“กสก.” ขยาย KM สู่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ


มีของดี ๆ ก็ต้องกล้าขาย กล้าใช้ กล้าขยาย เพื่อเพื่อของเราเอง

     ในการชี้แจงและทำความเข้าใจเรื่อง  การจัดการความรู้  ให้กับเจ้าหน้าที่จากทุกจังหวัดและทุกเขตของกรมส่งเสริมการเกษตรที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ก.พ. 2  มี.ค. 50    โรงแรมหลุยแทรเวิร์น  กรุงเทพมหานครนั้น  ทีมงาน KM  ได้แบ่งงานออกเป็น 6 ช่วงคือ 

                ช่วงที่ 1  การให้ข้อมูล เกี่ยวกับเนื้องานในภารกิจงานหลัก 4 เรื่อง ได้แก่  ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  วิสาหกิจชุมชน  อาสาสมัครเกษตร  และโรงเรียนเกษตรกร  โดย  ผู้เข้าฟังประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่จากกรม  เขต  และสำนักงานเกษตรจังหวัด รวมประมาณ  300 กว่าคน  ส่วนผู้ให้ข้อมูล คือ  เจ้าของงาน               

                ช่วงที่ 2  การให้ความรู้เกี่ยวกับ การจัดการความรู้  ได้แก่  การกำหนดเป้าหมาย (หัวปลา = KV)  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ตัวปลา = KS)  และ คลังความรู้ (หางปลา = KA)  ส่วนผู้รู้ คือ  ดร. ประพนธ์  ผาสุกยืด  และ เพื่อน ๆ ชาว KM ของกรมส่งเสริมการเกษตร (คุณชาญวิทย์  คุณทวี  และ คุณสายัณห์  โดยมีคุณอุษา เป็นคนชวนคุย)               

                ช่วงที่ 3  แบ่งกลุ่ม 18 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติ นำการจัดการความรู้เข้าไปรวมกับ  4  ภารกิจงานหลักปี 2550  ของกรมส่งเสริมการเกษตร) โดยยึด 18  จังหวัดนำร่องเป็นแกนนำ  และมี คุณอำนวย ประจำกลุ่ม  และเมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จแล้วก็มีการสุ่มนำเสนอ 7 กลุ่ม (เกณฑ์ คือ กลุ่มที่มีจุดแข็งและข้อดีแตกต่างกัน) เพื่อให้ทุกคนได้เติมเต็มกับกลุ่มของตนเอง ในขณะที่มีการนำเสนอ  ดิฉันก็ทำหน้าที่ จับประเด็นข้อมูล ของทุกกลุ่มโดยใช้ตาราง ภายใต้กรอบ คือ  KV  KS  และ KA 

                 ช่วงที่ 4  สะท้อนย้อนข้อมูล  เป็นการนำเสนอข้อมูลของทีมงาน (คุณอุษา  คุณยอดธงไชย  คุณสรณพงษ์  และคุณศิริวรรณ) ที่ได้สังเกตและจับประเด็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด คือ  1)  สะท้อนข้อมูลและเนื้อหาสาระจากการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่ม  2)  การสังเกตพฤติกรรมการทำงานของแต่ละกลุ่มตั้งแต่เริ่มจนงานกลุ่มเสร็จ  3)  การสังเกตบรรยากาศการทำงานร่วมกัน  4)  การปิดเวทีด้วย เพลงประกอบภาพเป็น Clip VDO  และ 5)  การสรุปปิดการสัมมนา  หลังจากนั้น  58  จังหวัด ก็เดินทางกลับ               

                  ช่วงที่ 5  นำการจัดการความรู้ไปสู่การปฏิบัติ  โดย  18  จังหวัดนำร่องในปี  2549  และเจ้าหน้าที่จากกรม  เขต  จังหวัด  และคณะทำงาน  ได้แบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ตามเขตเป็น  6  เขต หรือ 6  กลุ่ม  เพื่อช่วยกันคิดถึง การนำการจัดการความรู้ ไปสู่การปฏิบัติจริงให้  4  งานหลัก ของกรมส่งเสริมการเกษตรบรรลุผล  โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทีมงานจะคอยสังเกตพฤติกรรมการทำงานของแต่ละกลุ่มอยู่ตลอดเวลา เช่น  การยึดเวทีมีมั้ย?  มีคุณอำนวยมั้ย?  และใครเป็นศูนย์กลางของกลุ่ม  ซึ่งพบว่า  เหตุการณ์ดังกล่าวมีประมาณ  2-3 กลุ่ม ฉะนั้น เราจึงใช้หลากหลายเทคนิค  เช่น  โทรศัพท์  ไปชวนให้มาประชุม  และไปสะกิดเพื่อชวนออกมาคุย  เป็นต้น  แต่ก็มีสิ่งดี คือ  1)  มีการทำความเข้าใจระหว่างกัน  2)  มีการสอนระหว่างกันเกิดขึ้น  และ 3)  ประมาณ  90  %  มีคนที่เข้าใจเรื่อง  การจัดการความรู้ อยู่ในกลุ่ม ๆ ละ 1-3  คน  สิ่งที่เห็น คือ  บรรยากาศที่แต่ละกลุ่มคุยกันเสียงดัง  สนุกสนาน  และเหย้าแหย่กันเป็นระยะ ๆ

                ช่วงที่ 6  นำเสนอ  ประมวลวิเคราะห์ เชื่อมโยงและสรุปจบ  เมื่อ 6  กลุ่มทำงานเสร็จแล้วก็เปิดเวทีให้นำเสนอกันกลุ่มละประมาณ  10 นาที  ซึ่งในขณะนำเสนอก็มี การเล่านิทาน  การแหย่กลุ่มอื่น ๆ และการหยิบประเด็นมาแซวกัน  ซึ่งเรียกเสียงหัวเราะได้เป็นระยะ ๆ  เพื่อให้ทุก ๆ อารมณ์ดี  หลังจากนั้นคนที่เก็บข้อมูลและเนื้อหา (คุณมัลลิกา) ก็นำข้อมูลทั้งหมดมาประมวล  วิเคราะห์ให้กับกลุ่มใหญ่ได้ฟังเป็นการสะท้อนข้อมูลกลับเพื่อให้คนเข้าคิดและสรุปบทเรียนด้วยตนเอง  สุดท้าย คุณสำราญ ได้ทำหน้าที่มาเชื่อมโยงการจัดการความรู้ กับภาระงานที่เจ้าหน้าที่จะร่วมกันทำเพื่อมุ่งสู่องค์กรให้เกิดผลสัมฤทธ์  ภายใต้หลักการของ KV  KS  KA  ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติจริงกับทุกหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรทั่วประเทศ

     กำลังใจที่เกิดขึ้น คือ  มีผู้บริหารอยู่กับเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา คอยให้กำลังใจ และเฝ้ามองพวกเราอย่างเงียบ ๆ  บางครั้งแอบฟังเจ้าหน้าที่คุยกันและแอบอมยิ้ม  ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในบทบาทของหัวหน้าอย่างแท้จริง  ทีมงานมีความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาบุคลากรของเราเอง  แต่ งานจัดการความรู้ ยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องทำร่วมกัน และกำลังรอเราอยู่ข้างหน้า.
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 81850เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณน้องจือ ที่ถอดกระบวนการเรียนรรู้ในเวทีสัมมนาทั้ง 5  วันมาได้อย่างละเอียด
  • นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการทำงานในเชิงบูรณาการ และการนำ KM ไปใช้ในกระบวนงานส่งเสริมการเกษตร
  • รอติดตามบันทึกต่อไปอยู่นะคะ

KM เป็นอะไรที่ดีมากครับ อนุโมทนาผู้คิดริเริ่มโครงการนี้้ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท