วิปัสสนา vs. วิชาการ


การวิเคราะห์ การวิจัย เป็นเรื่องที่ต้องใช้ข้อมูล ต้องใช้ความรู้ แต่ "การวิปัสสนา" เป็นเรื่องที่ต้องใช้ "การดูตนอง" ...เป็นการดูตนจนเกิด "ปัญญา" สามารถมองเห็นทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามที่เป็นจริง !

 

...มีคนบอกผมว่าการทำ KM โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) นั้น ใช้ได้เฉพาะในบางวงการ จากประสบการณ์ของหลายๆ ท่านพบว่า บรรดานักวิจัยหรือผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการ มักจะรู้สึก "อึดอัด" กับการเล่าเรื่อง ...มองว่าการเล่าเรื่องเป็นอะไรๆ ที่ไม่ได้ประโยชน์ ...เสียเวลา ...ไร้สาระ พูดๆ กันไป แต่ก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน  ...ส่วนใหญ่มักจะเคยชินอยู่กับรูปแบบที่ค่อนข้างเป็นทางการ ติดอยู่กับกระบวนการที่ต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจน ต้องให้คำตอบอย่างแจ่มแจ้งว่า "จะต้องไปทำอะไรต่อ.."

...จากการสังเกตของผมพบว่า ...การใช้เรื่องเล่านั้นจะได้ผลก็ต่อเมื่อคนรู้จักที่จะฟังอย่างตั้งใจ ...ซึ่งนักวิชาการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายนั้นมักจะมีจุดแข็งทางด้านการพูด ทางด้านการใช้ภาษา เรียกได้ว่าเป็น "นักพูด" ชั้นเซียนเลยทีเดียว หลายท่านเป็นผู้ที่มีสำนวนโวหารคมคาย แต่ก็น่าเสียดายที่หลายท่านนั้นขาด "ทักษะการฟัง" ...ไม่ได้เป็น "นักฟัง" ที่ดีเท่าใดนัก

การฟังที่ว่านี้ถ้าจะให้ดี จะต้องเป็นการฟังแบบที่ไม่มีความคิดเข้ามาแทรกด้วย ...ผมไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องคิดนะครับ ...ฟังเสร็จแล้วนำมาคิดคงไม่ผิดอะไร ...แต่ที่สำคัญคืออย่าไปคิดดักทางไว้ก่อน หรือคิดระหว่างทาง ในขณะที่กำลังฟังอยู่นั้น ...ตรงนี้แหละครับที่อยากจะทักท้วงเอาไว้

...มีหลายท่านอาจจะชำนาญเรื่องการคิดวิเคราะห์ วิจัย จนอาจจะได้ชื่อว่าเป็น "นักวิจัย นักวิเคราะห์ นักวิพากษ์วิจารณ์" ที่เชี่ยวชาญ แต่สิ่งที่ท่านเหล่ากลับไม่มีก็คือ ... การเป็น "นักวิปัสสนา" ...การวิเคราะห์ การวิจัย เป็นเรื่องที่ต้องใช้ข้อมูล ต้องใช้ความรู้ แต่ "การวิปัสสนา" เป็นเรื่องที่ต้องใช้ "การดูตนอง" ...เป็นการดูตนจนเกิด "ปัญญา" สามารถมองเห็นทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามที่เป็นจริง !

คำสำคัญ (Tags): #od#organizational#learning
หมายเลขบันทึก: 8008เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2005 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

blog ของอาจารย์มีประโยชน์ดีครับ เข้ามาอ่านแล้วอดแสดงความคิดเห็นไม่ได้

ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ  ผมว่าการฟังมีสามรูปแบบครับ

จับประเด็น คือฟังแล้วคิด จำ ตีความ โต้แย้ง วิเคราะห์ วิจารณ์ ตามไปด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับนักค้นคว้า ค้นและคว้าครับ ภาษาอังกฤษก็ research   search again คือกระบวนการทางวิชาการที่อาจารย์พูดถึง

จับใจความ อยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดถึงสิ่งที่ฟังแล้ว ไม่คิดถึงสิ่งที่กำลังจะได้ฟัง ไม่ตีความสิ่งที่กำลังฟังอยู่ ฟังจบแล้วอาจจำอะไรไม่ได้ แต่อะไรบางอย่างในตัวผู้ฟังถูกเปลี่ยนไปแล้ว นำมาซึ่ง discover อันนี้ภาษาอังกฤษทำไว้ดีอีก dis+cover ทำลายสิ่งปกปิด คือกระบวนการทางวิปัสนา

ตื่นหรือก้าวข้าม การฟังนั้นสักแต่ว่าฟัง สิ่งที่ได้ฟังอาจไม่ได้เป็นสาระอีกต่อไป เป็นกระบวนการ intuition หรือ enlightenment กระบวนใหญ่เช่นเมื่อพระพุทธองค์ยิ้ม พระมหากัสปก็บรรลุธรรม กระบวนเล็กๆ เช่น ฟังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์แล้วหลุดออกมาเป็นทฤษฎีการจัดการ หรือเมื่อพระพุทธเจ้าโดนถ่มน้ำลายรด ประเด็นไม่ได้อยู่ที่น้ำลาย ท่านกลับคิดว่าผู้ถ่มน้ำลายมีปัญหาคับข้องใจ

ทั้งสามแบบมีบริบทของตัวเองครับ มีที่ใช้ หากไม่แบ่งแยกและใช้ให้ถูกกาละเทศะก็จะไม่งาม แต่รู้จักใช้มีประโยชน์ครับ

แถมให้อีกแบบ ผมไม่ได้เอามารวมไว้เพราะสามแบบแรกมันเกี่ยวกับการฟัง อีกแบบเกี่ยวกับการไม่ฟัง คือหลุดครับ ฟังอยู่แต่ก็ไม่ได้ฟัง อยู่ที่นั่นแต่ก็ไม่อยู่ที่นั่น กระบวนการหลุดนี้แบ่งแยกได้อีกเยอะแยะ มีประโยชน์เหมือนกันครับ

แนะนำให้อจ. ลองนำเรื่อง สุนทรียสนทนา,การฟังแบบหยั่งลึก (โบห์มเมี่ยนไดอะล็อค) ที่คุณวิศิษฐ์ วังวิญญู

(1ในคณะแปล โยงใยที่ซ่อนเร้นใน ที่ อจ.อ่าน)

ได้นำมาประยุกต์ใช้และเผยแพร่ในกลุ่มผู้ใกล้ชิด และเห็นมีหนังสือเขียนออกมา 1 เล่ม

แต่ผม(เข้าใจว่า)ยังไม่มีการนำมาใช้ในระดับองค์กรเอกชนนะครับ

 ขออนุญาต ขอโอกาส

share นะครับ  

 

เอาสติ ไปทำงานแทนความคิด

ปล่อยจิตให้ว่างๆ   นี่แหละ ศิลปะการฟังขั้นสูง

 

แยก จิต สติ ความคิด  สามตัวให้ออก ว่าเป็นคนละตัวกัน   ก็จะเกิดตัวรู้   เป็นตัวรู้ที่ แท้จริง ของ KM    เป็นตัวรู้ตามแนว ไตรสิกขาครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท