ปลุกยักษ์ที่หลับไหลในตัวเด็ก


การให้โอกาสเด็ก ของผู้ใหญ่ใจดี เป็นจุดเริ่มของ กระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างเยาวชนที่ดีให้กับชุมชน สังคม เริ่มจากจุดเล็กๆขยายผลไปสู่สังคมใหญ่ ร่วมคิด ร่วมสร้างสังคมเรียนรู้....
เวทีเสวนาชุมชนคนวิจัย แม่ฮ่องสอน มีงานวิจัยที่กำลังเคลื่อนตัวนำเสนอ

แลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นธรรมชาติในเวทีที่เราจัดขึ้นทุกเดือน <div style="text-align: center"></div> <div style="text-align: center">เด็กๆจีนยูนนานแม่ฮ่องสอน    จตุพร : ถ่ายภาพ </div>

</span><p>การนำเสนอความสำเร็จ หรือ ความขัดข้อง(บ้าง) ในการทำงานวิจัย จึงเป็นเวทีที่เต็มไปด้วยความชื่นชมและบรรยากาศแห่งมิตรภาพ ที่พร้อมให้กำลังใจการทำงานต่อเนื่อง ช่วยกันหาทางออกเมื่อมีปัญหา </p><p></p><p>งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ"เด็ก" ไม่ค่อยมี และทางศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน เราคุยกันบ่อยครั้งช่วงหลัง ในการพัฒนาศักยภาพเด็ก ให้เป็นนักวิจัย ที่เราเรียกว่า "นักวิจัยรุ่นเยาว์" </p><p></p><p>งานวิจัย   สิทธิเด็ก กับ ประวัติศาสตร์ชุมชน   ที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่ตอนนี้ที่แม่ฮ่องสอน มีคุณวิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และพี่เลี้ยงเด็กที่ร่วมทีมไปในตัว ไปประชุมที่ไหนก็เห็นภาพของคุณวิสุทธิ์ กระเตงเด็กๆเข้าร่วมเวทีเสมอ </p><p></p><p>ในเวทีครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เด็กๆก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเวทีเล่าเรื่องราวงานวิจัยของพวกเขาปลุกยักษ์ที่หลับไหลในตัวเด็ก" คุณวิสูทธิ์ กล่าวประโยคนี้ในวันที่นำเสนอความก้าวหน้างานวิจัย น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง</p><p>การสร้าง "ยุววิจัย เพื่อ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้"  ในเนื้อหางานวิจัยที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว กิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของเด็กกับชุมชน อาทิ การทำหนังสือทำมือ การถ่ายสารคดีท้องถิ่น การเปิดเวทีวิจัยที่นำเด็กๆจากหลากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปางมะผ้า มาเข้าร่วมพูดคุยกัน ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการแสดงตัวตน เป็นเวทีแห่งโอกาสของเด็กทั้งสิ้น </p><p>โดยจิตวิทยาเด็ก "ยักษ์" ที่หลับไหล น่าจะเป็น แรงขับจากข้างในของพวกเขา หากผู้ใหญ่มีกระบวนการปลุกที่เข้าใจ เด็กต้องการแสดงออก อยากเป็นผู้นำ หาพื้นที่ที่พวกเขาสามารถรวมกลุ่มได้อย่างเหมาะสม นี่เองเป็น Competency ของเด็กไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กที่ไหน...รอเพียงโอกาสที่ดีๆจากผู้ใหญ่ที่เข้าใจ</p><p>กระบวนการงานวิจัยเด็กที่เกิดขึ้น พี้เลี้ยงงานวิจัย ได้เล่าถึง การเกิดของ ๖ ส"  ได้อย่างน่าฟัง</p><p>๖ ส. ที่เกิดขึ้นในงานวิจัยเด็กได้แก่</p><ul>

  • ส่วนร่วม   เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างเด็ก ชุมชน และโรงเรียน สิ่งแวดล้อมที่รอบตัว
  • สร้างสรรค์  การเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก แสดงความคิดโดยเสรี มีอิสรภาพในการเรียนรู้
  • สันติวิถี  ภายใต้บรรยากาศการทำงานที่ยึดถือความสันติ สมานฉันท์ ของเด็กๆกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย
  • เสริมสร้างวินัยเชิงบวก  กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ช่วยหล่อหลอมเด็กให้เกิดวินัยเชิงบวก รับผิดชอบตนเองและสังคมได้
  • สอดคล้องกับวิถีเด็ก กระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กท้องถิ่น
  • สมอล (เล็กนั้นงาม) Small  is Beautiful  ไม่เน้นการทำงานกลุ่มใหญ่ๆที่อืดอาด แต่เกิดขึ้นจากกลุ่มเล็กที่เข้มข้นด้วยใจ และขยายต่อ 
  • </ul><p> </p><p>กระบวนการทางปัญญาที่เด็กๆในบทบาทยุววิจัย ในอำเภอเล็กๆแห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ และงดงามในวิถี </p><p>ในส่วนตัวผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า การให้โอกาสเด็ก ของผู้ใหญ่ใจดี เป็นจุดเริ่มของ กระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างเยาวชนที่ดีให้กับชุมชน สังคม เริ่มจากจุดเล็กๆขยายผลไปสู่สังคมใหญ่ ร่วมคิด ร่วมสร้างสังคมเรียนรู้….  </p><p> </p><h6 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เราทำได้ครับ</h6><h6 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h6><h6 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h6><h6 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h6>

    หมายเลขบันทึก: 80364เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2007 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (22)

    โอ้โห คุณเอกค่ะ

             โจทย์ยากมากเลยค่ะ สำหรับ 6 ส ที่ว่าเนี่ย  เพราะขนาดคิดทำให้ผู้ใหญ่ พี่ยังคิดว่ายากเลยนะคะ  แต่นี่ทำในเด็ก  คงต้องใช้พลังมากเป็น 2 เท่า

                แต่ก็ไม่แน่นะคะ  ทำในเด็ก อาจจะทำได้ง่ายกว่า เพราะเด็กคงเปิดรับ และเปิดใจ มากกว่าผู้ใหญ่ จริงไหมค่ะ

            เป็นกำลังใจให้เกิดงานวิจัยดี ๆ นะคะ

    เล็กนั้นงาม

    อิอิอิ..น้องเอกจะชมพี่เล็กก็บอกมาเถอะ ไม่ต้องโยกโย้ เฉไปเฉมา ร้อก...^______^..

    สำหรับพี่..พี่เห็นหนทางที่จะปรยุกต์และนำกลยุทธ์ 6 ส. ใช้กับการเริ่มต้นของ KM  ของหน่วยงานได้นะคะ กำลังจะต้องบรรยายเรื่องการเริ่มใช้ KM พอดี มาปิ๊งกับ 6 ส. ของน้องเอกซะแล้ว พี่เล็กต้องขอนำไปเผยแพร่บ้างนะคะว่าได้แนวคิดมาจากน้องชายที่ทั้งน่ารักและแสนเก่ง แถมหล่อเร้าใจอีกต่างหาก .... : )

    • ข้อสองนี่เกิดยากหน่อยนะครับ เพราะระบบการศึกษาไทยไม่ได้อำนวยให้เป็นอย่างนั้นครับ
    • (แวะไปเยี่ยมน้องคุณเอกแล้วครับ) :>

    พี่ คุณ รัตติยา เขียวแป้น

    อะไรที่ยาก จะเป็นโจทย์ที่น่าท้าทายครับ

    แต่ผมคิดว่าเด็กทำงานง่ายกว่าผู้ใหญ่ครับพี่ ผู้ใหญ่ทำงานด้วยยาก ซับซ้อนและซ่อนเงื่อนมากไป

    ขอบคุณกำลังใจครับผม

    พี่เล็ก ศุภลักษณ์ หิริวัฒนวงศ์

    ชมพี่เล็กด้วยครับ...และเป็นหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเด็กด้วย

    ผมติดตามอ่านบันทึกพี่เล็กในการทำ KM ในกลุ่มงาน ตื่นเต้น เร้าใจ และสนุกดี ได้สาระดีมากครับ

    ขอบคุณพี่เล็กมากครับ สำหรับคำชมครับผม

    Aj Kae

    ข้อสอง เป็นเป้าหมายที่ท้าทายครับ  และผมเห็นว่าในเมื่อโอกาสการศึกษาในระบบไม่เอื้อ เราก็ใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบได้ครับ

    ฝากไปเยี่ยมน้องสาวด้วยครับ ให้ข้อคิดเห็น และกำลังใจด้วย ผมก็พยายามกระตุ้นมานานครับ

    • เป็นกำลังใจให้ค่ะ....ไม่มีอะไรยากสำหรับอาจารย์ค่ะ...มีแต่ความท้าทาย
    • เพียงแต่อย่าจับยักษ์ไปไว้ในตะเกียงก็แล้วกันค่ะ
    จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

    ครับ เห็นด้วยครับ ที่ว่า ทำดีที่สุดและเตรียมรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หากไม่ดีเท่าที่ต้องการก็ทำใหม่

    ผมเห็นด้วยในการตั้งโจทย์ที่ท้าทาย และทำงานที่แปลกใหม่ เป็นประสบการณ์และฝึกการเรียนรู้ของตนเองและทีมงาน

    ปล่อยให้ยักษ์ที่หลับไหล ออกมาเริงระบำ ยิ้มร่ากันครับ

    ขอบคุณ คุณkead   มากครับ

    • น่าสนใจมาก
    • เคยทำวิจัยเกี่ยวกับเด็กๆ
    • เด็กๆทำวิจัยได้ดีมากครับ
    • ขอบคุณครับ
    แวะมาเยี่ยม  คิดถึง  ก้าวหน้าไปเยอะเลยนะ  อุดมการณ์ยังเข้มข้นไม่จางหาย  6 ส.น่าสนใจมาก  

    ทำวิจัยกับเด็ก อาจจะควบคุมได้ยากก็จริงแต่เราอาจจะได้ผลลัพท์ที่คาดไม่ถึงก็ได้...

    ผมมองว่า...ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก การพัฒนาเด็กน่าจะได้ผลลัพท์ที่ดีกว่าการพัฒนาผู้ใหญ่

    • ประเด็นประวัติศาสตร์ชุมชน   น่าจะเป็นจุดเริ่มที่ดีของยุววิจัย   คำถามที่น่าสนใจคือกระบวนการเรียนรู้ ที่ดึงดูดเด็กๆให้ร่วมค้นหาและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน  เป็นอย่างไร 

     

    อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ครับ

    เป็นยุทธศาสตร์ที่ทางแม่ฮ่องสอนกำลังคิดเคลื่อนตัวประเด็นนี้อยู่ครับ

    อาจารย์ ธเนศ ขำเกิด

    ขอบคุณท่านอาจารย์ครับ ช่วงหลังงานหลากหลายประเด็นขึ้น ผมก็มีโอกาสดีที่ได้เรียนรู้กับประสบการณ์เหล่านั้น

    ส่วน ๖ ส. เป็นการนำเสนอ กระบวนการดำเนินงานของทีมวิจัยครับ ...น่าสนใจมากครับ

    คุณ Mr.Direct

    ผมเห็นทีมวิจัย เขามีความสุขครับ และเห็นเด็กที่ร่วมทีมสนุกสนานกันดี

    ผมเข้าใจ เรื่องของกระบวนการเรียนรู้ที่มีผลโดยตรงกับวัย เช่นเดียวกับคุณ นะครับ

    อาจารย์ เม็กดำ 1

    คำถามตรงนี้สำคัญมากครับ...ผมได้ติดตามโครงการวิจัยนี้ ผมพอจะเห็นจุดดึงดูดให้เด็กเข้ามาร่วมกิจกรรม

    • คุณวิสุทธิ์พัฒนาจากกลุ่ม เด็กที่เป็นชมรม อาคิวโด ที่ คุณวิสุทธิ์เป็นครูฝึกอยู่
    • กลุ่มเยาวชนที่เริ่มต้นเป็นกลุ่มเล็กที่มีความสนใจร่วมกัน
    • การสรรหากิจกรรมที่ถูกกับ "จริต" เด็ก ทำให้เด็กสนุกสนาน เพลิดเพลิน เช่น คอมพิวเตอร์ ถ่านวีดีโอ หนังสือทำมือ กีฬา
    • การนำเด็กเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้กับบรรดาผู้ใหญ่สม่ำเสมอ
    • การชมเชย เสริมแรงด้านกำลังใจสม่ำเสมอ
    • มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออก ให้สิทธิเสรีภาพในการคิด การทำอย่างเต็มที่
    • สนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างเด็ก การรวมกลุ่มทำให้เด็กได้สันทนาการระหว่างกัน

    และมีเงื่อนไขอื่นๆอีกครับ (กำลังวิเคราะห์อยู่ด้วยครับ)

    เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา  และความทุ่มเทอันละ  แต่ความพยายามอยู่หนใดความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่นเสมอครับ

    เข้ามาอ่านบันทึกแล้ว "ตัวลอย" ครับ "ตัวลอย" เป็นอาการหนึ่งของคนที่ถูกสังคมชื่นชม (ซึ่งน่าจะตรงข้ามกับ "ลอยตัว")

    ยักษ์ในตัวเด็กจะตื่นได้ ผู้ใหญ่ต้องเลิกเป็นยักษ์ก่อน  อันนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญมาก วันนั้นผมลืมบอกไปนะครับ

    กลางเดือนหน้า ผมจะจัดค่าย "นักเขียนน้อย บนดอยสูง" ร่วมกับเด็กๆที่อำเภอปางมะผ้า นอนกลางดิน กินกลางทราย ป่าสวย น้ำใสๆ กลางคืนมาร้องเพลงรอบกองไฟ ชาวบ้านกับเด็กๆจะมาทำค่ายร่วมกัน ไม่รู้จะออกหัวออกก้อยยังไง กะจะจัดที่โป่งน้ำร้อน บ้านห้วยน้ำโป่ง ถือว่าบูรณาการหลักการทำสื่อเด็กกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเข้าด้วยกัน เน้นสร้าง "สุขภาวะ" ตามแบบ 6 ส ข้างต้น

    งานนี้ ส่วนกลางผู้ให้ทุนคือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กจะมาร่วมติดตามด้วย หากใครสนใจมาร่วมแจม ทางเราก็ยินดี แต่ก็จำกัดเฉพาะผู้สนใจและก็คงต้องมาเป็นอาสาสมัครช่วยงานกันด้วยนะครับ ติดต่อมาทางอีเมล์ของผมที่ [email protected] หรือที่ [email protected] ได้นะครับ

    อ้อ ขอขอบคุณคุณเอกมากนะครับที่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ ความจริงผมก็เป็นคนเล็กๆธรรมดา คนเก่งจริงๆคือเด็กๆนะครับ

     

    ขอบคุณ น้องเก่ง ปริวัตร ครับ

    เป็นที่แน่นอนแล้วว่าวันที่ ๕ ผมขอเชิญไปร่วม "เวทีริมระเบียง งานวิจัย" กับผมนะครับ

    งานที่ท้าทาย เป็นโจทย์ที่ผมสนใจเสมอครับ ส่วนงาน RC ที่ได้มีโอกาสติดตามเยี่ยมดู งานวิจัยที่อยู่ในแม่ฮ่องสอน ประสาคนสนใจเรียนรู้ ทำให้รู้ถึงศักยภาพของกลุ่มคนทำงาน และศักยภาพพื้นที่ได้

    ผมถือว่าผมมีโอกาสครับ

     

    พี่วิสุทธิ์

    ทำดี ต้องบอกต่อ ครับ

    กระบวนการหลายอย่างที่ก่อตัวขึ้นอย่างเรียบง่าย และเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็น KM ธรรมชาติ ผมได้สัมผัส รับรู้แล้ว น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    ผมเชื่อเรื่องของ "ความจริงใจ" ครับ และรับรู้จิตใจของคนทำงานผ่านผลลัพธ์ที่ออกมาให้เห็นในแต่ละช่วง

    กระนั้น...สิ่งที่ผมเห็นและสัมผัส คือ การให้โอกาสเด็กๆผ่านกระบวนการวิจัย ที่สร้างทั้ง พื้นที่ (space) และ เวลา (time)

    ปลุก Competency เด็กๆที่มีพลังเต็มเปี่ยม มีผู้ใหญ่ใจดีคอยหนุน ...เป็นโอกาสของเด็ก

    ขอบคุณนักๆเน้ออ้าย ....ผ่านบันทึกครับ

    ...........

    ไม่ทราบว่าจะตรงกันหรือไม่นะครับ

    ช่วงกลางเดือนหน้า (มีค.)ผม จะเดินทางไปเข้าค่าย "นักเขียน" ที่ "หลวงพระบาง" ใช้เวลาเกือบสัปดาห์ครับ หากไม่ตรงกันผมจะไปร่วมค่ายนักเขียนน้อยที่แม่ฮ่องสอนด้วยคนครับ

     

    มีโอกาสดีๆผมจะเข้าร่วมค่ายนักเขียนน้อยด้วยครับ คิดว่านักอยากเขียน(ไม่ยอมแก่) อย่างผม คงมีคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมได้นะครับ

    • ที่เม็กดำก็มีการขับเคลื่อนนักวิจัยรุ่นเยาว์ไปแล้ว
    • การที่เด็กมีส่วนร่วมกับกระบวนการเหล่านี้ผมถือว่าสำคัญมากและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้พวกเขาเข้ามาสู่เวทีเช่นนี้บ้าง  ..ผลพวงความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนก็จะตกผลึกอยู่ในตัวของพวกเขาเอง
    • ผมเคยลงพื้นที่แรมเดือน รับรูและรับฟังเรื่องราวนานประการจากผู้ใหญ่... แต่ผมก็ไม่ลืมที่จะเปิดใจรับฟังและสร้างเวทีเช่นเดียวกันให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน  ซึ่งผลการศึกษายิ่งชี้ชัดได้ว่าเด็กและเยาวชนมีความรู้รากเหง้าชุมชนของตนเองมากน้อยแค่ไหน
    • ครั้งหนึ่งผมเคยไปในชุมชนที่ชื่อบ้านว่า "ดอนเตย"  แต่สภาพปัจจุบันของหมู่บ้านไม่มีแม้แต่ต้นเตยสักต้น... เด็ก ๆ ก็ไม่ค้นกับต้นเตยเอาซะเลย  แต่เมื่อเปิดเวทีชำระที่มาที่ไปของชื่อบ้านนามเมืองร่วมกันในชุมชน ทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ เด็กและเยาวชน... กลับกลายเป็นว่า พวกเขาลงมติที่จะไปหาต้นเตยมาปลูกไว้ในหมู่บ้านเพื่อเตือนความจำว่าเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน...
    • เช่นกันนะครับ... เด็กสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบทเรียนชุมชนในลักษณะหนังสือทำมือได้  .. เป็นเสมือนการถอดบทเรียนของการศึกษาท้องถิ่นได้เหมือนกัน
    • สุดท้ายโจทย์ดูเหมือนยากมากสำหรับเด็ก .. แต่เด็กก็น่าจะมีความสุขที่ได้สนุกกับงานใหม่ ๆ เช่นนี้
    • ขอบคุณครับ

     

    P

    บางทีเด็กก็มีศักยภาพมากมายจนเราคาดไม่ถึง อาจเป็นเพราะผู้ใหญ่เราไม่ค่อยได้เปิดโอกาสให้เด็ก ไม่มีเวทีให้เขา

    ที่เม็กดำ หมายถึง ที่ๆเดียวกับ อ.ศักดิ์พงษ์ หรือเปล่าครับ...ผมมองว่าเด็กที่นั่นโชคดีที่มีผู้ใหญ่ใจดี ที่สำคัญเข้าใจพวกเขา มีพ่อที่ใจดี (ครูบา) คอยให้คำปรึกษา มี อ.เม็กดำและคุณครูทุกท่านร่วมกันคิดกันสร้าง

    เรื่องโจทย์ที่ให้เด็กก็เป็นเรื่องท้าทาย ศักยภาพที่เราเรียกว่า "ยักษ์" ในตัวเด็ก ที่สำคัญ กิจกรรมที่แทรกสอดควรจะเป็นกิจกรรมที่เด็กชอบด้วยครับ

    ขอบคุณครับ...สำหรับมาเฟียกิจกรรม(ที่หลายคนเรียกขาน) ผมคงต้องขอมุมมองจากท่านมาเต็มเติมในงานผมด้วยไม่ว่าจะประเด็นพัฒนาใดๆ

     

    • .ใช่ครับ..คุณเอก
    • เม็กดำ  หมายถึง เด็กนักเรียนของโรงเรียนเม็กดำ  ฯ  ที่เรียกรวม ๆ เช่นนั้น เพราะโรงเรียนและบ้านเป็นประหนึ่งสถานที่เดียวกันไปแล้ว  ผมจึงเรียกเองว่า "เด็กเม็กดำ"  (หมายถึงเด็กนักเรียนโรงเรียนเม็กดำ)
    • เป็นไงบ้างครับ...หนังสือคืบหน้าถึงไหนแล้ว
    • ขอให้มีพลังและมีความสุขกับการเขียนหนังสือ, รวมถึงการไปเยือนหลวงพระบาง ด้วยนะครับ

     

    P
    ถึงผมไม่เคยไปที่เม็กดำ ผมก็ได้ติดตามกิจกรรมดีๆต่างๆผ่าน Blog น่าดีใจนะครับ โรงเรียนที่เป็นโรงเรียนที่มีความสุข สิ่งที่ผมเห็นที่เม็กดำอีกก็คือ บุคลากรอันเป็นหัวใจของการขับเคลื่อน ทุกท่านมีพลังที่เหลือเฟือ

    เป็นโรงเรียนในฝันผมเลยทีเดียว

    หนังสือผม เสร็จแล้วครับ ตอนค่ำนี้เอง...แต่อาจต้องถูกแก้ไขบางประเด็น เพราะเป็นประเด็น ยาเสพติดที่อ่อนไหว

    ขอบคุณกำลังใจครับ..........

    คุณพนัสเองก็ต้องดูแลสุขภาพมากๆนะครับ

     

    • เมื่อมาเฟียกิจกรรมมาพบกันจะเกิดอะไรขึ้น
    • ฮ่าๆๆๆ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท