... ข้างหลังบ้าน ...


ถ้าที่นี่คือกองทัพ...เราคือผู้ผลิตอาวุธ หากเป็นกองถ่ายละคร...เราคือผู้เขียนบท แต่ที่นี่คือห้องสมุด...เราคือผู้วิเคราะห์ทรัพยากร

             มาตามคำเรียกร้องของใครบางคน   . หรืออาจจะหลาย ๆ คน   จริงๆ แล้วดิฉันมีเรื่องเล่าเยอะมาก แต่ดูเหมือนจะกลั่นกรองออกเป็นอักษรไม่ค่อยเก่ง   หลังจากที่มองดูฝาบ้านนานพอสมควร เพื่อหาเรื่องราวมาเขียน (วรรณกรรมข้างฝา) ก็เหลือบไปเห็นแต่ฝาที่มีแต่รอยร้าว   ซึ่งก็ไม่มีความรู้ทางวิศวกรรม เลยไม่รู้จะเขียนไงดี   เขียนเล่าเรื่องงานตัวเองดีกว่า  ว่าที่เห็นว่าก้ม ๆ เงย ๆ ไม่พูดไม่จากับใคร  แท้จริงแล้ว ..เธอทำอะไรบ้าง ?

           

            ชีวิตของเหล่านักวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ   ที่วัน ๆ อยู่แต่กับ หนังสือ และหน้าจอคอมพิวเตอร์แทบจะไม่มีโอกาสเอาหน้างาม ๆ ไป เจอผู้คนเลย   5555  พูดไปน่าสงสาร  (ใครไปมองหาในห้องสมุดคงไม่เจอถ้าไม่มีวาสนาต่อกัน)   แค่อยากเล่าให้ฟังว่าหากจะต้องเป็น Cataloger ต้องรู้อะไรบ้าง เผื่อจะมีคนเห็นใจ

  <div style="text-align: center"></div><ul>

  •  เราต้องมีความสามารถในการเป็นนักชิม ?  ในที่นี้หมายถึง   นักชิมหนังสือ แปลว่า แค่อ่านหรือกวาดสายตา ให้รู้ว่าหนังสือ ที่ผ่านมือเรา ไปนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร   (คงไม่มีใครคิดว่าเรา กินหนังสือหรอกนะค่ะ อิอิ)
  • เราต้องมีความสามารถในการใช้ 21 หมวด อรหันต์ ของระบบ LC ได้ (หมวด A-Z ซึ่งเป็นคู่มือภาษาอังกฤษที่ใช้ในการทำงาน ประมาณ 20 กว่าเล่ม ดังนั้นต้องมี Dictionary ประจำกาย)
  • ต้องรู้และใช้ AACR2 (Anglo American Cataloging Rules 2) ได้เป็นอย่างดี
  • ต้องรู้และใช้ MARC 21 (Machine-Readable Catalog 21) ได้อย่างยอดเยี่ยม
  • ต้องมีความรู้และสามารถใช้งาน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) ได้เป็นอย่างดีที่สุดกว่าใคร ๆ
  • ต้องมีทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมต้องรู้ลึกซึ้งไปถึงเรื่องของการจัดการฐานข้อมูลเสียด้วย   บางทีอาจต้องพ่วงการเป็นโปรแกรมเมอร์ เข้าไปอีก  และหากซ่อมคอมพิวเตอร์เองได้ก็ต้องพึงกระทำ
  • คุณยังต้องเป็นนักแสวงหา ข้อมูล ที่ดีเพื่อประหยัดเวลา ในการทำงาน (ดูเขาแล้วปรับปรุงให้เป็นแบบของเรา)    ไม่ใช่เอาแต่ลอก โดยไม่รู้ที่มาทีไป หาความเป็นตัวเองไม่ได้
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p>        เหมือนไม่ยากสำหรับเราแต่จริง ๆ แล้วเราใช้เวลานานมากในการที่จะพัฒนาคน 1 คน ให้สามารถหยิบหนังสือมา 1 เล่มแล้วเอาข้อมูลลงฐานได้ ภายในเวลาไม่เกิน 2 นาที   เพราะ  คุณต้องมี AACR 2 และ MARC 21 อยู่ในกระแสเลือด   คุณต้องใช้ระบบได้อย่างคล่องแคล่ว ต้องคีย์ข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำ (ไม่ใช่การ Copy อย่างที่ใคร ๆ คิด)   นี่แค่บางส่วนนะค่ะ   ก่อนที่จะออกสู่สายตาประชาชนให้คุณ ๆ ค้นหนังสือผ่าน อินเตอร์เน็ต   สามารถ Download วิทยานิพนธ์ออนไลน์ ได้      เราต้องทำ  link อะไรอีกตั้งเยอะตั้งแยะ      </p><p></p><p>      งานเบื้องหลังอย่างเรา  แม้จะไม่ค่อยได้รับคำชม  แต่ก็ทำด้วยความเต็มใจและตั้งใจ  โดยหวังแค่ว่า ทำอย่างไรให้หนังสือออกให้บริการเร็วที่สุดและผิดพลาดน้อยที่สุด    ฐานข้อมูลมีปัญหาน้อยที่สุด  (เล่าไปน้ำตาคลอ ๆ) เฮ้ย !!!  ออกจะเครียดไปสักนิด แต่...สู้ สู้  สุดใจค่ะ  </p><p></p>

    คำสำคัญ (Tags): #cataloging
    หมายเลขบันทึก: 78311เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (20)

    อย่างงัยก็สู้สู้นะคะ

    เป็นคนเบื้องหลังก็งี้แหละคะ

    อย่างงัยเราก็คนเบื้องหลังเหมือนกันคะ

    สู้สู้ สู้ตาย

    • มาให้กำลังใจหลังจากใช้ความพยายามแล้วประสบผลสำเร็จ
    • ดีใจปานได้แก้ว
    • เข้าใจครับว่างานยุ่งมากเห็นค้นฐานข้อมูลกันวุ่นๆ เจ้าคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยชอบทรยศด้วย
    • ขอบคุณมากครับ ที่ยังให้ผมมีความหวังในการทำงานใน gotoknow

    บางครั้งผู้คนมักมองข้ามความสามารถตรงนี้ไป ไม่ใช่ว่าจะไปหยิบใคร จากตรงไหน ให้มานั่งเป็น cataloger  มืออาชีพได้ หากบุคคลนั้น ไม่มีความรู้ในเรื่องการวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ ลองคิดกันดูเล่น ๆ นะคะว่า คุณเดินไปเห็นหนังสือหนึ่งเล่ม คุณบอกได้มั้ยคะว่าหนังสือเล่มนั้นน่ะ ถ้านำมาให้เลขหมู่เพื่อให้เจ้าหนังสือเล่มนั้นน่ะ มีที่อยู่ ควรอยู่ตรงไหน คุณคงทำไม่ได้ใช่มั้ยละคะ ถ้าคุณไม่รู้จักวิธีการวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น สมัยนี้ห้องสมุดเป็นระบบอัตโนมัติ ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการค้นหาหนังสือ แล้วยังไงล่ะ อยู่ดีดีหนังสือเล่มหนึ่งจะเดินมาโชว์ตัวเองว่ามันอยู่ที่ไหนบนชั้นหนังสือ มันก้อคงจะทำไม่ได้ ถ้าไม่มีการคีย์ข้อมูล รายการทางบรรณานุกรม ลงไปในฐานข้อมูล แล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าคุณคีย์ไม่ถูกตาม Tag ต่าง ๆ ของระบบที่กำหนดไว้ ซึ่งต้องเป็นมาตราฐานเดียวกัน ข้อมูลก็ไม่สามารถปรากฎให้คุณเห็นได้ ทั้งนี้นัก Cataloger ก็ต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่อง MARC21 เป็นอย่างดี เท่านั้นยังไม่พอ เมื่อรู้จัก MARC21 แล้วคุณจะลงรายการแต่ละรายการนั้นอย่างไร ถ้าคุณไม่รู้จัก AACR2 ซึ่งเป็นมาตรฐานการลงรายการทั่วโลก และบางคนยังมีความคิดที่ว่า Cataloger ใช้วิธี copy catalog สุดจะบรรยาย เราไม่ได้ทำโดยไม่ดูนโยบายของเรา นี่แค่หนังสือทั่วไปนะ ยังไม่รวมไปถึงพวก วิทยานิพนธ์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งแต่ละที่มันก็ไม่ได้เหมือนกัน แล้วเราจะไป copy ที่ไหนได้ ถ้าเราไม่ทำเอง แค่ชื่อเรื่องก็แปลแล้วแปลอีก (ภาษาไทยนะ) ภาษาอังกฤษนี่อีกเรื่องนึงเลย แล้วพวกงานวิจัย วิทยานิพนธ์ กว่ามันจะขึ้นไปเสนอหน้าบนเว็บได้เนี่ย มันผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สาหัสสากรรจ์ แต่ละอย่างไม่ใช่เรื่องง่าย คิดแล้วก็น่าเห็นใจ คนเบื้องหลังก็งี้แหละ พอคีย์ผิดก็โดนด่า แต่พอเป็นหน้าเป็นตาไม่เห็นมีใครมาชมสักที เวรกรรมอะไรของ Cataloger บุคคลเบื้องหลังที่มักจะถูกมองข้ามเสมอ

    ***ถ้าใครว่าไม่จริง ลองมาสัมผัสดูแล้วคุณจะรู้.....***

    cataloger เป็นงานที่ไม่ง่าย เลยจริงๆ

     

    • ให้กำลังใจครับ
    • เคยเป็นมาแล้วครับ
    • Cataloger เลือดใหม่
    • น้องดรีมเป็นคนที่อยู่ทั้งข้างหลัง และข้างหน้า ... หมายถึงงานนะค่ะ (PR ห้องสมุด)
    • ขอบคุณ อ.ขจิต  ที่ให้กำลังใจ และขอส่งกำลังใจนี้ต่อ ๆ ไป ให้ Cataloger คนอื่น ๆ ด้วยค่ะ
    • ความจริงดิฉันชอบอ่าน  blog แต่ไม่ค่อยได้เขียน
    • Cataloger เลือดใหม่  .. ถ้างานบริการคือหัวใจ   จำไว้ว่างานของคุณคือสมอง   5555 สบายใจไหมอะ
    • ขอบคุณน้อง UltraNuM พี่ว่า... เป็นอาจารย์ เหนื่อยกว่างานพี่เยอะเลยอะ  จริงปะ?


    กับคอมพิวเตอร์ต่อให้มีปัญหากันก็จัดการกันได้  ไม่ได้ก็ Format ซะ!!   งานที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับคน จึงเป็นงานที่น่าจะเหนื่อยใจที่สุด จริงไหมค่ะ งานบริการ จ๋า ?

    เคยถามน้องที่เป็นอจ บรรณารักษ์รุ่นใหม่ๆ ว่าสาขาบรรณารักษศาสตร์ยังมีสอนวิชา Cataloging อยู่ไหม เพราะหลายแห่งเปลี่ยนชื่อสาขาจนแทบไม่รู้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ... แต่ก็ยังดีใจว่าเขาก็ยังสอนอยู่ค่ะ ถึงแม้เดี่ยวนี้มีแหล่ง copy catalog หลายที่ แล้วก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วย แต่ก็จำเป็นต้องมีพื้นฐานพวกนี้อยู่ดี อย่างที่น้อง cataloger อธิบาย .ชัดเจนเลย ** น้องบางคนบอกว่าทำงานปิดทองหลังพระ แถมบางคนเปรียบไปถึงขั้นใต้ฐานพระเลยอีกตะหาก จะหันไปคุยมากก็ไม่ได้ เดี่ยวหนังสือออกบริการไม่ทันผู้ใช้ ประชุมบ่อยๆ งานก็ไม่เดิน ไม่มีใครมาช่วย catalog ให้กับเรา .. จะนั่งทำงานให้มันเสร็จ ไม่ไปไหน เค้าก็ว่าไม่สมาคม สุงสิงกับใครเค้ามั่ง .. ทั้งขึ้นทั้งล่องเลย ยังไงก็ให้กำลังใจสู้..สู้นะคะ

    แล้วจะมีใครสักคนมาเข้าใจงาน catalog อย่างลึกซึ่งบางเปล่า  ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าคำชื่นชม ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านี้  หรืออาจจะไม่มีคำ คำนี้เลยให้ได้ยินก็เป็นไปได้  แต่ catalog ก็ไม่ว่ากัน ขอแค่ให้เข้าใจกันก็พอแล้ว ไม่ชม ไม่ว่า แต่อย่าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้  ไม่รัก ไม่สน ขอแค่มีใจชื่นชอบกันบาง แล้วทุกๆ อย่าง นั้นก็จะมีดียิ่งๆ ขึ้นไป

    1. ทำไม catalog เรื่องมาก

    2. ทำไม catalog ไม่ไปสังคมกับผู้อื่น

    3. ทำไมคนให้ใน catalog ไม่เดินออกจากห้องตัวเองบาง

        ***นี้แค่เป็นส่วนหนึ่งของคำถาม ที่ห้อง catalog ถูกสังคมรอบข้าง  ตั้งทำถาม???????

    • ถึงแม้ดิฉันเป็นคนข้างหน้า เอ้ย! เบื้องหน้า (ก็อยู่งานบริการนี่คะ) ...แต่หากไม่มีคนที่อยู่เบื้องหลังที่ดีอย่างงานวิเคราะห์ฯ (Cataloger) ก็ไม่สามารถที่จะให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจได้
    • เป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่ทำงานเบื้องหลังค่ะ
    • ถ้าหากทุกคนคิดว่าทำเพื่อหน่วยงานของตนเอง เราต้องจับมือไว้ ...แล้วไปด้วยกันค่ะ
    • 5555  นึกว่าคิดอยู่คนเดียว นี่เขาคิดกันทั้งโลก เลยรึนี้
    • ขอบคุณพี่ปุ๊กค่ะ ที่แวะมา ยืนยัน ความเป็น cataloger แม้จะห่างหายไปนาน   ... หนูว่า ถ้าพระท่านองค์เล็กคงพอไหว แต่หากเป็นองค์ใหญ่ สงสัยเราจะโดนทับตายแหง่ ๆ เลยค่ะ
    • ขอบคุณ คนเบื้องหลัง ผู้มีชะตาเดียวกัน   ถ้าขาดคุณงานคงเดินต่อไปสะดวก  ฟ้าไม่เห็นแต่เราเห็น ..
    • คงเป็นลักษณะเฉพาะของ นักวิเคราะห์กระมังค่ะ  ที่ต้องละเอียด รอบคอบ  และมักมีโลกส่วนตัวเพราะต้องใช้สมาธิในการทำงานสูง  เลยพูดน้อยไปหน่อย
    • ขอบคุณพี่ขวัญ ค่ะ ... เรายินดีและเต็มใจอย่างยิ่ง   อะ ๆๆ เราจับมือคุณ แล้วอีกมือของคุณ แอบไปจับมือใคร ? 5555


         จริง ๆ มันเป็นงานที่เราชอบค่ะ !!  หากให้เราไปทำงานบริการ เราคงทำได้ไม่ดีเท่าไหร่  ต่างคน ต่างมีความสามารถในงานและหน้าที่ของตน (จะเป็นร่างกายได้ ย่อม ต้องมี หัว แขน ขา มือ เท้า ฯลฯ แต่ละอวัยวะย่อมมีหน้าทีและความสำคัญต่าง ๆ กันไป ขาดสิ่งหนี่งสิ่งใดไป  ก็เหมือนคนพิการ)

         เอาแต่ละความสามารถมารวมกันเติมเต็มส่วนที่มันขาดหายไป  เพื่อความรุ่งโรจน์ของสำนักฯ เราสืบไป ..ไชโย !!!

    สู้ สู้ ค่ะ เอาใจช่วยซำเหมอ เพราะเป็นคนที่คงง่อยกินแน่ถ้าไม่ได้ความช่วยเหลือจากคนจัดหมวดหมู่หนังสือ
    • แวะมาอ่านตามคำเชิญชวน (แต่ยังไงก็ต้องอ่านของคนสำนักเดียวกันอยู่แล้วค่ะ)
    • น่าเห็นใจงานCatalog นะค่ะ ลำพังแค่ตอนเรียนเองเนี่ย ก็ปวดหัวจะตายชัก เป็นวิชาที่อ่อนที่สุด ได้ D+ ก็บุญโขแล้วค่ะขอบอก ทั้งๆที่เป็นวิชาเอกแท้ๆแต่ว่ากลับเป็นวิชาที่ไม่ถนัดเพราะว่าไม่มีความละเอียดลออขนาดนั้น บอกตรงๆว่าไม่ชอบวิชาจัดหมู่เอามากๆ
    • "การเป็นบรรณารักษ์ใครๆก็เป็นได้ แต่เป็นบรรณารักษ์ที่ดีเป็นยากนะค่ะ"
    • มาให้กำลังใจค่ะ คนเก่งๆ ใครไม่เห็นแต่ฟ้าเห็น (เอ๊ะต้องรอจนกว่าฟ้าจะมีเวลารึเปล่าค่ะ)
    • ทำงานที่ถนัด แลชอบ มันทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มที่ และสนุกไปกะมัน
    • สู้ต่อไปทาเคชิ !!!!! เอ้ย กระบี่สีชมพู

                            

     

    • ขอบคุณทุกแรงใจ ...สร้างฝันห้องสมุดไทยไปห้องสมุดโลก ? เกี่ยวกันรึป่าวเนี้ย..
    • ขอบคุณ กำลังใจ จากคุณ  orachorn และ น้องแก่น   ที่ทำให้เรามีกำลังกาย และกำลังใจ  ทำงานกันต่อไป
    • ความลับสุดยอด..กระบี่สีชมพู  ไม่เก่งวิชาด้านบริการเลย   ไม่เก่งภาษาอังกฤษ   ไม่เก่งวิชาที่ต้องใช้ความจำ (ความจำสั้น) ได้แค่ C+ อิอิอิ
    • แต่เจ๋งสุด ๆ  วิชาที่เป็นงานเทคนิค   วิชาที่ต้องเอาคอมพิวเตอร์มายุ่งในห้องสมุด  วิชาเกี่ยวกับเงิน ๆ ทอง ๆ    และว่าด้วยการบริหารจัดการห้องสมุด     555555
    • อ้อ!!!  แถมวิชาทีไปเลือกเรียนเพราะสนใจ  คือ วิชาตีความ อันว่าด้วยค้นหาความรู้สึกนึกคิดคนอื่นจากภาษาและอักษร นี่แล 

    เห็นมะ  ไม่ได้เก่งอะไรนักหนา   แค่ยอมรับความโง่และความเก่งของตัวเอง   ...ต้องยอมรับความเก่งและความไม่รู้ของคนอื่น ๆ ด้วย      แล้วรู้จักนำไปใช้ประโยชน์   ต่อให้รบพันครั้ง  คุณก็มีสิทธิ์ชนะทั้งพันครั้ง !!!  (อู้ยย ..พิมพ์ไปเลือดไหลซิบ ๆๆ  คมซะ !!!)

    ไม่ค่อยได้ทำงานแคทเท่าไหร่ ถ้าทำก็กลายเป็น copy cat ไปซะ

     ยังงัยก็ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจนะ เห็นเพื่อน มีความสุขกะงานที่ทำ และยิ่งทำก็ยิ่งมีความชำนาญเชี่ยวชาญ ก็อดภูมิใจไปด้วยไม่ได้ ว่านี่เพื่อนตูๆ

     

    ขอเป็นกำลังใจให้อีกคน

    ก่อนมาเรียนสาขานี้ก็ยังไม่รู้เท่าไรว่าสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์เนี่ยเป็นอย่างไร รู้สึกแค่ว่า ชื่อนี้เพราะดี มีตั้งสองศาสตร์ให้เราเรียน พอได้เริ่มเรียนก็รู้สึกว่าเราจบไปแล้วจะทำงานในวิชาชีพนี้ได้หรอ ? ซึ่งก็เป็นคำถามที่ค้างคาใจเราอยู่ตลอดเวลา จนถึงวันที่เราเรียนจบ ทำให้หันกลับมามองตัวเอง ว่า 4 ปีที่ได้เรียนมา เราได้อะไรจากวิชาชีพนี้บ้าง ?

    สิ่งที่พบ คือ 2 ศาสตร์นี้ทำให้เราเป็นคน  ละเอียด รอบคอบ  มีระเบียบวินัย  มีวิจารณาญาณ  ทุกครั้งที่ทำเราต้องคิด ไตร่ตรอง ให้ถ้วนถี่ (บางคนอาจจะว่าเจ้าระเบียบก็ว่าได้)  และมีความใฝ่รู้   ก้าวให้ทันเทคโนโลยีตลอดเวลา

    พอได้ เริ่มต้นชีวิตการทำงานยิ่งทำให้รู้และเข้าใจในวิชาชีพนี้มากยิ่งขึ้น ว่า  "บรรณารักษ์ ไม่ใช่แค่คนนั่งเฝ้าห้องสมุดและหนังสือ" แต่บรรณารักษ์มีภารกิจที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้นหลายร้อยเท่า  เพราะการที่เราจะทำหนังสือ หนึ่งเล่มให้ขึ้นไปวางอยู่บนชั้นเพื่อให้บริการ ต้องผ่านกระบานการหลายขั้นตอนเหลือเกิน และ กว่าจะวิเคราะห์หนังสือออกมาได้แต่ละเล่มเราต้องตรวจสอบดูความถูกต้อง แม่นยำ ด้วยวิจารณาญาณ

    เพราะฉะนั้น อย่าแปลกใตเลยว่าบรรณารักษ์วิเคราะห์ทำไมต้อง นั่งก้มๆเงยๆดูหนังสือ กับคอมพิวเตอร์ ที่มีลักษณะเป็น สี่เหลี่ยมอยู่ได้ตลอดเวลา แต่โปรดจงสงสารพวกเราเถิด เพราะว่าในใจลึกๆๆพวกเราก็อยากเงยหน้าดูสิ่งสวยๆงามๆอย่างอื่นเหมือนกัน แต่ด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบทำให้เราต้องอดทน ดูรูปทรงสี่เหลี่ยมทุกวันเพื่อผู้ใช้บริการของเรา

    สู้ๆต่อไปพี่น้อย 

    ขอต่ออีกนิดนึง "ขอขอบคุณท่านผู้เขียนหนังสือ ทุกท่าน และสำนักพิมพ์ทุกสำนักพิมพ์ ที่สรรสร้างตัวเล่มหนังสืออันสวยงามให้พวกเราได้มองเห็นสีสันในชีวิต และได้ช่วยปรุงแต่งให้ชีวิตได้รับข้อมูล ข่าสาร และประสบการณืใหม่ๆจากหนังสือของท่าน"  และพวกเราหวังว่า เราคงได้มีโอกาสได้มีโอกาสลิ้มรสหนังสือของท่านต่อไปเรื่อยๆ

    เห็นหลายคนบอกว่า Cataloger เรื่องมาก, ไม่ไปสังคมกับผู้อื่น, พูดน้อย, ไม่สุงสิง, โลกส่วนตัวเยอะ

    แต่ UltraNuM ว่า ทุกข้อที่กล่าวมา ไม่เจอใน Cataloger ที่ชื่อว่า "กระบี่สีชมพู" เลย

    #อาชีพแต่ละอาชีพ มันก็ไม่เหมือนกันเนอะ

    ความสามารถและความถนัด มันต่างกัน

    หน้าที่และความรับผิดชอบ ก็อีกนั่นแหละ

    ถ้า ให้ UltraNuM ไปนั่งทำงาน กับ หนังสือกะคอมพิวเตอร์ วันๆ เจอแต่ ของเหลี่ยมๆๆๆ ก็คงทำไม่ได้อ่ะ ยากเกินจะทน.....

    • ขอบคุณ เพื่อนหน่อง ที่แวะมาให้กำลังใจ  อย่าง หน่องไม่ต้องทำแล้วงานแบบนี้  แค่ นั่งบริหารก็พอ  5555   (อยู่บางมด สบายดีไหมเอ่ย)
    • ขอบคุณ น้องแมว (เภสัช) ค่ะ  ... การอ่านหนังสือทำให้มุมมองในชีวิตกว้างขึ้น และ อักษรเพียงไม่กี่ตัว ที่เขียนออกมา บอกถึง ลักษณะของคนนั้นได้เป็นอย่างดี  เหมือนที่พี่มองว่า  อย่างน้องแมว ... นี่ไม่ธรรมดา
    • อุอุ ขอบคุณ UltraNum อีก หน  ก็แน่ละ .. เวลาทำงาน ฉันหนะจริงจังเสมอ... อุอุ   แต่ชีวิตจริง ๆ ตรงกันข้าม  ก็เป็นอย่างที่เห็น  55555  .....พูดมาก ..... มีเพื่อนเยอะมาก (ทั่วราชอาณาจักร) ....... โลกนี้ก็มีใบเดียว จะมาตู่เป็นของตัวเองได้ไง  (โลกส่วนตัวของฉันก็เป็นของคนทั้งโลก)

    ทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนมีหลายมิติให้เรามอง ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะมองมุมไหน และที่สำคัญเราไม่มีสิทธิ์บังคับให้คนทุกคนมองเราในมุมหรือด้านที่เราเป็นได้ทุกคน เพราะฉะนั้น สิ่งที่ดูธรรมดามันย่อมเกิดความไม่ธรรมดาได้ตลอดเวลา ขอเพียงเราเปิดใจเปิดความคิดมองในที่แต่ละคนเป็น ยอมรับในความเป็นตนที่แท้จริงของเขา  ไม่มองเขาให้เป็นในสิ่งที่เราอยากให้เป็น หรือเราคาดหวัง เพียงแค่นี้ ความไม่ธรรมดาของแต่ละคนจะออกมาให้เราเห็น และช่วยกันสรรสร้างความไม่ธรรมดานี้ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วองค์กรของเราจะเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและมีความสุขในการทำงาน ในโลกนี้ยังมีสรรพสิ่งอีกมากมายให้เราเรียนรู้และฝันฝ่า เป็นกำลังใจให้พี่น้อยต่อไป

    • บันทึกของน้อยฉบับนี้โดนใจอุ๋งมากๆ ซึ้งๆ  
    • ที่ มมส. กำหนดเลขเรียกหนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ มีปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้น้อยใจมาก คือ เจ้าหน้าที่จัดชั้นบ่นมาว่าให้เลขเยอะจังจัดยาก เศร้ามากๆ T_T
    • คิดถึงจ้า
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท