การฝึกจิดแบบราชาโยคะ


การฝึกจิดแบบราชาโยคะ
ทำไม ต้องฝึกฝนจิตใจ ?
 

ผู้คนเรียนรู้ที่จะฝึกฝนจิตใจ ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย เช่น ต้องการความสงบภายใน เป็นการแสวงหาสัจจะ ความหวังที่จะค้นพบความสูงส่งในชีวิต ความสุขอันจริงแท้ของจิตวิญญาณและอื่นๆ ซึ่งการฝึกฝนจิตใจ สามารถตอบสนองต่อความปรารถนาเหล่านั้น

นอกจากนี้ การฝึกฝนจิตใจยังช่วยทำให้เราได้สัมผัสกับ ธรรมชาติของจิตใจที่ไม่มีขีดจำกัด ด้วยการปลดปล่อย เราให้เป็นอิสระจากเสียงอึกทึกภายใน การพรํ่าบ่นของ จิตใจในรูปของความคิดที่ไร้ประโยชน์ เราจำเป็นต้องมี ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์อันลึกลํ้าระหว่างจิตใจและ จิตใต้สำนึก เพื่อที่เราจะสามารถควบคุมอารมณ์และดึง เอาคุณสมบัติที่ดีงามขึ้นมาใช้ คุณประโยชน์หลักก็คือการ พัฒนาระดับของความพอใจ พลังสมาธิ การสร้างสรรค์ และประสิทธิภาพในการสื่อความหมาย ซึ่งถือเป็นรากฐาน สำคัญของสภาวะที่มั่นคงภายใน และความสัมพันธ์ ที่สอดคล้องกลมกลืนกับผู้อื่น

ผลของการฝึกฝนจิตใจอย่างสมํ่าเสมอ นำเราไปสู่การ เติบโตทางจิตวิญญาณ เป็นการเข้าถึงแก่นแท้ของการ มีชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง แท้จริง



การฝึกจิต แบบราชาโยคะ
 

นิสัยที่ไม่ดี เป็นภาวะของการเสพติด เปรียบเช่นจอมเผด็จการ ผู้อยู่เหนือเวลา มีอำนาจเหนือเหตุผล สามารถทำอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องคิดหรือใส่ใจกับความรู้สึกของใคร

จิตใจ เป็นเหมือนบัลลังก์ของราชา ซึ่งถูกช่วงชิงไป โดยจอมเผด็จการ ผู้วางอำนาจโดยปราศจากความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจ

เป้าหมายการฝึกจิตแบบ ราชาโยคะ คือการเปลี่ยนนิสัย ที่ไม่ดีของเรา เป็นการขับไล่จอมเผด็จการออกไปโดยอาศัย ความรู้ทางจิตที่สมบูรณ์ เพื่อเปิดดวงตาที่สามแห่งปัญญา จนเกิดการหยั่งรู้ภายใน และมองเห็นหนทางที่จะเอาชนะ จอมเผด็จการที่ยึดครองจิตใจ

ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสงบก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะ ในความนิ่งสงบเท่านั้น ที่เราสามารถมีสายใยกับสิ่งสูงสุด ผู้เป็นแหล่งพลังทางจิตวิญญาณ ที่จะให้พละกำลังแก่เรา ในการกอบกู้บัลลังก์ที่สูญเสียไป อันหมายถึงการกลับมา เป็นราชาผู้มีอำนาจในการปกครองตนเองอีกครั้ง

การฝึกจิตแบบราชาโยคะ ไม่ใช่การออกกำลังกาย ไม่ต้องหยุดความคิด หรือการกระทำ ไม่มีการใช้คัมภีร์ คำสวด มนตรา หรือการกำหนด อิริยาบถใดๆ เป็นการฝึกสมาธิแบบเปิดตาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ จึงยังคงความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคม และบทบาท หน้าที่ต่างๆได้ตามปกติ

ราชาโยคะได้ให้วิถีทางที่มากไปกว่าเทคนิคในการควบคุมความเครียด หรือให้การผ่อนคลาย แต่เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เราเข้าใจตนเองอย่างลึกลํ้า เป้าหมายสูงสุด คือการเข้าถึงภาวะแห่งความสมบูรณ์พร้อม ทางจิตวิญญาณ ซึ่งหมายถึงการมีประสบการณ์ในธรรมชาติดั้งเดิมที่บริสุทธิ์และสูงส่ง ของตนเอง จนเกิดความเคารพตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง อันมีผลในการ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในสังคมและโลก

คำสำคัญ (Tags): #โยคะ
หมายเลขบันทึก: 78512เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อืมส์ น่าสนใจมาก

ผมเองเคยเล่นโยคะมาสองเดือนแล้วเลิกร้างไปนาน

ถ้าต้องชวนคุณนิศาชลมาสอนที่คณะเสียแล้ว

คุณนิศาชล หายไปไหนแล้ว มีแขกมาเยี่ยมถึงบ้าน ปรากฏว่าเจ้าของบ้านไม่อยู่วิสาสะเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท