ธัมมจักกัปปวัตนสูตร


ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรประพฤติส่วนที่สุด ๒ ประการคือ <p>        การเสวยสุขในกามคุณอารมณ์ เป็นข้อประพฤติของชาวบ้านเป็นธรรมเลว เป็นธรรมของปุถุชน มิใช่ธรรมของพระอริยะ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การเบียบเบียนตนให้ลำบาก (ทรมานตน) เป็นทุกข์ มิใช่ธรรมของพระอริยะ เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ </p><p>        ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้ทางสายกลาง ที่ไม่เข้าถึงส่วนที่สุด ๒ ประการนั้นแล้ว ก่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความยิ่งรู้ เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์ ทางสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ การกล่าวชอบ ๑ การกระทำชอบ ๑ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ และความตั้งมั่นชอบ ๑ </p><p>        ดูกรพวกเธอทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ ทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑ </p><p>        ทุกขอริยสัจ ได้แก่ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ </p><p>        ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันก่อให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในภาพและอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ความผูกพันในกามคุณ อารมณ์ ภวตัณหา ความผูกพันที่มีความเห็นผิดว่าภพเที่ยง วิภวตัณหา ความผูกพันที่มีความเห็นผิดว่าภพขาดสูญ </p><p>        ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่ ความดับสนิทซึ่งตัณหา ความสละตัณหา ความปล่อยตัณหา ความวางตัณหา ความไม่พัวพันตัณหานั้นทั้งหมด </p><p>        ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มรรคอันเป็นทางดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ การกล่าวชอบ ๑ การกระทำชอบ ๑ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ และความตั้งมั่นชอบ ๑ </p><p>        ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ อันตถาคตได้กำหนดรู้แล้ว </p><p>        ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดแล้ว ปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขสมุทยอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรละ อันตถาคตได้ละแล้ว </p><p>        ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดแล้ว ปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขนิโรธอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อันตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว </p><p>        ดูกรพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดแล้ว ญาณได้เกิดแล้ว ปัญญาได้เกิดแล้ว วิชชาได้เกิดแล้ว แสงสว่างได้เกิดแล้วแก่ตถาคต ในธรรมไม่เคยสดับมาก่อนว่า นี้คือ ทุกขนิโรธมินีปฏิปทาอริยสัจ ซึ่งเป็นธรรมที่ควรให้เจริญ อันตถาคตได้เจริญแล้ว </p><p>        พวกเธอทั้งหลาย ปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ของตถาคตหมดจดดีแล้ว ตถาคตจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในเหล่าสัตว์มีสมณพราหมณ์พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์ ชาตินี้ของตถาคตเป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่มิได้มีอีกต่อไป </p><p>        ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดา ได้ป่าวประกาศว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี อันเป็นธรรมที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดในโลกจะปฏิวัติมิได้ </p><p>        เทวดาชั้น จาตุมหาราช ได้ยินเสียงของภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป ฯลฯ </p><p>        เทวดาชั้น ดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว….ฯลฯ </p><p>        เทวดาชั้น ยามา ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว …..ฯลฯ </p><p>        เทวดาชั้น ดุสิต ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นยามาแล้ว………ฯลฯ </p><p>        เทวดาชั้น นิมมานรดี ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นดุสิตแล้ว ……..ฯลฯ </p><p>        เทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นนิมมานรดีแล้ว……..ฯลฯ </p><p>        เทวดาที่นับเนื่องในหมู่ พรหม ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ อิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้ใดในโลกจะปฏิวัติมิได้ </p><p>        ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงแพร่สะพัดขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน แสงสว่างอันโชติช่วงหาประมาณมิได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย </p><p>        ในบรรดา ปัญจวัคคีย์ เหล่านั้น เมื่อท่านโกณฑัญญะส่งญาณไปตามกระแสของพระธรรมเทศนา เวลาจบพระสูตรได้ดำรงอยู่ใน พระโสดาปัตติผล พร้อมกับ พรหม ๑๘ โกฏิ </p><p>        ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า </p><p>        อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ </p><p>        แปลว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้โกณฑัญญะได้รู้แล้ว </p><p>        ด้วยเหตุนี้ อัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นสมญานามของพระโกณฑัญญะสืบมา

หมายเหตุ ที่มา :: เวปไซต์ลานพระพุทธศาสนา</p>

หมายเลขบันทึก: 77898เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2007 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ  น้องเอ็ม คนหน้าตาดี  จำไม่ได้เลยค่ะ  จากไปนานคิดถึงจังเล้ยยยย
  • ดีใจด้วยนะคะที่ กลับมาB2B อีก  จะเรียกว่า คืนชีพ เหมือนเจ้านุ้ยนางสาว จันเพ็ญ ศรีดาวหรือป่าวคะ
  • พี่งงเลยนะเนี่ย..ว่า เอ็มเขียนแนวธรรมะ  เป็นหน้าตาดีที่มีคุณธรรมเนอะ   ^__*
  • อย่าลืมใส่ Tag เป็น MSU ด้วยนะคะ  เดี๋ยวหากันไม่เจอค่ะ
  • สวัสดีน้องหมู 
  • คำว่าหน้าตาดี กล้าคิดเนาะ
  • งง..เหมือนพี่หนิง ว่า น้องหมูเข้าใกล้ธรรมมะน่าจะร้อนนะ อิอิอิ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท