ละครน้ำเน่าหรือน้ำดีกันแน่


ถ้าสอนเรื่องการแสดงบทบาทสมมุติ ก็จะยกตัวอย่างความกล้าแสดงของตัวละคร
   


ถ้าพูดคำว่าละครหลายคนมักจะต่อด้วยคำว่า " น้ำเน่า " สำหรับผู้เขียนอยากจะให้เห็นอีกเหลี่ยมหนึ่งของละครเหมือน เหลี่ยมของเพชร
    ผู้เขียนใช้ละครเป็นสื่อการสอนอยู่บ่อย ๆ แถมได้ผลตอบรับจากนักเรียน สังเกตได้ว่าพอพูดเปรียบกับละคร ตานักเรียนจะโต วาวขึ้นทันที แถมบางทียังช่วยเล่าต่อให้อีกต่างหาก ( นอกเรื่องจนไม่กลับเข้าเรื่อง )
     ถ้าสอนเรื่องคุณธรรมความรัก ความผูกพันของพลายงามที่มีต่อพ่อขุนแผน แม่วันทอง ในวรรณคดี "ขุนช้างขุนแผน" หรือละครพูดเรื่อง " เห็นแก่ลูก " หรือ ลูกโคในนิทานชาดก เรื่อง "ความสัตย์สุจริต" ก็จะยกเรื่อง " สุดรักสุดดวงใจ " ที่สมโชคมีต่อพ่อแม้ไม่ใช่พ่อแท้ ๆ หรือ " อุ้มรัก "
     ถ้าสอนเรื่องการพูดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ พูดในที่ชุมชน  ผู้เขียนก็จะยกตัวอย่างการใช้น้ำเสียงของตัวละครที่พูดตามบทบาทของตน ไม่ว่าตัวเอก ตัวโกง  ตัวรอง 
     ถ้าสอนเรื่องการแสดงบทบาทสมมุติ  ก็จะยกตัวอย่างความกล้าแสดงของตัวละคร บางเรื่องเป็นนางเอกเรียบร้อย บางเรื่องแสดงแก่นแก้ว ของ แอน  ทองประสม  หรือบทบาทของพระเอกยอดนิยม อ้ำ อภิชาติ หรือเสียงแจ๋นๆ ของนางร้ายที่วิ่งไล่จับพระเอกสุดชีวิต  ของนางร้ายทุกๆเรื่อง 
     น้ำเน่าที่ดูเหมือนไม่ค่อยมีแก่น  พระเอกรวยล้นฟ้า มีแต่ผู้หญิงมารุมรัก ไม่ยกเว้นแม้นางเอก นางร้ายที่เชิดหน้าเชิดตาร้ายสุด ๆ วัน ๆ ไม่ต้องทำงาน วิ่งตามพระเอก แต่ก็ดูอีกเหลี่ยมได้ เหมือนเพชรที่มีตั้งหลายเหลี่ยมอยู่ที่ความสามารถของช่างเจียรนัย ละครทุกเรื่องก็รอผู้ชมเจียรเหลี่ยมเหมือนกันละน่า    
(ขอขอบคุณภาพจากhttp://www.thaitv3.com/)
หมายเลขบันทึก: 77843เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท