รถรางสร้างโครงงาน


กาพย์ห่อโคลงนั่งรถรางเปิดประตูสู่สองแคว

     วันหนึ่งในชั่วโมงภาษาไทย กำลังสอนเรื่องนิราศประพาสธารทองแดง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓.๕ ก็สนใจที่จะศึกษานอกสถานที่บ้าง  ขอนั่งรถรางทัศนศึกษาเมืองพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และรับประทานอาหารก๋วยเตี๋ยวห้อยขาจากร้านป้ากฐิน  ก็เลยพ่วง ม.๓.๔ ไปด้วยอีก ๑ คัน บูรณาการกับวิชาแนะแนวซะเลย    
    ครูก็เลยแบ่งกลุ่มให้นักเรียนคิดทำโครงงาน  กาพย์ห่อโคลงนั่งรถรางเปิดประตูสู่สองแคว (ชื่อนี้นักเรียนช่วยกันตั้งด้วยค่ะ)  แต่ละกลุ่มแบ่งเขตการแต่งกาพย์ห่อโคลง  ตอนแรกนักเรียนขอแต่งกาพย์ยานี ๑๑ เพราะง่ายกว่า เลยบอกเด็กไปว่า "ได้ซิ แต่ต้องแต่งให้ต่อเนื่องกันนะ มีสัมผัสระหว่างบทไปเรื่อยๆ "นักเรียนเลยเปลี่ยนใจ เลือกแต่งกาพย์ห่อโคลง เหมือนเดิม 

   วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงงานคือ
 ๑.     เพื่อให้ทราบความเป็นมาของเมืองพิษณุโลกในอดีตและปัจจุบันที่สำคัญ 
 ๒.    เพื่อศึกษาวิธีการแต่งกาพย์ห่อโคลงจากกวีที่มีผลงานดีเด่น
 ๓.    เพื่อเรียนรู้และฝึก การแต่งกาพย์ห่อโคลง
 ๔.    เพื่อรวบรวมข้อมูลเมืองพิษณุโลกตามเส้นทางรถรางในรูปแบบของกาพย์ห่อโคลง
 ๕.    เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของประชาชนเมืองพิษณุโลก
 ๖.     เพื่อเขียนเล่าประสบการณ์ เป็นความเรียง  และบันทึกประจำวัน

ขอเสนอผลงานบางส่วนนะคะ

   
   

และแล้วก็ได้กาพย์ห่อโคลงคนละ ๑ แผ่นเมื่อนำมารวมกัน ๔ กลุ่มก็ได้๑เล่ม ๔๔ บท
    ปีหน้าคงต้องพัฒนารายละเอียด หรือทำแผ่นพับตามที่นักเรียนเสนอแนะเพิ่มซะแล้ว

หมายเลขบันทึก: 79330เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะอ่านบันทีกมาเรื่อยๆ ครับ มาถึงบันทึกนี้
  • อยากแนะนำครับ คือ ถ้าเราพิมพ์บันทึกใน word ก่อนเอามาแปะในบล็อก
  • ให้เรา copy ไป Paste ใน Note Pad ก่อน (จะเป็น Font  Tahoma size 12)
  • แล้ว cut มา Paste ในบันทึกใหม่...เวลาอยู่ใน GotoKnow จะขยาย size ได้เป็น 13 1/2 ครับ
  • เวลาเขียนบันทึก ระหว่างย่อหน้า..ควรกด Enter ให้มีการเว้นบรรทัด เพื่อพักสายตาบ้าง
  • พออีกหน่อย คุณครู เขียนบันทึกเก่งขึ้น..เนื้อหาจะมาก ทำให้ลายตาได้ครับ
  • คุณครู อาจฝึกใช้เครื่องมือตกแต่งบันทึกอีกหน่อย เช่น ทำตัวหนาสี ทำตัว Hilight..
  • แต่คุณครูก็เก่งนะครับ..ที่ใส่ภาพในบันทึกได้ ทำได้ดีทีเดียวครับ

ตามมาให้ข้อคิดเห็นอีกเรื่องหนึ่งที่ดีมากๆ

  1. การให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน-การสอน ออกแบบกระบวนการเรียนของเขาเอง ดังตัวอย่างที่เห็นในบันทึกนี้..เป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ เลย
  2. อยากให้ประยุกต์ในหลายๆ วิชานะครับ
  3. ในวิชาหนึ่ง....อาจเปิดประเด็นให้นักเรียนได้พูดคุยกันเป็นกลุ่มว่า อยากเรียนรู้อย่างไร แล้วเราก็พาไปเรียนรู้ข้างนอก (โรงเรียน) เป็นการเรียนแบบบูรณาการครับ...
  4. รู้สึกว่า การเรียนแบบนี้ จะนับว่าเป็น KM ก็ได้ครับ..เราปรับเปลี่ยนกระบวนการอีกเล็กน้อย จะมีพลังมาก...
  5. ถ้าทำให้เด็กเกิด ฉันทะ อยากเรียนรู้แล้ว จะมีพลังมากจริงๆ บางทีถึงกลับเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือพฤติกรรมของเด็กนักเรียนได้เลย
  • ตามมาแก้คำผิด ข้อ ๕ "บางทีถึงกับ" ไม่ใช่ "บางทีถึงกลับ" ครับ
  1. สวัสดีค่ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ คำชม(ยาหอม) ค่ะ
  2. สนใจข้อ๔ ที่อาจารย์บอกว่า "รู้สึกว่า การเรียนแบบนี้ จะนับว่าเป็น KM ก็ได้ครับ..เราปรับเปลี่ยนกระบวนการอีกเล็กน้อย จะมีพลังมาก..."
    คงต้องขอคำแนะนำเพิ่มค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท