" เนียงกวง " การคงอยู่


หวังว่าพันธุ์นี้จะอยู่รอดปลอดภัยจากรุ่นสู่รุ่นและสู่อนาคตเหมือนการให้พรแก่ข้าวในการเดินทางผ่านกาลเวลาแต่ละช่วง

   

       เสาร์ที่ผ่านมา ฉันไป ตลาดนัดสีเขียวที่จัดเป็นประจำในทุกเสาร์ อาหารปลอดสารเคมี ที่เป็นเครือข่ายชาวบ้านเกษตรกรรมทางเลือกสุรินทร์  แต่เสาร์นี้พิเศษ มีงานจัด “ บายสีสู่ขวัญเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น “  ในงานก็มีนิทรรศการพันธุ์ข้าวพื้นบ้านและเกษตรกรรมยั่งยืน การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงเจรียง

       งานจัดบริเวณสวนรักษ์  เป็นสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว ที่มีสระน้ำกว้าง และมีเวทีถาวรคนที่มาขายของก็เป็น เกษตรกรรายย่อยที่อยู่รอบๆเมือง ปลูกผัก กล้วย มะพร้าว ไข่เป็ด ไข่เค็ม ปลาทอด ปูปิ้ง ไข่มดแดง ข้าวสาร น้ำสมุนไพร  เพาะกล้าไม้ หรือขนมพื้นบ้านอย่างขนมเนียล ที่นึ่งด้วยกะลา มีข้าวเหนียวกับมะพร้าว น้ำตาล กินร้อนๆอร่อยดี

    คนในเมืองสุรินทร์ก็มาจับจ่ายตลาดสีเขียวประจำ คนจะเยอะช่วงเช้า สาย  เที่ยงก็ลาแล้ว ของที่นำมาส่วนมากจะหมด  ฉันเคยคุยกับคนขาย เกษตรกรคนหนึ่ง ว่าเขาพอใจที่ได้มาขายอาหารปลอดสารเคมี และรายได้ก็ดีมาก  แต่ละเสาร์ก็จะได้ 2,000 -3,000 บ. บางคนก็ปลูกส้มโอ ขายอย่างเดียว ก็ขายหมด จนต้องสั่งซื้อล่วงหน้า

     จากการฟังเสวนา  ทำให้รู้ว่า บ้านเรามีพันธุ์ข้าวกว่า 9 หมื่นสายพันธุ์ สูญหายไปก็มากมีบรรษัทข้ามชาติเข้ามามีบทบาทปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่เพื่อ

นำไปสู่การจดสิทธิบัตร การค้าแบบผูกขาด

     การบายศรีสู่ขวัญเมล็ดพันธ์ท้องถิ่น ครั้งนี้  หวังจะปกป้องพันธุกรรมท้องถิ่น ให้เป็นฐานทรัพยากรที่มีคุณค่าของชุมชน เป็นความมั่นคงทางด้านอาหารและความสามารถในการพึ่งตนเองของ

เกษตรกรรายย่อย

     จังหวัดสุรินทร์เอง ปัจจุบันมีพันธุ์ข้าวดั้งเดิมเหลืออยู่ ประมาณ 30 สายพันธุ์ส่วนมากเป็นข้าวเจ้าข้าวเหนียวน้อยเพราะเขตนี้นิยมข้าวเจ้า

เป็นหลัก

      ชื่อพันธุ์ข้าวที่น่าสนใจ คือ   ข้าวเนียงกวง  คำว่า   เนียงกวง  หมายถึง การคงอยู่   เชื่อว่าเป็นข้าวมงคล ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในงานบุญพิธีต่างๆ

      ฉันนึกถึงคนโบราณ ที่ใช้คำว่า “ การคงอยู่ “ มาตั้งชื่อให้ “ ข้าว “  เป็นความคาดหวังของบรรพบุรุษที่หวังว่าพันธุ์นี้จะอยู่รอดปลอดภัยจาก

รุ่นสู่รุ่นและสู่อนาคตเหมือนการให้พรแก่ข้าวในการเดินทางผ่านกาลเวลาแต่ละช่วง

ข้าว ที่ถือว่า เป็นสิ่งสูงสุดของชาวนาเรา

       เหมือนที่ คนแก่ คนเฒ่า จะอวยพรว่า ...”  .อยู่รอดปลอดภัยนะลูก  ....กับสิ่งที่เขาอยากให้ความรัก และอาลัยอาวรณ์.......

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 80572เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะคุณหน่อย  แวะมาทักทายและเป็นกำลังใจค่ะ  

ตอนนี้เรามี "เครื่องมือ" ที่จะอนุรักษ์พันธุ์ข้าวและวิถีชีวิตพื้นบ้านไม่มากนัก    "ประเพณี" จึงมีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจการเมืองด้วย (มอง "แข็ง" เกินไปรึเปล่าคะ)   แต่ถ้าประเพณีไม่ได้รับการสืบทอดต่อ   เราจะทำอย่างไร

"การท่องเที่ยว" และ "การศึกษาเรียนรู้ (ทั้งในและนอกระบบ)"  จะช่วยได้แค่ไหนนะ

คะน่าหนักใจนะคะ.....

  แต่ในชุมชนเอง การสืบทอดวัฒนธรรมก็เป็นไปตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล

   วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่คงอยู่ มักจะมาจากเรื่องเล่าของบรรพบุรูษ ....อย่างสุรินทร์

หรือทุกที่ ก็จะมีการไหว้ บรรพบุรุษ  ผูกพัน ถ่ายทอด สืบทอด ทำทุกปี ไม่ทำไม่ได้...ไม่สบายใจ

  งาน  แซนตา แซนยาย  / วันโดนตา  ลูกหลานที่อยู่กรุงเทพ อยู่ไหน ก็ต้องกลับมาบ้าน มาไหว้ ตา ยาย

   พิธีกรรมแบบนี้ ก็ทำให้คนรุ่นใหม่ ซึมซับ กันไปและปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของครอบครัวและทั้งชุมชน

  ขอบคุณที่ อ. มาเยี่ยมคะ  ไป นครศรีฯ เหนื่อยมั้ยค่ะ

ดีที่ อ. ได้พักผ่อนค้างคืน  ครั้งก่อน หน่อยไปกับเพื่อนสองคนคะ...จาก กทม. ไป นครศรีฯ 

ไป เช้า กลับ หกโมง เย็น ...เพื่อนน่ะรีบกลับคะ  หน่อยก็เลย แฮ่กๆ ตามเพื่อนไปด้วย  ไปเยี่ยมเพื่อนรุ่นเดียวกันที่ไม่สบายน่ะคะ 

  • การตั้งชื่อพันธุ์ข้าวเช่นนี้  ถือเป็นความชาญฉลาดของบรรพชน  และถือเป็นกุศโลบายของการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวที่ดียิ่ง
  • ผมจำไม่ได้ว่าในไตรภูมิพระร่วงเขียนถึงข้าวพันธุ์หนึ่งที่น่าสนใจมาก  ผมจำไม่ได้ว่าเรียก สารีนะ หรือเปล่า...
  • มีตำนานกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ  ถ้าผมมีเวลาอาจค้นมาเพิ่มเติมนะครับ
  • การทำนาของคนอีสาน  ไม่ใช่อาชีพ  แต่เป็น "วัฒนธรรม"  ใครสักคนหนึ่งพูดในทำนองนี้นานมาแล้ว
  • ขอบคุณครับ

น่าสนใจมากคะ กุศโลบายของบรรพชน  คำที่มีความหมาย

คำที่เป็นการยกย่อง คำที่เป็นการให้ความสำคัญ

มันหมายถึงสิ่งที่มีค่า....ฝากให้ลูกหลาน

................................

การทำนาของคนอีสาน  ไม่ใช่อาชีพ  แต่เป็น "วัฒนธรรม"

    ลึกซึ้งมากคะ  อาชีพ เป็นคำดาดๆ ...แต่วัฒนธรรมนี่

ใช่เลยคะ  

   มีเพื่อนเล่าให้ฟัง เรื่องความรู้สึก ของการทำนา

ห นุ่มสาว วัยทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไปรับจ้างตัดอ้อย ก่อสร้าง...งานโรงงาน

แต่เมื่อฤดูทำนามาถึง  วิญญาณ ความรู้สึกในตัวแต่ละคน จะรู้สึกถูกเรียกให้กลับบ้าน

ไม่ใช่กลับโดยหน้าที่ แต่กลับด้วยความรู้สึกที่เรียกร้อง

กลับมาหาความสุข กลับมาอยู่กับท้องนา 

  •  ขนมแบบนี้ไม่รู้จักอยากเห็นภาพครับผม
  • นมพื้นบ้านอย่างขนมเนียล ที่นึ่งด้วยกะลา มีข้าวเหนียวกับมะพร้าว น้ำตาล กินร้อนๆอร่อยดี

คะๆ จะพยายามคะ

แต่อร่อยจริงๆ  ไม่ต้องรอดูรูปหรอกคะ

มางานวัดเด็กรักป่าเลยคะ  เห็นสดๆ กินร้อนๆหน้าเตา 

ถึงคุณดอกแก้ว บังเอิญเมื่อวานคุณภาคภูมิ สมาชิกเกษตรกรรมธรรมชาติบ้านโดนเลง ต.ทมอ อ.ปราสาทผมได้พาไปพบพ่อผึ้ง  อินแป้น อายุ 79 ปี ได้เล่าให้ฟังเรื่องข้าวพื้นเมืองจดมาได้ 19 พันธุ์ บางพันธุ์ก็พอจะหาได้  หลายพันธุ์หายไป สำหรับเนียงกวงนั้นพ่อผึ้งบอกว่ามี 4 ชนิด เนียงกวงกะเบิอดมุก (เนียงกวงปิดตา) เนียงกวงอัดยกระเบือย (เนียงกวงขี้ควาย)  เนียงกวงละอองกษัตริย์ (เนียงกวงละอองทราย)และเนียงกวงปะกาสนูน (เนียงกวงดอกสนวน)แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น เนียงกวงกะเบิอดมุก ดีตรงที่นกไม่ค่อยทำลายคล้ายๆ ถูกปิดตาเนื่องจากใบธงของพันธุ์นี้ตั้งตรงสูงกว่ารวงนกจึงมองไม่เห็น น่าสนใจอีกหลายๆพันธุ์ ถ้าไม่มีคนให้ความสำคัญก็คงจะหายไป

สวัสดีคะ

      ขอโทษ นะคะ ตอบช้า   ไม่ค่อยได้มาดู ข้อเขียนเก่าคะ

      ยินดีที่ คุณ ณราวุฒิ มาแลกเปลี่ยนเรื่อง เนียงกวง

คะ น่าสนใจ...แนวคิด ความคิด ประเพณีข้าวของเรา

 ถ้าไม่มีคนให้ความสำคัญก็คงจะหายไป

ก็จริงคะ 

ไม่ทราบว่าพอจะมีแหล่งปลูกไหมครับ อยากได้เมล็ดพันธุ์มาปลูกขอข้อมูลชี้แนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท