การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ


ปิยดา เคียง
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

วิธีการศึกษา
1) จัดทำมาตรฐานป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่เข้ารับการ รักษา ใน Spinal Unit โดยจัดทำในรูปแบบของการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ CQI ในปีงบประมาณ 2547

2) วิ เคราะห์ข้อมูล การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ทักษะของทีมพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อและความพึงพอใจของญาติผู้ป่วยใน การดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะในปีงบประมาณ 2548

3) ทำการประกันคุณภาพการพยาบาล และนำเอาหลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยต่างๆ เข้ามาพัฒนาให้เป็นรูปแบบมาตรฐานมากขึ้น

4) เปรียบเทียบข้อมูลก่อนการศึกษา( ปีงบประมาณ 2548) และหลังการศึกษา (ปีงบประมาณ 2549 ใน 6 เดือนแรก)

ผลการศึกษา
- พบว่า ก่อนทำการศึกษาอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ คิดเป็น 4.2 ต่อ 1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ หลังศึกษา อัตราการติดเชื้อลดลง 2.96/1,000 วันคาสายสวนปัสสาวะ ส่วนผลการประเมินทักษะของพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 97 และญาติมีความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะคิดเป็นร้อยละ 90

- การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สำคัญ คือ การล้างมือ อวัยวะสืบพันธุ์แห้ง ไม่อับปัสสาวะไหลออกตลอดเวลา และน้ำดื่มที่เพียงพอ ตลอดจนความร่วมมือจากทีมที่ให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งตัวผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ตลอดจนญาติผู้ป่วย สามารถช่วยลดการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่คาสายสวน ปัสสาวะได้ค่อนข้างมาก



จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 80386เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท