ยูคาฯ ย่องเข้ามาประเทศไทยเมื่อไหร่?(3)


อาจารย์สุขุม ถิรวัฒน์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้อาวุโสในสมัยนั้น (ท่านเคยเป็นนักเรียนทุนรุ่นแรกที่ไปเรียนวิชาป่าไม้ที่ประเทศอินเดีย ต่อมาเป็นวุฒิสมาชิก สนใจทดลองปลูกไม้ยูคา เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ถือได้ว่าท่านเป็นบิดายูคาไทย)

เรื่องของยูคาลิปตัสไม่ใช่เพิ่งจะโตกกะตากเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ นักการป่าไม้โลกเขาจัดประชุมเรื่องนี้กันเป็นระยะๆเกือบ60-70ปีมาแล้ว  ประเทศจีนเพิ่งฉลองวันครบรอบยูคาฯอายุ100ปี ไปเมื่อสักสิบปีที่แล้วได้ ส่วนร่องรอยในประเทศของเรา ประมาณปีพ..2490 อาจารย์สุขุม ถิรวัฒน์  เจ้าหน้าที่ป่าไม้อาวุโสในสมัยนั้น (ท่านเคยเป็นนักเรียนทุนรุ่นแรกที่ไปเรียนวิชาป่าไม้ที่ประเทศอินเดีย ต่อมาเป็นวุฒิสมาชิก สนใจทดลองปลูกไม้ยูคา เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ถือได้ว่าท่านเป็นบิดายูคาไทย) 

 อาจารย์สุขุม ได้ไปร่วมประชุมยูคาลิปตัสโลกที่ประเทศออสเตรเลีย และได้ตระเวนดูงานต่อหลังจากการประชุมคราวนั้น ท่านได้นำเมล็ดยูคาลิปตัสหลายสายพันธุ์มาปลูกในประเทศไทยสมัยนั้น  ส่วนมากจะปลูกที่ภาคเหนือ ถ้าใครไปเที่ยวตำหนักภูพิงค์ จะเห็นต้นไม้สูงชะลูดยืนเรียงรายอยู่ริมทางขึ้นตำหนัก ถ้าสังเกตบ้างก็จะเห็นได้ไม่ยาก เพราะเปลือกใบลำต้นไม่เหมือนไม้ในบ้านเราอยู่แล้ว หลายต้นโตขนาดหลายคนโอบ สูงประมาณ 25-35 เมตรได้ ไม้กลุ่มนี้ถือไปชุดประวัติศาสตร์ที่ปลูกในไทยเป็นทางการครั้งแรก ถ้านับอายุก็คงประมาณ 58-59 ปี อีกปีเดียวก็เกษียณแล้ว  

ในช่วง30ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ กระจายพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ กรมป่าไม้จัดตั้งศูนย์ศึกษาทดลองพันธุ์ไม้ทุกภูมิภาค ในแต่ละภาคมีสถานีทดลองย่อยอีกในบางจังหวัด ศูนย์ศึกษาพรรณไม้ดังกล่าวนี้ได้ขยายพื้นที่ปลูกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ไม้ยูคาไปโผล่ที่โน้นที่นี่ เห็นหนาตามากขึ้น ในปัจจุบันไม้ยูคากลายเป็นไม้ที่คนไทย ปลูกใช้สอย เป็นไม้สารพัดประโยชน์ตามความคุ้นเคย และเป็นรายได้ที่น่าสนใจมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือ ในขณะที่ไม้ในป่าธรรมชาติค่อยๆหายไป ไม้ที่ดูไม่มีค่ามีความสำคัญที่ปลูกเล่นๆทิ้งไว้ริมรั้วหรือหัวไร่ปลายนา ได้เข้ามาชดเชยเป็นไม้ใช้สอยในครัวเรือน ไม่อย่างนั้นแล้วเรื่องพลังงานเชื้อเพลิงในชนบทจะเดือนร้อนกว่านี้มากนัก ต่อมามีผู้นำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เช่น เผาถ่าน เพาะเห็ด ทำไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้สร้างทำรั้ว ไม้กั้นคอกสัตว์ เพิงพักอาศัย ร้านอาหาร ทำบ้าน และประดิษฐ์ของใช้ โต๊ะ เก้าอี้ ชิงช้านั่งเล่น ในส่วนของระบบอุตสาหกรรมการเกษตร ส่วนมากเราจะรู้กันไม่มากนัก ยังมีอุตสาหกรรมไม้ยูคาลิปตัส 

  • โรงงานผลิตกระดาษในเครือเกษตรรุ่งเรือง เจ้าของกระดาษยี่ห้อAA. เป็นโรงงานขนาดใหญ่อันดับ4 ของโลก ผลิตกระดาษสนองผู้บรอโภคในประเทศ และส่งออกไปทั่วโลก
  • โรงงานอุตสาหกรรมไม้ประสานผลิตได้ดีระดับมาตรฐานโลก ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง แม้แต่การพ่นเคลือบเงาก็ใช้วิธีเดียวกันกับการพ่นสีรถยนต์ เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีพนักงานทั้งวันทั้งคืนประมาณ 1,000 คน สินค้าตัวนี้คนไทยไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะส่งออกไปญี่ปุ่นแห่งเดียวก็ไม่พอ
  • โรงงานลิตผ้า เป็นอุสาหกรรมลูกผสมเพราะต้องสั่งเส้นเยื้อใยยาวของไม้สนจาก ต่างประเทศมาผสมเยื่อยูคาใยสั้นในประเทศไทย  เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เช่นกัน ตั้งอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง ทราบว่าราคาจำหน่ายผ้าตันละ300,000 บาท
  • โรงงานผลิตของเด็กเล่นจากไม้ยูคา เพื่อการส่งออก มีอยู่หลายแห่ง
  • โรงงานลิตไบโอออย ที่ใช้ไม้โตเร็วเป็นปัจจัยในการลิต โรงงานต้นแบบแห่งแรกจะตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ดในปลายปีนี้ เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนสสารจากเนื้อไม้เป็นแก็สเชื้อเพลิง ในสภาวะน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง ถ้าเราพึ่งตนเองได้บ้างก็น่าจะดี                                                                                                                                                                                                                                      
  • ในมหาชีวาลัยนั้น นอกจากมีเตาเผาถ่านขนาดใหญ่แล้ว เรามีโรงเลื่อยไม้ที่อยู่ในระยะการปรับปรุงเครื่องมือ นอกจากนี้จะเป็นกิจการย่อยเช่น การดักเก็บน้ำควันไม้ ทำเก้าอี้พับ สร้างอาคารที่พัก และผลิตเก้าอี้ฮ่องเต้ ไว้จำหน่าย ถ้าคนอักหักเราลดให้5% ส่วนขี้เลื่อยที่ได้จากการแปรรูปไม้เราเอามาเพาะเห็ด ทำปุ๋ย อนึ่งพันธมิตรจากประเทศออสเตรเลีย ได้มอบเครื่องกลั่นน้ำมันจากใบยูคา เราได้กลั่นน้ำมันจำหน่ายตามสั่ง และเราผลิตสเปร์ไว้ฉีดพ่น ขี้ผึ้งบาล์ม น้ำมันดมแก้หวัด  เป็นต้น
  • ไม้ยูคาลิปตัสมีไม่น้อยกว่า700สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น ความแข็ง การบิดตัว การให้น้ำมัน ถ้าผู้ปลูกๆจำหน่ายให้โรงงานชื้นไม้สับ คงไม่ต้องกังวล พันธุ์อะไรก็ปลูกได้ขายคล่องกันทั้งนั้น แต่ถ้าจะปลูกเพื่อการแปรรูปไม้ หรือเอาใบไปกลั่นน้ำมันจำเป็นต้องศึกษาวิจัยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
  • ปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้ปลูกจากต้นพันธุ์ที่เพาะด้วยเนื้อเยื่อ เพราะทุกต้นจะมีคุณสมบัติแบบเดียวกัน สูงชะลูด ไม่มีกิ่งมาก ทุกต้นมีอัตราเจริญเท่ากัน ในอีกกลุ่มหนึ่งจะปลูกแบบเก่า คือการเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เห็นว่ามีโครงสร้างดี โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง เก็บเอาเมล็ดมาเพาะ แล้วจึงนำต้นอ่อนไปปลูกลงในแปลง
  • มีผู้สงสัยเล่าว่า ประเทศอิสราเอลเอาต้นยูคาไปปลูกลงในพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อใช้มันดูดซับน้ำเสียที่ไม่ต้องการออกไป ข้อนี้คิดว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น คุณสมบัติพิเศษที่มหัศจรรย์ก็คือ มันสามารถขึ้นได้ทั้งที่แห้งแล้งและในที่ลุ่ม เช่นพื้นที่ริมห้วย พื้นที่เป็นแอ่งกระทะ  คนที่มีพื้นที่ต่ำน้ำท่วมทุกปีปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ เตรียมกล้าไม้ให้สูงประมาณ1ฟุต ขุดหลุมปลูกรองก้นด้วยปุ๋ย เพื่อเร่งการเติบโตหนี้น้ำ พออายุได้ 3 เดือน ต้นยูคาฯสูงประมาณ 1 เมตร มีความเกร่งพอที่จะสู้น้ำท่วมได้ โดยปกติต้นที่เกร่งน้ำท่วมมิดเรือนยอดจะอยู่ได้ประมาณ1เดือน ส่วนต้นที่สูงพ้นน้ำสามารถที่จะเจริญเติบโตในน้ำได้ตลอดไป ยืนแช่น้ำเป็นปีๆแล้วต้นก็โตตามปกติ ไม่เดือนร้อนเรื่องน้ำมากน้ำน้อยเหมือนไม้ชนิดอื่น
  • ขอตอบคำถามประเด็นที่ว่า อิสราเอลใช้ยูคาฯดูดน้ำคงไม่ใช่ เพราะมันไม่มีศักยภาพสูงเหมือนเครื่องสูบน้ำ มันเพียงเก็บน้ำไว้ที่ลำต้นได้บ้าง แล้วระเหิดออกทางใบเช่นเดียวกับไม้ชนิดอื่น (ควรดูคุณสมบัติข้อดีในการใช้พื้นที่ลุ่มให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) อนึ่ง.ถ้ามันกินน้ำเก่ง กินแล้วมันมีขาเดินหนีรึครับ มันย้ายน้ำหนีจากจุดตรงนั้นได้รึครับ มันกินตรงไหนมันก็ถ่ายเทคืนตรงนั้นไม่ใช่รึครับ

 นักปลูกยูคาลิปตัสมืออาชีพ จะปลูกต้นไม้ในเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม เขาจะเตรียมกล้าให้เกร่งโดยการตัดราก เมื่อเตรียมที่ปลูกด้วยการไถพรวนไว้แล้ว ก็จะปักหมุดขุดหลุมปลูก โรยปุ๋ยไว้ก้นหลุม1ช้อนชา เอาโพลิเมอร์ที่ชุ่มน้ำ1 กระป๋องนมเทลง เอาหน้าดินทับโพลิเมอร์ไว้เล็กน้อย แล้วจึงเอาต้นยูคาปลูกลงไป รดน้ำให้ชุ่มเป็นอันเสร็จพิธี ครบ 1 เดือนมาสำรวจดูเพื่อซ่อมต้นที่ตายหรือเสียหาย ภายใน1 เดือนถ้าฝนไม่ตกรดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่งได้ก็น่าจะจบ การปลูกช่วงนี้จะไม่ต้องดายวัชพืช พอฝนมาต้นไม้ที่ตั้งตัวได้บ้างแล้วจะพุ่งพรวดโตเร็ว ภายใน3 เดือนก็สูงท่วมศีรษะ

หมายเลขบันทึก: 82458เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
รักกันไว้เถิด...เราเกิดร่วมแดนไทย...จะเกิดชาติไหนๆ...ก็ไทยด้วยกัน...อยากเห็นคนรักกันเยอะๆ เหมือนเราชาว Blog g2K
เรียนท่านครูบา หลากหลายประโยชน์ในยูคาฯ เดี๋ยวนี้นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้หลากหลายรูปแบบ (แอบถามนะค่ะว่าต้นยูคาช่วยในการรักษาความชื้นในดินได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ)เผื่อจะได้ลดสภาวะโลกร้อนลงได้บ้าง
P

เป็นบ้าอะไรยายหนู

หัวข้อเกี่ยวกับยูคาฯไม่อ่านดูเรอะ

มาร้องเพลงรักกันไว้เถิด หลงเวทีรึเปล่า อิอิอิออ

P

 มันก็ทำหน้าที่ของต้นไม้นั่นแหละ

ที่บอกว่ามันกินน้ำมาก

มันเอาไปไว้ตรงไหน ที่เก็บน้ำก็คือลำต้น ราก ใบ

มันไม่มีขาวิ่งเอาความชื้นหนีไปที่อื่นได้หรอก

ต่อไปต้องจ่ายค่าถามเป็นรูปส่าหรีแล้วละ

  • คุณพ่อขาวันนี้เราสองคนเครียดมากค่ะ
  • โดยเฉพาะคุณนายราณี....เขามีเรื่องต้องตัดสินใจใน2 วันนี้ค่ะ....อาการเขาหนักกว่าหว้าเยอะค่ะ  หนูเองก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย....
  • หว้าเองก็ไม่ได้รับคัดเลือกสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วค่ะ
  • รู้สึกเศร้านิดหน่อย...เพราะวิชานี้ทางภาคฯเป็นคนร่างส่งไปให้มหา'ลัย
  • แต่อาจารย์บางท่านกลับมายึดรายวิชานี้ไป.....
  • คงไม่วิจารณ์อะไรมากหรอกค่ะ    หว้าสามารถช่วยเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียงได้อีกหลายทาง
  • ไม่จำเป็นต้องไปแก่งแย่งกับใครหรอกค่ะ
P

รับทราบ เศรษฐกิจพอเพียง เริ่มเอียงกะเท่เร่

ถ้าหนักและเหนื่อยก็พักบ้าง เว้นวรรคบ้าง จะได้มีแรงสู้ต่อ ฝากความเป็นห่วงไปยังคุณนายส่าหรีด้วย ทายไม่ออกว่าหนักใจด้วยเรื่องอะไร คงสำคัญและเครียด

อย่าให้บ่อยนักเดี๋ยวจะเป๋เสียก่อน

  • เรื่องใหญ่ค่ะคุณพ่อ...วันนี้หนูได้แต่ฟังอย่างเดียว
  • เขาทำงานแต่กับผู้หญิง  ประจบประแจงใครไม่เป็น  เลยไม่รุ่ง...แถมโดนจัดให้สอนแต่วิชายากๆตลอด
  • เรียกว่าวิชาไหนไม่มีใครสอน  ก็เป็นราณี... แถมเรื่องจุกจิกอีกมากมาย.....ให้ไปสอนไกลๆ
  • เขาคงเต็มที่แล้วค่ะ  ไม่รู้จะเป็นครูอกหักอีกรายหรือเปล่า...
  • เห็นว่า 2 วันเขาจะบอกค่ะ
  • สำหรับหนูเองก็เจอค่ะ   แต่เจอน้อยกว่าเพราะทำงานกับผู้ชายมากกว่า  ส่วนกับผู้หญิงก็มีปัญหาเหมือนกัน....
  • แล้วจะมารายงานความคืบหน้าค่ะคุณพ่อ
ตามอ่านบันทึกครูบาค่ะ แต่ตอนนี้ไม่ไหวแล้วค่ะ ขอราตรีสวัสดิ์ก่อนนะค่ะ.....ครูบาทานข้าวตรงเวลาด้วยนะค่ะ เกรงว่าจะบันทึกบล็อกเพลินค่ะ ( 5 บล็อกในวันที่ 7 มค)....ด้วยความเคารพค่ะ
ไม่ได้เพี๊ยนหรอกคะ กับยูคาก็เป็นเพื่อนกัน มีสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันยูคามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเห็ดโคน จอมปลวก ขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก ถ้ามุ่งเศรษฐกิจไม่พอเพียงก็อาจเป็นแนวทางที่ไม่เหมาะสมเท่าไร... ที่คิดถึงว่าคนเราควรจะรักกันให้มาก เพราะช่วงนี้ที่โรงงานอยู่ในวาระการประเมินพนักงานเพื่อปรับเงินเดือน บรรยากาศมันทะแม่งทะแม่ง รวมไปถึงปัญหาภาคใต้ ITV ฯลฯ จึงนึกร้องเพลงนี้นะค้า
  • พืชบางชนิดเพื่อความอยู่รอด จะดูดน้ำขึ้นแล้วคายออกทางปากใบเพื่อความอยู่รอด และลดอุณหภูมิในร่างกาย บางชนิดดูดน้ำแล้วคายออกถึง 99% ส่วน 1% ที่เหลือใช้ในการสังเคราะห์แสง
  • แต่ในสภาวะแห้งแล้ง ก็เพื่อความอยู่รอดอีกครับ มันจะลดการคายน้ำ พูดง่ายคือต้นไม้มันจะมีระบบของมันอยู่ในการปิดเปิดวาล์วเพื่อรักษาสมดุลครับ หากพื้นที่แห้งแล้งจะคายน้ำทิ้งตลอดก็ตายครับ หากบางคนเคยสังเกตตอนปลูกผักตอนเที่ยงแล้วดันไปรดน้ำ จะพบว่ามันจะเหี่ยว เพราะว่ามันปรับตัวไม่ทัน ดันคายน้ำมากกว่าดูดเข้าไป ก็สูญเสียน้ำครับ ดังนั้นเราก็ศึกษาว่าจะปลูกอย่างไร เวลาใดที่ทำให้ต้นไม้ไม่สูญเสียความสมดุลในระบบของมัน คือต้องรู้นิสัยเค้า ก่อนจะทำอะไรกับเค้า
  • ฟังจากท่านครูมาแล้ว ประโยชน์ของต้นยูคา เต็มไปเลยครับ ขอข้อมูลด้านลบบ้างนะครับ เดี๋ยวคนจะแห่ปลูกกันทั้งประเทศครับ จะได้ถ่วงดุลกัน เน้นการเข้าใจต้นยูคา เน้นพื้นที่ที่จะปลูกยูคา และความเหมาะสม และมองในเชิงภาพรวมนะครับ
  • สำหรับปัญหาโลกร้อน หากคนเผามากกว่าเอาควันหรือเอาความร้อนนั้นมาใช้ โลกก็จะยิ่งร้อนขึ้นเรื่อยๆครับ ปัญหาโลกร้อนอาจจะไกลตัวไป มีคนน้อยที่จะมานั่งคิดเรื่องเหล่านี้ครับ ปัญหาโลกร้อน แก้หรือรณรงค์ที่ใดที่หนึ่งก็ไม่สำเร็จครับ ในขณะที่คุณปลูกต้นไม้แต่ที่อื่นเผากันใหญ่ โค่นกันใหญ่ คงไม่ง่ายครับ แต่ปลูกก็ดีกว่าตัดครับ หากปลูกกับตัดไม่สมดุลกัน ผลที่เกิดก็คือ มีป่าเพิ่มขึ้น หรือว่าเขาหัวโล้นมากขึ้น อันนี้คงแล้วแต่ครับ ว่าจะไปทางไหน
  • ถึง
    P
    อ.ลูกหว้า และ อ.ราณี(ไม่แน่ใจว่าผมเคยทักทายหรือยัง) ครับ รู้สึกเห็นใจในสิ่งที่เกิดนะครับ ขอเป็นกำลังใจครับ จริงๆสอนวิชายากก็ไม่เป็นไรก็ดีครับ ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งยากๆ ได้เหมือนกัน อย่างน้อยวิชายากๆ เด็กก็มาเรียนกับเรา วิชาเศรษฐศาสตร์พอเพียงก็สอนเสริมไปได้ครับ ไม่ว่าจะในห้องหรือนอกห้องครับ ความสนิทสนมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อยู่ที่ความจริงใจในการถ่ายทอดมากกว่าครับ
  • หากเด็กเค้ารู้สึกอุ่นใจกับเรา เราก็ปลูกฝังเค้าได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องสอนเพื่อให้เกรดเค้าครับ เราสอนเพื่อชีวิตที่เข้าใจมากกว่า และการนำไปใช้ได้จริง (ผมไม่ได้สอนนะครับ แต่เพียงว่าเป็นห่วง ไม่อยากให้คนดีๆ ต้องมานั่งเครียดเรื่องแบบนี้ครับ ปัญหาเหล่านี้คงมีทั่วประเทศครับ) ทองแท้อย่ากลัวไฟเช็คลน (หมดแก็สก็ไม่มีไรลนแล้วครับ ทองก็เย็น) สำนวนมั่วๆ เอาครับ ยิ้มๆ (นั่นแน่ ยิ้มแล้วครับ)
  • ขอให้ทุกคนโชคดีครับผม ท่านครูมีไรแนะนำ สอนผมได้เต็มที่ครับ (ชอบคำที่ว่า ตีด้วยความปรารถนาดีครับ เพราะว่าตีเท่าไหร่ก็ไม่เจ็บ ยิ่งตียิ่งดีครับ)
  ตามแวะมาอ่านความเป็นมาของต้นยูคาฯ  และขอเป็นกำลังใจให้ อ.ลูกหว้า P
และ P อ.ราณี ด้วยคนนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท