2.การสร้างบุคลิกภาพในทัศนะอิสลาม


แนวทางการสร้างบุคลิกภาพ(2)

วิธีการและเนวทางการสรางบุคคลิกภาพของมุสลิมที่ดีมีดังต่อไปนี้                

 1.ความรู้ที่เป็นประโยชน์  (العلم النافع  )               

                  ความรู้ที่เป็นประโยชน์  หมายถึง ทุกความรู้ที่สามารถให้ผู้รู้เขาใกล้กับอัลลอฮ  สามารถช่วยให้เพิ่มพูนความยำเกรงต่ออัลลอฮ  และสามารถช่วยผลักดันให้เกิดการอามาลศอและห์               

ความรู้ที่เป็นประโยชน์นั้นต้องมีสองเงื่อนไขสำคัญคือ

1.1 ความรู้ที่ส่งผลให้ทำอามาลศาและห์ด้วยความบริสุทธิ์และจริงใจต่ออัลลอฮ  และส่งผลให้ผู้ที่ได้รับความรู้นั้นมั่นคงด้วยมารายาทที่จำเป็นต้องรักษาโดยผู้รู้และผู้เรียน  เพราะฉนั้นอัลลอฮได้ทรงตักเตือนผู้ที่มีความรู้แต่ไม่ปฎิบัติตามดังที่เขารู้  และผู้ที่กล่าวไปในทำนองหนึ่งและปฏิบัติไปอีกในทำนองหนึ่งว่า                ความว่า  โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ยทำไมพวกเจ้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ  เป็นที่เกลียดยิ่งที่อัลลอฮ  การที่พวกเจ้าพูดในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ปฏิบัติ ( อัซซอฟ 61/23 )               

 ความว่า  พวกเจ้าใช่ให้ผู้คนกระทำความดีโดยที่พวกเจ้าลืมตัวของพวกเจ้าเองกระนั้นหริอ  และทั้ง    ที่พวกเจ้าอ่านคัมภีร์อยู่แล้วพวกเจ้าไม่ใช้ปัญญากระนั้นหรือ ( อัลบากอเราะฮฺ 2 /44 )               

                   ผู้รู้จะถูกสอบถามในวันปรโลกถึงความรู้ที่ได้รับแล้วไปปฎิบัติหรือไม่ ?  หรือว่านำเอาความรู้เพื่อแสวงหาชื่อเสียงหรือประกวดระดับความรู้ในสังคมโดยวิธีต่างๆ ท่านนบีมูฮัมมัดได้กล่าว                ความว่า  ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)  กล่าวว่า  สองขาของบ่าวจะไม่ได้ขยับจากที่ที่เขายืนอยู่ในวันกิยามะฮ.จนกว่าถูกสามถึงอายุของเขา  เขาไปใช้เพื่ออะไร?  ถูกถามถึงความรู้ของเขา  เขาทำอะไรกับความรู้ของเขา?  ถูกถามถึงทรัพย์สินของเขา  เขาได้รับมาจากไหนและใช้เพื่ออะไร?  และถูกถามถึงตัวของเขาเองว่า  เขาใช้ความคล่องแคล่วเพื่ออะไร? (หะดีษ ฮาซัน ซอฮีฮฺ หมายเลข 2417)อีกหะดีษหนึงท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า                 ความว่า  ท่านยังไม่เป็นผู้รู้จนกว่าท่านทำตามความรู้ที่มีอยู่กับท่าน                เพราะฉนั้นบรรดาซอฮาบะฮ.นอกจากย้ำเกรงต่ออัลลอฮ.และยึดหมั่นต่ออัลกุรอ่านและหะดีษเขาเหล่านั้นยังกลัววิกฤติการณ์ในวันฟื้นคืนชีพอีกด้วย                

 1.2 มุสลิมต้องหลีกเลี่ยงการโอ้อวดและการโต้เถียงในด้านวิชาการ               

                     จากอาบีอูมามะฮฺรายงานจากท่านนบีกล่าวว่า                ความว่า  แท้จริงท่านรอซูล(ศ็อล)  กล่าวว่า  หมู่ชนหลังจากเราจะไม่หลงผิดเว้นแต่ชนเหล่านั้นโต้เถียงกัน  แล้วท่านอ่าน(โยงการในซูเราะห์ซูครุฟอายะห์ที่  58 )  ความว่า  พวกเรามิได้เปรียบเทียบแก่เจ้าเพื่ออื่นใดนอกจากการโต้เถียง  ยิ่งกว่านั้นพวกเขาเป็นหมู่ชนที่ชอบการโต้เถียงอีกด้วย

ความว่า  บางพวกซาลัฟกล่าวว่า  เมื่ออัลลลอฮ.ทรงประสงค์ให้บ่าวคนหนี่งได้รับความดี  พระองค์ทรงเปิดประตูอามาลและทรลปิดประตูโต้เถียงให้เขา  และเมื่ออัลลอฮ.ทรงประสงค์ให้บ่าวคนหนึ่งได้รับความชั่วพระองค์ทรงปิดประตูอามาลและทรงเปิดประตูโต้เถียงให้เขา

 قال مالك رحمه الله : المراء والجدل فى العلم يذهب بنور العلم (المرجع نفسه 88)          

   ความว่า  ท่านมาลิดรอฮิมาอุลลอฮ.กล่าวว่า   การโอ้อวดและการโต้เถียงเกี่ยวกับความรู้จะทำให้รัศมีของความรู้ขายไป

 ความแตกต่างระหว่างผู้มีความรู้ที่เป็นประโยชน์และผู้ที่มีความรู้ที่ไม่มีประโยชน์               

 ความแตกต่างที่อาจได้เห็นชัดเจนระหว่างสองประเภทนี้คือ  ผู้ที่มีความรู้ทีเป็นประโยชน์จะนอบน้อมถ่อมตนไม่อยากเปิดเผยความสามารถและยศ  ไม่ชอบการยกย่องสรรเสริญจากผู้คนทั่วไป  ไม่ยะโสโอหังต่อใคร  ผู้คนเหล่านี้จะอยู่อย่างสันโดษมีสมถะและรักอาดิเราะห์มากกว่าดุนยา  และมีความมานะ  อดทนในการเคารพต่ออัลลอฮ.ตราบใดเมื่อความรู้เพิ่มเติม  คุณลักษณะที่กล่าวถึงเมื่อตอนต้นก็ยิ่งมั่นคงยิ่งขึ้น  ( فضل علم السلف على الخلف ص 128-129)    มีต่อ

หมายเลขบันทึก: 82896เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในอิสลามยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และในอัลกุรอานก็ระบุว่าการคีลาฟ (การมีความเห็นที่แตกต่างกันในบางเรื่อง) เป็นสิ่งที่มีได้และสอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์

ดังนั้นผมเข้าใจความหมายของอาจารย์ที่ระบุว่า ห้ามมีการโต้เถียงทางวิชาการ น่าจะเป็นความหมายที่เฉพาะว่า เป็นการโต้เถียงที่เอาชนะระหว่างกัน

ทั้งนี้การคีลาฟ คือความเมตตาอย่างหนึ่งจากอัลลอฮ์ผู้ทรงเป็นพระเจ้า

เพียงแต่อิสลามได้กำหนดเงื่อนไขและมารยาทของการคีลาฟว่าอย่างชัดเจนและน่าสนใจ (ขณะนี้ผมกำลังอ่านหนังสือความเกี่ยวกับความขัดแย้ง ซึ่งแปลโดย อ.อิบรอเฮ็ง ณรงรักษาเขตอยู่ แต่ยังอ่านไม่จบครับ เนื้อหาเข้าใจได้ไม่ลึกพอที่จะอ่านให้จบเร็ว)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท