beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรื่อง(ไม่)ลับ ของคนไร้กรอบ (อ.วรภัทร์)


บรรยากาศของการวิจัย สำคัญกว่าผลงานวิจัย

  คนไร้กรอบ (ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ) ที่ beeman รู้จัก

     ผมรู้จัก (ตัวตนเป็นๆ)  “คนไร้กรอบ” ครั้งแรกในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ.. ตอนนั้นท่านมาช่วยอาจารย์ JJ ที่ห้องคุณอำนวยแห่งชาติ...ส่วนมากมาช่วยทางด้าน Reflection คือ สะท้อนมุมมองความคิด (จิต) ของผู้เข้าร่วม
    ต่อมาก็มารู้จักในวง “คุณอำนวยแห่งชาติ” อีกครั้ง (รุ่น ๓ ที่ ขอนแก่น)...มองแบบไม่เข้าข้างอาจารย์ JJ ประธานเครือข่ายคุณอำนวยแห่งชาติ..วิธีการจัดการค่อนข้างประสบความสำเร็จเลยทีเดียว..โดยเฉพาะได้ท่านอาจารย์วรภัทร์ มาช่วยในช่วงบ่าย..(เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวเลยทีเดียว...เพราะช่วงเดือนพฤษภาคมปี ๔๙ ท่านทวีสินมาเยี่ยม..ท่าน JJ และพาท่านวรภัทร์มาเยี่ยมด้วย...เกิดการเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน...เริ่มสนิทชิดเชื้อ..ไว้วางใจ..ไหว้วานกันได้ (มีมิตรภาพ..)

------------------------------------------------------------

   อ.วรภัทร์ หรือ คนไร้กรอบ มาปรากฏตัว ช่วยงานท่านอาจารย์ JJ ที่ขอนแก่น ช่วงฤดูกาล UKM-9

   ผมชวนเล่น Blog Tag ก็ไม่มีคำตอบ..เพราะในความรู้สึก.. GotoKnow ส่วนมากเราบันทึกส่วนที่เป็น information...

   วันนี้ผมเอาเรื่องของอ.วรภัทร์ มาเล่าแทน คนไร้กรอบ ก็แล้วกันครับ

   มีคนอยากทราบประวัติของ อ.วรภัทร์ ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ แล้วอ.วรภัทร์ ก็กรุณาเล่าให้ฟัง..ผมก็ประติดประต่อ ออกมาได้ดังนี้....อ.วรภัทร์ เรียนปริญญาตรีที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัด Group หนึ่ง รหัส ๒๐ เป็นรุ่นพี่ beeman ๒ ปี เพราะ beeman รหัส ๒๒ และ อยู่ Group ๔..มาระลึกถึงความหลังก็พอจะทันเห็นหน้ากันอยู่

    ตอนปีขึ้นปี ๒  อ.วรภัทร์ เลือกโปรแกรม เคมีวิศวกรรม (Chem EN) โดยเกรดก็อยู่อันดับท้ายๆ ของกลุ่ม เกรดประมาณ ๒.๖ เท่านั้น หลังจากนั้นก็เรียนจบ ป.ตรี ต่อด้วย ป.โท

    จบโทแล้ว จับพลัดจับผลู (จำไม่ได้) ก็ได้ไปอเมริกา ไปอยู่กับ Professor ชาวอินเดีย ชื่อ Armet... อ.วรภัทร์ เริ่มใช้วิชา TL บอก Armet ว่า You เปรียบเหมือนเป็น Second father ของ I ต้องช่วยเหลือ I

   Armet ก็หาทุนให้ สาขาวิศวโลหะการ..Ph.D. ขององค์การ NASA... การเรียนปริญญาเอกของที่นี่ก็เอาปัญหามาตั้ง หาโจทย์แล้วค่อยเอาคณิตศาสตร์ไปแก้ปัญหาเบื้องต้น..เพื่อตอบสนอง Need ของแผ่นดิน

   ต่อมา ก็ได้ไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ขององค์การ NASA ทำงานอยู่ที่นั่น ๖ ปี ทีมงานวิจัยของดร.วรภัทร์ ประกอบด้วย

  • มิลเลอร์ เป็นหัวหน้าทีม...คอย Present Project
  • ดร.วรภัทร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์
  • จอร์ท เป็นช่างกล (เงินเดือนสูงมาก..ขาดวรภัทร์ได้ แต่ขาดจอร์ทไม่ได้ เพราะเป็นมือปฏิบัติ)
  • Lisa เป็นเลขานุการ..ดูแลเรื่องธุรการทุกอย่าง

    สังเกตว่ามีนักวิทยาศาสตร์หลักเพียงคนเดียว..

   ทุกวันก็มาทำ Show & Share ....(Show & Share เขาฝึกกันมาตั้งแต่ชั้นประถมหนึ่ง)

   ดร.วรภัทร์ พูดถึงบรรยากาศของการวิจัยว่า

  • ต้องเน้นบรรยากาศของการทำวิจัย..สร้างงานวิจัย
  • อย่าไปเน้นที่ผลงานวิจัย

   คนที่จบ ปริญญาเอก ต้องมี Sensing จบ Dr. จับงานวิจัยอะไรก็ได้ เน้นความต้องการของแผ่นดินเป็นหลัก..เพราะได้ Process การทำวิจัยมาแล้ว

  • สรุปว่า บรรยากาศของการวิจัย สำคัญกว่าผลงานวิจัย

   ดร.วรภัทร์ พูดถึงวิธี ประเมินอาจารย์มหาวิทยาลัย ว่า แบ่งเป็นสามพวก

  1. พวกเน้นสอน...สอน ๓ วิชา มีวิจัย ๑ เรื่อง
  2. พวกบริหาร...ไปบริหาร และสอน ๑ วิชา
  3. พวกเน้นวิจัย..ต้องดูดเงินจากภายนอกเข้ามหาวิทยาลัย ๑ แสนเหรียญ และต้องไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทด้วย

   ทั้ง ๓ พวกนี้ ไม่อยู่กับที่ มีกำหนด..พอถึงเวลาต้องเปลี่ยนไปทำอีกบทบาทหนึ่ง..คือ ต้อง Turn กันไป

   ข้อคิด สะกิดใจ..ของดร.วรภัทร์

  1. ปฏิรูปการศึกษา..
    • การสอน (อุดมศึกษา)..เน้นสอนกลางคืน..(เน้นคนทำงาน)
    • นักเรียน ตอนเช้า เรียน ๓ วิชาพอแล้ว ตอนบ่าย ไปเรียนวิชา ที่ชอบที่ชอบ (ตามความถนัด)
  2. การเล่านิทาน เป็น Storytelling ได้ด้วย (เด็กๆ ไม่ชอบการสอนแบบตรงๆ)
  3. การเล่านิทาน ฉายหนังให้ดู ซึมซับกว่าการเล่าตัวอย่างจากประสบการณ์ (ทำให้ค้นหาตัวเองเจอ)

----------------------------------------------------------

หมายเหตุ อ่านบันทึกของ ดร.วรภัทร์ ที่เกี่ยวข้องประกอบ

BeeMan

นกเพนกวิน penguin 

BeeMan

PenGuin

  

หมายเลขบันทึก: 79997เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท