การเดินทางของเด็กคนหนึ่ง


สักวันคนของระบอบราชการก็คือประชาชนธรรมดาคนหนึ่ง แต่หากมีหัวใจของการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม เพชรก็คือเพชรนั่นเอง

เสียงของฉันเริ่มอ่อนแรงลงทุกที
แรงที่มีเริ่มอ่อนหล้าลงทุกหน
ปลอบตัวเองว่าเราต้องอดทน
เพื่อสร้างคนสร้างไทยให้ไพบูลย์
ไมค์ที่ถือย่อหย่อนและหนักหน่วง
ใจทุกห้วงคอยปลุกไม่เสื่อมสูญ
สักวันหนึ่งสิ่งที่ทำคงเพิ่มพูน
จะค้ำคูณเป็นร่มให้พักพิง
 ****หลายคนคงเหนี่อยหล้ากับสิ่งที่ทำ และมีความหวังกับสิ่งที่ทำ บ้างหวังไว้นิดเดียว บ้างหวังไว้มากมาย แต่สิ่งที่ได้มานั้นกลับเลวร้ายกว่าที่หวังไว้ และหลายคนคงเคยประสบมาแล้ว..... แต่....
เมื่อเราเริ่มทำดีบางครั้งเราก็อยากให้ผลตอบแทนบ้างเพื่อเป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต แต่บางครั้งการทำดีของเราเราก็ไม่ได้หวังผลตอบแทนเลย
และมีในบางครั้งการทำดีทั้ง ๆ ที่เราไม่หวังผลตอบแทนเรากลับได้สิ่งเลวร้ายกว่ามาอีก เรียกว่าผลกรรมได้ไหม....
**** ขณะที่องค์กรชาวบ้านได้เดินทางร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็อดถามไม่ได้ว่า รัฐหรือราชการใช้ชาวบ้านมากเกินไปหรือเปล่า เพราะบางครั้งเราเห็นว่าราชการจะสั่งชาวบ้านเสียมากกว่า เพราะชาวบ้านยังมีคติเดิม ๆ อยู่คือ เจ้าใหญ่นายโตอยู่ไกล้กฏหมายและใช้กฏหมายหรือระบอบราชการจะทำอะไรคงไตร่ตรองดีแล้ว จนลืมนึกถึงไปว่า องค์การชาวบ้านได้รับประโยชน์ที่เป็นนามธรรมบ้างหรือเปล่า หรือเพียงแค่ประโยชน์ในรูปธรรมที่เกิดขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นชาวบ้านจะเชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่า ทำให้เนื้อหาของการพัฒนายังเดินย่ำอยู่กับที่ รัฐยังเชื่อศักดิ์ศรีของรัฐ โครงการปักป้ายถ่ายรูปยังเหลือให้เห็นอยู่บานตะไท  มีคำถามตามมาว่า รัฐทำได้แค่นี้เหรอ...
คุ้มกับงบประมาณหรือไม่.... คำตอบของการใช้งบประมาณอยู่ที่การเบิกจ่ายตามยอดที่จัดสรรมาให้ หรือเนื้องานเชิงลึก/เชิงคุณภาพของกระบวนงานทั้งโครงการ  เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักมากน้อยเพียงไรเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการภาครัฐ หรือสักแต่ว่าทำโดยไม่ดูทิศทาง ดิน น้ำ ลม ไฟ  เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ทุกคนมีคำตอบอยู่ในตัว และคำตอบของหลายคนได้ซ่อนตัวตนที่แท้จริงไว้ แต่จะกล้าที่แสดงออกมาหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากวันนี้เรื่องนี้ไม่ชัด ระบบราชการก็จะทำงานยากและเดินอยู่กับที่ เราอยู่ในยุคของการปฏิรูประบบราชการแบบใด ความพอดีและพอเพียงของการปฏิรูปกับกำลังคนนั้นสัมพันธ์กับคุณภาพมากน้อยเพียงไร .... มีบทความจากวารสารเล่มหนึ่งเขียนว่า "ลูกมีความสุขกับการทำงานไหม" ข้าราชการหนุ่มรังเรใจและตอบออกไปว่า "สุขเพราะได้ทำงานในองค์การที่ตนเองรัก แต่ทุกข์ใจเพราะได้ทำงานในองค์กรที่ขาดการพัฒนา ค่านิยมสอพรอแบบเก่ายังเป็นสันดอนของคนสมัยนี้อยู่"
 ***** จากคำพูดของข้าราชการหนุ่มเราเห็นถึง การทำงานตามสายงานตามที่ตนเองถนัดเป็นเรื่องที่ทำแล้วมีความสุข หนักแค่ไหนก็คงจะทำ เพราะยิ่งทำยิ่งสุข แต่ความทุกข์ใจนั้นอยู่ที่พฤติกรรมองค์การและความสัมพันธ์ของคนในองค์กร เพราะระบอบราชการนั้น โครงสร้างการบริหารงาน เป็นแบบ Top Down  เป็นชั้นเป็นช่วง มีระบบประเมินที่เป็นธรรมไม่เป็นธรรมบ้างแล้วแต่มุมมองของหัวหน้าสูงสุด ซึ่งที่สุดแล้วนำไปสู่การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นของคนในองค์กร และจะเริ่มเกี่ยงกันทำงาน ใครไวใครได้ (สันนิษฐานว่าหลายแห่งคงเป็นแบบนี้) ขณะที่องค์กรรัฐกำลังจัดรูปตนเองนั้น ความทุกข์ร้อนของประชาชนมันไม่หยุดกินข้าวเที่ยงหรือมีวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ หรือนขัตฤกษ์ ในขณะที่เขากำลังรอความช่วยเหลือแต่ระบอบราชการไม่สามารถตอบสนองได้ทันเวลาชาวบ้านจะมีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร การเข้าถึงโครงการของรัฐ หรือการช่วยเหลือของรัฐนั้นสำหรับบางคนก็ยากมาก รัฐหรือคนของรัฐมองเรื่องนี้อย่างไร..... เรียนปรึกษาครับ อย่าซีเรียสครับ แต่ถ้าหากมีแนวทางในการพัฒนาระบอบราชการและการขับเคลื่อนการพัฒนาของชาวบ้านที่เหมาะสมก็คงเป็นเรื่องที่ดีมากครับ...

คำสำคัญ (Tags): #หนทางคนของรัฐ
หมายเลขบันทึก: 82503เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท