ประเมินKM ก่อนและหลังกิจกรรม


DAR = During action review เน้นที่ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

ก่อนทำ KM  และ หลังทำ KM (ที่ไม่มีวันเสร็จ   เพราะ KM   อุปมา คือ อากาศที่หายใจ  ต้องทำให้มีไว้เสมอ ขาดไม่ได้  และ KM ก็ไม่ใช่ อะไรที่ จะวัด แบบ KPI ปกติได้)

น่าที่จะประเมินในมุมมอง  ดังนี้

  • ประเมินตนเอง (ครูสมพร สอนลิง สอนว่า  ประเมินตนเองนั่นแหละ คือ การประมเนที่แท้จริง   เราเป็นครู เราต้องประเมินตัวเราก่อน แล้วค่อยไปประเมินลิง)     ลองสังเกตพฤติกรรมของตนเองว่า  ก่อนทำ หลังทำ "สันดาน" เปลี่ยนไปไหม   Paradigm เปลี่ยนไปไหม   ในทางที่ดีนะครับ   เช่น  จากคนที่เอาแต่ใจตนเอง   ขี้บ่น  กลัว ระแวง  ปากจัด  ใจแคบ  ลูกน้องเกลียด  บ้าอำนาจ  ด่ารอบวง  เห็นคนอื่นโง่  ฯลฯ  กลายมาเป็น ใจเย็น สุขุม  เข้าใจคน  มีความสุข  เข้าใจตนเอง  ฯลฯ  ทำ KM แล้ว สันดานยังชั่วร้ายเหมือนเดิม  แสดงว่า ทำ KM แบบหลงทางครับ    เป็น KM แบบ Newtonian (แบบอุตสาหกรรม  แบบผลิตเหมาโหล  แบบผิดธรรมชาติ  แบบคนบ้าอำนาจ แบบโดนบังคับ ฯลฯ) 
  • ประเมินสันดานตนเองแล้ว จึ่งค่อย ประเมินสันดานคนอื่นๆ
  • ประเมิน กำลังสติ Sati capital    ทั้งของเรา และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ว่ามีมากขึ้น  มีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไหม   มีกึ๋น (sensing) มากขึ้นไหม   เช่น ตัดสินใจได้ดี แม้นเวลาจะจำกัด    ตัดสินใจในขณะที่จิตปกติ( ความคิดวิ่งอยู่ที่ รอบของ Alpha หรือ ต่ำกว่า)   ฯลฯ
  • ประเมินจาก ความร่วมมือ Collaboration capital  ที่ ผู้คนมอบให้   เรารักที่ทำงานต่อ  มีคนที่เต็มใจจะทำมากขึ้น  ฯลฯ
  • ประเมิน Network capital :     จำนวน ภาคี เพื่อน พันธมิตร ผู้รู้  ฯลฯ   ที่ได้รู้จักมากขึ้น
  • ประเมินอื่นๆ เช่น ได้ เครื่องมือ (Tools)  /ได้ Information (ความรู้ของคนอื่น ที่เขาบอกเรา)
คำสำคัญ (Tags): #ประเมินkm
หมายเลขบันทึก: 77808เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2007 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 03:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อาจารย์ค่ะ....ผลจากการเล่าเรื่องของห้องติดตามการใช้ KM ของฝ่ายสนับสนุน ได้สรุปตามข้อแนะนำของอาจารย์แล้วค่ะ....ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยดูด้วยค่ะ...ขอบพระคุณค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์มากเลยครับ ถ้าทุกคนมองตนเอง ประเมินตนเอง ก็จะลดตัววิจารณ์ได้เยอะเลย ขอนำแนวทางดังกล่าวมาประเมินตนเอง และนำมาเป็นแนวทางในการประเมิน Learners ด้วยครับ

ขอบคุณ อาจารย์ paew มากครับ

ไม่รู้ว่า บรรยากาศ การสรุป วันเสาร์เป็นไงบ้าง  ใครนำเสนอบ้างเอ่ย   พวกน้าๆป้าๆ สามารถข้าม "ความกลัวและกังวล" (Mental model) ในการนำเสนอไปได้หรือเปล่า

วันเสาร์ ผม สอนธรรมะ  ตั้แงต่ เช้า 900 - 1120 น   และ ต่อด้วย 1400 -2030 น แบบ nonstop

ตอนนี้เสียแหบแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท