ตารางอิสรภาพของนครศรีธรรมราช?


กศน.ทำหน้าที่เป็นหน่วยจัดการความรู้กลางของอำเภอได้เป็นอย่างดี

ผมเห็นว่าในทีมงานKM 5 หน่วยงานหลักคือกศน. เกษตร พช. สธ.ปกครอง   ร่วมกับเครือข่ายยมนาแต่เดิมนั้น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้เชื่อมโยงหน่วยงานอื่นๆให้เข้ามาร่วมเรียนรู้งานKMเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นพมจ. แรงงาน สปก. เป็นต้น ขณะเดียวกันในส่วนขององค์กรชุมชนก็ได้มีการเชื่อมโยงกันจัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานกลางองค์กรภาคประชาชนโดยมีเครือข่ายยมนาเป็นแกนสำคัญ    ซึ่งต่อไปจะบูรณาการกันทั้งภาครัฐและชุมชนทั้งจังหวัด

สำหรับการเคลื่อนงานผ่านBlog คุณลิขิตถือเป็นคนสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูล ความรู้และปรีชาญาณจากพื้นที่ มีทั้งให้และรับ ซึ่งผมเห็นว่าทีมงานกศน.สามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยจัดการความรู้กลางของอำเภอได้เป็นอย่างดี เพราะกศน.มีภารกิจเรื่องการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

จึงควรทำตารางอิสรภาพประเมินกันดูว่าบุคลากรของกศน.ควรมีคุณลักษณะและทักษะความรู้ในเรื่องอะไรบ้างเพื่อทำบทบาทดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มุมมองของผมแบ่งเป็น3ระดับ

ชั้นต้นคือครูความรู้ของของคุณกิจที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ ธุรการประสานวิทยากร เป็นต้น ก็แบ่งได้อีกว่า เป็นชั้นต้นระดับ A,B,C,D

ชั้นสูงคือครูกระบวนการของคุณกิจที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพ ทำหน้าที่เป็นนักจัดการความรู้ ประสานเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้และวิทยากรให้ความรู้เพื่อสนับสนุนให้คุณกิจเกิดการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ จะมองผลลัพท์ของนักเรียนว่าสำเร็จหรือไม่คือใช้ประโยชน์ได้จริงหรือบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ใช่ได้สอนครบหรือสอบได้ตามหลักสูตร

ชั้นสูงสุดคือครูกระบวนการของคุณอำนวยที่มาจากหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องกับคุณกิจในเรื่องต่างๆคือ เป็นครูของครูอีกทีหนึ่ง มิใช่เป็นครูในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป็นครูกระบวนการเรียนรู้ซึ่งใช้ได้กับทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม           ครูกระบวนการ ก็ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องราวต่างๆอย่างรอบด้านด้วย

สรุปคือ เป็นคนใฝ่เรียนรู้และมีความสามารถสูงจนเป็นครูของครูได้

 

สำหรับเกษตรตำบลก็ควรเป็นนักจัดการความรู้ในเรื่องของคนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

ชั้นต้นคือครูความรู้ของคุณกิจที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้ ธุรการประสานวิทยากร เป็นต้น

ชั้นสูงคือครูกระบวนการของคุณกิจที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพ ทำหน้าที่เป็นนักจัดการความรู้ ประสานเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้และวิทยากรให้ความรู้เพื่อสนับสนุนให้คุณกิจเกิดการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

ชั้นสูงสุดคือครูกระบวนการของคุณอำนวยของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเกษตรคือ เป็นครูของครูอีกทีหนึ่ง    ซึ่งต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องของคนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างรอบด้านและลึกซึ้งด้วย

หน่วยงานอื่นๆก็เช่นเดียวกัน

 

พัฒนาชุมชนและอนามัยก็เช่นเดียวกัน

ผมคิดว่าเมื่อเราได้ฝึกฝนเครื่องมือธารปัญญากันแล้ว    ก็น่าจะได้ลงมือปฏิบัติดู

คำสำคัญ (Tags): #km#เมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 80410เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ.ภีม ครับ

  • ครูความรู้ของคุณกิจ ครูกระบวนการของคุณกิจ และครูกระบวนการของคุณอำนวยชุมชน เป็นอีกวาทกรรมหนึ่งของ KM เมืองนคร นะครับ
  • ครูความรู้ของคุณกิจ เดี๋ยวนี้ตกกระแสไปแล้วครับ เพราะคุณกิจเขาเก่งๆทั้งนั้น เขาต้องการแต่ครูกระบวนการ และครูกระบวนการของคุณอำนวยชุมชนทั้งนั้น แต่ไม่วายที่หลายหน่วยงานยังรวมทั้ง กศน.ด้วยยังเอาความรู้แห้งๆ ไม่สดใหม่อัพเดท ไปบอกความรู้เขา เพิ่งระยะหลังๆนี่แหละครับที่ได้มีการเล่าแลกโดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น แต่ก็ยังกระเพื่อมได้น้อยอยู่
  • ผมได้เอาตัวเองเป็นตัวทดลอง ไปเรียนรู้กับภาคประชาชน เพื่อพัฒนาตนเองให้ไปถึงขั้นครูกระบวนการ และครูกระบวนการของคุณอำนวยชุมชนในระยะต่อไป โดยไปร่วมวงเรียนรู้ ฝึกฝนกับผู้แกร่งวิชา ซึ่งเป็นวิชาจากประสบการณ์จริงในเครือข่ายพัฒนาภาคประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เห็นความสามารถของพวกเขาแล้ว ผมว่าเขาเป็นครูฝึก แหล่งฝึก ให้กับบุคลากรทั้ง 5 หน่วยงานที่อาจารย์ว่าได้อย่างดี จึงอยากจะให้ได้ไปเป็นนักเรียนในวงเรียนรู้นี้ครับ มีประโยชน์มากจริงๆ การไหลความรู้ประสบการณ์ ทักษะความสามารถของฝ่ายต่างๆก็จะเป็นท่อใหญ่ที่ไม่มีช่องว่างครับ เชื่อมเป็นวงเรียนรู้เดียวกันได้ในที่สุด แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือก้าวเข้าไปเป็นผู้เรียนนะครับ เข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมการเรียนรู้ของภาคประชาชน ไม่ใช่ไปทำเป็นคุณอำนาจจนทำให้เขาเสียขบวน จึงอยากจะให้สิ่งดีๆของเครือข่ายพัฒนาภาคประชาชนได้เป็นโรงเรียน แหล่งฝึกสมรรถนะต่างๆ อย่างที่ครูบาสุทธินันท์ ทำที่สวนป่าสตึกบุรีรัมย์ครับ หวังมากไปหรือเปล่านี่
  • หลักสูตรต่อไปที่จะพัฒนาบุคลากร กศน. หรือของหน่วยงานที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายจัด KM เมืองนคร อย่างที่อาจารย์เสนอว่าควรเป็นหลักสูตรฝึกทำตารางอิสรภาพประเมินกันดูว่าบุคลากรของกศน.และหน่วยงานอื่นๆควรมีคุณลักษณะและทักษะความรู้ในเรื่องอะไรบ้างเพื่อทำบทบาทดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาอย่างยิ่งสมรรถนะที่เป็นสมรรถนะในหน้าที่ตำแหน่ง ซึ่งเป็นงานหน้างานของตน จะได้ไม่รู้สึกว่าฝึกเรื่องใหม่ แต่ต่อยอดหรือเชื่อมไปจากตำแหน่งหน้าที่ที่ครองอยู่ เช่น ครูอาสาฯ ครูศูนย์การเรียนชุมชน ข้าราชการครู ผอ.กศน. เมื่อมีสมรรถนะอย่างนี้แล้วงานในหน้าที่ก็สำเร็จ งานอื่นอย่างแก้จนเมืองนครก็จะดียิ่งขึ้น คนทำก็ยิ่งชำนาญการ เชี่ยวชาญ มีผลงานเชิงประจักษ์ไม่ใช่ซีใหญ่เงินเดือนสูงแต่กลวง หาผลงานรองรับไม่ได้
  • อยากให้อาจารย์ผลักดันเรื่องนี้ได้สำเร็จเร็วไวนะครับจะเกิดอานิสงส์กับเมืองนครมากมาย ขอเป็นกำลังใจ
  • ย้ำว่าต้องไม่ใช่ยุคของครูความรู้แล้วนะครับ ปล่อยเรื่องนี้ให้เป็นของคุณกิจ คนอื่นจะไปรู้ดีเป็นพระเอกแทนชาวบ้านซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างไร ต้องก้าวข้ามมาเป็นครูกระบวนการ และครูกระบวนการของคุณอำนวยเป็นที่หมายนะครับ ต้องตั้งธงสร้างสมรรถนะกันอย่างนี้
  • ขอบคุณบันทึกนี้นะครับที่ทำให้ผมปิ้งได้หลายเรื่อง
หนึ่งตะวัน ศบอ.ปากพนัง

สวัสดีค่ะอ.ภึม  ขอบคุณมากน่ะค่ะที่เข้ามาเยี่ยม และทักทาย  ค่ะก็ขอขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะของอ.ภีมมากค่ะ จะได้นำมาปรับปรุงและแก้ไข  อย่างไรแล้วก็ยินดีรับข้อเสนอแนะค่ะ

อ.จำนงครับ ที่จริงครูความรู้ก็ยังมีความสำคัญอยู่ ผมเข้าใจว่า บทบาทหลักของหน่วยงานควรเป็นครูกระบวนการหรือนักจัดการความรู้

ภาพฝันในจินตนาการคือ (อ่านต่อในBlogของผมนะครับ)

คงได้เข้าไปเยี่ยมแพลนเนทปากพนังของอ.หนึ่งตะวันในไม่ช้านะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท