บันทึกครั้งที่ ๑๘ โครงสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ WLAN


การนำกฎหมายมาจัดการกับเทคโนโลยีทั้งด้านส่งเสริมสนับสนุนและด้านป้องกันและลงโทษนั้น ต้องคิดวิเคราะห์ผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ พร้อมทั้งดูนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน

ผมขอนำเสนอข้อมูลต่อจากบันทึกครั้งที่ ๑๖ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี WLAN โดยครั้งนี้ได้ทำเป็นไดอะแกรมแสดงความสัมพันธ์ทางธุรกิจ WLAN ดังภาพต่อไปนี้

นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องระหว่างกัน

หมายเลข 1         กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

หมายเลข 2         ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

หมายเลข 3         กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

หมายเลข 4         ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

หมายเลข 5         กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ประมวลกฎหมายอาญา

หมายเลข 6 - 8   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ประมวลกฎหมายอาญา, กฎหมายการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์, กฎหมายการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต

หมายเหตุ          ความถี่คลื่นวิทยุที่ใช้กับ WLAN เป็นไปตาม

                           มาตรฐานองค์กรระหว่างประเทศ IEEE ซึ่งผู้กำกับ

                           ดูแลคลื่นความถี่ในประเทศให้การรับรอง จึงไม่ต้อง

                           ขออนุญาตอีก

องค์กรเหล่านี้ ได้แก่ สถาบันการศึกษาทุกระดับ, 

    หน่วยงานภาครัฐ, รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอิสระ โดย

    เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้

    เช่น พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ที่สนับสนุนโอกาสการ

    เข้าถึงทางการศึกษากับผู้เรียนทุกประเภท  เป็นต้น

    หรือองค์กรมีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุน เช่น

    นโยบายพลังงาน ที่สนับสนุนให้ทุกคนในทุกภาค

    ส่วนของประเทศใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

    เป็นต้น

ผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย จะเข้ามา

     ดำเนินการตามหน้าที่เมื่อมีการแจ้งความ หรือ

     ฟ้องร้องว่ามีการกระทำที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้น

                       **** ผู้ผลิต WLAN เป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ

                              เพราะต่างประเทศเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยี

                              และไม่มีการลงทุนมาผลิตในประเทศไทยเพราะ

                              ค่าแรงที่แพงกว่าบางประเทศ

ในโอกาสต่อไปผมจะขอขยายความลงไปในแต่ละตัวบทกฎหมายว่ามีข้อสาระสำคัญใดที่ใช้เป็นกลไกของรัฐในการเข้ามาจัดการในด้านส่งเสริมสนับสนุน และด้านป้องกันและลงโทษ

หากท่านผู้อ่านมีความคิดเห็น หรืออ่านข้อความของผมแล้ว พบว่าไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน โปรดกรุณาให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 79746เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2007 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท