แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่


การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management - HCM) คือ การบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งเป็นการรวมกิจกรรมอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่การกำหนดและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถดีที่สุด (talent) การรักษาบุคลากร การพัฒนาและจูงใจให้บุคลากรแสดงศักยภาพสูงสุดของตนเองได้

กระแสทุนนิยมที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการบริหารจัดการในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ กระทั่งหน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษา ต่างได้รับอิทธิพลจากกระแสทุนนิยมจนต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการของตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันและสร้างความเติบโตขององค์การ

ในส่วนภาครัฐและสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องปรับการบริหารจัดการขององค์การของตนเองในด้านการให้บริการเช่นกัน เพื่อสนองต่อความต้องการของภาคเอกชนที่เริ่มสูงขึ้น

ในยุคของทุนนิยมนี้เอง องค์การที่มีทุนมากกว่านับว่ามีความได้เปรียบเหนือกว่าองค์การอื่น และหลังจากปลายศตวรรษที่ 20 แนวคิดเรื่องทุนในการดำเนินการได้ถูกตีความมากกว่าความหมายเรื่องของการเงิน ทรัพยากร การบริหารจัดการ และเทคโนโลยี แต่ได้เริ่มให้ความสำคัญต่อบุคลากรมากขึ้น และถือเป็นทุนสำคัญขององค์การในการสร้างความได้เปรียบในการดำเนินงาน มีนักคิดหลายท่านเรียกบุคลากรแนวคิดนี้ว่า "Human Capital" หรือ ทุนมนุษย์ สำหรับนักเศรษฐศาสตร์มองว่าทุนมนุษย์คือ การรวมของทักษะ ความรู้ สุขภาพ และค่านิยมในตัวคนคนหนึ่งซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นการลงทุนหรือการจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับบุคลากร ทั้งการศึกษา การฝึกอบรม สวัสดิการ และอื่นๆ ถือเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนคือรายได้ขององค์การ

การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management - HCM) คือ การบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งเป็นการรวมกิจกรรมอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่การกำหนดและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถดีที่สุด (talent) การรักษาบุคลากร การพัฒนาและจูงใจให้บุคลากรแสดงศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทุนมนุษย์จำเป็นต้องมีแนวคิดที่สร้างสรรค์ มีแรงขับ ความกระตือรือร้น และให้ความสำคัญต่อการมุ่งสู่ความสำเร็จที่เป็นเลิศ

ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นการจัดการที่ผู้บริหารทุกระดับในองค์การจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้จึงเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้บริหารทุกระดับที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับนักทรัพยากรมนุษย์ในองค์การของตนเอง เพื่อวางแผนและดำเนินการเพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและสร้างผลผลิตสูงสุดให้กับองค์การ

นอกจากนี้ การมองบุคลากรในเชิงของการเป็นทุนเพื่อสร้างรายได้และความเติบโตขององค์การแล้ว แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นปัจเจกบุคคล (individual) แทนการบริหารจัดการแบบกลุ่ม ซึ่งมีการปฏิบัติและการกำหนดผลตอบแทนในลักษณะเหมือนกันที่มีความสะดวกต่อผู้ดำเนินการ แต่ไม่สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจของบุคลากรที่มีความแตกต่างกันได้

โดยเฉพาะอาจไม่สามารถจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงขององค์การไว้ได้ เพราะองค์การไม่สามารถกำหนดผลตอบแทนในระดับที่บุคลากรที่มีศักยภาพสูงเกิดความพอใจ หากยังคงแนวคิดที่จะให้ในลักษณะเท่ากันเพื่อความยุติธรรมอีกต่อไป แนวคิดเรื่องการบริหารแบบปัจเจกบุคคลนี้ทำให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติหลายประการได้แก่

1.การสรรหาและคัดเลือก

การสรรหาและคัดเลือกจะมุ่งเน้นการคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพสูง หรือมีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ตามทิศทางที่องค์การต้องการ คุณสมบัติของพนักงานจะถูกกำหนดพร้อมกับแหล่งการสรรหาที่เฉพาะเจาะจง เช่น สถาบันการศึกษาที่มีสาขาวิชาที่ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้คุณสมบัติที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในธุรกิจจะได้รับความสนใจมากขึ้น

2.การพัฒนาศักยภาพ

การพัฒนาจะมุ่งเน้นการพัฒนาจากบุคลากรที่มีความชำนาญและความสามารถเฉพาะด้าน เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างทักษะหลากหลาย (multi-skilled) โดยผ่านการวิเคราะห์ความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอย่างเป็นระบบ วิธีการพัฒนาจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านหลักสูตรต่างๆ ที่จัดทำไว้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมบริหารความรู้ (knowledge management) ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงาน จะมีบทบาทร่วมกันมากขึ้นในการกำหนดเนื้อหาและวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน ผู้บริหารและหัวหน้างานมีบทบาทในการเป็นผู้สอนแนะ (coaching) พร้อมกับการส่งเสริมให้ พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง

3.การจัดสวัสดิการและผลตอบแทน

ผลประโยชน์ตอบแทนจะถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการจูงใจเฉพาะบุคคล ซึ่งมีความต้องการและคุณลักษณะพื้นฐานแตกต่างกัน การจัดสวัสดิการแบบคาเฟ่ ทีเรีย (cafeteria) ที่กำหนดงบประมาณของแต่ละบุคคล และให้พนักงานเลือกประเภทสวัสดิการที่ต้องการด้วยตนเอง เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น นอกจากนี้การบริหารผลตอบแทนจะเชื่อมโยงกับการบริหารผลการปฏิบัติมากขึ้น

4.การจูงใจ

การจัดสวัสดิการด้านการศึกษาต่อในระดับสูง การฝึกอบรม และผลตอบแทนที่จูงใจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บุคลากรให้ความสนใจ รวมทั้งการบริหารจัดการที่ให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจด้วยตนเองมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ซึ่งมีความคิดเห็นและมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร และนักทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งต้องมีภารกิจร่วมกันมากขึ้นแทนการแบ่งแยกหน้าที่ชัดเจน และการบริหารจะให้ความสำคัญต่อบุคลากรที่มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้การจัดการด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ถูกออกแบบเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ง่าย

แนวคิดนี้จึงไม่ต่างจากแนวคิดการบริหาร ธุรกิจที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและไม่ยึดติดกับการบริหารแบบมุ่งเน้นวิธีการหรือกระบวนการ มากกว่าการมุ่งเน้นผลลัพธ์

ประชาชาติธุริจ   วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3870 (3070)

แนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่

คอลัมน์ HR Conner
โดย รัชฎา อสิสนธิสกุล วิทยากรที่ปรึกษา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ [email protected]

หมายเลขบันทึก: 78389เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะอาจารย์

สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ

Infinities of Love.Tenderly in our hearts.In our World of Love.

ขอบคุณสำหรับรัก....ในโลกนี้

ครูอ้อย

I agreed with the concept of Human Capital Management totally. In my work experience of 21 years in five agencies, one is private company, one is government, one is international consulting agendy and two are internation non-profit organizations.

These five agencies have different approaches for threating its staff. While the 2 private agencies did not emphasise on staff capacity building and  incentive measurements, the government agencies and internation NFO provide both of them.  However, the level and quality of capacity building and incentive measurements are extreamly different.

One of the key factor that these 5 organizations treating the staff differently is because some of them did not percieve their staff as the capital of the organization. Currently, I am working with the international NFO which treat the staff as the capital of organization. Even I have been working with this organization only one year, but I have got already 3 international trainings and 3 trips to abords for international fair attending. The office also provide equality 

These differentiates have impacts to my feeling and loyalty toward the organization, so I am very much commit myself to work harder with the current one. 

My contribution here is to support the above theory that Human Capital Management is very important in organizational management.

Piyathip 

รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ

ได้อ่านแนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่แล้วให้คิดถึงองค์การที่ไม่ค่อยมีโอกาสจะได้สรรหาหรือคัดเลือกคนเข้ามามากนัก..แล้วยังต้องพยายามหาแรงจูงใจให้อยู่กับองค์การนานๆอีก..บางที่จัดการพัฒนาศักยภาพให้จนเกิดความชำนาญ...แล้วก็สูญเสียไป..ก็ทำให้คิดว่าอะไรหนอ? หรือใครหนอ?จะช่วยให้บุคลากรที่มีอยู่ คงอยู่ในองค์การนานๆ.....

.........ความจงรักภักดี หรือ ภาวะผู้นำ........?

จากบทความเกี่ยวกับแนวความคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่นั้น ถือว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์กรด้วย เนื่องจากในบางองค์กรนั้นให้ความสำคัญกับการบริหาร ในส่วนของ Money มากกว่าให้ความสำคัญกับ Man การดำเนินการในหลายๆเรื่อง นึกถึงงบประมาณสนับสนุนเป็นสำคัญ  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญเป็นอันดับแรก น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างภาวะผู้นำให้กับผู้บริหารองค์กร ก่อนแล้วค่อยมาคิดที่จะบริหารทรัยากรมนุษย์ในระดับอื่นขององค์กร

เป็นบทความที่น่าสนใจมากทีเดียว กับแนวความคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ที่มีกระแสมากในยุคนี้  เพราะคนเป็นทุนที่สำคัญในองค์กร เป็นทรัพยากรที่มีค่า การบริหารคนในองค์กรขึ้นอยู่กับผู้นำของค์กรนั้นๆ ว่าจะเห็นความสำคัญของคนมากแค่ไหน  คนเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงาน โดยเฉพาะคงเก่ง (Talent )  เป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญ และเป็นบุคลากรแนวหน้าขององค์กร หากองค์กรใดมีบุคคลเหล่านี้มาก และสามารถธำรงค์รักษาเขาไว้ในองค์กรได้ องค์กรนั้นก็จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานสูงและองค์กรมีความเจริญเติบโตสูงในอนาคต  แต่การบริหารคนเก่งมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับผู้นำที่จะใช้กลยุทธในการสร้างความเป็น Talent ของเขาอย่างไร และวัฒนธรรมขององค์กรนั้นเป็นอย่างไร การส่งเสริมทางบวกให้บุคลากรกลุ่มนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะพวกเขาทีทั้ง ทักษะ  ความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานที่สำคัญมากที่ดี สิ่งหนึ่งที่ให้เขาเป็นส่วนสำคัญ คือการเป็น coaching ที่ต้องให้เขาทำในองค์กรเพื่อเป็นการทำ KM หรือ CoP ในองค์กรในการสอนและถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ให้กับบุคลากรอื่นๆ และให้คุณค่าในตัวเขาทำให้เขาได้อยู่ในองค์กรนั้นนานๆ

เป็นบทความที่น่าสนใจมากทีเดียว กับแนวความคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ที่มีกระแสมากในยุคนี้ เพราะคนเป็นทุนที่สำคัญในองค์กร เป็นทรัพยากรที่มีค่า การบริหารคนในองค์กรขึ้นอยู่กับผู้นำของค์กรนั้นๆ ว่าจะเห็นความสำคัญของคนมากแค่ไหน คนเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงาน โดยเฉพาะคงเก่ง (Talent ) เป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญ และเป็นบุคลากรแนวหน้าขององค์กร หากองค์กรใดมีบุคคลเหล่านี้มาก และสามารถธำรงค์รักษาเขาไว้ในองค์กรได้ องค์กรนั้นก็จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานสูงและองค์กรมีความเจริญเติบโตสูงในอนาคต แต่การบริหารคนเก่งมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับผู้นำที่จะใช้กลยุทธในการสร้างความเป็น Talent ของเขาอย่างไร และวัฒนธรรมขององค์กรนั้นเป็นอย่างไร การส่งเสริมทางบวกให้บุคลากรกลุ่มนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะพวกเขาทีทั้ง ทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานที่สำคัญมากที่ดี สิ่งหนึ่งที่ให้เขาเป็นส่วนสำคัญ คือการเป็น coaching ที่ต้องให้เขาทำในองค์กรเพื่อเป็นการทำ KM หรือ CoP ในองค์กรในการสอนและถ่ายทอดความรู้ ทักษะ ให้กับบุคลากรอื่นๆ และให้คุณค่าในตัวเขาทำให้เขาได้อยู่ในองค์กรนั้นนานๆ
วิมลวรรณ ตันติวงศ์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ใครๆก็พูดถึงแต่ไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้ โดยเฉพาะหากผู้บริหารไม่ให้ความสนใจ และเห็นถึงความสำคัญ รวมถึงผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทำตามสมัยนิยม เห็นองค์กรอื่นมี ตัวเองก็อยากมีบ้าง บางครั้งก็ไม่ดูความพร้อมขององค์กรตัวเอง มีความเห็นว่า ผู้ที่นำสิ่งใหม่ๆไปใช้จะต้องศึกษาให้ดีก่อน และอาจต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะสมค่ะ   ... วิมลวรรณ
  ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นของทุกองค์กรแต่เมื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์  ยังตกอยู่ในมือของผู้บริหารยุคเก่า  อาจมิได้เป็นไปตามแนวคิดที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร  จึงส่งผลให้กับคนที่พร้อมจะทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถให้กับองค์กร  ประเทศชาติเกิดความท้อใจ  จึงกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมเก่าๆไป  เสียดายนะคะ.......

การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ในสมัยนี้  แผนกทรัพยากรณ์บุคคลต้องไม่มองเฉพาะว่าจะสรรหาคนอย่างไร  แต่จะต้องมองว่าจะทำให้คนทำงานได้อย่างไร  และจะทำให้คน Engage องค์กรอย่างไร โดยเฉพาะคนที่มากความสามาถ  เพราะถ้าเมื่อไรที่คนเหล่านี้อยู่ในองค์กร  ย่อมสร้างความก้าวหน้าให้องค์กรได้อย่างต่อเนื่อง   แต่โดยทั่วไปคนที่มีความสามารถมักจะไม่อยู่ในองค์กรเดิม  คนเก่งย่อมมีคนต้องการตัวมาก เขาก็จะมีทางเลือกมาก   องค์กรที่ไม่สามารถรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้เขาก็จะต้องประสบปัญหามากมาย  เช่น จากประสบการณ์ของตนเององค์กรที่อยู่ไม่สามารถรักษาพนักงานในระดับวิชาชีพที่ขาดแคลนไว้ในองค์กรได้  โดยผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นว่าปัญหานี้สำคัญแม้ทีมงานเราจะพยายามชี้แจงให้ผู้บริหารเห็นถึงปัญหานี้แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะท่านผู้บริหารรู้สึกว่าจะทำให้เกิดต้นทุนที่สูง   ทำให้ทีมงานของผู้เขียนต้องสรรหาคนใหม่เข้ามาทำงานทดแทนคนเก่าที่ลาออกไปอยู่เสมอ  ซึ่งเราจะต้องเสียเวลาในการฝึกคนใหม่มากมายเสียทั้งกำลังเงิน  และกำลังคน  รวมทั้งเกิดความเสี่ยงต่าง ๆในองค์กรอย่างมากมาย  ซึ่งจนสุดท้ายความเสียที่เกิดขึ้นมันค่อนข้างมาก  ท่านผู้บริหารจึงได้เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นและเห็นด้วยกับทีมว่าต้องแก้ไข   แต่เราก็พบว่าคนของเราที่สร้างมาให้เขามีความสามรถ  เก่ง  ได้จากเราไปเพื่อไปสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรคู่แข่งซะแล้ว   

สมัยนี้เราต้องหาคนดี คนเก่งไว้ในองค์กรครับ ไม่มีใครเก่งหรอก ถ้าไม่ได้รับการพัฒนา เพราะเราเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นคนเก่ง และคนดี ในองค์กร

แนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ และการดำเนินการต่าง ๆ ในกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management Process:HRMP)เป็นการใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาศึกษา วิเคราะห์ จะต้องมีกรอบแนวคิดในเรื่องของ มนุษย์ และองค์การ

-ความต้องการของคน และองค์การ

-พฤติกรรมของคน และองค์การ

-แรงงานสัมพันธ์ และสหภาพแรงงาน

-กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มอรูปนัย (Informal Org.)

-จิตวิทยาองค์การและส่วนบุคคล

-วัฒนธรรมองค์การ

-สังคม

-การเมืองในองค์การ

-เทคโนโลยี และสารสนเทศภายในองค์การ

เป็นการรวบรวมแนวคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นระบบจากการบริหารงานบุคคล(เดิม)การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HR)และพัฒนาเป็นกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในที่สุด (HRMP)

ในปัจจุบัน ยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นโลกของการสื่อสารไร้พรมแดน ไม่มีขีดขั้นจำกัด โอกาสในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ ต้องถามว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คน ทำหรือไม่ทำ อะไร จะใช้อะไรเป็นมาตรการในการสร้างแรงบันดาลใจให้คนทำในสิ่งที่เป็นการตอบสนองความต้องการขององค์การ

จะถามว่า แนวคิดดังกล่าว ได้อ้างอิงจากทฤษฎีของใครครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ

และใช้อะไรเป็นตัววัดของประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ครับ

อยากทราบข้อดี/ข้อเสีย ของยุคใหม่ ยุุคปรับปรุง ยุคเก่า ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท