ช่วยกันสะกัดข้อคิดจาก “แดจังกึม”


การที่จะบอกว่าอาหารอร่อยหรือไม่นั้นสำคัญอยู่ที่คนกินครับไม่ใช่คนทำ

         เกรงว่าจะตกขบวนครับ ผมขอร่วมวงเรื่อง “แดจังกึม” ด้วยอีกคน ไม่มีรูปสวย ๆ มาฝาก แต่ถ้าอยากดูจริง ๆ ผมขอแนะนำให้ดูจากบันทึกของท่านอาจารย์สมลักษณ์ (Beeman) < Link > หรือจากบันทึกของท่านอาจารย์มาลินี (dhanarun) < Link >

         ผมพอที่จะเรียนรู้อะไรได้บางอย่างจากการดู “แดจังกึม” เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 26 พ.ย. 48 คือ

         1. แดจังกึมแม้เสียประสาทการลิ้มรสแต่ก็ยังสามารถปรุงอาหารได้อร่อยจากการจินตนาการรสชาติอาหาร คล้าย ๆ กับที่ไอสไตน์เคยบอกว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ (การรู้) แต่โปรดสังเกตด้วยว่าถ้าแดจังกึมไม่เคยรับรู้ เรียนรู้ หรือมีความรู้เกี่ยวกับรสชาติอาหารชนิดต่าง ๆ มาก่อนเลย แดจังกึมก็คงจะจินตนาการรสชาติอาหารไม่ได้เช่นกัน (ไม่แน่ใจเหมือนกัน)

         2. พิษจากเหล็กในผึ้งสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้แดจังกึมกลับมารับรู้รสชาติอาหารได้ดังเดิม และคงเอาไปใช้อะไรได้อีกหลายอย่าง ตรงนี้ให้ข้อคิดว่าของทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษครับ ขึ้นอยู่กับการใช้เป็นสำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั้งเรื่องของ วิจัย QAและ KM ก็เช่นเดียวกัน

         3. การที่จะบอกว่าอาหารอร่อยหรือไม่นั้นสำคัญอยู่ที่คนกินครับไม่ใช่คนทำ คนที่แสดงเป็น King (ฝ่าบาท) ในเรื่องนั้น เวลาลิ้มรสอาหารท่าทางเป็นมืออาชีพมาก (คล้ายคุณชายถนัดศรี) ทำให้ผมนึกอยากรับประทานเนื้อปลาวาฬไปกับเขาด้วย (พูดเล่น) ประเด็นนี้สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้กับการประเมินต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี (เรื่องเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้าไงครับ)

         4. แดจังกึมสวยจริงอย่างที่ Beeman พยายามที่บอกพวกเรา แต่ผมรู้สึกว่าอายุจะมากกว่าเพื่อน ๆ ที่อยู่ด้วยกันนะครับ คงเตรียมหน้าไว้ให้พร้อมที่จะเป็น “ซังกุงสูงสุด”

         5. เกาหลีเป็นประเทศหนาว แสงแดดน้อย สาว ๆ ส่วนใหญ่จึงดูผิวขาวคล้าย “แดจังกึม” กันเกือบทุกคน แต่พิษณุโลกเป็นจังหวัดร้อน แสงแดดแรงจัดตลอดทั้งปี จึงอาจหาดูอย่าง “แดจังกึม” ได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่ผิวจะคล้ำ จนอาจถึงขั้น “ดำจังแก” กันโดยทั่วไป ตรงนี้ผมไม่ทราบว่าจะดึงมาเกี่ยวข้องกับ “พลังของความแตกต่าง” ได้อย่างไร

         6. ........................(ช่วยกันสะกัดออกมาอีกครับ จากตอนอื่น ๆ ด้วยก็ได้)...........

         วิบูลย์ วัฒนาธร

         26 พ.ย. 48

 

คำสำคัญ (Tags): #แดจังกึม#ka
หมายเลขบันทึก: 8251เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2005 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันได้รับหนังสือย่อเรื่อง แดจังกึม 54 ตอนจบสมบูรณ์  จากผู้ปรารถนาดีซื้อมาให้อ่านหลายวันแล้ว  ตอนแรกอดใจไม่อ่านเพราะเกรงว่า เมื่อรู้เรื่องก่อนแล้วเวลาดูหนังจะหมดสนุก แต่ในที่สุดก็ทนกิเลสอยากรู้ไม่ไหว และดิฉันเพิ่งวางหนังสือลงเดี๋ยวนี้เอง หลังจากอ่านจนจบแล้ว

ความจริงดิฉันก็ไม่ได้ติดตามดูตลอดดอกค่ะ แต่คิดว่าเสาร์ที่จะถึงนี้ จะเป็นตอนที่ให้ข้อคิดดังนี้

ซอจังกึม (ชื่อเดิมนางเอกตอนยังไม่เป็นใหญ่เป็นโต : แด = Big) พยายามที่จะหาสูตรลับการหุงข้าวให้อร่อย ในที่สุดก็ประจักษ์ชัด (ด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ติดตามดูเอาเอง) ว่ามันไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเลย เพียงแต่ต้องใจเย็นๆ อาศัยเวลาในการตากข้าวให้แห้งด้วยแดด ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลเร็วทันใจก็ต้องนำข้าวมาเผาด้วยฟืนกระทั่งแห้ง  ซึ่งต้องอาศัยความอดทน และความจริงใจที่จะทำ โดยไม่คิดแต่จะแข่งขัน หรือมุ่งเอาชนะเพียงสถานเดียว (พอคิดว่าจะหาทางชนะ ก็มองข้ามเรื่องธรรมดาๆ)

ฉะนั้น (ดิฉันสรุปเอาเอง) QA  KM หรืออะไรก็แล้วแต่ หลักการสำคัญก็คือ หากทำงานด้วยใจ  แบ่งปันความรู้กันด้วยใจจริง ไม่คิดแต่จะแข่งขัน หรือมุ่งเอาชนะ  ก็จะเกิดผลที่เป็นประโยชน์แก่งาน แก่คน แก่องค์กรอย่างแท้จริง  เหมือนได้กินข้าวอร่อยๆ แบบที่ซอจังกึมทำงัยค่ะ !

นี่ก็เป็นเหตุผลเดียวกับที่เราไม่ใช้คำว่า "การแข่งขัน" ใน Vision ของ NUQA หรือ NUKM แต่ว่าจะใช้คำว่า "เจริญรุ่งเรือง" แทน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท