จุดจบของบริการไอทีแบบเก่า


ยุคสมัยที่บริการไอทีมีลักษณะซับซ้อนมากขึ้น มีการปรับแต่งรายละเอียดปลีกย่อยตามความต้องการของลูกค้า ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก กำลังจะปิดฉากลงในไม่ช้า เพราะในปัจจุบันองค์กรธุรกิจต้องการบริการไอทีที่เข้าใจได้ง่าย ปรับใช้ได้สะดวก สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านธุรกิจ


ยุคสมัยที่บริการไอทีมีลักษณะซับซ้อนมากขึ้น มีการปรับแต่งรายละเอียดปลีกย่อยตามความต้องการของลูกค้า ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก กำลังจะปิดฉากลงในไม่ช้า เพราะในปัจจุบันองค์กรธุรกิจต้องการบริการไอทีที่เข้าใจได้ง่าย ปรับใช้ได้สะดวก สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านธุรกิจ และที่สำคัญก็คือ เชื่อมโยงโดยตรงกับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน (return of investment-ROI)

ยุคฟองสบู่แตก บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ด้วยการย้ายฐานการผลิตหรือเอาต์ซอร์ซกระบวนการทางด้านธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ที่สามารถบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ต่ำกว่า ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันประเทศจีนจึงถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก โดยทำหน้าที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่า 30% ในขณะที่ประเทศอินเดียจะส่งออกบริการไอทีและส่วนงานสนับสนุนที่มีมูลค่าถึง 57,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี 2008

ในทุกประเทศทั่วโลก องค์กรธุรกิจจึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ผลการศึกษาล่าสุดของไอบีเอ็มเกี่ยวกับทรรศนะของผู้บริหารระดับซีอีโอ ซึ่งมีชื่อว่า "Expanding the Innovation Horizon : The Global CEO Study 2006" (IBM Global Business Services, 1 March 2007) ระบุว่า ผู้นำองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ มองว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ ไม่ใช่ภัยคุกคามแต่อย่างใด แต่ถือเป็นโอกาสที่ควรไขว่คว้าสำหรับองค์กรต่างๆ

ผลการศึกษาดังกล่าว ชี้ให้เห็นนัยสำคัญทางด้านธุรกิจ 4 ข้อดังนี้

ประการแรก สิ่งที่องค์กรธุรกิจต้องการไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีล้วนๆ อีกต่อไป หากแต่ต้องการโซลูชั่นทางธุรกิจและผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านกระบวนการจัดซื้ออย่างน้อย 90% ของการจัดซื้อสินค้าและบริการไอที เกิดจากการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้บริหารในฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจ

ประการที่สอง องค์กรธุรกิจไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะรองรับโครงการติดตั้งและโครงการบริการไอทีขนาดใหญ่ที่มีราคาแพงและมีการปรับแต่งรายละเอียดตามความต้องการอีกต่อไป องค์กรธุรกิจจะเปลี่ยนไปใช้วิธีให้ผู้ผลิตหลายรายแข่งประมูลในโครงการขนาดเล็ก ซึ่งสามารถดำเนินการ บริหารจัดการ และประเมินผลได้ง่ายกว่า

ประการที่สาม องค์กรธุรกิจต้องการโซลูชั่นทาง ไอทีที่แยกเป็นโมดูลย่อย สามารถผนวกรวมเข้าด้วยกัน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย โดยผู้จัดหาโซลูชั่นทางด้านไอทีรับหน้าที่ทดสอบและประกอบส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันก่อนที่จะติดตั้ง

ประการที่สี่ คู่ค้าทางด้านไอที สามารถนำเสนอแนวคิดหรือแนวทางที่แปลกใหม่ รวมทั้งจัดหาบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรองรับรูปแบบธุรกิจไอที แบบใหม่

คิดใหม่ ทำใหม่สำหรับบริการไอที

ในขณะที่บริการไอทีจะมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในโลกธุรกิจแบบใหม่ แต่บริการไอทีในรูปแบบเดิมๆ กลับไม่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ได้ ดังนั้นในการนำเสนอความยืดหยุ่นและนวัตกรรม บริการไอที จะต้องมีลักษณะที่สามารถกำหนดขอบเขตและสิ่งที่ต้องส่งมอบให้ชัดเจน และประเมินผลหรือตรวจวัดได้อย่างง่ายดาย ประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อให้การลงทุนสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น

และต้องเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อให้สามารถ "ปรับใช้" ร่วมกับระบบและบริการไอทีที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว

โดยสรุปคือ บริการไอทีจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ใกล้เคียงกับการเป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีลักษณะที่เป็นรูปธรรม สามารถระบุคุณสมบัติและความสามารถต่างๆ ของบริการได้อย่างชัดเจน

การนำเสนอบริการไอทีในรูปแบบของ "ผลิตภัณฑ์" ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในปัจจุบันมีการนำมาใช้ในบริการไอทีพื้นฐาน เช่น เว็บโฮสติ้ง และเริ่มขยายเข้าสู่บริการไอทีที่ซับซ้อนมากขึ้น ตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรมไอที ไปจนถึงการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน และการวางแผนเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย

โดยที่จะได้ประโยชน์สูงสุด กล่าวคือ ลูกค้าจะมีทางเลือกที่หลากหลายสำหรับบริการไอทีในรูปแบบของ "ผลิตภัณฑ์" ซึ่งสามารถระบุรายการส่วนประกอบพื้นฐาน สิ่งที่จะต้องส่งมอบ และสูตรการกำหนดราคาที่เข้าใจง่าย ลูกค้าสามารถเลือกที่จะผสมผสานส่วนประกอบอื่นๆ ที่แสดงอยู่ในรายการหากต้องการ ผู้ชนะในสนามธุรกิจบริการไอทีรูปแบบใหม่นี้ คือ บริษัทที่เข้าใจว่าลูกค้าต้องการโซลูชั่นไอทีที่เรียบง่าย มากขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น

ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3872 (3072) หน้า 38

คำสำคัญ (Tags): #ไอที
หมายเลขบันทึก: 79499เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วุฒิพงศ์ รงคปราณี

ผมสนใจที่จะใช้ IT มาลดปัญหาสิ่งแวดล้อมทางอากาศโดยตรง  ทางอ้อมคือถ้าประชาชนไม่ต้องเดินทางไปทำธุระด้วยตัวเองก็จะลดปัญหาจราจร น้ำมัน มลพิษต่างๆ  ถ้าทางตรงผมยังมองไม่ออกว่าจะเอามาใช้ทางด้านไหนดีครับอาจารย์   ตอนนี้ผมสนใจที่จะทำ CDM กลไกการพัฒนาที่สะอาด ให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลอยู่ครับ  IT จะเข้ามาเชื่อมตรงไหนได้บ้างครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท