การพัฒนาครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัย


โรงเรียนพระมารดาฯ กับ KM

  โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ (KM)เรื่อง  การพัฒนาครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัย

ความเป็นมา

                โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน เมื่อปี 2545 – 2547 โดยใช้นวัตกรรม การสอนด้วยกระบวนการวิจัย ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้พัฒนาครูให้มีความสามารถ มีศักยภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนาทักษะการคิด การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ แต่ยังพบจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขหลายประการ ดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจากรายงานการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน : การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการวิจัย กรณีศึกษา โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์)                ประการที่ 1  การให้ครูใช้วิธีการสอนด้วยกระบวนการวิจัยตามความพร้อมและความสมัครใจ ส่งผลให้ผู้เรียนบางห้องเรียนไม่มีโอกาสเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างไม่เป็นระบบและไม่ ต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับความพร้อมของครูเป็นสำคัญ ผู้เรียนบางคน บางห้องเรียนมีความสนใจใคร่รู้ เมื่อเห็นเพื่อนต่างห้องทำวิจัย และมักจะถามครูเสมอว่า เมื่อไหร่จะได้เรียนแบบนั้นบ้างแสดงว่าผู้เรียนต้องการมีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย ดังนั้น การใช้วิธีการยืดหยุ่นให้ครูสอน เมื่อมีความพร้อมกลับส่งผลเสียไปที่     ผู้เรียน จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการดังกล่าว                ประการที่ 2  จากผลการประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานตามโครงการพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยน้อย  ซึ่งเกี่ยวโยงกับความรู้ความสามารถในเรื่องการวิจัยของครูด้วยเช่นกัน  จึงจำเป็นต้องมีการเสริมความรู้เกี่ยวกับการวิจัยให้แก่ครูที่ยังไม่มีพื้นฐาน  เพื่อจะได้ที่ปรึกษางานวิจัยของผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ                ประการที่ 3   การเพิ่มจำนวนพี่เลี้ยงวิจัยและคณะนักวิจัยหลักของโรงเรียน  เนื่องจากจำนวนครูของ  โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์มีจำนวนมาก  และเปิดสอนตั้งแต่ก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  จึงจำเป็นต้องใช้พี่เลี้ยงหรือบุคลากรที่จะเป็นที่ปรึกษาของครูในเรื่องการทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น  จำนวนที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการ  ส่งผลให้ครูไม่ได้รับการชี้แนะอย่างทั่วถึง  เกิดการผิดพลาดในการทำงานและบางครั้งก็เลิกทำงานกลางคัน  เพราะไม่สามารถทำต่อไปได้ด้วยตนเอง  นอกจากนี้การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนก็ยังเป็นสิ่งที่ครูมีความวิตกกังวลอยู่มาก  ถ้าพี่เลี้ยงช่วยให้คำปรึกษาแนะนำก็อาจจะมีกำลังใจในการทำให้สำเร็จมากขึ้น                ประการที่ 4  การสอนด้วยกระบวนการวิจัยในระดับก่อนประถมศึกษาและในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ยังมีปัญหาอยู่บ้าง  ครูบางส่วนคิดว่าเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเด็กเล็ก  ประกอบกับต้องประสานความร่วมมือกับ  ผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด  แต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่มีเวลา  ทำให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดปัญหาอุปสรรค  ซึ่งในเรื่องนี้คงต้องร่วมกันแก้ไขทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง          แหล่งข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ (KM)      เรื่อง  การพัฒนาครูที่สอนด้วยกระบวนการวิจัย
หมายเลขบันทึก: 79481เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์คะ   จะเป็น ปชส.ของโรงเรียนไหมคะ ถ้าอาจารย์จะเป็นจะได้นำบล็อกนี้เข้า planet erkm อันใหม่ที่เป็นที่ชุมนุมพบปะกันในระหว่าง 95 องค์กรที่อยู่ในโครงการวิจัยค่ะ

     อาจารย์อาจจะมีบันทึกไว้ยาวๆ แต่แยกมาลงทีละตอนสั้นๆก็ได้ค่ะ

      ดิฉันจะขอมากับทีมวิจัยด้วยเพื่อคุยกันเรื่องบล็อกค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ    ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทุกประการค่ะ

ช่วงปิดเทอมนี้ทางโรงเรียนได้เชิญครูบัณทูรจากโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญมาให้ความรู้เรื่อง  บล็อกกับคณะครูค่ะ

ครูคะรร.เรามีวิจัยในชั้นเรียนเรื่องศิลปะบ้างปะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท