมเห็นไม่ log in ก่อนคอมเมนต์เลย

จริงๆด้วย เสียดายที่บ้านเราไม่มีบริการอย่างนี้ค่ะ

ส่วนเรืองเขียนบลอก จริงๆ ก็สนใจอยู่นะคะ ต้องสารภาพอย่างอายๆว่าเพิ่งจะรู้จัก gotoknow ค่ะ ไม่รู้หลงไปที่ไหนเนอะ  เชยมากๆ

แล้วก็ตอนนี้ต้องเตรียมตัวสอบวิทยานิพนธ์ค่ะ  ตอนนี้เอาตัวเองยังไม่ค่อยรอดค่ะ เพราะต้องเตรียมความรู้ก่อนไปพบ ซุปเปอร์ไวเซอร์ทุกอาทิตย์และเตรียมส่งโครงร่างค่ะ

แล้วคงต้องขอคำแนะนำจากคุณวิวอีกทีนะคะ เพราะเป็นมือใหม่จริงๆ  

ตอนนี้ขอเป็นกำลังใจให้เรื่องคุณแม่นะคะ

ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณศิริกุลสอบวิทยานิพนธ์ด้วยนะครับ ถ้าจะเขียนบล๊อกเมื่อไหร่ มาบอกผมด้วยนะครับ ^__^

สบายดีคุณวงศกฤต

ขอทักทายแบบชาวลาวนะจ๊ะ

คุณพ่อของยาย(มีคนเรียกว่ายายหลายคนแล้ว)ก็มีอาการอย่างที่คุณแม่คุณเป็น แต่คุณพ่อมีอุบัติเหตุ ผ่าตัดสมองร่วมด้วย จากวันที่ออกจาก ร.พ.มาถึงวันนี้ก็ร่วม๖ปีแล้ว ชว่ง๒-๓ปีแรกพวกเราลูกๆ๕คนก็จัดการกันไม่ลงตัว เพราะทุกคนก็ล้วนแยกออกมามีครอบครัวของตัวเอง บ้านชอ่งก็ไม่ได้ใหญ่โต บางคนก็อยู่คอนโดยิ่งคับแคบใหญ่ ไม่รู้จะเอาคุณพ่อไปไว้บ้านใคร ไม่ใช่ว่า พ่อคนเดียวเลี้ยงไม่ได้นะ แต่พ่อ๑คนต้องมีพี่เลี้ยง๒คน จะไปอยู่บ้านใครต้องไปที่ละ๓คน เรื่องใหญ่อยู่เหมือนกันนะ เราก็เลยต้องเช่าคอนโดให้พ่อกับพี่เลี้ยงอยู่ คุณคงสงสัยว่าโอ้โห้ ทำไมต้องจ้างพี่เลี้ยงตั้ง๒คน เพราะคนเดี่ยวไม่เพียงพอคะ คุณพ่อไม่เคยอยู่นิ่งหันหลังให้ไม่ได้เลย เผลอแผลบเดียว หายตัวไปเลย บางทีคืนน้ ฉันไม่นอน ตี๒ตี๓ ฉันอยากออกไปเที่ยว ก็ต้องพาฉันออกไป ไม่อย่างนั้น เป็นบ้านแตก ทุบประตูทั้งคืน นี้เล่าส่กันฟังแบบเบาๆ เรื่องหนักๆ เอะอะโวยวาย ด่าทอมีสารพัด อย่างที่คุณว่า คนดูแลต้องเย็นเป็น แค่นั้นไม่พอต้องมีปลีกวิเวกบ้าง ไม่อย่างนั้นคงไม่มีใครทนไหว

วันนี้พวกเราตัดสินใจอพยพคุณพ่อไปอยู่ที่ชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยทางสมอง เป็นหมู่บ้านเล็กๆเป็นบ้านเกิดของพี่เลี้ยง๒คน อากาศดี ไม่มีมลพิษ ข้าวปลาอาหาร ผักพื้นบ้านปลอดสารพิษปลูกเองกินเอง คุณพ่ออยากเดินไปไหนก็ได้ไปไม่ต้องมีคนห้าม เผลอเดินหลงทางเดี๋ยวชาวบ้านก็พามาส่ง ไปจ่ายตลาด ซื้อขนมตามร้านค้าของชาวบ้านตังค์ไม่พอก็ไม่เป็นไร เดี๋ยวพี่เลี้ยงก็ตามไปจ่ายค่าขนมเอง

ในวันนี้พวกเราทุกคนคิดว่าเราตัดสินใจไม่ผิด ผู้คนที่เป็นมิตรและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย คือหัวใจสำคัญที่ทำให้พ่อมีความสุข ทุกวันนี้เวลาไปเยี่ยม ถึงพ่อจะจำพวกเราไม่ได้ ไม่สำคัญแต่เราจำพ่อได้และจะทำทุกอย่างที่ทำให้พ่อ มีความสุขในวัย๘๖ปีของพ่อ

ไม่ทราบว่าบริการผู้ป่วยที่คุณวงศกฤตถามหาเป็นแบบไหน แต่ดิฉันคิดว่าบริการดว้ยใจของคนในชุมชนและพี่เลี้ยงที่มีใจ อย่างบริการของชาว หนองนกเขียน จ.มุกดาหาร ประทับใจ พวกเราไม่มีวันเลือน

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ เข้าใจความรู้สึก เพราะคุณย่าก็ป่วยด้วยโรคนี้มา 1ปี คณแม่ที่ดูแลก็ไม่มีความรู้ใดๆเลย อาศัยดูแลตามมีตามเกิด เนื่องด้วยมาทำงานไกลบ้าน ก็ยังไม่มีโอกาสจะดูแล ต้องอาศัยข้อมูลทาง Net

สวัสดีค่ะ

ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เพราะคุณพ่อกำลังเป็นมากขึ้นทุกวัน ทั้งเลี้ยงลูกทั้งดูแลท่าน ช่วยกันกับคุณแม่สองคน

คงต้องใช้ใจเท่านั้นแหละคะ ขอบคุณที่เล่าประสบการณ์ดีดีให้รู้เป็นตัวอย่างนำไปใช้กับคุณพ่อตัวเองบ้าง

สวัสดีครับ

คุณตาของผมอายุ 86 แล้วครับ ท่านเป็นอัลไซเมอร์เหมือนกัน มีคุณแม่ของผมดูแลอยู่

อยากสอบถามผู้รู้ว่าปัจจุบันมียาที่พอจะบรรเทาอาการได้หรือเปล่า

คือท่านค่อนข้างหงุดหงิดและโกรธง่ายมาก แค่เรื่องเล็กน้อย ท่านก็จะโกรธคุณแม่แล้ว

ตอนนี้ผมเป็นห่วงทั้งคุณแม่และคุณตามาก ใครที่มีวิธีการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ช่วยผมด้วยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

เจอพอดีเลยครับ

การดูแล....ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้าน

หัวใจสำคัญคือการเตรียมบ้านให้ปลอดภัย เนื่องจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีความจำแย่ลงไปเรื่อยๆ ในระยะที่โรคเริ่มลุกลาม ซึ่งจะมีอาการตัดสินใจผิดพลาด การเดิน การเคลื่อนไหวและการทรงตัวจะแย่ลง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองหรือผู้อื่นได้ ผู้ดูแลจึงควรที่จะเตรียมการป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งปรับปรุงสถานที่ และสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างเป็นสุข และปลอดภัย

ภายในตัวบ้าน

จดรายชื่อเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และที่อยู่ผู้ติดต่อได้ไว้ใกล้โทรศัพท์ทุกเครื่องในบ้าน

ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยจากควันไฟ (smoke alarms) ไว้ใกล้ห้องนอน และห้องครัวทุกห้องและหมั่นตรวจสอบให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

เก็บของมีคม ของหนัก หรือของที่แตกง่าย และของที่มีขนาดเล็กพอที่จะหยิบของเข้าปากได้ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผล ได้รับบาดเจ็บ สำลักลงคอหรืออุบัติเหตุอื่น

ติดตั้งกุญแจล็อคที่ประตูทุกบานที่จะเปิดออกข้างนอกบ้านได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเดินออก นอกบ้านตามลำพัง รวมทั้งเก็บกุญแจล็อคต่างๆ ให้พ้นมือผู้ป่วย

เก็บสายไฟให้เรียบร้อย หรือเดินสายไฟใหม่ เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม และติดที่ป้องกันปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟช็อต

จัดเครื่องเรียนไม่ให้ เกะกะขวางทาง เพื่อให้เดินได้สะดวก ติดตั้งดวงไฟกลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนกลางดึกรวมทั้งเปิดไฟทางเดินบันไดให้สว่าง และทำราวบันไดให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการหกล้มจัดแสงสว่างในแต่ละห้องให้เพียงพอเก็บยาและสารเคมีต่างๆ ให้เป็นที่ เพื่อป้องกันผู้ป่วยหยิบรับประทานเอง หลีกเลี่ยงการใช้พรมเช็ดเท้า ควรปูพรมเต็มพื้นที่แทน เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม จัดวางสิ่งของและเครื่องเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดวางเฉพาะสิ่งของที่จำเป็น และสิ่งที่ ผู้ป่วยคุ้นเคย ติดตั้งอินเตอร์คอม (Intercom) เพื่อเตือนให้ผู้ดูแลทราบกรณีได้ยินเสียงผิดปกติ เช่น เสียงผู้ป่วยล้มลง หรือ ผู้ป่วยร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งอุปกรณ์นี้ควรติดตั้งในห้องน้ำเช่นกันประตูห้องนอน (รวมทั้งห้องนอน) ควรเป็นชนิดที่เปิดล็อคได้จากทั้งด้านนอกและด้านใน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปิดขังตนเองอยู่ในห้องโดยไม่มีใครรู้

ห้องครัว

เก็บอุปกรณ์ของมีคม ของแตกง่าย สารเคมีต่างๆ ให้พ้นมือและพ้นสายตาผู้ป่วย โดยเก็บใน ตู้ล็อคให้เรียบร้อย

เตาแก๊สหุงต้ม ควรถอดลูกบิดเปิด-ปิดแก๊ส หรือติดตั้งวาล็วปิด-เปิดแก๊สให้พ้นมือและพ้นสายตาผู้ป่วย เก็บไม้ขีดไฟให้ดี ป้องกันไม่ให้ ผู้ป่วยจุดเตาได้ง่าย

เก็บของตกแต่ง เช่น ผลไม้ หรือผักปลอมที่ทำเลียนแบบเหมือนจริง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดและกลืนลงคอไป

ถ้าจำเป็นอาจติดกุญแจล็อคเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเข้าไปในครัว

ห้องน้ำ

ควรวางแผ่นยางกันลื่นที่พื้นห้องน้ำและในอ่างอาบน้ำ

ควรติดตั้งราวจับ หรือราวเกาะ ที่ฝาผนังให้ผู้ป่วยในที่อาบน้ำ และควรจัดหาเก้าอี้พิเศษ

สำหรับ อาบน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยอาบน้ำด้วยตนเองได้สะดวก และง่ายต่อการดูแล จัดแสงสว่าง ในห้องน้ำให้เพียงพอ

อุปกรณ์เครื่องทำน้ำอุ่น ควรมีระบบติดตั้งอุณหภูมิที่ต้องการให้เครื่องตัดอุณหภูมิ เพื่อป้อง กันน้ำร้อนลวก

กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรซื้อเก้าอี้สุขาเพื่อความสะดวก ในการเคลื่อนย้าย

เมื่อมีการเตรียมความพร้อมที่ดีก็จะช่วยให้ท่านดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ท่านรัก ได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข

สวัสดีครับ คุณพ่อผมเป็นอัลไซเมอร์เหมือนกัน คุณพ่อน่าจะเป็นระดับต้นถึงระดับกลาง มีอาการอยากไปข้างนอก จำลูกหลานไม่ได้ ตัวผมเองก็ใช้วิธีพา่ทานนั่งรถออกไปตามที่ท่านอยากจะไป แต่ก้ไม่ได้พาไปยังจุดหมายที่ท่านบอก แค่พานั่งรถเล่นรอบๆ หมุ่บ้าน แวะทานข้าว ให้ท่านได้มีกิจกรรมมองอะไรไปเรื่อยเปื่อย แล้วก็ขับรถเข้าบ้าน แค่นี้ก็รู้สึกว่าท่านพอใจ ก็จะใช้วิธีนี้เป็นประจำ การดุแลคุณพ่อที่ป่วยอัลไซเมอรื ผมพยายามคิดในแง่บวก ว่ามันก็ทำให้เรามีความอดทน อดกลั้น มีสติ ในการดูแลท่านน่ะ ก่อนหน้านี้เราเคยโมโห ว่าทำไมท่านถึงไม่เข้าใจ พูดไม่รุ้เรื่อง แต่เวลานี้เรารุ้ว่าท่านเป้นโรค ก็ต้องทำความเข้าใจกับท่านไปด้วย สงสารแต่คุณแม่ ที่ต้องอยุ่กับคุณพ่อทั้งวัน ผมในฐานะลูกก็พยามที่จะแบ่งเบาภาระนี้ เสียแ่ต่ว่า พี่ชาย กับน้องชาย ไม่ค่อยจะช่วยซักเท่าไร ถ้าทุกคนในครอบครัวช่วยกัน ผมว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ ที่จะดูแลคนป่วยโรคนี้

สถานพยาบาลของรัฐ เช่น รพ.สมเด็จเจ้าพระยา รับรักษาคนป่วยโรคอัลไซเมอรื หรือเปล่า รบกวนสอบถามผุ้รู้ด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ทำให้หวนนึกถึง ญาติที่เป็นโรคนี้ ถ้าหากผู้ดูแลมีอารมณ์ขัน ก็ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น อันนี้ขอยอมรับ วันนั้นหยุดงานหลายวัน ได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้าน เห็นคุณลุงที่เป็นโรคนี้ใส่กางเกงขาเดียว โดยเอาขาทั้งสองข้างของท่านรวมไปอยู่ในกางเกงขาดเดียว ผลก็คือเดินไม่ได้ ท่านก็ใช้ความพยายามกระโดดเหมือนผีในหนังจีน ลูกหลายเห็นแล้วหัวเราะร่วน ตลก จนน้ำหูน้ำตาไหล กว่าจะปล้ำถอนให้ท่านแทบตาย

วันดีคืนดีก็คุยกับต้นไม้ อ้ายเราก็ตลก ถามอะไรก็ตอบไปอีกทาง บางคนเดินผ่านมาไม่ทราบว่าท่านเป็นโรคอัลไซเมอร์ พอถามท่าน ท่านตอบอีกอย่าง ลูกหลานก็ได้แต่หัวเราะ

สวัสดีทุกท่านที่ต้องดูแลผู้ป่วยAD ครับ ผมอีกหนึ่งคนที่ต้องดูแลแม่ที่อายุ 84 ปีแล้วยังพอช่วยตัวเองได้อย่างอาบน้ำ ถู สบู่เองส่วนเรื่องการแต่งตัวต้องหาชุดใหม่มาให้ไม่ยังงั้นใส่ชุดเดิมตลอดส่วนความจำเรื่องเก่าๆพอจำได้เพียงแต่ยังคิดอยู่ว่าพ่อแม่ของตัวเองหรือสามียังมีชีวิตอยู่ จะถามซ้ำๆอยู่เรื่อยๆทุกวันนี้ไม่มีคนดูแลต้องทำเองตั้งแต่เตรียมกับข้าวเช้าก่อน7โมงเช้า(แม่จะตื่นช่วงนี้) ให้ทานข้าวเช้าก่อน(ไม่งั้นไม่ทาน)ดีที่ยังยอม เคยสังเกตอย่างที่เพื่อนๆหลายคนพบก็คือต้องควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้มาก อย่าไปยึดติดหลายครั้งแม่จะวิตกกังวลเรื่องบ้านกลัวจะมีคนมาขโมยของเป็นประจำ ดีนะที่ภรรยาผมและลูกพอดูแลตัวเองได้และเข้าใจในหน้าที่ของลูกอย่างผม บางครั้งก็มีปากเสียงกันบ้าง ผมต้องคอยนั่งสมาธิ ปฎิบัติธรรม(ที่บ้านอยู่)เป็นประจำไม่อย่างนั้น ชีวิตจะรู้สึกว่าแย่มาก ไม่ต่ำกว่า5ปีที่ต้องทำหน้าที่นี้ ในเรื่องของการฝึกฝนเท่าที่ผมได้เรียนรู้จากพฤติกรรมของแม่ก็ได้ทำได้เช่น

  1. ให้ต่อjigsaw แบบง่ายๆมาให้ต่อในหนึ่งแผ่นจะมีอยู่ประมาณ9-10 แผ่นเล็กซื้อได้ตามร้านของเล่นหรือร้านหนังสือที่มีขายในห้าง
  2. ให้ติด เรียงอักษร กถึงฮ(มีสองชุดชุดละ24ตัว) แล้วลักษณะเป็นโพมที่ตัดเป็นตัวอักษร(ซื้อที่ร้านSE-ED)ให้ลองทำดูนะครับ
  3. ให้บวกเลขง่ายๆเป็นหนังสือเหมือนเด็อนุบาลนะครับ

ลองดูนะครับคงช่วยได้ในกรณีที่เริ่มเป็นหรือยังพอช่วยตัวเองอย่างแม่ผม ตอนนี้ก็ยังกังวลอยู่เรื่องที่ท่านต้องอยู่บ้านคนเดียวแต่ไม่ห่วงเรื่องเดินออกนอกบ้านเพราะท่านเดินไกลไม่เกิน100เมตรก็ต้องพักแล้ว(เข่าเรื่มเสื่อม)กลัวเรื่องคนแปลกหน้าเข้ามากะว่าจะติดกล้องวงจรปิดแล้วดูผ่านทางnet online ซึ่งบางครั้งผมอยากที่จะหางานที่สามารถทำกับบ้านได้เพื่อดูแลท่านแต่ก็ยังไม่มีโอกาศมากนัก เพราะมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเรื่องรายได้ของครอบครัวด้วย ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ต้องดูแลผู้ป่วยนะครับ หนทางของพวกเรายังอีกไกลที่ต้องเดินต่อไป สู้ๆนะครับ

สวัสดีทุกท่านที่มีโอกาสดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ส่วนมากก็เป็นผู้มีพระคุณของเรา เป็นพ่อ แม่ เป็นพระอรหันต์ เป็นพระพรมของลูก โชคดีที่พวกเราได้มีโอกาสตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ในชาตินี้ ดิฉันดูแลคุณแม่ตั้งแต่ท่านป่วยในระยะแรกที่ท่านยังช่วยเหลือตนเองได้ จำลูกหลานได้ เดินได้ เล่นเกมส์โดมิโน เขียนหนังสือ บวก ลบเลขได้ จนวันนี้ แม่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่ยอมเดิน จำลูกหลานไม่ได้ เห็นดิฉันเป็นคนแปลกหน้าในบางเวลา แต่ดิฉันและพี่ๆ น้องๆ ก็ยังมีความสุข ยังมีรอยยิ้มกันอยู่ ถึงแม้ไม่ทุกเวลา แต่ก็ยังดีที่มีรอยยิ้มบ้าง เสียงหัวเราะ เราต้องมีความอดทนมากๆๆ ต้องเข้าใจท่านอย่างที่ท่านเป็น ยอมรับทุกอย่างในตัวท่านแล้วปรับตัวเรา ปรับกิจวัตรให้เข้ากับท่าน ดูแลท่านให้ดีที่สุด แล้วเราจะไม่เสียใจเมื่อนึกถึงช่วงเวลาที่ผ่านมา  เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะ

แม่เราเป็นมาประมาณปีกว่าแล้ว ความจำและการสั่งการทางสมองแย่ลงไปเรื่อยๆ จากที่ตักข้าวกินเองได้ตอนนี้ตักไม่ได้เพราะลืม ก็เลยเดินวนไปมาหน้าหม้อข้าวค่ะ


ตอนนี้เข้าใจทั้งคนที่เป็นและคนที่ต้องดูแลเลยค่ะว่ามันยากมากจริงๆ

เข้ามาเป็นกำลังใจทุกคนค่ะ

โรคอัลไซเมอร หรือโรคหลงๆลืมๆในผู้สูงอายุ   โรคอัลไซเมอร์เกิดจากหลายสาเหตุ  ที่ใหญ่ๆแบ่งเป็น

1.เกิดจากสมองได้รับการกระทบกระเทือน  ผ่าตัดสมอง  โรคเส้นเลือดในสมองตีบ  หลังจากนั้นสักพักจะเกิดอาการหลงลืมตามมา อาการจะดำเนินไปอย่างเร็ว  และอาการที่แสดงออกทางอารมณ์มาก เช่นหงุดหงิดอารมณ์ฉุนเฉียว  หรือร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ   ใช้กำลัง  ฯ  ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง   

2.เกิดจากสมองทั้งหมดหดตัว ซึ่งเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น  และอาการจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป

ดังนั้นอาการและการดูแลผู้ป่วยก็แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน โรคอัลไซเมอรสามารถเป็นได้ทั้งผู้สูงอายุและวัยกลางคน  ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด  แต่มียาที่ช่วยชะลอให้อาการค่อยๆช้าลง   ดังนั้นผู้ที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องทำความเข้าใจกับโรคและอาการเสียก่อน  

อาการระยะเริ่มแรกของผู้ป่วยอัลไซเมอรคือ ลืม เช่นซื้อแชมพูญี่ย้อเดิมๆ มา   บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการหลงลืมธรรมดาซึ่งเกิดได้ในทุกคน  ช่วงระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่ทราบตัวเองแต่ครอบครัวจะเริ่มรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง และควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อตรวจเช็คและชะลออาการ

ระยะต่อมา ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองแย่ลง ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น จะไปซื้อของที่ตลาดแต่จำรายการไม่ได้  หรือไม่สามรถจ่ายเงินทอนได้  จำทางกลับบ้านไม่ได้  ซึ่งระยะนี้จะเป็นช่วงที่ผู้ดูแลและคนรอบข้างจะลำบากในเรื่องการดูแลที่สุด  และตัวของผู้ป่วยก้อเริ่มที่จะกลัวกับการยอมรับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นว่าอนาคตตัวเองจะจำใครไม่ได้  ลืมแม้กระทั่งคนที่รัก  ลูกหลาน ทำให้ผู้ป่วยเกิดการต่อต้านตัวเองขึ้น  ซึ่งในทางจิตวิทยาเรียกว่าการปกป้องตัวเองของมนุษย์ซึ่งเกิดได้กับทุกคนไม่เฉพาะกับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร   ผู้คนที่อยู่รอบข้างผู้ดูแลผู้ป่วยควรจะปลอบใจและเข้าใจผู้ป่วยให้มากขึ้น  ซึ่งต้องใช้ความอดทนอย่างสูงมากในช่วงระยะเวลานี้  

ระยะต่อมาคือช่วงที่สองจะเข้าช่วงที่สาม  การดูแลจะค่อนข้างหนักขึ้นซึ่งกระบวนการสมองจะทำการเรียบเรียงเรื่องที่จะเกิดไม่ได้  พูดง่ายๆคือ จำไม่ได้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน  ทั้งที่อยู่บ้านก้อจะเดินออกไปนอกบ้านเพื่อจะกลับบ้านตัวเอง  การดูแลก้อคือไม่ต้องห้ามปราม เพราะยิ่งห้ามก็เหมือนตอกย้ำให้ผู้ป่วยรู้สึกขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต  รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ใช้ไม่ได้  วิธีคือให้เดินไปกับผู้ป่วยและใช้วิธีพูดโน้มน้าวจิตใจให้เขามีความรู้สึกว่าตอนนี้เขาอยู่ที่บ้านอยู่กับครอบครัวอยู่กับคนที่เขารักและรักเขา พูดให้เขารู้สึกอบอุ่นใจและผู้ป่วยก็จะค่อยๆสงบลง    ผู้ป่วยจำห้องนำ้ไม่ได้ให้ใช้วิธีเขียนป้ายใหญ่ติดลูกศรและเขียนรูปห้องน้ำชี้ไปทางไปห้องน้ำ  คือเราพยามยามให้ผู้ป่วยทำทุกอย่างด้วยตัวเองแต่เราเป็นผู้ดูแลอยู่ห่างๆ ถือเป็นการกายภาพบำบัดไปในตัว   ยิ่งเราทำทุกอย่างให้ผู้ป่วยทั้งหมดร่างกายของผู้ป่วยจะไม่ได้เคลื่อนไหวเองทำให้สมองและร่างกายไม่ได้ฝึกการใช้และกลายเป็นนอนอย่างเดียวโดยไม่รับรู้อะไร  

ซึ่งอาการสุดท้ายคือ  จำหน้าลูกหลานไม่ได้  ไม่สามรถพูดได้   นอนอย่างเดียว

วิธีทำกายภาพบำบัดหรือบริหารสมองผู้ป่วยอัลไซเมอรคือ

การทำงานที่ใช้นิ้วมือ  บริหารนิ้วมือ  เช่นงานพับกระดาษ  หรือแม้แต่หั่นผักก็ถือเป็นการบริหารร่างกาย  เล่นหมากฮอต   การพบปะพูดคุยกับผู้คน  มีส่วนในการร่วมกิจกรรมเหมือนคนปกติทั่วไป   

นี่เป็นแค่ส่วนคร่าวๆที่นำมาเสนอเท่านั้น การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอรค่อนข้างละเอียดมากเพราะต้องเข้าใจถึงอาการ การพัฒนาของโรคก่อนจากนั้นการดูแลเกี่ยวกับสภาวะจิตใจเป็นหลัก ต้องอธิบายว่าโรคอัลไซเมอรไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด คนรอบข้างต้องเข้าใจ 

สิ่งที่สำคัญคือเรื่องนี้สำหรับสังคมไทยยังเป็นเรื่องที่ใหม่อยู่  องค์กรที่เกี่ยวข้องก็มีน้อยมาก   ดิฉันในส่วนหนึ่งที่เป็นคนไทยถึงแม้จะไม่ได้อยู่ที่เมืองไทยแต่ถ้ามีโอกาสอยากช่วยทุกคนและเป็นกำลังใจให้ทุกคน    ถ้าท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มติดต่อมาได้ที่เมลข้างล่างนี้คะ  เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอรดิฉันยินดี  

สุดท้าย ขออภัยในเรื่องภาษามานะโอกาสนี้ด้วย  จะพยายามพัฒนาในเรื่องภาษาให้มากขึ้นค่ะ   ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน ได้อ่านข้อมูลแล้วมีประโยชน์มากค่ะ ตอนนี้ก็สงสัยว่าแม่จะป่วยเหมือนกันแต่เนื่องจากไม่ได้ยุกับแม่เลยสังเกตอาการได้ไม่ชัด มีพ่อแต่พ่อบอกว่าแม่ค่อนข้างหลงลืม เวลาคุยกับไรกับคนก็คุยออกไปเรื่องอื่น ตอนนี้เลยอยากทราบว่าเราควรเริ่มรักษาหรือดูแลอย่างไร แรกๆ ทั้งครบอครัวเคยพูดว่าเพราะเข้าใจว่าเป็นนิสัยของแก เลยรู้สึกผิดขึ้นมาค่ะ จนได้มาเจอโฆษณาตัวหนึ่งของบริษัทประกัน เลยเริ่มสงสัยและเข้าใจ แต่ตอนนี้พ่อเองก็อายุมากแกบอกว่าแกก็เริ่มมีอาการเครียด ทั้งๆที่ยอมรับ แต่ในบางครั้งก็เหลืออด เพราะพอเราเตือนแกก็จะโกรธและเถียงขึ้นมากด้วยพากันเครียดกันไปด้วยค่ะ  สงสารพ่อมากๆๆ  แต่ตอนนี้พยายามหาข้อมูลมาอธิบายให้พ่อฟังแล้วก็จะกลับมาอยู่กับแม่ถาวรสักที  แต่ดีตรงที่แม่ยังจำลูกกับพ่อได้  แล้วแบบนี้มันคือโรคอัลไซฯ หรือแค่เป็นโรคหลงลืม ยัง งง  ๆ กับอาการยุเหมือนกันค่ะ  รบกวนสอบถามอาการเริ่มแรกด้วยนะค่ะและต้องพาไปหาหมอด้านไหนค่ะ เริ่มต้นไม่ถูกจิรงๆค่ะ (คุณแม่อายุ 72) รบกวนอีกข้อนะค่ะโรคนี้มักเริ่มอายุน้อยสุดประมาณอายุเท่าไหร่ค่ะ

อิสรีย์ พิชาพงศ์ธเนศ

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นในฐานะดูแลคุณพ่ออยู่นะคะ ให้พยายามพูดในเรื่องเก่าๆที่ผู้ป่วยจดจำได้ อาจต้องดูด้วยว่าความทรงจำเก่าๆของเขาอยู่ที่ตอนอายุเท่าไหร่ อย่างเช่น พ่อดิฉันจะจำได้ว่าสมัยเป็นนักเรียนนายสิบต้องออกกำลังกาย ดิฉันก็จะพูดว่า ผู้หมวดแกว่งแขน 30 ครั้ง ปฏิบัติ นับ 1-2-3.....แล้วเราก็ทำไปด้วยให้เขาเห็นทีแรกเรานับเสียงดังพอเขาเริ่มส่งเสียงเองเราก็หยุด บางวันก็นับถึง บางวันก็เลิกทำเลย เราต้องเข้าใจค่ะ อย่าดุ อย่าว่า พูดช้าๆ พูดด้วยน้ำเสียงดีๆ ใจเย็นๆ แล้วบอกให้ทำต่อนับต่อจากเมื่อกี้นี้ ถ้ายังไงก็ไม่ทำแล้ว เปลี่ยนค่ะ เปลี่ยนเป็นท่าออกกำลังกายแบบอื่น อย่าบังคับ ถ้าเห็นว่าเริ่มมีโมโหแล้ว ก็บอกว่า อ่ะไม่เป็นไร งั้นพักก่อน เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นเลย เพราะเขาจะเครียดและต่อต้านค่ะ ด้วยลักษณะอาการของโรคไม่ใช่นิสัยเดิม เราต้องเข้าใจ และคิดเสมอว่า เราเองในอนาคตก็ไม่รู้ว่าจะเป็นแบบนี้ไหม สู้ๆนะคะ ถ้ามีเวลาจะมาเล่าให้ฟังอีก



ไปเจอครับแปลมาให้อ่าน

การวินิจฉัยโมเลกุลเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ความสามารถ

วีทีที(VTT) ได้พัฒนาให้ชีวะโมเลกุลให้เป็นที่ยอมรับและวิศวะกรรมแอนติบอดี้สำหรับการวินิจฉัยการรักษาและการวิเคราะห์เช่นเดียวกับการค้นพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) ปัจจุบันนี้แอนติบอดี้มีความความผูกพันที่น่าสนใจเนื่องด้วยมันมีความสามารถในการสร้างตัวเองเพื่อต่อต้านโมเลกุลที่มีค่าความสัมพันธ์คงที่ในช่วงนาโนโมลา(nanomolar)

แอนติบอดี้กับสารก่อภูมิแพ้, ตัวรับเซลล์, ยาต่างๆ, สารพิษและโมเลกุลขนาดเล็กอื่นๆที่เหมาะกับการวินิจฉัยและการบำบัดแบบใหม่ที่มีการสร้างขึ้นโดยใช้ฟาจดิสเพลย์(Phage Display)และวิธีการตรวจคัดกรองอย่างสูง

การทำงานของวีทีทีคือการนำแอนติบอดี้ของฟาจดิสเพลย์(Phage Display)ใช้ในการแยกความผูกพันจำเพาะได้อย่างรวดเร็ววิศวะกรรมแอนติบอดี้สามารถใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่ถูกแยกตัวเช่นสำหรับการวินิจฉันโรคติดเชื้อโดยการใช้การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การวินิจฉัยโมเลกุลมีความสำคัญพิเศษกับต่อต้านแฮปเทนแอนติบอดี้(Anti-hapten antibodies)และการพัฒนาของแอนตี้บอดี้เบสไมโคร(Antibody-based micro)และโปรแกรมนาโนเทคโนโลยี

ในด้านเทคโนโลยีการสร้างระบบภูมิคุ้มกันวีทีทีมุ่งเน้นการวิจัยเรื่องภูมิแพ้และพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาแอนติบอดี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ผู้ป่วยเฉพาะเจาะจง

ความท้าทาย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพระบุโดยจีโนมิกส์(Genomics),โปรทีโอมิกส์(Proteomics)และเมตาโบโลมิกส์(Metabolomics) ให้การวินิจฉัยและการบำบัดขั้นสูงที่ช่วยให้การสันนิษฐานและบำบัดโรคสร้างความท้าทายสำหรับเจนเนอร์เรชั่นที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วของแอนติบอดี้ที่มีความเฉพาะเจาะจงมาใช้ในการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ(biomarker) การแยกความจำเพาะพูกผันที่แตกต่างกันสามารถพร้อมๆกันจากยีนแอนติบอดี้โดยใช้ตัวเลือกจากหลายๆที่และขั้นตอนการคัดกรอง

วิธีแก้ปัญหา

เรามีการสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้(Antibody phage libraries)จากแหล่งภูมิคุ้มกัน,ไม่มีภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยที่ได้รับการแยกตัวของแอนติบอดี้สามารถดำเนินการได้ในหลอดทดลอง(vitro)และในสัตว์ทดลอง(vivo)หรือใช้เทคนิคการคัดกรองโดยตรง

การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ถูกทำขึ้นที่เอสเชอริเชียโคไล(Escherichia coli) วิธีการใช้ชีวะโมเลกุลและระบบภูมิคุ้มกันถูกนำมาใช้สำหรับการจำแนกคุณสมบัติของความจำเพาะพูกผัน

ความสัมพันธ์, ความจำเพาะ, ความเสถียรและการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพของแอนติบอดี้นั้นสามารถปรับแต่งสายพันธุ์และการสลับดีเอนเอ

การฟิวชั่นกับเปปไทด์แท็กมีการหยุดการเคลื่อนที่หรือการแสดงคุณสมบัติที่แตกต่างกันสามารถทำได้โดยการเพิ่มการบังคับใช้ของพวกนั้น

การสร้างคลังฟาจแอนติบอดี้

-การแยกแอนติบอดี้จากคลังฟาจดิสเพลย์(Phage display libraries) เช่นการใช้ความเร็วสูงและตัวคัดกรองในหลอดทดลองในที่ทำการโดยหุ่นยนต์

-การผลิตขนาดใหญ่ของชิ้นส่วนแอนติบอดี้ในอีโคไล

-การแสดงลักษณะคุณสมบัติของแอนติบอดี้ที่มีผลผูกพัน

-การปรับปรุงคุณสมบัติของแอนติบอดี้

ประโยชน์ที่ได้รับ

เทคโนโลยีการรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้(Recombinant anitibody technology) ทำให้

-การแยกของรีคอมบีเน้นท์แอนติบอดี้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

-การสร้างแอนติบอดี้ต่อต้านการป้องกัน,ความเป็นพิษและแอนติเจนของตัวเอง

-การตัดต่อแอนติบอดี้ให้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ

-การผลิตชิ้นส่วนแอนติบอดี้ด้วยราคาที่คุ้มค่า

...ที่เมืองไทยเองก็มีการวิจัยและบริการบำบัดรักษาในลักษณะนี้ที่ศูนย์ชีวะโมเลกุลใครรู้จักที่อื่นยังไงบอกกันได้นะครับกำลังหาพวก alternative medicine อยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท