CLINICAL TRACER การเขียนอย่างเข้าใจ


Clinical Tracer ไม่ยากอย่างที่คิด

              CLINICAL TRACER  การเขียนอย่างเข้าใจ 

         เป็นการเล่ากระบวนการ หรือระบบการดูแลผู้ป่วย โรคใดโรคหนึ่ง , หัตถการหรือกระบวนการทำงานใดก็ได้   โดยเล่าสรุปกระบวนการคุณภาพที่เกิดขึ้นทั้งหมดว่าได้ทำอะไรไปบ้าง แต่ถ้าเป็นกระบวนการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยก็เขียนเป็น Tracer ได้เหมือนกันแต่ควรตัดคำว่า Clinical ออกไป เช่น “ Tracer กระบวนการ STERILE เครื่องมือที่แผนกจ่ายกลาง หรือ  “ Tracer การผลิตอาหารเบาหวาน หน่วยงานโภชนากรเป็นต้น

         ส่วนแนวทางการเขียน แต่ละส่วน (โดยเฉพาะข้อ 4 กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ Tracer)  ต้องเขียนแบบย่อสรุปใจความที่สำคัญ อาจจะสรุปกระบวนการคุณภาพ แต่ละกระบวนการเช่น CPG , CQI , คู่มือปฏิบัติต่าง ๆ ให้เหลือเรื่องละไม่เกิน 3-4 บรรทัดในแต่ละกระบวนการคุณภาพทุกขั้นตอน โดยสื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพงานคุณภาพต่าง ๆ ที่ได้ทำ (โดยเฉพาะการป้องกันหรือลดความเสี่ยง)  

         การเล่าเรื่องเหมือนเป็นสื่อกระบวนการคุณภาพ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ  ถ้าเป็นการดูแลผู้ป่วย อาจเขียนกระบวนการได้หลายแบบ เช่น แบบที่ 1. การใช้จุดบริการเป็นหลัก ก็จะเขียน Flow ของกระบวนการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ที่ OPD , ER ต่อไปที่ IPD , อาจจะมีที่ OR และสุดท้าย การดูแลต่อเนื่องที่ชุมชน ( Clinical Tracer ที่สมบูรณ์น่าจะไม่ลืมเขียนการบวนการดูแลต่อเนื่องที่ชุมชน หรือการติดตามการดูแลต่อเนื่องด้วย)     การใช้ภาษาในการเขียน Tracer ต้องนึกเสมอว่าผู้อ่านอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนผู้เขียน  ฉะนั้นคำที่ใช้ต้องไม่เป็น Technical Term มากเกินไป  ส่วนเนื้อหาสาระรายละเอียดกระบวนการที่สำคัญต่าง ๆ เช่น CPG , CQI , นวัตกรรม , คู่มือปฏิบัติต่าง ๆ , Evidence Base  แต่ละเรื่องก็ต้องเก็บเนื้อหาเต็มรูปแบบ ถ้าเก็บเป็นฉบับรวมเล่ม คือมีรายละเอียดทุกเรื่องทุกขั้นตอนก็ดี ทั้งนี้เพื่อการปฏิบัติและพัฒนาต่อไป

จุดประสงค์ของ CLINICAL TRACER  

- ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคนั้น ๆ หรือกระบวนการทำงานนั้น ๆ

- เกิดการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพราะพอเริ่มเขียน  Tracer  ก็มักจะมองเห็นว่ายังมีกระบวนการคุณภาพอะไร ที่ยังขาดไปและจำเป็นต้องทำเพิ่มเติม เช่น น่าจะมี CPG เรื่องนั้น เรื่องนี้ที่ ER , น่าจะมีการเก็บตัวชี้วัดเพิ่มเติมตัวไหน และเรื่องไหนน่าจะนำไปพัฒนาเป็น CQI ได้ต่อไป 

- มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ มีนวัตกรรมต่าง ๆ เนื่องจากการทำ Tracer ต้องทำเป็นทีม ไม่ใช่เขียนคนเดียว จึงทำให้ทีมมองเห็นโอกาสพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น รวมทั้งมองเห็นโอกาสพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

- สามารถแสดงผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม  เพราะข้อ 3 เครื่องชี้วัดสำคัญและการใช้ประโยชน์ ต้องแสดงเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

- มองเห็นโอกาสพัฒนาในส่วนที่ยังไม่ได้ทำ หรือคิดว่าน่าจะทำ เพราะพอเขียน Clinical Tracer ทำให้เรามองเห็นว่าต้องทำอะไรเพิ่มเติมจึงจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการดูแลผู้ป่วย

- สื่อสาร , ถ่ายทอดกระบวนการการดูแลผู้ป่วยโรคดังกล่าวให้เห็นคุณภาพของการดูแลทุกขั้นตอน อย่างกระทัดลัด แต่ถ้าต้องการดูรายละเอียดก็ต้องมีให้ดูทุกเรื่องเหมือนกันจากฉบับรวมเล่มหรือสามารถดูเครื่องมือคุณภาพที่ใช้ ณ จุดต่าง ๆ จริง    

จะมีวิธีเลือกเรื่องที่จะทำ Clinical Tracer อย่างไร 

1.      เรื่องที่ทำต้องเป็นเรื่องที่ทีมงานให้ความสำคัญ เช่น เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง , เป็นโรคที่พบบ่อย , เป็นโรคที่เป็นปัญหาระดับ PCT หรือระดับโรงพยาบาล เป็นต้น

2.      ถ้าเริ่มทำ Clinical Tracer ใหม่ ๆ (เรื่องแรก) น่าจะเลือกทำโรคที่พัฒนาการดูแลได้ดีแล้วระดับนึงก่อน  เช่น มี CQI , มีการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วยที่ดีพอสมควรก่อน จะเขียนได้เข้าใจง่าย เขียนด้วนความเข้าใจสามารถเล่าสิ่งดี ๆ ที่เราทำและใช้เวลาน้อยกว่าเพราะทำจริง และทีมงานจะได้ไม่ท้อแท้ซะก่อน  เพราะ จะเล่าได้ง่ายกว่า

3.      เรื่องต่อ ๆ ไป ค่อย เอาเรื่องที่ท้าทาย เช่น เป็นโรคฉุกเฉิน , โรคเรื้อรังซับซ้อน โรคที่ยังเกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ไม่ดี เพราะพอเริ่มวางแผนที่จะทำก็จะเห็นโอกาสพัฒนาที่จุดต่าง ๆ มากมาย เหมือนเป็นการ Plot เรื่อง แล้วไปกำกับการแสดงตามที่ Plot ไว้ แล้วค่อยติดตามผลลัพธ์ตามมาทีหลังก็ได้  ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้นทันทีและ ครอบคลุมความเสี่ยง ณ จุดให้บริการมากขึ้นกว่าเดิม 

ปัญหาที่พบบ่อย

         ไม่รู้จะเริ่มเขียนอย่างไร  (ฉะนั้นอย่ายึดติดรูปแบบเกินไป ให้เขียนเป็นธรรมชาติ)

         เขียนดีแต่ไม่ได้ทำจริง  คนทำไม่ได้เขียน คนเขียนไม่ได้ทำ แบบนี้ Tracer จะเป็นแค่ตัวหนังสือที่ไม่มีการพัฒนาต่อไป (ต้องทำและเขียนกันทั้งทีม ทุกจุดที่ดูแลให้บริการต้องประชุมและเข้าใจ Flow ของการดูแลผู้ป่วยเหมือนกัน)

         เขียนพื้น ๆ มีแต่ CPG , คู่มือต่าง ๆ   ไม่มี CQI ,นวัตกรรม , หรือพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ หลากหลายในการดูแลผู้ป่วย ทำให้อ่านแล้วไม่เห็นคุณภาพที่ชัดเจน 

         เริ่มเขียนเรื่องยาก ซับซ้อน ผลลัพธ์ยังไม่ดี  ทำให้ทีมงานท้อแท้ได้

         ปัญหาเรื่องการเก็บตัวชี้วัด เช่น 1)ไม่มีการเก็บตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง หรือไม่มีการติดตามผลก็จะเหมือน Tracer ที่ตายสนิทไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ Clinical Tracer   2) เรื่องที่เริ่มทำ ยังไม่มีตัวชี้วัดจะเขียนอย่างไรดี   ถ้าเริ่มเขียน Tracer  จะรู้ว่าประเด็นไหน ควรจะเก็บตัวชี้วัดอะไรบ้าง ก็เขียนมาก่อนว่าจะเก็บตัวชี้วัดอะไรโดย Blank ผลลัพธ์ไว้ก่อน ข้อมูลผลลัพธ์จะออกตามมาทีหลัง 4-6 เดือนต่อมาก็คงไม่เป็นไรค่อยเติมทีหลัง  3) บางหน่วยงานต้องเก็บตัวชี้วัดจาก Clinical Tracer มาก ยกตัวอย่างเช่น ER โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีหลาย PCT   ทีม ER ต้องเก็บตัวชี้ Clinic Tracer หลายตัวมากให้กับทุก PCT เพราะเกือบทุก Tracer ต้องมีการให้บริการที่ ER ซึ่งเป็นภาระมากในการเก็บ เรื่องนี้คงเป็นปัญหาของ ER , OPD เกือบทุกที่ คงต้องเลือกตัวที่สำคัญ เก็บง่าย ไม่เป็นภาระมาก เรื่องนี้ต้องแล้วแต่ Tactic ของแต่ละที่ครับ แต่น่าเห็นใจจริง ๆ       

         เขียนทีเดียวแล้วหยุดพัฒนา  ควรต้องมีติดตามผลลัพธ์ ตัวชี้วัด มีการปรับปรุง พัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง และควร (Revise) บ่อย ๆ ทุก ๆ 4-6 เดือน Version ใหม่ขึ้น จะเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้บาง Clinical Tracer พัฒนาไป Version ที่ 3 หรือ 4 แล้ว ซึ่งจะมีคุณภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ 

กรอบในการเขียน Clinical Tracer

1.      บริบท

2.      ประเด็นสำคัญความเสี่ยงสำคัญ

3.      เครื่องชี้วัดสำคัญและการใช้ประโยชน์

4.      กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

5.      การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง    

1.      บริบท     ให้เน้นเป็นบริบทของโรคมากกว่าบริบทของโรงพยาบาล   อาจระบุ สถิติต่าง ๆ ของโรค ประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่นเป็นโรคที่มีผู้ป่วยมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก (Top 5 ) , เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง , เกิดอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์บ่อย , มีการ Re-admit บ่อย , ผลการรักษาที่ผ่านมา ,กลุ่มอายุ ,เพศ ,ค่าใช้จ่ายสูง ความต้องการของผู้รับบริการ ,ลักษณะของกลุ่มผู้รับบริการ ,จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่มี , เครื่องมือพิเศษที่ใช้ เป็นต้น

  2.      ประเด็นสำคัญความเสี่ยงสำคัญ   ควรเลือกประเด็นความเสี่ยงที่เราให้ความสำคัญโดยระบุชัดเป็นข้อ ๆ ไม่ควรมากเกินไป ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควรไปปรากฏอยู่ในเป้าหมาย เครื่องชี้วัดสำคัญ กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ และการพัฒนาต่อเนื่องด้วย  

3.      เครื่องชี้วัดสำคัญและการใช้ประโยชน์

         ระบุเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วย เครื่องชี้วัดที่ทีมใช้ในการ monitor ความก้าวหน้าของการพัฒนาและความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งควรจะสอดคล้องกับเป้าหมาย ครอบคลุมประเด็นสำคัญหรือความเสี่ยงสำคัญในข้อ 2. ด้วย 

         การนำเสนอข้อมูลเครื่องชี้วัดที่ติดตามต่อเนื่องอาจนำเสนอในรูปแบบของ run chart หรือ control chart   ตอนนี้มีหลายที่พัฒนาการแสดงผลลัพธ์เป็นข้อมูลเชิงสังเคราะห์ เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นกราฟ และมีคำอธิบายใต้กราฟว่าเกิดการเปลี่ยนปลงอะไรขึ้น ช่วงไหน เพราะอะไร มีการใช้เครื่องมือคุณภาพอะไรจึงทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้น  

4.      กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ          

4.1      กระบวนการพัฒนาคุณภาพเป็นส่วนที่สรุปย่อว่ามีการใช้กระบวนการคุณภาพ (เครื่องมือคุณภาพต่าง ๆ) ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยรายนี้มีอะไรบ้าง เช่น CQI , Clinical CQI ,นวัตกรรม  ,CPG , Evidence Base Data , Peer review ,WP / WI , Care MAP , Clinical Risk , มาตรฐาน ,  คู่มือต่าง ๆ  เป็นต้น(ส่วนนี้อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะถ้าเป็นเรื่องที่ยังไม่มีกระบวนการคุณภาพอะไรมาก ก็อาจข้ามไปเขียนกระบวนการเลย)

4.2      กระบวนการดูแลผู้ป่วย เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดใน Tracer เพราะจะเป็นการเล่ากระบวนการคุณภาพทั้งหมด     ที่ รวบรวมมาโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เครื่องมือที่ใช้ให้เขียนย่อสรุป แต่ละเรื่องเป็นการสรุปไม่ควรเกิด 4-5 บรรทัด โดยเล่ากระบวนเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มเข้า (Entry) จนออกจากโรงพยาบาล การเล่ากระบวนการอาจเล่าได้หลายรูปแบบ เช่น เน้น Process เป็นหลัก อาจเขียนเป็น  Entry , Assessment , Planning , Care Delivery , การดูแลต่อเนื่อง     หรือถ้าเน้นจุดบริการเป็นหลักขั้นตอนจะเป็น การดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน / ห้องตรวจ , การดูแลผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยใน (ซึ่งอาจแยกกระบวนการย่อยได้อีก) , กระบวนการติดตามการดูแลต่อเนื่อง         หรือถ้าเน้นกระบวนการให้การรักษา อาจเขียนเป็น  การดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด , การดูแลผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด , การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด , การดูแลต่อเนื่องหลังจำหน่าย (เหมือนตัวอย่าง Clinical Tonsillectomy ที่เคยนำเสนอไปก่อน) เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทของโรค และความถนัดของผู้เขี่ยนที่คิดว่าโรคที่ดูแลอยู่นี้ควรสื่อการดูแลเป็นขั้นตอนแบบไหนจะสื่อได้ดีและครอบคลุมที่สุด             

 4.3      ระบบงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง           เป็นกระบวนการคุณภาพที่เป็นคู่ขนานกับคุณภาพหลัก  ส่วนใหญ่เป็น          ระบบต่าง ๆ ที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น

- ระบบ การส่งต่อ ระบบการดูแลต่อเนื่อง ระบบการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

- ระบบงานสนับสนุนบริการ เช่น ระบบสำรองเครื่องมือช่วยชีวิต ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน

- ระบบการบันทึกเวชระเบียน 

5.      การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

         ให้มองหาว่าอะไรคือสิ่งที่คิดว่ายังขาดในส่วนกระบวนการ  คุณภาพในเรื่องนี้ก็ต้องหาโอกาสพัฒนาต่อไปให้ครอบคลุม ซึ่งผลลัพธ์คงออกมาใน Version ต่อ ๆไปก็ไม่เป็นไร

          ระบุว่ามีแผนที่จะพัฒนาในเรื่องนี้ต่อเนื่องอย่างไร มีวัตถุประสงค์และกำหนดเวลาอย่างไร

         เรื่องที่เพิ่งพัฒนาการดูแลจะสามารถมองเห็นโอกาสและมีแผนที่ต้องพัฒนาต่อไปอีกหลายเรื่อง        

 การสื่อสารหรือเล่า Clinical Tracer ด้วยภาพ โดยเล่ากระบวนการดูแลผู้ป่วยการใช้เครื่องมือคุณภาพในรูปแบบต่าง ๆ โดยสื่อสารเป็นภาพอธิยาบขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน จะทำให้สื่อสารให้ผู้ฟังเห็นภาพตามกระบวนการ ให้ได้มาซึ่ง Clinical Tracer เรื่องนั้น ๆ ได้ชัดเจนขึ้น  ทั้งนี้เพื่อเกิดประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในองค์กร และจะช่วยทำให้ทีมที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ Clinical Tracer มองเห็นหลักการทำและการเขียน Tracer ได้ง่ายขึ้นมาก

เฉลิมพงษ์ สุคนธผล             

หมายเลขบันทึก: 80609เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2007 02:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ยากที่สุดคือการเขียน..โดยไม่รู้วัตถุประสงค์.จริงๆค่ะ..เขียนไปน้ำท่วมทุ่ง...
  • ยากที่สุดคือการที่มีข้อมูลเยอะมากๆแล้วไม่รู้จะเขียนให้น้อยลงได้อย่างไรค่ะ..ขาดเทคนิคค่ะ
  • ดิฉันได้สาระจากClinical tracer นี้มากๆค่ะ...อาจจะได้ใช้คราวRe-accredition งวดนี้ค่ะ..ท้าทายมาก...จะเอาที่อาจารย์หมอสอนไปใช้
  • ขอบพระคุณค่ะ

อ่านแล้ว get ขอนำไปเล่าให้คนในรพ. ฟังนะครับ

อ่านง่าย เข้าใจง่ายดี ขอนำไปเล่าต่อนะครับ..ขอบคุณครับ และจะลงมือเขียนเดี่ยวนี้เลย....

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วเกิดความคิด

คิดถึงเด็กน้อยค่ะ

เด็กน้อยที่มีปัญหา เพราะได้แง่คิดว่า

เราน่าจะบันทึกถึงเด็กน้อย

โดยนำประเด็นตรงนี้ไปปรับ

ขอยืมใช้นะคะ

กรอบในการเขียน Clinical Tracer

1.      บริบท

2.      ประเด็นสำคัญความเสี่ยงสำคัญ

3.      เครื่องชี้วัดสำคัญและการใช้ประโยชน์

4.      กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

5.      การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง    

ขอบคุณค่ะ

อ่านแล้วรู้สึกได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น ขอนำข้อความนี้ไปกระจายต่อนะค่ะอาจารย์ ต้องการให้ได้ประโยชน์กับทุคนมากที่สุดค่ะ

มือใหม่หัดเขียน  ได้รับมอบหมายให้เขียนส่งของหน่วยงาน  จะลองเขียนโดยใช้ Guideline  ของอาจารย์เพื่อนำเสนอ  PCT  อีก 3 วัน ได้ผลยังไงจะแจ้งให้ทราบนะคะ

เคยเขียนแล้ว เขียนแบบศึกษาไปเรื่อยๆ

ตอนนี้เข้าใจมากขึ้นจะนำไปใช้ในการครั้งต่อไปคะ

 

ขอบคุณคะ

สวัสดีครับหมอ

คนเปล ขอมาเรียนรู้การตามรอยทางคลินิก คนหลังเขาจะได้มีส่วนร่วมทำงานคุณภาพด้วย

สวัสดีครับหมอ

คนเปล ขอมาเรียนรู้การตามรอยทางคลินิก คนหลังเขาจะได้มีส่วนร่วมทำงานคุณภาพด้วย

clinical tracer เวลามองภาพเหมือนเข้าใจนะค่ะ แต่พอเริ่มต้นเขียน ไม่รู้จะเล่าอย่างไรให่มองเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ได้แต่สงสัยว่าตรงนี้ต้องเขียนหรือไม่ค่ะ ขอบคุณค่ะ ผอ

ร.พ.กระบี่ รับการ Re-ac ครั้งที่ 3 เมื่อ 29-30 ส.ค.56  ต้องเพิ่ม tracer 2-3 เรื่องต่อสาขา  ขอนำสิ่งดีๆจากคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้นะคะ  ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำอธิบายที่ดี ทำให้มีกำลังใจที่จะลองเขียนนะคะ มือใหม่หัดเขียนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท