กรอบของเป้าหมายที่นักวิจัยวางไว้


การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน กรณีเครือข่ายกองทุนระดับตำบลในคลองบางปลากด
ขั้นตอนแรกที่เป็นสิ่งลำบากสุด: มีการเปิดใจยอมรับความคิดเห็น (open mind) ทั้งดีและไม่ดี จากนั้นนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อการตัดสินใจกระทำร่วมกัน “เพราะหากเปิดใจยอมรับ ปัญหาหนักก็จะกลายเป็นเบา มีแนวความคิดใหม่ๆผุดบังเกิด”
๑. ระดับเครือข่าย
๑) เชิงคุณภาพ
-       การพัฒนาระบบฐานข้อมูลร่วมกัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบมือทำ อาศัยความร่วมมือจาก พัฒนาการอำเภอ
-       การพัฒนาระบบบัญชีร่วมกัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบมือทำ อาศัยความร่วมมือจาก การศึกษานอกโรงเรียน
-       การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ด้านความรู้ความเข้าใจ ใช้การอบรม ให้ความรู้ อาศัยความร่วมมือจาก การศึกษานอกโรงเรียน พัฒนาการอำเภอ
-       การพัฒนาระบบข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำ Human Mapping โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ จัดเก็บข้อมูลโดยนักวิจัยร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (GIS)
-       การพัฒนาข้อตกลงในความร่วมมือด้านต่างๆตามความต้องการของสมาชิก
-       การพัฒนาให้มีที่ทำการของเครือข่าย อาศัยความร่วมมือเรื่องสถานที่จากองค์การบริหารส่วนตำบล
                ๒) เชิงปริมาณ
-       ต้องการแนวร่วมที่เป็นคนอำนวยความสะดวก (ไม่ใช่คุณอำนาจ) ทั้งหมด ๕ คน
-       ต้องการคุณกิจที่จะดำเนินการให้เครือข่ายเป็นไปตามกรอบและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จำนวน ๑๓ คน
-       ต้องการหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนในการผลักดัน ขับเคลื่อนเครือข่ายให้มีพลังในการพัฒนา ๓ หน่วยงาน
๒. ในระดับกองทุน (กลุ่ม)
การบริหารงานของแต่ละกองทุนในเครือข่ายตำบลมีลักษณะเฉพาะของตนเอง การบริหารงานเมื่อเทียบกับระบบของเครือข่ายเป็นไปได้น้อยกว่า เพราะคนที่เป็นผู้บริหารระดับกลุ่มต้องบริหารคนจำนวนมากกว่า ความหลากหลายมีมากกว่า ดังนั้นในระดับกองทุนจึงต้องใช้ความพยายามและสร้างความเข้าใจมากกว่าเครือข่าย ถ้าจะทำเป็นรูปแบบจะได้ดังนี้
 
 
 
                              
๒.๑ เชิงคุณภาพ
-       พัฒนาระบบฐานข้อมูลของสมาชิก เพื่อนำไปต่อยอดกับเครือข่ายตำบล สิ่งที่ต้องใช้คือเอกสารและแบบฟอร์ม
-       ระบบบัญชีร่วมกันเพื่อนำไปต่อยอดกับเครือข่ายตำบล สิ่งที่ต้องใช้คือ ระบบบัญชี บัญชีเล่มต่างๆ
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการทั้งการทำหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละฝ่าย ต้องมีความเข้าใจในเรื่องระเบียบ ข้อบังคับ และหน้าที่ ใช้การอบรมให้ความรู้และลองลงมือปฏิบัติ
- มีการพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เนื่องด้วยในส่วนของกองทุนมีความหลากหลาย อาจจะต้องใช้กระบวนการจักการความรู้เพื่อการพัฒนาหลายรูปแบบตามแต่ที่กองทุนจะพิจารณาเห็นควรว่าจะดำเนินการแบบใด ทั้งต่อคณะกรรมการกองทุนและสมาชิกกองทุน
๒.๒ เชิงปริมาณ
-       ต้องการแนวร่วมที่จะเป็นคนคอยอำนวยความสะดวกของแต่ละกองทุน กองทุนละ ๒ คน ถ้าดำเนินการ ๙ กองทุนจะมีคนอำนวย ๑๘ คน
-       ต้องการแนวร่วมที่เป็นผู้ดำเนินการของแต่ละกองทุน ซึ่งมีกองทุนละ ๘ - ๑๕ คน ถ้าดำเนินการ ๙ กองทุน จะมีคนดำเนินกิจการกองทุนประมาณ ๙๐ คน
- ต้องการแนวร่วมที่จะเป็นคนคอยเอื้ออำนวยความสะดวกให้แต่ละกองทุนสามารถขับเคลื่อนไปได้ พร้อมๆกันในเครือข่าย ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ทั้งตัวแทนคณะกรรมการเครือข่ายระดับตำบล พัฒนาการอำเภอ การศึกษานอกโรงเรียน และองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งสิ้น ๔ หน่วยงาน
๓. สมาชิกกองทุน
เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสำหรับกองทุนเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่มีคนมาใช้บริการก็ไม่ต้องมีคณะกรรมการไว้บริหาร ดังนั้นการที่กลุ่มกองทุนจะดำเนินการแล้วสามารถชี้วัดว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ สิ่งที่จะสามารถดูได้คือสมาชิก ถ้าสมาชิกดี มีคุณภาพ มีความเสียสละ กองทุนก็จะมีคุณภาพด้วย
๓.๑ เชิงคุณภาพ
-   สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และปรัชญาของกองทุน เพื่อให้สมาชิกมีความตระหนักว่ากองทุนมิใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นของส่วนรวม สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ทุกคน แม้ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุน
-   สมาชิกมีวินัยในการชำระเงิน ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น วิธีที่จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกมีวินัยในการเงินเพิ่มขึ้น มีชีวิตแบบพอเพียง ควรมีการจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายของสมาชิก
๓.๒ เชิงปริมาณ
- สมาชิกที่จะเข้าร่วมเป้าหมายที่คิดไว้คือทั้งหมด (เพื่อประโยชน์ต่อตัวสมาชิกเอง เพราะเมื่อมีวินัยในการเงิน ก็จะรู้ตัวตนที่จะพอ) ตามกรอบตั้งไว้ประมาณ ๒๐ คนต่อกองทุน ดงนั้น ๙ กองทุน จะมีสมาชิกที่ทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายประมาณ ๑๘๐ คน
- คุณอำนวยที่คอยกระตุ้นเตือน กำหนดให้คณะกรรมการที่เป็นคุณกิจของกองทุนทำหน้าที่เป็นคนอำนวยความสะดวกและให้ความรู้แก่สมาชิก อัตราส่วนที่ตั้งไว้คือ ๑ : ๒ ถ้าสมาชิก ๑๘๐ คน คุณอำนวยต้องมีประมาณ ๙๐ คน
สรุป
กระบวนการพัฒนานั้นจะต้องมีความต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ สิ่งที่จะชี้วัดความสำเร็จ ความเข้มแข็งของกองทุนคือสมาชิก เพราะคณะกรรมการก็มาจากสมาชิก เมื่อสมาชิกดีก็เป็นตัวบ่งชี้ว่ากองทุนดี เมื่อนำกองทุนที่ดีมาเป็นเครือข่าย ก็จะทำให้ความดีมีพลังมากยิ่งขึ้น อาจจะมีพลังมากจนถึงมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การดำรงอยู่ ที่เคยฟุ้งเฟ้อ ติดวัตถุ หันกลับมาเป็นแบบพอเพียง ทำให้เกิดความยั่งยืนในการดำรงอยู่ของชุมชน ต่อเนื่องไปถึงสังคม และสุดท้ายคือประเทศชาติต่อไป
แม้งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานที่เห็นผลเพียงน้อยนิด อย่าเพิ่งท้อใจ นึกถึงสิ่งที่จะได้จากงานพัฒนาและวิจัยในครั้งนี้ อาจจะดูว่าน้อยนิด แต่พลังอันน้อยนิดเหล่านี้เมื่อประสานกันแล้วออกแรงช่วยกันผลักประตูถ้ำที่เป็นหินผาขนาดใหญ่ แม้วันนี้อาจจะเปิดประตูนั้นไม่ได้อย่าเพิ่งยอมแพ้ หันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษา เรียนรู้  หาวิธีการใหม่อยู่เรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งพลังอันน้อยนิดบวกกับสติ ปัญญา พลังความคิดอันยิ่งใหญ่ก็จะทำให้ประตูถ้ำเปิดออกได้เอง เพียงแต่อย่าท้อแท้ แม้กำลังจะถดถอย พยายามสู้กันต่อไป
หวังว่า “ความรู้ (ปัญญา)” จะพาให้ประตูถ้ำที่ปิดตายมานานค่อยๆเปิดออก มีแสงลอดมาทีละน้อย เพราะบางครั้งหากผลักประตูถ้ำแรงเกินไปหินอาจจะแตกทับเราหรือแสงที่ส่องผ่านเข้ามาแรงกล้าจนคนที่อยู่ในถ้ำปรับตัวไม่ทัน อาจทำให้เกิดอันตรายได้ จงค่อยเป็นค่อยไป
หมายเลขบันทึก: 7905เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2005 08:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท