TU LIBS
นาง ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

เสวนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของworld bank และไทย


ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                  ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ KM Applications:Bank and Thailand Experience Sharing ซึ่งWorld Bank เป็นเจ้าภาพร่วมกับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม หรือที่เรารู้จักกันว่า สคส. ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คน มาจากภาคเอกชน 40 % ภาครัฐ 40% และที่เหลือเป็นหน่วยงานหลากหลาย  และสำนักหอสมุดได้ส่งผู้เข้าร่วม 3 ท่าน มีผู้เขี่ยน คุณกาญจนาภรณ์ และพี่รุ้งทิพย์  และต้องขอบคุณพี่ป้าที่ช่วยเหลือในการส่งข่าวการจัดงานครั้งนี้ให้ทราบถึงได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ งานนี้ได้รับความสนใจจากผู้ที่เข้าฟังมาก ทุกคนเข้ามาด้วยความตั้งใจอยากฟังว่าคนอื่นเขาทำกันอย่างไร วิทยากรแต่ละท่านต่างล้วนแล้วมากด้วยประสบการณ์จริง โดยเฉพาะในภาคของประชาสังคมซึ่งทำได้ยากมากแต่เขาก็ทำได้สำเร็จ ฟังแล้วรู้สึกดีใจหากทุกจังหวัดมีคนที่คิดและทำแบบนี้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างที่ในหลวงกล่าวถึงมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นและงดงามในเรื่องรูปแบบการดำรงชีวิตของคนในภาคชนบท และมีความพอเพียงในการดำรงชีวิต มีวิถีชีวิตที่อยู่อย่างไทยๆเหมือนเช่นอดีต ที่คนไทยมีนำใจ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ช่วยกัน คิดถึงผู้อื่นมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวลดลง นึกจินตนาการแล้วรู้สึกสุขใจอยู่ลึกๆภายในใจตัวเอง

                  คำถามที่ถามตัวเอง ไปครั้งนี้ได้อะไรกลับมาใช้ประโยชน์ในงานkmของสำนักบ้าง มีหลายอย่างที่เป็นความรู้สึกดีๆต่อเรื่องการทำkmพอสมควร ทุกท่านที่มากประสบการณ์ต่างบอกถึงจุดเริ่มต้นของทุกทึ่ว่ามีปัญหาจากการทำKMทั้งนั้น ลำบากในเรื่องของการสร้างความรู้สึกของคนในองค์กรที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมมือในการทำเพื่อความรู้สึกเดียวกันว่าองค์กรที่เราอยู่ต้องมีการพัฒนา และมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้องค์กรก้าวหน้าในสิ่งที่ตัวเองทำ ฟังแล้วทำยากมาก ทุกคนเริ่มทำด้วยคนเพียงกลุ่มเดียวในองค์กรที่ตัวเองอยู่ แล้วขยายการทำKmไปเรื่อยทั้งองค์กร

               ถามว่าปัญหาที่เกิดในเริ่มแรกของทุกที่คืออะไร ทุกคนตอบเหมือนกันหมดคือเรื่องคน มีคนที่ต่อต้านและไม่เห็นด้วยกับการทำ KM การต่อสู้ของคนทำเรื่องนี้ผู้ที่ทำต้องใช้ความอดทนและอดกลั้นสูงมากถึงจะทำสำเร็จเพราะด้วยใจที่เป็นใหญ่มุ่งมั่นที่จะเฟ็นความเจริญขององค์กรในภายภาคหน้าเป็นสำคัญ

                 เริ่มต้นเรื่องวิชาการของkmบ้าง เดี่ยวกลายเป็นแค่การเล่าเรื่อง คุณ Erik Johnson ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านนี้ของWorld Bank ผู้ซึ่งคร่ำหวอดในงานนี้เดินทางมาหลายประเทศเพื่อทำงานด้านนี้ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาในภาคชนบท  และในบทสรุปของการพูดคุยของคุณ Eric บอกว่า ปัจจัยที่เป็นความสำเร็จของการทำ KM มี 6 ด้านคือ

            1. KM  is for Business Needs Only

            2. Management

            3. Inclusion/Cooperation

            4. Staff Skills

            5. Technology

            6. Communication

            เมื่อเทียบกับประสบการณ์จริงของคนไทยที่ทำ KMต่างก็มีทัศนะในเรื่องของความสำเร็จ ในการทำ KMต่างกันไป

            KM ของบริษัทปูนซิเมนต์ได้บอกว่าผู้นำเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับบริษัทเขา ต้องคิดว่าเมื่อคิดจะเปลี่ยนแปลงแล้วต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์กรอย่างไรให้ยอมรับและช่วยกัน   และต้องมีเวที่ที่จะให้เขาแสดงออกและทำ KM ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมโดยที่เมื่อทำแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนการทำคือคุณอำนวย

             ส่วนKMของกรมอนามัย ที่ผู้เขี่ยนรู้สึกชื่นชอบในวิธีการและความตั้งใจอันชัดเจนของเขาซึ่งคุณศรีประภาเขาเป็นผู้นำของกรมอนามัยนี้เองบอกว่า ความสำเร็จของเขาคือหิ่งห้อยทุกตัวในองค์กรที่ต่างฉายแสงสว่างพร้อมๆกัน งดงามทั้งความรู้สึกและผลงานที่ปรากฏ เขาใช้หลักการทำ KM ของเขาคือ เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา เขาให้ความสำคัญในเรื่องของคนมากที่สุด เขาบอกว่า หากคนไม่แข็งแรงองค์กรก็ไม่แข็งแรงตามไปด้วย หัวหน้างานในแต่ละจุดเป็นเหมือนแม่ที่ต้องดูแลลูกๆซึ่งหากเจอลูกที่ดื้อ ต้องมีวิธีการที่ทำอย่างไรถึงจะให้ลูกยอมทำตาม เขาใช้หลักธรรมในการขับเคลื่อนให้ลูกชายที่ดื้อๆของเขาให้ดำเนินการโดยต้องเข้าใจในตัวบุคคลเป็นเรื่องหลัก การจัดทัพ เรื่องการจัดคนถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดและต้องตีให้แตกต้องมีการซ้อมบทก่อนที่จะลงมือทำ และต้องปักธงรบ เพื่อเป้าหมาย ทุกครั้งที่ทำ ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนถึงลงมือทำ ต้องกัดไม่ปล่อย ไม่ท้อถอย ท้อแท้ได้แต่ถอยไม่ได้ และเมื่อทำคนที่สำคัญที่สุดคือ คุณอำนวย (facilitator) เมื่อลงมือทำแล้วจะเกิด skill อันนี้จะเป็นจุดที่นำไปสู่ความสำเร็จ และKM จะเกิดประโยชน์สูงสุด

             ส่วนการทำ COP หรือที่เรารู้จักกันคือการสร้างชุมชนนั้นเอง ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายอยากรู้ว่าเขาทำอย่างไรถึงจะประสบผลสำเร็จ ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเด็นสั้นๆปัจจัยความสำเร็จของCOP คือ ผู้นำ ผู้นำควรจะมี 2 คนใน 1 COP เพื่อเป็นตัวแทนและช่วยกันสร้างงาน คนที่เป็นคุณอำนวยต้องคัดเลือกคนที่สามารถนำคนมาร่วมกันแลกเปลี่ยนให้ได้ ต้องให้อำนาจ และต้องมีแรงกระตุ้น แต่การสร้างแรงกระตุ้นโดยการให้รางวัลนั้นทุกฝ่ายบอกว่าไม่ยั่งยืน แต่หากใช้วิธีการสร้างความภาคภูมิใจทุกคนให้ความร่วมมือมากกว่า

               ภาพของการสร้างCOP ของภาคประชาสังคมดูจะเป็นบท บาทที่เด็นและน่าภาคภูมิใจมากที่สุด ผู้นำจะเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของการสร้างCOPของทุกที่ การเริ่มต้นของCOP นั้นต้องเริ่มจากเล็กๆก่อนแล้วขยายต่อไปเรื่อยๆ

               ขอสรุปว่า การสร้าวCOP นั้น สิ่งที่สำคัญที่ต้องมีคือ

                1. ต้องเคารพในความรู้ที่ทุกคนบอก

                 2. ผู้ที่ให้ความรู้ต้องมีความภาคภูมิใจ

                  3. มีใจรักที่จะทำ

                  4. สนุกและอยากทำ

                  5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้รอบ มองโลกในแง่ดี ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับทุกคนได้อย่างดี

                  6. ทุกครั้งที่ทำต้องตั้งเป้าของงานเอาไว้ให้ชัดเจน

          วิธีการทำ COPต้องมีการทำโครงสร้างแบบแนวนอนเพื่อเชื่อมประสานกับงานทุกฝ่ายอย่างเนียนและกลมกลืนและต้องลงมือทำอย่างจริงจังในบรรยากาศเชิงบอกแล้วสร้างความเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกให้ได้โดยวิธีการข้ามสายงาน

             เขียนมายาวมากแล้วคงบอกกล่าวเล่าขานให้ทุกคนแค่นี้  อย่างน้อย ก็มีความรู้อีกว่าKM ที่พวกเราทำไม่ได้เดินทางผิด เพียงแต่เริ่มต้นแค่นั้นเอง หากเราทุกคนรู้สึกว่าองค์กรแห่งนี้คือบ้านของเราอีกหลังหนึ่ง เรารักที่จะอยู่กับบ้านหลังนี้ เราต้องดูแล เอาใจใส่ทำบ้านหลังนี้ให้น่าอยู่อวดโฉมของบ้านเราให้คนอื่นเห็นให้ได้ว่าบ้านเราเป็นแบบอย่างของบ้านที่หลายคนอิจฉา อยากสร้างบ้านแบบเราบ้างนะ แล้วเราจะรู้ว่าความรู้สึกรัก และภาคภูมิใจในบ้านหลังนี้เป็นอย่างไร เป็นความรู้สึกที่อยู่ภายในมันยั่งยืนตลอดไป

พบกันใหม่กับ กิจกรรมKMที่อื่นๆแล้วเล่าสู่กันฟังบ้างนะ

  ตุ๊ก (สุกัญญา)              

 

คำสำคัญ (Tags): #km#world#bank
หมายเลขบันทึก: 78990เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากค่ะ ที่นำความรู้จากงาน KM Applications:Bank and Thailand Experience Sharing มาถ่ายทอดให้สมาชิกใน gotoknow ได้อ่านกัน ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มากค่ะ

 

เขียนได้ดีมากค่ะ อ่านแล้วเกิดความเข้าใจและเป็นการกระตุ้นให้ผู้ที่กำลังทำหรือจะทำ km เดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท