ทำไมบล็อกจึงเหมาะเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง (Storytelling)?


ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้ในบล็อกของท่านว่า "เป้าหมายสำคัญที่สุดของการเล่าเรื่อง คือให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ปลดปล่อยความรู้ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ (ความเชื่อ), ในส่วนลึกของสมอง (ความคิด), และในส่วนลึกของร่างกาย (การปฏิบัติ) ออกมาเป็นคำพูด และ หน้าตาท่าทาง (non-verbal communication)"

การเล่าเรื่องถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้อย่างแพร่หลาย เป็นการแสดงความคิดของแต่ละคนออกมาอย่างอิสระ เหมือนเป็น Think-aloud กิจกรรมต่างๆที่ได้ทำไป เพื่อค้นหาแก่นความรู้หรือสกัดความรู้ฝังลึกออกมาจากสมอง แต่การเล่าเรื่องที่ปฏิบัติกันทั่วๆ ไป จะถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ ระบบบล็อค GoToKnow.org ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่าเรื่องเมื่อไรก็ได้ที่อยากจะเล่าโดยเขียนลงในบล็อค ผู้เล่าจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้จำนวนมากจากทุกๆ ที่ ผ่านทาง เครือข่ายเน็ตเวิร์ค

นอกจากนี้ เรื่องราวที่เขียนเล่าไปแล้ว ก็สามารถหาอ่านประกอบได้ง่ายตามวันเวลาที่เขียน หรือค้นหาจากการ Search ด้วยเงื่อนไขต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น ระบบบล็อคจะแยกแยะและจัดกลุ่มเรื่องเล่าตามเนื้อหาได้สะดวก และแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของเรื่องเล่าต่างๆ ได้โดยไม่ยาก

และเมื่อมองในแง่วัฒนธรรมการแสดงออก ระบบบล็อคจะช่วยให้ผู้เล่าที่มีความประหม่าในการเล่าเรื่องต่อสาธารณชน (Public speaking) สามารถแสดงความกล้าความจริงใจในความเป็นตัวของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ตัวผู้อ่านเองก็จะรู้จักผู้เล่าเรื่องได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมทั้งการสนทนาให้ข้อคิดเห็นต่อเรื่องเล่า ก็จะเป็นไปในรูปแบบสองทาง (Two-way communication) ระหว่างผู้เล่าและผู้อ่านบ่อยครั้งยิ่งขึ้นเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 8เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2005 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เข้ามาอ่าน เผื่อจะได้ความรู้เกี่ยวกับเว็บบล็อกบ้าง  ทดลองใช้ครับ

เข้ามาอ่านรับความรู้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท